หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จุดเยี่ยมชม ประมวลภาพกิจกรรม ตอบคำถามชิงของรางวัล ติดต่อเรา

 

     

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดฉะเชิงเทรา

พระราชดำรที่ตั้งโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ

ลักษณะโครงการ ผู้ได้รับประโยชน์ ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

ความสำเร็จของโครงการ ประมวลภาพโครงการ

   
พระราชดำริ :
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 
แนวพระราชดำริ :

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศาลพระบวรราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ที่นั้นราษฎร 7 ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณหมู่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทราจำนวน 264 ไร่เพื่อต้องการให้สร้างพระตำหนัก ด้วยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่ไหนก็พยายามที่จะพัฒนาทำให้ที่ดินเจริญขึ้น เนื่องจากผืนดินเสื่อมโทรมไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังพระราชดำรัส “... ประวัติมีว่า ตอนแรกมีที่ดิน 264 ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้เพื่อสร้างตำหนักในปี 2522 ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดเขาหินซ้อน ตอนแรกก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถาม~ก็ได้พบบนแผนที่พอดีอยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อแผนที่ 4 ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่าสถานที่ตรงนั้น อยู่ตรงไหน ก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดีก็เลยเริ่ม ทำในที่นั้น ...”
          พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพเสื่อมโทรม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เนื้อดินเป็นทราย มีการชะล้างพังทลายของดินสูง ดินรองรับน้ำได้เพียง 30 มิลลิเมตร มีการปลูกพืชชนิดเดียว (มันสำปะหลัง) ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน ผลผลิตพืชที่ได้รับต่ำ ดังพระราชดำรัส “…ปัญหาที่ 1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา : 2522 ...มีการตัดป่า แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งทำให้ดินจืดและกลายเป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ในฤดูแล้งจะมีการชะล้างเนื่องจากลมพัด (wind erosion) ในฤดูฝนจะมี การชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ (water erosion)…” และ “…ตอนศึกษาดูพื้นที่นั้น พัฒนายากมากเพราะว่ามีแต่หิน แล้วก็เขาปลูกมันสำปะหลัง ก็เลยนึก ว่าอาจจะสาธิตการปลูกมันสำปะหลัง มันสำปะหลังนั้นแม้จะไม่มีน้ำ ก็ยังพอปลูกได้โดยง่าย แต่ที่นี่เขาปลูกมันสำปะหลังไม่ขึ้น หมายความว่าอะไร ปุ๋ยไม่มี น้ำไม่มี มีแต่ทราย ก็เลยว่าจะต้องพัฒนาที่นี่ให้เป็นที่ที่สามารถปลูกแม้แต่มันสำปะหลังอย่างนี้~การปลูกมันสำปะหลังก็ต้องรู้การสร้างดิน ไม่ใช่ทราย มีแต่ทราย แล้วก็สร้างน้ำ เพื่อที่จะให้มีความชุ่มชื้นหน่อย มันสำปะหลังนี้เขาเข้มแข็งมาก ไม่ต้องน้ำเท่าไร แต่ที่นั่นมันไม่ขึ้น ก็ถามกำนันคนที่ให้ที่ เขายอมรับว่าเขาให้เพราะเขาทำไม่ได้ เพราะเขาปลูกมันสำปะหลังไม่ได้ มหัศจรรย์ แต่เขาก็ยินดีถวาย แล้วก็ 264 ไร่ ก็เห็นว่า น้อยเกินไป ก็เลยบอกว่าที่ตรงนั้นขอซื้อเพิ่มเติมหน่อยได้ไหม เขาก็ขาย ขายตรงนั้น เขาเตรียมสำหรับปลูกมันสำปะหลังแล้ว แต่ว่าเขาไม่ได้ปลูก...”
          เมื่อทำการสำรวจสภาพปัญหาของพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานข้อเท็จจริงแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 ความตอนหนึ่งว่า “...อันแรกก็ได้ให้กรมชลประทานได้สร้างเป็นอ่างเก็บน้ำ ซึ่งดูๆไปแล้วก็แปลก เพราะว่าอ่างเก็บน้ำนั้นเท่ากับกินที่ของที่ที่ได้มาเกือบทั้งหมดจะเหลือเพียงไม่กี่ไร่ที่จะใช้สำหรับการเพาะปลูก โดยใช้น้ำชลประทานก็เริ่มต้นอย่างนั้นคือ ไม่ถือว่าผิดหลักวิชา ความจริงก็ผิดหลักวิชามีที่เท่าไรก็มาใช้ ส่วนใหญ่เป็นอ่างเก็บน้ำ แล้วก็มาใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกเพียงไม่กี่ไร่ แต่ถือว่าทำเป็นตัวอย่างแล้ว ผลประโยชน์ที่จะได้ก็ไม่ใช่เฉพาะในที่ของเรา เป็นในที่ที่ลงไป ข้างล่างคงได้รับประโยชน์สำหรับสถานที่ก่อสร้างนั้น...” และ “...ก่อนอื่นได้สร้างเขื่อนกั้นห้วยเจ๊ก ซึ่งมีน้ำซับ (พิกัด QR.715208) เมื่อไปทำพิธีเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่วัดเขาหินซ้อน ได้ไปสำรวจพื้นที่และกำหนดที่ทำเขื่อน (8 สิงหาคม 2522) ต่อจากนั้นได้สร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม (นอกเขต) คือ อ่างห้วยสำโรงเหนือ และห้วยสำโรงใต้...” และ “...เมื่อพัฒนาน้ำขึ้นมาบ้างแล้ว ก็เริ่มปลูกพืชไร่และเลี้ยงปลาในที่ลุ่ม ส่วนที่อยู่บนเนินก็เลี้ยงปศุสัตว์ ปลูกหญ้า และต้นไม้ผลและป่า การเลี้ยง ปศุสัตว์ ปลูกหญ้าและต้นไม้นี้ จะทำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น ในที่สุดจะใช้ที่ดินได้ทั้งหมด กรรมวิธีนี้อาจต้องใช้เวลานาน จะสามารถเปลี่ยนจากกระบวนการที่ไปทางเสื่อมมาเป็นทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สมบูรณ์~เมื่อ จำแนกชั้นสมรรถนะของดินสำหรับพืชไร่ และการปลูกป่าแล้ว ก็สมควรที่จะมีการปลูกพันธุ์ไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผิวดินและความชุ่มชื้นของอากาศแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการใช้ในครัวเรือน อาทิ ไม้เพื่อทำฟืน ไม้เพื่อทำบ้าน และไม้ผล เป็นต้น...”
          ทรงพระราชทานพระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวคือ “…ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษา ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้าอากาศและประชาชนในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน…” และ “…เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิต ประชาชนจะหาเลี้ยงชีพในท้องที่ จะทำอย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ…” ที่สำคัญคือ “…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกองทั้งในด้านการเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชน ก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายความถึงว่า สำคัญปลายทาง คือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์…”

ทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
1) พัฒนาให้เป็นศูนย์ตัวอย่างด้านเกษตรกรรมที่สมบูรณ์แบบทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำ ฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนาดิน การวางแผนปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกร และผู้สนใจสามารถเข้ามาชมศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติตามได้ เพื่อพัฒนาอาชีพและพื้นที่ทำกินของตนให้เพิ่มผลผลิตมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริม เพิ่มฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพิ่มรายได้จากอาชีพหลักอีกทางหนึ่ง
2) พัฒนาพื้นที่รอบนอกศูนย์ศึกษาฯบริเวณลุ่มน้ำโจนให้มีความเจริญขึ้น เป็นตัวอย่างแก่การพัฒนาพื้นที่อื่นๆต่อไป
3) ให้นำวิธีการที่ได้ผลมาแล้วถูกต้อง ประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุดมาดำเนินการ
          ต่อมาราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก 497 ไร่ ผนวกกับที่ดินบริเวณสวนรุกขชาติและสวนพฤกษศาสตร์ และได้ทรงซื้อที่ดินที่อยู่ติดกับศูนย์ฯ เพิ่มเติมเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน เนื้อที่ 655 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมดของศูนย์ฯ 1,895 ไร่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชื่อว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา” (สำนักราชเลขาธิการ ที่ รล 0002/3041 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2523) และต่อมาได้พระราชทานนามว่า “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชดำริแห่งแรกในจำนวน 6 ศูนย์ทั่วประเทศ
          ผลงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปรียบเสมือน “ต้นแบบ” ของความสำเร็จ ที่สามารถเป็นแนวทาง และตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ โดยรอบได้ทำการศึกษา ดังที่ได้ทรงพระราชทานประวัติเบื้องต้นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ความว่า “...ศูนย์ศึกษา ที่หินซ้อนก็เป็นศูนย์ศึกษาแรก ผลที่ศูนย์ศึกษาหินซ้อนนั้นอาจมีน้อย เพราะว่าภูมิประเทศที่จำกัด ต่อมาความคิดของศูนย์ศึกษาก็ได้แผ่ขยาย ออกไป...”
          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนองพระบรมราโชบายในการบริหารจัดการองค์กรตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเอนกประสงค์ของผู้คนในทุกด้าน โดยให้ศูนย์ฯ ทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” (Living Natural Museum) และเป็นศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) กล่าวคือ เป็นทั้งศูนย์สรรพวิทยาการ และการพักผ่อนหย่อนใจไปในคราวเดียวกัน ดังพระราชดำริที่ว่า “…เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่คนทุกระดับสามารถที่จะมาดู จะว่าเป็นโรงเรียนก็ไม่ใช่ แต่ว่าเป็นที่มาดูมาศึกษาก็ได้ คือ เป็นทัศนศึกษา พานักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยก็ตาม หรือไม่ใช่นักเรียน เป็นข้าราชการทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยมาจนถึงชั้นผู้ใหญ่ทุกระดับ ทุกอย่าง คือ หมายความว่าทุกหน้าที่สามารถมาดูในแห่ง เดียวกัน วิธีการที่จะพัฒนาในสายต่างๆ ของวิชาการ อันนี้เท่ากับเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่จะมาดูอะไร มีวิชาการใดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา~นอกจากนั้นไปดูศูนย์ศึกษาก็ไปหย่อนใจได้ เพราะว่าทำงานเครียดก็ไปเที่ยวศูนย์ศึกษาเหมือนไปเที่ยวสวนสาธารณะก็ได้ความรู้ด้วย นี่แหละเป็นหลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนา…”
          ด้วยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผลจากการศึกษาพัฒนาที่ผ่านมา 26 ปี แสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อม และระบบนิเวศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังที่ได้ทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2540 ความว่า “…ที่ เขาหินซ้อนหลายฝ่ายช่วยกันใช้เวลา 15 ปี ที่นี่จึงเป็นแม่แบบช่วยชาวบ้านได้ ที่อื่นเลยทำง่ายขึ้น ต้องอดทน แล้วเป็นไง ก็ได้ประโยชน์ ชาวบ้านมีความสุข เราก็สุข ที่นี่ เมื่อก่อนปลูกมันสำปะหลังยังไม่ขึ้นเลย เดี๋ยวนี้ดีขึ้น แต่ก็เย็นสบายดี เปลี่ยนแปลงไป มาก…”

 
 
ที่ตั้งของโครงการ : หมู่ที่ 2 ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา
   
วัตถุประสงค์โครงการ :

 

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :
สำนักงาน กปร.
 

ลักษณะโครงการ :
เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา

ผู้ได้รับประโยชน์ :
เกษตรกรบริเวณรอบศูนย์

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :

พื้นที่รับผิดชอบ
1.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเนื้อที่ 1,240 ไร่ และพื้นที่ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน เนื้อที่ 655 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดของศูนย์ฯ 1,895 ไร่
2.หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ บริเวณลุ่มน้ำโจน ใน ตำบลเขาหินซ้อน และตำบลเกาะขนุน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหมู่บ้าน เป้าหมายในการปฏิบัติงานขยายผล จำนวน 15 หมู่บ้าน เนื้อที่ 113,214 ไร่
3.พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่ ตำบลเสม็ดเหนือ อำเภอบางคล้า จังหวัด ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 114 ไร่
4.พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย เกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านธารพูด ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 32 ไร่

บทบาทหน้าที่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นศูนย์ เรียนรู้ สถาน “ศึกษา” และให้การ “พัฒนา” ไปพร้อมกัน กล่าวคือ มีหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และแสวงหาแนวทางหรือวิธีการพัฒนาถ่ายทอด ความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่างๆ ที่เหมาะสมสอด คล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อการประกอบอาชีพของ ราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ให้ราษฎรได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง เมื่อศึกษาทดลองได้ผลแล้วก็จะนำไปขยายผลใน ลักษณะ “การพัฒนา” สู่ราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณ หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และขยายผลเป็นวงกว้างออกไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการทำหน้าที่เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวให้ประชาคมโลกทุกชาติทุกชนชั้นได้รับรู้ถึงโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดของหลักการและแนวทาง การปฏิบัติที่มุ่งสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาคนให้สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างพออยู่พอกินให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อส่งเสริมและให้บริการประชาชนนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ 4 ประการ คือ

1.เกษตรทฤษฎีใหม่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดย ตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทาง เศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และ ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ทรงชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ ประชาชนในทุกระดับ รวมถึงการพัฒนาและบริหาร ประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนา เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความ พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความ เพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและ พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้าง ขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ปลูกฝังให้ เกษตรกร หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ตระหนักถึงพระราชดำริที่ว่า “การพัฒนาคนให้สามารถดำรงชีวิตได้แบบพออยู่พอกิน สามารถพึ่งพาตนเองได้” จึงได้แนะนำส่งเสริมให้ทำการ เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นการเกษตร ผสมผสาน เหมาะสำหรับเกษตรรายย่อยที่มีพื้นที่ทำกิน ขนาดเล็ก 10-15 ไร่ โดยมีการจัดแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วนคือ แหล่งน้ำ นาข้าว พืชผสมผสาน และโครงสร้าง พื้นฐาน ในอัตราส่วน 30:30:30:10 หรือตามสภาพภูมิ- ประเทศอันเป็นแนวทางพัฒนาให้เกิดการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริม สร้างระบบนิเวศ ลดความเสี่ยงด้านการเกษตรเมื่อเปรียบ เทียบกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมี รายได้ใช้จ่ายตลอดปี หากเป็นการเกษตรอินทรีย์ด้วยแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ป้องกันกำจัดวัชพืชและโรค แมลงศัตรูพืชก็จะหมดไป ช่วยสร้างสมดุลของระบบการ ผลิตให้เกิดความพอเพียง พื้นที่เพาะปลูกมีความหลาก หลายทางชีวภาพมากขึ้น เกิดความยั่งยืนของทรัพยากร ธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตทั้งทรัพยากรดิน น้ำ พรรณพืช และป่าไม้ ช่วยเสริมสร้างความคิด และจิตสำนึกของการ พึ่งพาตนเองได้ ภายใต้พื้นฐานของความพอเพียง เมื่อเกิด ความพอเพียงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ความยั่งยืนก็จะ บังเกิดขึ้นในที่สุด

2.ศูนย์ขยายพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดิน และน้ำ และการปรับปรุงบำรุงดิน
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า “…การปรับปรุงที่ดิน นั้นต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไว้ ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อ ที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผิวดิน…” เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2534 ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ หญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ว่าให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกัน การชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน ขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่ายๆ ประหยัด ไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก เกษตรกร สามารถดำเนินการเองได้ ดังพระราชดำริว่า “...หญ้าแฝก เป็นพืชเอนกประสงค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง แพร่หลาย นอกจากคุณประโยชน์หลักของหญ้าแฝกที่ใช้ ปลูกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และช่วยฟื้นฟู ความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว รากหญ้าแฝกที่แผ่หยั่งลึก ลงไปในดินยังช่วยดูดซับสารพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำที่ไหล ผ่าน อีกทั้งคุณสมบัติพิเศษของกอและใบหญ้าแฝกที่ปลูก ล้อมรอบพื้นที่เกษตร ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันปลวก และหนูไม่ให้เข้ามาทำความเสียหายให้กับพืชและผลิตผล ในพื้นที่นั้นๆ รวมทั้งใช้ป้องกันงูได้อีกด้วย...” และทรง ย้ำอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้ จะต้อง ชี้แจงให้ราษฎรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์มีส่วนร่วมและ ลงแรงด้วย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริตระหนักถึงภารกิจนี้ จึงได้ทำการขยายพันธุ์ กล้าหญ้าแฝกสำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้ นำเอาไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง พร้อมทั้งจัดทำเอกสาร คำแนะนำการปลูกขยายพันธ์หญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝก เพื่อดึงน้ำสร้างดินในพื้นที่แห้งแล้งดินเลว ส่งเสริมการ พัฒนาและรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ จัดทำแปลงเรียนรู้สาธิตและส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีน้ำไหลบ่า กัดเซาะหน้าดินและในพื้นที่ลาดเท การปลูกหญ้าแฝก บริเวณขอบบ่อป้องกันดินพัง และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ สงวนความชื้นในดินในแปลงเพาะปลูกพืชไร่และไม้ผล เป็นต้น

3.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสวนป่าสมุนไพร เขาหินซ้อนขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เพื่อให้เป็นแหล่งปลูกรวบรวม พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ สำหรับการศึกษาวิจัยทางวิชาการ เผยแพร่การใช้ประโยชน์ และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ปัจจุบันมีพืช สมุนไพรปลูกรวบรวมไว้ประมาณ 909 ชนิด

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการศึกษา วิจัยการ ใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรสำหรับการป้องกัน รักษา บรรเทา หรือกำจัดอาการของโรคบางชนิดที่เกิดขึ้นทั้งใน คน สัตว์ และพืช ทั้งนี้ เพื่อลดโทษและพิษภัยของสารเคมี ที่ตกค้างในร่างกาย เพื่อสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environment friendly) และเพื่อคืนสู่ธรรมชาติ (Back to the nature) อันเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรและผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อเพิ่ม มูลค่าสินค้าเกษตร

4.เป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้ให้บริการฝึกอบรมวิชาชีพด้านเกษตรกรรม สมบูรณ์แบบและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งการซ่อม เครื่องยนต์ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อสนองพระราชดำริ ในการให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์เรียนรู้ อันเป็นการเสริมสร้างความรู้ความสามารถ ในการประกอบอาชีพ ฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ และเป็น แนวทางในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างเสริมรายได้ เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปสามารถติดต่อขอเข้ารับการฝึก อบรมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังถือเป็นภารกิจในการเป็น แหล่งเรียนรู้และให้การฝึกงานแก่นักเรียน และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาทั่วไปอีกด้วย

 

ความสำเร็จของโครงการ :

แนวทางการดำเนินงาน
ทรงพระราชทานแนวทางการดำเนินงานให้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้

1.ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวง หาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่างๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเปรียบเสมือน “ต้นแบบ” ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่าง ให้แก่พื้นที่อื่นๆ ได้ทำการศึกษา

2.มีการแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักพัฒนาส่งเสริมและเกษตรกร การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆที่ได้ผลแล้ว ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้จริงในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริจึงเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและปฏิบัติ การเป็นแหล่งศึกษาทดลองของนักวิชาการ เป็นแหล่งแลก เปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ของนักพัฒนาส่งเสริม และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อปฏิบัติเป็นอาชีพของเกษตรกร

3.มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เน้นการพัฒนา แบบผสมผสาน อยู่บนหลักการและพื้นฐานของการพึ่งพา ตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์ศึกษาการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นตัวอย่างที่ดีของ แนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในพื้นที่ จัดเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการ พัฒนาที่ควรจะเป็นให้เป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่ลักษณะหนึ่งๆ นั้น จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่ การพัฒนาเฉพาะทางใดทางหนึ่ง ให้พยายามใช้ความรู้มาก สาขาและแต่ละสาขาให้ประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนา สาขาอื่น

4.การประสานงานระหว่างส่วนราชการแบบ บูรณาการ จัดเป็นแนวทางและวัตถุประสงค์สำคัญยิ่ง ประการหนึ่ง แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการ พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเน้นการประสานงาน การประสานแผน และการบริหารจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการต่างๆ ให้เกิดเป็นจริงขึ้น

5.เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ มีการศึกษา ทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงาน พร้อมกันในทุกด้าน ทั้งด้านการฟื้นฟูสภาพป่า การพัฒนา ที่ดิน การเพาะปลูกพืช การปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการ พัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ดังพระราชดำรัสให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริทำหน้าที่เสมือน “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มี ชีวิต” (Living Natural Museum) เป็นการให้บริการ ณ จุดเดียว หรือศูนย์รวมการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) โดยการเป็นศูนย์ฝึกอบรมหรือศูนย์เรียนรู้ ด้านเกษตรกรรมครบวงจร ซึ่งเกษตรกรและผู้เยี่ยมชมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประกอบอาชีพการ เกษตร และด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อพัฒนาชีวิต และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพัฒนา (Development Tourism) ให้นักท่องเที่ยวและประชาชน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้เข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อน ใจ ซึ่งนอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้วยังได้เรียนรู้ เรื่องการเกษตรและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ช่วยกระตุ้น จิตสำนึกของคนในชาติให้ตระหนักถึงการเป็นสถานศึกษา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริตระหนักถึงภารกิจนี้ จึงได้ทำการขยายพันธุ์ กล้าหญ้าแฝกสำหรับแจกจ่ายให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้ นำเอาไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง พร้อมทั้งจัดทำเอกสาร คำแนะนำการปลูกขยายพันธ์หญ้าแฝก การปลูกหญ้าแฝก เพื่อดึงน้ำสร้างดินในพื้นที่แห้งแล้งดินเลว ส่งเสริมการ พัฒนาและรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ จัดทำแปลงเรียนรู้สาธิตและส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีน้ำไหลบ่า กัดเซาะหน้าดินและในพื้นที่ลาดเท การปลูกหญ้าแฝก บริเวณขอบบ่อป้องกันดินพัง และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อ สงวนความชื้นในดินในแปลงเพาะปลูกพืชไร่และไม้ผล เป็นต้น

6.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งสวนป่าสมุนไพร เขาหินซ้อนขึ้นในปี พ.ศ. 2523 เพื่อให้เป็นแหล่งปลูกรวบรวม พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ สำหรับการศึกษาวิจัยทางวิชาการ เผยแพร่การใช้ประโยชน์ และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ปัจจุบันมีพืช สมุนไพรปลูกรวบรวมไว้ประมาณ 909 ชนิด

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการศึกษา วิจัยการ ใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรสำหรับการป้องกัน รักษา บรรเทา หรือกำจัดอาการของโรคบางชนิดที่เกิดขึ้นทั้งใน คน สัตว์ และพืช ทั้งนี้ เพื่อลดโทษและพิษภัยของสารเคมี ที่ตกค้างในร่างกาย เพื่อสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environment friendly) และเพื่อคืนสู่ธรรมชาติ (Back to the nature) อันเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรและผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้เสริม และเพื่อเพิ่ม มูลค่าสินค้าเกษตร

7.เป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้ให้บริการฝึกอบรมวิชาชีพด้านเกษตรกรรม สมบูรณ์แบบและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งการซ่อม เครื่องยนต์ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อสนองพระราชดำริ ในการให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์เรียนรู้ อันเป็นการเสริมสร้างความรู้ความสามารถ ในการประกอบอาชีพ ฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ และเป็น แนวทางในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างเสริมรายได้ เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปสามารถติดต่อขอเข้ารับการฝึก อบรมได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยังถือเป็นภารกิจในการเป็น แหล่งเรียนรู้และให้การฝึกงานแก่นักเรียน และนักศึกษา จากสถาบันการศึกษาทั่วไปอีกด้วย

   


ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร. ,ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผู้ที่เกี่ยวข้อง :
กลุ่มผู้ใช้น้ำ …………………………………………………………………………
เบอร์ติดต่อ ……………………………………………………………………………………….…
ที่อยู่ …………………………………………………………………………………………………

 



Copyright 2010 - Office of The Royal Development Projects Board. All rights reserved.