หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดอุดรธาน

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   
แนวพระราชดำริ :
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณา วางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยสามพาด เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอเมืองและอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ให้มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนฤดูแล้ง ส่วนที่บริเวณอ่างฯซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแต่ได้มีราษฎรเข้าบุกเบิกเป็นที่ทำกินแล้วนั้น ควรทำการสำรวจเขตที่ทำกินของราษฎรแล้วประสาน งานกับจังหวัดอุดรธานีเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินที่จะถูกน้ำท่วมตามความเหมาะสมต่อไป กรมชลประทานจึงได้พิจารณาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยสามพาดขึ้น โดยอาศัยข้อมูล สภาพภูมิประเทศจากแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 และได้นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณที่ตั้งหัวงานอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด ที่บ้านหนองประเสริฐ ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี และมีพระราชกระแสรับสั่งกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้รีบแก้ไขปัญหาที่ดินในบริเวณอ่างฯ ที่จะต้องถูกน้ำท่วมและให้เร่งรัดการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนี้โดยเร็วต่อไป
   
ที่ตั้งของโครงการ : บ้านหนองประเสริฐ หมู่ที่ 5 ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
   
วัตถุประสงค์โครงการ :
เนื่องจากราษฎรในเขตตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเพาะปลูก โดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติอย่างเดียว แต่สภาพดินฟ้าอากาศมักวิปริตผันแปรเป็นประจำเป็นเหตุให้การเพาะปลูกได้ผลไม่ดีหรืออาจถึงขั้นเสียหาย ราษฎรเองได้ดิ้นรนช่วยตัวเองโดยการก่อสร้างฝายปิดลำห้วยต่างๆ แต่การก่อสร้างอาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่มั่นคงแข็งแรงเพียงพอมักถูกน้ำกัดเซาะพังเสียหายแทบทุกปี ความทรงทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยสามพาดขึ้น ดังนั้นจึงอาจสรุปวัตถุประสงค์ที่สำคัญของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาดได้ดังนี้
1.เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งสำหรับราษฎรและสัตว์เลี้ยง
2.เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในช่วงที่มีน้ำมากไว้สำหรับช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรที่อยู่อาศัยอยู่ในโครงการในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
3.เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำดิบสำหรับใช้ในการประปาของอำเภอหนองแสง
4.เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : โครงการชลประทานอุดรธานี สำนักชลประทานที่ 5
 
ลักษณะโครงการ : -อ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ความจุ 15 ล้าน ลม.
-ทางเข้าโครงการ ระยะทาง 30 กม. จากทางแยกจากเส้นทาง สายจังหวัดอุดรธานี ไปจังหวัดขอนแก่นช่วง กม.ที่ 7
-อ่างเก็บน้ำและพื้นที่รับประโยชน์สามารถจุได้ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถส่งน้ำสนับสนุน พื้นที่การเกษตร ของราษฏรได้ 16, 910 ไร่ ครอบคลุม 11 หมู่บ้าน

ผู้ได้รับประโยชน์ : ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโครงการ

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด ณ บ้านหนองประเสริฐ ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ในปี 2529 แล้วเสร็จในปี 2535 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 7 ปี
 
ความสำเร็จของโครงการ :
เป็นแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้งสำหรับราษฎรและเลี้ยงสัตว์ และยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำในช่วงที่มีน้ำมากสำหรับช่วยเหลือการเพาะปลูกของราษฎรที่อาศัยอยู่ในเขตโครงการในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ และเป็น แหล่งเก็บกักน้ำดิบสำหรับใช้ในการทำประปาของ อ.หนองแสง ราษฎรในเขตพื้นที่รับน้ำจากคลองส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด ได้รวมกลุ่มและจัดตั้งสหกรณ์ผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาดอุดรธานี จำกัด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 มีสมาชิกของสหกรณ์ครั้งแรกเริ่ม จำนวน 164 คน เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษาคู-คลองตลอดจนร่วมกันวางแผนการเพาะปลูกพืช ตามฤดูกาลและความต้องการของตลาด โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคต่างๆ และได้ แบ่งปันผลกำไรให้กับสมาชิกทุกปีจึงมีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปี 2545  มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น จำนวน 806 คน มีคณะกรรมการบริหารงานที่เข้มแข็งและดำเนินการกิจกรรมตามกฎระเบียบของสหกรณ์ผู้ใช้น้ำฯที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
   


ที่มาของข้อมูล :

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 

Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.