โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) รุ่นที่ 10
-------------------------------------
1. หลักการและเหตุผล
ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย ครอบคลุมในทุกสาขาการพัฒนาและวิถีชีวิตของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เฉพาะพระราชดำริที่ได้ดำเนินการเป็นโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น บัดนี้นับได้มากกว่า 4,000 โครงการ แนวพระราชดำริทั้งหลายนี้ เป็นการตกผลึกแห่งพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ทรงผสมผสานระหว่างหลักวิชา ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อม เกิดเป็นหลักการทรงงาน ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนาด้านต่างๆ ที่วางรากฐานอยู่บนหลัก“ภูมิสังคม” อาทิ ทฤษฎีใหม่ แกล้งดิน ฝายชะลอน้ำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ซึ่งล้วนบังเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์เป็นที่ยอมรับสรรเสริญและน้อมนำไปปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะดำเนินพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนสืบต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยพระราชทาน พระปฐมบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งอาณาราษฎรตลอดไป” สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเวลาร่วม 40 ปี มีความเห็นว่าการขับเคลื่อนให้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์สุขแก่ประชาชนนั้น เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกกระทรวง กรม หน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งหลายอยู่แล้ว แต่ยังเป็นไปในลักษณะที่เน้นภารกิจขององค์กรของตนหรือความถนัดของตนเป็นหลัก ดังนั้น หากมีช่องทางให้ผู้บริหารในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้ได้ร่วมรับรู้หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริในด้านต่างๆ หลักการทรงงาน ตลอดจนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปประยุกต์ใช้ในภาพรวมอย่างครบถ้วน รวมทั้งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่แต่ละหน่วยงานดำเนินการอยู่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสองประการได้แก่ประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และประโยชน์ต่อการสร้างสมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายคือประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ สมดังพระราชดำริที่พระราชทานในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในการศึกษา วิจัยและพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างมีบูรณาการของหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่ประชาชน ความว่า...กรมกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรองดองกัน ประสานกัน... ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์...
สำนักงาน กปร. จึงได้ร่วมมือกับสำนักสิริพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดหลักสูตรฝึกอบรม นักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ สำหรับผู้บริหารสังกัดสำนักงาน กปร. และภาคส่วนอื่นๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ให้สมดังพระปฐมบรมราชโองการ ตลอดจนเป็นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันหลักที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ
2) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ตลอดจนสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้นำองค์กรในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับลึกซึ้ง
4) เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายนักบริหารในการขับเคลื่อนและขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
3. กลุ่มเป้าหมาย จำนวนรุ่นละ 60 คน ดังนี้
3.1 กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาอบรม ดังนี้
(1) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารต้น อำนวยการสูง เชี่ยวชาญ อำนวยการต้นหรือชำนาญการพิเศษ (ระดับชำนาญการพิเศษต้องดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และต้องปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะงานอำนวยการหรือหัวหน้ากลุ่มงาน)
(2) ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มีชั้นยศและรับอัตราเงินเดือนตั้งแต่ขั้นพันเอก(พิเศษ) นาวาเอก(พิเศษ) นาวาอากาศเอก(พิเศษ) และพันตำรวจเอก (พิเศษ) ขึ้นไป
(3) พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานอื่นของรัฐต้องดำรงตำแหน่งเทียบได้กับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนตามข้อ (1)
(4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือปลัดเทศบาล มูลนิธิ หรือองค์กรไม่แสวงกำไร ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งสำนักงาน กปร. เชิญให้เข้าร่วม
3.2 บุคคลตามข้อ 3.1 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี
(2) ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร
(3) มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริหรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(4) อายุไม่เกิน 57 ปี
3.3 จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 60 คน จากสำนักงาน กปร. ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชน ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากราชดำริ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการน้อมนำหลักการทรงงานและการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หรือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ
3.4 การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม สำนักงาน กปร. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ผู้มีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ตามจำนวนที่กำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการศึกษาอบรมและความเป็นเครือข่ายความร่วมมือ สำนักงาน กปร. อาจพิจารณายกเว้นให้ผู้ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากที่กำหนดเข้ารับการอบรมได้
4. การรับการสมัคร
1) เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 – 31 มีนาคม 2565*
2) หน่วยงานต้นสังกัด เป็นผู้คัดเลือกและส่งบุคคลที่มีคุณสมบัติฯ สมัครเข้ารับการศึกษาอบรม
3) เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมใบสมัคร
- รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป โดยติดในใบสมัคร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
5. วิธีการ สถานที่และระยะเวลาฝึกอบรม
1) วิธีการศึกษาอบรม ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปราย การสัมมนา การศึกษาดูงานในประเทศ
และการปฏิบัติจริงโดยจัดทำโครงการพัฒนาในพื้นที่ที่ตกลงร่วมกันของรุ่น รวมถึงการนำเสนอโครงการดังกล่าวภายหลังจากสำเร็จการศึกษาอบรม
2) สถานที่ศึกษาอบรม
2.1 หลักสูตรที่เป็นการบรรยาย จำนวน 12 วัน ณ ห้องประชุม 101 ชั้น 1 สำนักงาน กปร.
2.2 สถานที่ศึกษาดูงานในประเทศ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 - 5 วัน
3) ระยะเวลาศึกษาอบรม* ระหว่างวันที่ 20 เมษายน – 17 มิถุนายน 2565 โดยปกติสัปดาห์ละ 3 วัน
(วันพฤหัสบดี-วันเสาร์ ยกเว้นกรณีศึกษาดูงาน) รวม 23 วัน เป็นการบรรยายในชั้นเรียน 12 วัน และศึกษาดูงาน
ในประเทศ 11 วัน
ทั้งนี้ กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
6. งบประมาณ
ใช้งบประมาณของสำนักงาน กปร. ปี 2565 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนด ให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด อาทิ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเพื่อเข้ารับการอบรม
เป็นต้น
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนในฐานะสถาบันหลักที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
2) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในการบริหารจัดการตลอดจนหลักการทรงงานและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับลึกซึ้งจนพร้อมที่จะนำไปเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติในการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3) มีผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนาองค์ความรู้ในการฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน อันเป็นการแสดงถึงศักยภาพในการแปลงผลจากการเข้ารับการอบรมไปสู่ภาคปฏิบัติ เช่น โครงการพัฒนาตัวอย่างและรายงานการศึกษาของกลุ่ม เป็นต้น
4) มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายของผู้บริหารในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มแข็งแบบบูรณาการ
*หมายเหตุ : กำหนดการต่างๆ จะพิจารณา กำหนดแน่นอน เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 คลี่คลาย
8. การประเมินผล
โครงการกำหนดเกณฑ์ประเมินความสำเร็จของหลักสูตร ดังนี้
1) ผู้สำเร็จการอบรมเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของเวลาทั้งหมด
2) ผู้สำเร็จการอบรมได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ระดับ เมื่อเทียบกับก่อนการอบรม
3) ผู้สำเร็จการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และระดับปานกลางขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
4) ผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านการทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มการทดสอบ
9. เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม
1) ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีเวลาเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ของเวลาทั้งหมด (ไม่น้อยกว่า 20 วัน) จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษา
2)ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำโครงการพัฒนาตัวอย่างในพื้นที่ที่ตกลงร่วมกันของรุ่นและจัดทำรายงานโครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นรูปเล่ม
3) ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องจัดทำรายงานการศึกษาของกลุ่ม ภายในเวลาที่ผู้บริหารหลักสูตรกำหนด
-------------------------------
กำหนดการศึกษาอบรม
หลักสูตร “นักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” (นบร.) รุ่นที่ ๑๐
ระหว่างวันที่ ๒๐ เมษายน – ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕
ณ ห้องประชุม ๑๐๑ สำนักงาน กปร. ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพมหานคร
วัน เดือน ปี
|
๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.
|
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.
|
๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
|
สัปดาห์ที่ ๑
วันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕
|
- ลงทะเบียน (๐๘.๓๐น.)
แนะนำหลักสูตร
โดย
อ.ดร.วิชัย รูปขำดี
- การสอบวัดควารู้
|
พิธีเปิดการฝึกอบรม และบรรยายพิเศษ “ประสบการณ์การสนองพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
วิทยากร
นายจรัลธาดา กรรณสูตองคมนตรี
|
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
วิทยากร อาจารย์สุพัฒน์ สังข์สายศิริกุล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ - วันเสาร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๕
|
ศึกษาดูงาน ณ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อ.โพธาราม จ.ราชบุรี (๓ วัน ๒ คืน)
|
สัปดาห์ที่ ๒
วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕
|
การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ
วิทยากร รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูรฯ
|
การบริหารโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
วิทยากร เลขาธิการ กปร.
|
การหาประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการพัฒนา
วิทยากร อ.ดร.วิชัย รูปขำดี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
วันศุกร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕
|
แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและของไทย
กับการขับเคลื่อนการพัฒนา
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วิทยากร รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
|
การพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในมุมมองของภาคเอกชน
วิทยากร นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย
|
วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕
|
การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับนักบริหาร
วิทยากร นางสาวทวินันท์ คงคราญ
|
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์และแผนปฏิรูป
วิทยากร ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
อดีตเลขาธิการ สศช.
|
สัปดาห์ที่ ๓
วันพฤหัสบดีที่ ๕ - วันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
และศูนย์บริการการพัฒนาไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
(๓ วัน ๒ คืน)
|
สัปดาห์ที่ ๔
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทการพัฒนาของโลกในอนาคต
วิทยากร อ.ดร.วิชัย รูปขำดี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
เสวนาการน้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้
วิทยากร ตัวแทนจาก ๓ ภาคส่วน
ภาคการเกษตร(ทฤษฎีใหม่)/ ภาคประชาชน/ ภาคธุรกิจ
|
วันศุกร์ที่ ๒๐พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อความพอเพียง
วิทยากร รศ.ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
หลักการทรงงานและการน้อมนำมาปฏิบัติ
วิทยากร ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
|
วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
ภูมิคุ้มกันประเทศไทย
วิทยากร ศ.เกียรติคุณ น.พ.เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
|
ทฤษฎีใหม่แบบครบวงจร : จากการผลิตสู่การตลาด
(ทฤษฎีใหม่ : การจัดการตลาดเพื่อชุมชน)
วิทยากร นายสุปรี เบ้าสิงห์สวย
กรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท
|
สัปดาห์ที่ ๕
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
เศรษฐกิจพอเพียงกับภาวะโลกรวน
วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ
|
STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงาน ป.ป.ช.
|
วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ใน
ราชวงศ์จักรีกับการพัฒนาประเทศ
วิทยากร ศ.เกียรติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม
|
เดินทางไปพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
รับฟังการบรรยายธรรมในหัวข้อ
ธรรมะสำหรับผู้บริหารเพื่อสร้างสมดุลในทุกมิติ
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต)
|
วันเสาร์ที่ ๒๘พฤษภาคม ๒๕๖๕
|
Thailand ๔.๐
วิทยากร รศ.ดร.เจษฎ์ โทณวณิก
|
การนำเสนอรายงานการศึกษาของกลุ่ม
วิพากษ์การนำเสนอ โดย
อ.ดร.วิชัย รูปขำดี และ ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
สัปดาห์ที่ ๖
วันอังคารที่ ๗ -วันเสาร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๕
|
ศึกษาดูงาน ณ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ตามแนวพระราชดำริ จ.สงขลา
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี
โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยะลา
ชมสกายวอร์ค ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง แลนมาร์คแห่งใหม่ของ อ.เบตง จ.ยะลา
(๕ วัน ๔ คืน)
|
สัปดาห์ที่ ๗
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕
|
Design Thinking for Sufficiency economy
วิทยากร รศ.พ.ต.ต.ดร.ดนุวศิน เจริญ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
วันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๕
|
เสวนาแนวทางการบริหารการพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ
โดย ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร นบร.๑๐
อ.ดร.วิชัย รูปขำดี ผู้ดำเนินการเสวนา
|
การสอบ
วัดความรู้
|



โครงการฝึกอบรม นบร.รุ่นที่ 10
ดาวน์โหลดใบสมัคร PDF WORD
ประกาศรายชื่อ (โหลดที่นี่)
ประกาศรายชื่อเพิ่มเติม (โหลดที่นี่)