หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดน่าน

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
 
แนวพระราชดำริ :

          เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรบ้านจูน-ใต้ (หมู่บ้านบริวารของบ้านกอก หมู่ที่ 11 ตำบลภูคา) ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร ที่มีความด้อยโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  จึงได้มีพระราชดำริกับ  พลโท วัธนชัย  ฉายเหมือนวงศ์ แม่ทัพภาคที่ 3, ร.ต.ต.ธนะพงษ์  จักกะพาก ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน, นายวิศาล  ไมตรียืนยง วิศวกรใหญ่ฯ ด้านควบคุมการก่อสร้าง กรมชลประทาน, นายพินิจ  ศรลัมพ์ ป่าไม้จังหวัดน่าน  และนายวรกานต์  จุฑานนท์ เจ้าหน้าที่กองประสานงานโครงการฯ 3  และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการช่วยเหลือพัฒนาราษฎรบ้านกอก หมู่ที่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ประกอบด้วย บ้านจูนใต้ บ้านจูนเหนือ บ้านกอกหลวง และบ้านกอกน้อย ได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทรงเน้นให้ดำเนินการพัฒนา โดยให้เจริญจากข้างในก่อน และค่อยระเบิดออกไปข้างนอก ซึ่งสามารถสรุปแนวพระราชดำริได้  ดังนี้
         1. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ให้พิจารณาจัดหาแหล่งน้ำให้แก่ราษฎร เพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร
         2. ด้านการพัฒนาป่าไม้ ให้พิจารณาจัดระเบียบชุมชนให้แก่ราษฎร โดยจัดทำเป็นหมู่บ้านป่าไม้ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎร สามารถอยู่กับป่าได้โดยอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ตลอดจนให้ปลูกป่าเสริมบริเวณพื้นที่ลาดชันเพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพป่า และให้ปลูกแฝกในบริเวณที่มีการพังทลายของดิน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นป่าต้นน้ำลำธารต่อไป
         3. ด้านการพัฒนาอาชีพ ให้พิจารณาส่งเสริมราษฎรทำการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การทำนาแบบขั้นบันได เพื่อเป็นการลดการใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรให้น้อยลง ส่งเสริมให้ราษฎรมีความชำนาญในการทอผ้า เพื่อเป็นอาชีพเสริม ตลอดจนส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นอาหาร หากมีเหลือก็สามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริม อีกทางหนึ่ง
         4. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้พิจารณาส่งเสริมให้ราษฎรมีการศึกษา สามารถพูดภาษาไทยได้ พร้อมทั้งให้การ สนับสนุนให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริมแก่ราษฎร ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรอยู่ดีกินดีและสามารถช่วย เหลือตนเองได้ในที่สุด

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : หมู่บ้านบ้านกอก หมู่ที่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1. เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และจัดการดินและน้ำในพื้นที่ลาดชัน
2. เพื่อส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของราษฎรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง
3. เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง
4. เพื่ออนุรักษ์และจัดการดินและน้ำในพื้นที่ลาดชัน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
5. เพื่อระดมแผนงานโครงการของหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
 

ลักษณะโครงการ :

ผู้ได้รับประโยชน์ :
ราษฎรบ้านกอก หลวง, บ้านกอกน้อย, บ้านจูน เหนือ และบ้านจูนใต้ รวมทั้งหมด 99 หลังคาเรือน 135 ครอบครัว

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :
 

 

 

ความสำเร็จของโครงการ :

          โครงการพัฒนาบ้านกอก- บ้านจูน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านกอก-บ้านจูน หมู่ 11 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยภูคาและป่าผาแดง เนื้อที่ 12,500 ไร่  การน้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติของส่วนงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยการก่อสร้าง ฝายทดน้ำ พร้อมระบบขนส่งน้ำและบ่อพักน้ำขนาด หนึ่งแสนลิตร เพื่อนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคบริโภค และพื้นที่การเกษตรกรรม จัดระเบียบชุมชนจำนวน 4 กลุ่มบ้าน คือ บ้านกอก หลวง, บ้านกอกน้อย, บ้านจูน เหนือ และบ้านจูนใต้ รวมทั้งหมด 99 หลังคาเรือน 135 ครอบครัว ประชา กรทั้งหมด 429 คน
          เพาะชำกล้าไม้ สำหรับนำไปปลูกเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และป่าชุมชน ปลูกหวาย, ปลูกไม้ใช้สอยและปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าในพื้นที่ที่ราษฎรเคยทำกินมาก่อน เพื่อการอนุรักษ์กลับฟื้นคืนเป็นป่าต้นน้ำลำธารอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง ทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เก็บกักตะกอน และปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
          มีการส่งเสริมการปลูกข้าว จากเดิมเคยปลูกข้าวไร่หมุนเวียนเปลี่ยนเป็นการปลูกข้าวแบบนาขั้นบันได โดยให้ราษฎรขุดนาเองและได้รับค่าตอบแทนไร่ละ 3,000 บาท ปัจจุบันมีราษฎรขุดนาขั้นบันไดแล้ว 300 ไร่ ผลผลิตข้าวในนาขั้นบันได แบบหยอดเมล็ดได้ผลผลิตข้าวสูงสุด 60 ถังต่อไร่ ซึ่งเป็นผลผลิตที่น่าพึงพอใจ ขณะเดียวกันก็มีการจัดทำแปลงทดลองการปลูกข้าวนาขั้นบันได เพื่อทดสอบพันธุ์ที่เหมาะสมและทดลองปลูกข้าวสาลี ควบคู่กับการส่งเสริมการเรียนรู้ของราษฎรให้สามารถพูด-อ่าน-เขียนภาษาไทยได้ ปัจจุบันมีโรงเรียนระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวิทยาการใหม่ๆ ในการทำกินให้มากขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้ของ ราษฎรใช้ช่วงเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการทอผ้าพื้นเมืองและการปักผ้า ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 122 คน ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น นำส่งกองงานศิลปาชีพฯ และนำออกขายให้กับบุคคล ทั่วไป

 
   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร. นสพ.เดลินิวส์ www.dnp.go.th

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.