หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนครพนม

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 14 , 18 และ 23 พฤศจิกายน 2535 ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการเพื่อก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม และทรงวางโครงการด้วยพระองค์เอง ดังภาพร่างเค้าโครงพระราชทานเพื่อช่วยแก้ปัญหาในเรื่องน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝน และช่วยราษฎรในท้องถิ่นบริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำก่ำ ให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งด้วย และทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติมเมื่อวันที่  22 มิถุนายน 2542 ให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำเพียงเตี้ย ๆ เพื่อให้เก็บน้ำท่วมพื้นที่เพียงเล็กน้อยก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังมีปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วม ราษฎรเรียกร้องค่าตอบแทนสูงมาก แต่ถ้าจะไม่พิจารณาก่อสร้างก็เสียดาย เพราะถ้าสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำตอนล่างนี้ได้แล้ว จะช่วยพื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้ได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำก่ำตอนล่างเพียงระดับต่ำได้แล้ว ต่อไปถ้าสามารถเจรจาปัญหาที่ดินที่ถูกน้ำท่วมได้ในราคาที่เหมาะสมแล้ว ซึ่งพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำให้สามารถเก็บกักได้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับโครงการห้วยตะแปด จังหวัดเพชรบุรี ที่ทำสำเร็จแล้ว สำหรับการสูบน้ำจากลำน้ำก่ำตอนล่างขึ้นไปใช้ประโยชน์นั้น ให้ราษฎรทั้งสองฝั่งสูบน้ำไปใช้กันเอง

   

ที่ตั้งของโครงการ :
สำนักงานโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านโนนสังข์ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
   
วัตถุประสงค์โครงการ :
1.เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่โครงการ สำหรับช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตรและอุปโภค-บริโภคในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งราษฎรต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี
2.เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เพาระปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำ ในช่วงฤดูฝน ให้เกิดความเสียหายน้อย   
3.เพื่อพัฒนาการเกษตรกรรม จัดการเกษตรแบบผสมผสาน โดยระดมการสนับสนุนการพัฒนาจากหน่วยงานราชการต่างทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการให้ราษฎรในโครงการได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมด้วย
4.เพื่อปรับปรุงรายได้และมาตรฐานการครองชีพของราษฎรในพื้นที่โครงการให้อยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของชาวชนบททั่วไปในประเทศไทย
5.เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการสร้างความมั่งคงให้พื้นที่ชายแดน
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานก่อสร้าง 3 สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน
   
ลักษณะโครงการ :
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะงานก่อสร้าง 3 งาน คือ
1. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ จำนวน 7 แห่ง เพื่อเก็บกักน้ำยกระดับน้ำให้สูงขึ้นและบรรเทาอุทกภัย         
2. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำ จำนวน 16 แห่ง เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 165,000 ไร่
3. งานก่อสร้างพัฒนาหนองบึงขนาดใหญ่ จำนวน 15 แห่ง เพื่อเป็นแก้มลิงเก็บกักน้ำ
 
ผู้ได้รับประโยชน์ :

ประชาชนบริเวณลุ่มน้ำก่ำ

 
ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดนครพนม กรมชลประทาน อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้ราษฎรใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรให้แก่ราษฎร ทั้งนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นที่ต้องการของตลาด และมีการส่งเสริมให้ราษฎรผลิตสินค้าด้านการเกษตร เพื่อเป็นวัตถุดิบให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร ต่อไป

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ใช้น้ำ  โดยการบริหารจัดการกลุ่มผู้ใช้น้ำของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มผู้ใช้น้ำดั้งเดิม ที่จัดตั้งขึ้นโดย กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน(พพ.เดิม) ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ได้รับการฟื้นฟู โดยกรมชลประทาน โดยฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกลุ่มผู้ใช้น้ำ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ดำเนินการฟื้นฟูแล้ว 8 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มบริหารผู้ใช้น้ำ จำนวน 3 กลุ่ม  และกลุ่มพื้นฐาน จำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งกระบวนการฟื้นฟูจะเริ่มจากการส่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้าไปสำรวจกลุ่มผู้ใช้น้ำเดิมและสำรวจพื้นที่ใช้ประโยชน์ พร้อมกับทำกิจกรรมมวลชนกับสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำเดิม โดยอาศัยความร่วมมือระหว่าง กรมชลประทาน และองค์การบริหารส่วนตำบล

 

ความสำเร็จของโครงการ :

1.เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของโครงการสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 165,000 ไร่ ส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรในฤดูแล้งได้ประมาณ 47,000 ไร่
2.เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และอุตสาหกรรมบริเวณลุ่มน้ำในเขตอำเภอเมือง อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร และกิ่งอำเภอวังยาง อำเภอนาแก อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งราษฎรต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี
3.บรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมพื้นที่เพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำก่ำในฤดูฝน ในเขตจังหวัดสกลนคร และจังหวัดนครพนม
ประชาชนมีน้ำใช้ทางการเกษตรตลอดปี สามารถทำการเกษตรได้ถึง 3 ครั้ง คือ การทำนาปี, ปลูกพืชไร่ เช่น มะเขือเทศ
ถั่วเขียว ข้าวโพด, และทำนาข้าวเม่า หรือพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ 3 เดือน ซึ่งเป็นสินค้าโอท็อปขึ้นชื่อ

 
   


ที่มาของข้อมูล : กรมชลประทาน สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราขดำริ (สำนักงาน กปร. )

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.