หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดราชบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
 
แนวพระราชดำริ :
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2534 สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณโครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติ ไทยประจันต์ ณ บ้านไทยประจันต์ ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี และโครงการสวนป่าสิริกิติ์ บ้านห้วยม่วง ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างแหล่งน้ำช่วยเหลือการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค ตามที่ราษฎรได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน
 
 
ที่ตั้งของโครงการ : หมู่บ้านปากง่าม หมู่ที่ 3 ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

1. เพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ สำหรับช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรทีอาศัยอยู่ในเขตโครงการ
2. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง
3. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ประชาชนไว้ใช้บริโภค

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
ดำเนินก่อสร้างโดย  สำนักชลประทานที่ 13  กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่อยู่  สำนักชลประทานที่ 13  ต.ม่วงชุม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110
 

ลักษณะโครงการ :
เป็นอ่างเก็บน้ำพื้นที่ 1,000 ไร่ ลักษณะอาคารยาว 180 เมตร สูง 17 เมตร ความจุของอ่างที่ระดับกักเก็บในระดับปกติที่ 615,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

ผู้ได้รับประโยชน์ :
ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง หมู่ที่ 3 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

ปัจจุบันโครงการอ่างเก็บน้ำก่อสร้างแล้วเสร็จ ประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับผลประโยชน์ของโครงการ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2547 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง หมู่ที่ 3 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ตามนโยบายของกรมชลประทาน ในการมีส่วนร่วมของเกษตรกรกับงานชลประทาน เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในด้านการบริหารจัดการน้ำ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา โดยมีการบริหารจัดการ แบ่งเป็น คณะกรรมการ จำนวน 2 ฝ่าย คือ

1.กรรมการฝั่งซ้าย
2.กรรมการฝั่งขวา

 

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง เพื่อเป็นตัวแทนของสมาชิก ในการวางแผนการใช้ที่ดิน และน้ำชลประทาน  ให้เหมาะสมกับสภาพดินและปริมาณน้ำต้นทุนในแต่ละฤดูกาลเพาะปลูกเพื่อการประสานงานระหว่างสมาชิก กับหน่วยงานทั้งภาคราชการและภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ของสมาชิก เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการใช้น้ำ ระหว่างสมาชิกหรือสมาชิกกับบุคคลภายนอกที่อาจเกิดขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี รวมทั้งไม่เป็นไปเพื่อผลทางการเมืองกิจกรรมที่ร่วมกันทำ แม้ว่าบางอย่างจะเป็นกิจกรรมที่มีพื้นฐานการทำงานไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ เช่น กิจกรรมการร่วมประชุมกลุ่มของสมาชิก หรือกิจกรรมในด้านการดูแลรักษา และซ่อมบำรุง หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ ก็ตาม แต่ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่าในรายละเอียดกิจกรรมจะเหมือนกันด้วย เพราะกลุ่มเน้นหนักอย่างมากกับกิจกรรมที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และการมีส่วนร่วม ดังตัวอย่างเช่น

- ให้การสนับสนุนและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมท้องถิ่นและกิจกรรมทางศาสนาเพื่อให้สมาชิกเกิดความผูกพันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- การระดมสมาชิกรักษาความสะอาดของท้องถนนและสิ่งสาธารณประโยชน์ในท้องถิ่นพร้อมทั้งมีการกำจัดวัชพืชขยะลดการใส่ปุ๋ยและการใช้สารพิษต่างๆ
- การจัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
- การดูและสาธารณประโยชน์ การพัฒนาท้องถิ่น โดยการสนับสนุนแรงงานและทุนทรัพย์สาธารณสมบัติในท้องถิ่น
- การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สมาชิกและครอบครัวมีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้กลุ่มยังได้พยายามปรับปรุงการดำเนินงานของกลุ่มให้มีคุณภาพด้วยการกำหนดแผนปฏิบัติการและการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มให้ประกอบอาชีพได้สะดวก

 

ความสำเร็จของโครงการ :
การบริหารจัดการการใช้น้ำของกลุ่มที่มีประสิทธิภาพทำให้กลุ่มได้รับประโยชน์อย่างมากทั้งในด้านการอุปโภค-บริโภค และในด้านการใช้น้ำเพื่อการทำเกษตรกรรมซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้มีความพออยู่พอกิน และสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้โดยไม่เดือดร้อนนายสัมพันธ์ ทองเกียะ ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง หมู่ที่ 3 ต.ยางหัก อ.ปากท่อ
จ.ราชบุรี ได้ให้ข้อมูลเมื่อวันที่ (27 มกราคม 2553) ว่าการบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำจะมีคณะกรรมการที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ร่วมกันวางแผนการจัดระบบการส่งน้ำการใช้น้ำ การบริการ การซ่อมแซม และการบำรุงรักษาระบบชลประทานตลอดจนการอำนวยการต่างๆ เพื่อให้การใช้น้ำ ให้เกิดประโยชน์แก่การเพาะปลูกอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับแผนการส่งน้ำของโครงการชลประทานโดยน้ำที่นำไปใช้จะคิดอัตราค่าบริการสำหรับพื้นที่เพาะปลูก ที่ได้รับน้ำจากท่อส่งน้ำ  ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกลุ่ม โดยผู้ที่เป็นสมาชิกให้เก็บค่าบริการใช้น้ำ พืช  ไม้ผลยืนต้นอัตรา 30 บาทต่อไร่ต่อปี พืชผัก ล้มลุก  อัตรา 30 บาทต่อไร่ต่อปี การเปิด  น้ำลงสระอัตรา 15 บาทต่อไร่ต่อปี ผู้ใช้น้ำอุปโภคบริโภค ให้เก็บค่าบริการใช้น้ำภายในครัวเรือน ในอัตราครัวเรือนละ  50 บาทต่อปีต่อครัวเรือนทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง ด้วยระบบท่อส่งน้ำความยาวทั้งสิ้น 4.195 กิโลเมตร แยกเป็น
สาย 1 ขวา 2.847 กิโลเมตร  สาย 1 ซ้าย 1.348  กิโลเมตร โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง  ซึ่งได้จัดทำตารางการบริหารจัดการน้ำ และกำหนดหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญในการใช้น้ำ ในกรณีที่ปริมาณน้ำมีจำกัด และนอกจากนี้สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง  ยังได้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 62 ครัวเรือนอีกด้วย
 
   


ที่มาของข้อมูล : ชลประทานจังหวัดราชบุรี สำนักชลประทานที่ 13 กรมชลประทาน
สำนักงาน กปร. หนังสืออันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2550 :79-85)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ
…………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………...……………………….…
ที่อยู่ ………………………………………………………………………………

 
all


Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.