หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดเพชรบุรี

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ ทรงพบเห็นสภาพปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ทรงมีรับสั่งความตอนหนึ่งว่า “หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด” จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

1. แนวพระราชดำริเริ่มโครงการ (ปี 2526) มีสาระสำคัญให้พัฒนาพื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเน้นการฟื้นฟูป่าไม้ควบคู่กับการเพาะปลูก โดยจัดระเบียบการใช้ที่ดินภายในโครงการใช้ที่ดินภายในโครงการให้เหมาะสม และให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยทำกินและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ฯ เพื่อจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ให้ประชาชนทั่วไปได้มาศึกษาดูงาน และนำตัวอย่างไปประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นของตนเองต่อไป

2. แนวพระราชดำริในระยะต่อมา (ปี 2529,2534,2535,2537,2538,2539 และ2540) ประกอบด้วยแนวพระราชดำริเพิ่มเติมในการพัฒนาด้านต่างๆ มีสาระสำคัญ ดังนี้

          2.1 ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟุระบบนิเวศ
                  - ให้มีการสร้างฝายเก็บน้ำ (ฝายชุมฉ่ำ) ตามร่องน้ำในช่องเขาต่างๆ และ
                    ทำระบบกระจายน้ำกระจายความชุ่มชื้นไปในดินซึ่งจะเป็นการสนับ
                    สนุนการปลูกฟื้นฟุป่าในรูปแบบ “ป่าเปียก” หรือ “ภูเขา”
                  - ให้มีการทดลองการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย
                    ของดินในลักษณะของ “เขื่อนที่มีชีวิต” ในพื้นที่ต่างๆ

          2.2 ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อการพัฒนาการเกษตรในด้านต่างๆ เช่น การเกษตรผสมผสาน วนเกษตรการปลูกพืชสมุนไพร การผสมพันธุ์พืชสองชั้น เพื่อคัดเลือกพันธุ์แท้ให้กับราษฎร เป็นต้น เน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นตัวอย่างในการเผยแพร่/ขยายผลดังกล่าว ควรเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามความสมัครใจของราษฎร และทางราชการควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนระบบผลิตและการตลาด

3. แนวพระราชดำริเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2541 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

          3.1 สึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำบริเวณพื้นที่ดินเสื่อมโทรมโดยปลูกแฝกควบคู่ไปกับพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
          3.2 ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มผลิตผักปลอดจากสารพิษ โครงการเกษตรรวมตัวสามัคคี
 
ที่ตั้งของโครงการ :

ตำบลห้วยทรายเหนือและตำบลสามพะเยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

   
วัตถุประสงค์โครงการ :
1. การพัฒนาป่าไม้เอนกประสงค์ การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนให้กลับคืนสู่สภาพสมดุลตามธรรมชาติ
2. ศึกษา ทดลอง วิจัยเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรและนำผลที่ได้เป็นตัวแบบในการขยายผลต่อไป โดยเน้นการดำเนินการในลักษณะที่เป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ” ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และประชาชนได้มีโอกาส ในการเรียนรู้รูปแบบและกระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืนร่วมกัน
3. เพื่อจัดระเบียบการใช้ที่ดินภายในโครงการให้เหมาะสมและจัดให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยทำกิน และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
   
หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
สำนักงาน กปร. , สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรี , สำนักวิชาการป่าไม้ (ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้) , สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ส่วนวิจัยอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า) , กรมที่ดิน , กรมพัฒนาชุมชน , กรมป่าไม้ , กรมชลประทาน , กรมประมง , กรมพัฒนาที่ดิน , กรมปศุสัตว์
 

ลักษณะโครงการ :
เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา
มีพื้นที่ประมาณ 15,880 ไร่ 
          ทิศเหนือ จรดห้วยทรายเหนือ และเขาเสวยกะปิ
          ทิศตะวันออก จรดคลองชลประทานสายหัวหิน
          ทิศตะวันตก จรดเขาสามพระยาและเขาเสวยกะปิ
         สภาพเดิมของพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ สลับกับพื้นที่ภูเขาประมาณร้อยละ  ๒๐ ซึ่งทางด้านตะวันตกในพื้นที่ดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะเนื้อทรายมีมากในพื้นที่นี้

ผู้ได้รับประโยชน์ :

เกษตรกรรอบศูนย์ฯ และกลุ่มผู้ศึกษาดูงาน


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

กิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่
1. พัฒนาพื้นที่ของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเพื่อทดลองการใช้ระบบชลประทานที่เหมาะสมตลอดจนศึกษาการพัฒนาป่าไม้อเนกประสงค์
2. จัดหาแหล่งน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ และการปลูกป่าไม้อเนกประสงค์
3. สร้างแนวป้องกันไฟป่าโดยใช้ระบบเปียก เช่น แนวคูคลอง และพืชเศรษฐกิจสีเขียวตามแนวคูคลอง เพื่อเป็นการทดลองสำหรับใช้เป็นแนวป้องกันไฟไหม้ป่า
4. จัดตั้งและพัฒนาหมู่บ้านโดยให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าและได้ใช้ประโยชน์จากป่าไม้ เพื่อทำการอุตสาหกรรมเผาถ่าน ฯลฯ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่ม และพัฒนากลุ่มให้สามารถบริหารงานด้วยตนเองต่อไป
         นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้วยังได้ดำเนินการเกี่ยวกับงานศึกษาการพัฒนาปศุสัตว์และทุ่งหญ้า งานศึกษาทดลองวิชาการเกษตร งานศึกษาการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมผลิตผลจากป่างานศึกษาการพัฒนาสมุนไพร และงานศึกษาการพัฒนาองค์กรประชาชน

 

ความสำเร็จของโครงการ :

การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้ดำเนินการปลูกหญ้าแฝกขวางตามแนวระดับให้กอชิดติดกันตามความเหมาะสมของพื้นที่ลาดชัน เพื่อช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ ที่เกิดจากการชะล้างของหน้าดินในบริเวณร่องน้ำ แนวของหญ้าแฝกช่วยเก็บกักตะกอนเป็นกำแพงป้องกันดินตามธรรมชาติล้อมดินไว้เพื่อสร้างหน้าดินขึ้นมาใหม่โดยทำการปลูกป่าเสริมลงไปในพื้นที่ ส่วนบริเวณแหล่งน้ำ รากของหญ้าแฝกยังช่วยดูดซับสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

การฟื้นฟูสภาพป่าไม้
การปลูกป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง
ประโยชน์อย่างที่ 1 การปลูกไม้โตเร็ว เพื่อพัฒนาและสร้างหน้าดินขึ้นใหม่ และยังสามารถนำไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
ประโยชน์อย่างที่ 2 การปลูกไม้ดั้งเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากไม้ดั้งเดิมมีความแข็งแรงและทนต่อสภาพของดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์อย่างที่ 3 การปลูกไม้เศรษฐกิจหรือไม้ผล เพื่อนำไม้มาใช้ประโยชน์ในอนาคต
ประโยชน์อย่างที่ 4 เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่

ป่าชายเลน
เนื่องจากปริมาณน้ำที่ไหลจากพื้นที่ตอนบนของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จะไหลเข้าสู่ระบบฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือฝายแม้ว หรือCheck dam คันดินกั้นน้ำและคันดินเบนน้ำ ส่วนที่เหลือจะไหลลงสู่แหล่งน้ำตอนล่างแล้วออกสู่ทะเล เป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองบางกราใหญ่และบางกราน้อย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าชายเลนและป่าชายหาด ในเขตพื้นที่ของกองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษค่ายพระรามหก ทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากขึ้น ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์น้ำ แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เมื่อเจริญเติบโตก็จะออกสู่ทะเลเป็นแหล่งอาหารของประชาชนต่อไป

ด้านการส่งเสริมอาชีพ

ส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพ โดยยึดหลักการตามแนวพระราชดำริ เช่น การทำเกษตรโดยใช้ ทฤษฎีใหม่ เกษตรแบบผสมผสาน และระบบวนเกษตร ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ ประมง เป็นต้น โดยมี เกษตรกรเป็นแกนนำกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้เป็นไปตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดำเนินชีวิตแบบ เรียบง่าย ประหยัด พอมีพอกิน พอใช้จ่ายในครัวเรือนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมนี้ ทางศูนย์ฯ ได้เน้นให้เกษตรกรใช้หญ้าแฝกปลูกสลับเป็นแถบกับแปลงของพืช ซึ่งระบบรากของหญ้าแฝกจะลงลึกในแนวดิ่งไม่แผ่กระจาย จึงสามารถปลูกร่วมกับพืชชนิดต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ไม้ผลตลอดจนพืชไร่ และไม่เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่อย่างใด ใบของหญ้าแฝกใช้เป็นวัสดุ คลุมหน้าดิน ป้องกันการระเหยของน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ย่อยสลายตัวง่าย ให้ธาตุอาหารและอินทรียวัตถุ แก่พืชได้เป็นอย่างดี สนับสนุนการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก ตลอดจนปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อปรับปรุง โครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชชนิดต่างๆ

ด้านสุขภาพอนามัย
ส่งเสริมให้ชุมชนได้รับความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ราษฎรในพื้นที่โครงการ ให้ความรู้ในกลุ่มบุคคลทั่วไป แม่และเด็ก ตลอดจนทั้งคนชรา จัดให้มีการตรวจสุขภาพอนามัย เบื้องต้นการวางแผนครอบครัว ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพ คือการป้องกันสุขภาพให้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา โดยมีสถานีกาชาด อำเภอหัวหินและสาธารณสุขอำเภอชะอำเป็นผู้ดำเนินการ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

ด้านการศึกษา
สนับสนุนวิทยากรให้กับโรงเรียนในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ตลอดจนในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้งด้านวิชาการและการประกอบอาชีพ ปัจจุบันมีโรงเรียนอยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 10 โรงเรียน กับ 1 ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็กนักเรียน ตลอดจนการดูแลด้านสุขภาพอนามัย ด้านโภชนาการ

   


ที่มาของข้อมูล : http://www.huaysaicenter.org/projects.php , http://www.panyathai.or.th , http://guru.sanook.com/search , http://www.dnp.go.th/planing/special_project/2545/Central/HuaySai.htm

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.