หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ
จังหวัดเชียงใหม่

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ   
 
แนวพระราชดำริ :

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง  จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545 เวลา 16.20 น. ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ขึ้นโดยมอบหน้าที่ให้ชาวบ้านในโครงการดูแลและปลูกฟื้นฟูพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นเสมือนยามเฝ้าระวังชายแดนด้วย แต่พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง, เขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 จึงเกิดข้อจำกัดด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ การแก้ไขจึงต้องดำเนินการในลักษณะโครงการทดลองทางวิชาการเพื่อการบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามระเบียบต้องดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ (หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ/ผู้ได้รับมอบหมาย) สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ในปัจจุบัน) ได้มีหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ด่วนที่สุดที่ กษ 0723.7/1893 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ขออนุมัติใช้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่หาดเนื้อที่ 16,850 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการ พร้อมขออนุมัติแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และต่อมากรมป่าไม้ได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1961/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการทดลองให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ ตามพระราชดำริ” ขึ้น
พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545
"ให้จัดตั้งเป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้น โดยมอบหน้าที่ให้ชาวบ้านในโครงการดูแลและปลูกฟื้นฟู พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นยามเฝ้าระวังชายแดน"
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2547
"ชาวบ้านปลูกงากันหรือไม่ งามีประโยชน์นะ"
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549
1."ขยายการเลี้ยงปลาเพิ่ม ให้ดอยดำเป็นศูนย์ปลาเทร้าท์ของโครงการพระราชดำริ โดยให้กรมประมง และกรมชลประทานไปปรึกษา กปร."
2."ให้หาปลาที่เลี้ยงได้ดีในที่มีอากาศหนาว รับประทานอร่อย มาให้ชาวบ้าน"

 
 
ที่ตั้งของโครงการ :

บ้านนามน ม.๗ (ดอยดำ) ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

   
วัตถุประสงค์โครงการ : 1.เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
     1.1จัดตั้งหมู่บ้านในลักษณะโครงการ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ขึ้น
     1.2ดูแล และปลูกฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร
     1.3เป็นยามเฝ้าระวังชายแดน และป้องกันยาเสพติด
2.เพื่อศึกษาวิจัยและทดลองหาวิธีการให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่”
3.เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป  4.เพื่อจัดหาน้ำให้แก่พื้นที่การเกษตรของราษฎรในโครงการฯ
5.เพื่อจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการเลี้ยงปลาของกรมประมง (ปลาเทร้าท์และปลาสเตอเจียน) ในโครงการฯ
6.เพื่อจัดหาน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคของราษฎรในโครงการฯ
7.เพื่อปลูกฝังให้ราษฎรเกิดความรักป่าและรักษาสภาพต้นน้ำลำธารธรรมชาติ
8.ทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีผลผลิตและรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นเพื่อความมั่นคงของประเทศตามแนวชายแดนไทย-พม่า
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  
 

ลักษณะโครงการ :  

ผู้ได้รับประโยชน์ :

1.ราษฎร 4 เผ่า 20 ครอบครัว มีความมั่นคงในชีวิต และได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอมีพอกิน ตลอดจนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นกำลังในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่โครงการฯ อีกทั้งมีความสำนึกในความเป็นคนไทยและรักประเทศไทย พร้อมเป็นยามเฝ้าระวังป้องกันประเทศและต่อต้านขบวนการค้ายาเสพติด เพิ่มความมั่นคงของประเทศตามแนวชายแดนไทย-พม่า
2.ได้ทราบแนวทางในการจัดการให้ชาวเขา 4 เผ่า สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างกลมกลืน โดยไม่ทำลายป่า
3.ป่าต้นน้ำ จำนวน 16,720 ไร่ ได้รับการป้องกันและฟื้นฟูให้อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแหล่งควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
4.ได้ข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
5.สามารถเก็บกักน้ำและทดน้ำเข้าสู่ระบบท่อส่งน้ำ   ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของราษฎรในโครงการฯ ประมาณ 200 ไร่
6.ราษฎรสามารถใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 20 ครัวเรือน
7.ราษฎรสามารถใช้น้ำในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเลี้ยงปลาเรนโบว์เทร้าท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8.ราษฎรสามารถใช้น้ำในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเลี้ยงปลาสเตอเจียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9.ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีผลผลิตและรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้น
10.ราษฎรเกิดความรักป่า ร่วมอนุรักษ์และรักษาสภาพต้นน้ำลำธารธรรมชาติ


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

โครงการฯ มีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ และพื้นที่เขตที่พักอาศัย ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่ลาดเชิงเขาอยู่ตามแนวลำน้ำแม่หาด กรมชลประทานได้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างฝายทดน้ำในลำห้วยสาขาของลำห้วยแม่หาด จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

ฝายแม่หาด 1  (ในลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่หาด)
-ที่ตั้งโครงการ บ้านนามน หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด 47 QMB 506-749 ระวาง 4748 III มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด L7018
-ประเภทโครงการ ฝาย คสล. พร้อมระบบส่งน้ำ
-พื้นที่รับน้ำฝนเหนือหัวงานประมาณ 4.50 ตร.กม.
-ระดับสูงสุดของลำห้วยสายหลัก + 1,619.00 ม.(รทก.)
-ระดับท้องลำห้วยจุดที่ตั้งหัวงาน + 1,320.00 ม.(รทก.)
-ความยาวลำห้วยจากต้นน้ำถึงหัวงาน 3.90 กม.
-ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,070.90 มม.
-ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ยทั้งปี  ประมาณ 1.39 ล้าน ลบ.ม.
-ปริมาณน้ำนองสูงสุด (Return  Period  25  ปี) 11.90 ลบ.ม./วินาที
-อาคารหัวงานฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวสันฝาย  7.00 ม. ความสูง 1.50 ม. 

ฝายแม่หาด 2  (ในลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่หาด)
-ที่ตั้งโครงการ   บ้านนามน  หมู่ที่ 7  ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด  47 QMB  515-742  ระวาง  4748  III  มาตราส่วน  1:50,000 ลำดับชุด L 7018
-ประเภทโครงการ ฝาย คสล. พร้อมระบบส่งน้ำ
-พื้นที่รับน้ำฝนเหนือหัวงานประมาณ 3.75 ตร.กม.
-ระดับสูงสุดของลำห้วยสายหลัก + 1,666.00 ม.(รทก.)
-ระดับท้องลำห้วยจุดที่ตั้งหัวงาน + 1,315.00 ม.(รทก.)
-ความยาวลำห้วยจากต้นน้ำถึงหัวงาน 3.20 กม.
-ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,070.90 มม.
-ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ยทั้งปี  ประมาณ 1.158 ล้าน ลบ.ม.
-ปริมาณน้ำนองสูงสุด (Return  Period  25  ปี) 10.50 ลบ.ม./วินาที
-อาคารหัวงานฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวสันฝาย 7.00 ม. ความสูง 1.50 ม.

ฝายแม่หาด 3  (ในลำน้ำแม่หาดสายหลัก)
-ที่ตั้งโครงการ บ้านนามน หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ กัด 47 QMB 502-736 ระวาง 4748 III มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด L 7018
-ประเภทโครงการ ฝายเกเบี้ยนแกนคอนกรีต พร้อมระบบส่งน้ำ
-พื้นที่รับน้ำฝนเหนือหัวงานประมาณ 46.02 ตร.กม.
-ระดับสูงสุดของลำห้วยสายหลัก + 1,769.00 ม.(รทก.)
-ระดับท้องลำห้วยจุดที่ตั้งหัวงาน + 1,335.00 ม.(รทก.)
-ความยาวลำห้วยจากต้นน้ำถึงหัวงาน 10.00  กม.
-ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,070.90 มม.
-ปริมาณน้ำไหลผ่านหัวงานเฉลี่ยทั้งปี  ประมาณ 9.52 ล้าน ลบ.ม.
-ปริมาณน้ำนองสูงสุด  (Return  Period  25  ปี) 79.0 ลบ.ม./วินาที
-อาคารหัวงานฝายเกเบี้ยนแกนคอนก ความยาวสันฝาย 13.50 ม. ความสูง 3.00 ม.

ดำเนินการก่อสร้างระบบประปาภูเขา โดยวางท่อความยาวรวม ๔,๒๕๐ ม. และสร้างถังเก็บน้ำ คสล.ความจุ ๗ ลบ.ม. จำนวน ๖ ถัง ติดตั้งถังน้ำไฟเบอร์กลาง ขนาดความจุ ๓,๐๐๐ ลิตร จำนวน ๒๖ ถัง

 

 

 

ความสำเร็จของโครงการ :

นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เปิดเผยว่า โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำตามแนวพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดทำโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้น โดยใช้หลักการ 3 อ. คือ อิ่ม อุ่น และอุดมการณ์ นั่นคือพัฒนาคุณภาพชีวิต เรียกว่า อิ่ม สร้างความมั่นคง เรียกว่า อุ่น การสร้างจิตสำนึก เรียกว่า อุดมการณ์ ซึ่งมีราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 ครอบครัว โดยมอบหน้าที่ให้ดูแลรักษาป่าต้นน้ำลำธาร จำนวน 16,520 ไร่ พร้อมทำหน้าที่เป็นยามรักษาชายแดนรวมทั้งแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่พร้อม ทั้งศึกษารูปแบบ วิธีการ และแนวทางในการจัดการให้คนอยู่กับป่าไม้อย่างกลมกลืนโดยไม่ทำลายป่า
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง เป็นเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ครอบคลุมพื้นที่ 16,850 ไร่ ภูมิประเทศ เป็นภูเขาสลับหุบห้วย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 1,200-1,300 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยดำ มีอุณหภูมิหนาวเย็นตลอดทั้งปี เฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,854 มิลลิเมตรต่อปี ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 170 กิโลเมตร มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้พัฒนาเพื่ออุปโภคบริโภคของเกษตรกรจากห้วย สาขาจำนวน 5 ห้วย และจากลำน้ำแม่หาด ซึ่งเป็นสายหลักไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่โครงการ
“ในการนี้องคมนตรีและคณะได้ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานในโครงการศึกษาวิจัยปลาเทราต์ เพื่อขยายผลสู่การเพาะเลี้ยงของราษฎรในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ซึ่งพบว่าประสบความสำเร็จ พร้อมที่จะขยายผลสู่ราษฎรเพื่อเพาะเลี้ยงสำหรับการบริโภคในครัวเรือนและเพาะ เลี้ยงเชิงพาณิชย์ต่อไป” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว
สำหรับปลาเรนโบว์เทราต์นั้น ได้นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อปี 2512 ปัจจุบันสามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้ในประเทศไทย ซึ่งในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ ประสบผลสำเร็จสามารถวางไข่ได้ดี เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 7-8 เดือน ก็สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้ และสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ขณะที่ต่างประเทศต้องใช้เวลาเลี้ยงนานถึง 1 ปีครึ่ง ปลาเรนโบว์เทราต์เป็นปลาน้ำจืดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงมากกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่น และอาจจะมากกว่าปลาทะเลหลายชนิด เป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสายยาวซึ่งปกติจะพบในพืชและสัตว์บางชนิด แต่คนเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อการบริโภค เป็นปลาที่มีคุณภาพทั้งความแน่น สะอาด รสหวานนิ่ม มีก้างไม่มาก ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด
การขยายผลสู่การเพาะเลี้ยงของราษฎรในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยดำ ที่จะดำเนินการต่อไปนั้นจะลดการนำเข้าปลาชนิดนี้จากต่างประเทศได้พอสมควร ที่สำคัญจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ราษฎรไทยสามารถและมีโอกาสเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อร่างกายสูงได้อย่างเต็มที่และมีราคาถูกกว่าก่อนหน้านี้หลายเท่าตัว นับเป็นสายพระเนตรที่ยาวไกลในสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้สร้างสุขให้แก่ราษฎรและผืนแผ่นดินไทยให้บังเกิดความยั่งยืนโดยทั่วกัน.

 
   


ที่มาของข้อมูล : www.chiangmai.go.th/project/doikam.html , www.rdo3-afdc.com ,www.rid.go.th ,สำนักงาน กปร. , นสพ.เดลินิวส์

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.