ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการศึกษาอบรมหลักสูตร พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พพร.) รุ่นที่ 9

1.    หลักการและเหตุผล

          1.1 ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างมากมาย ครอบคลุมทุกพื้นที่และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ผ่านการน้อมนำไปปฏิบัติทั้งโดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์แห่งการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต และพระบาทสมเด็จพระวิชรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการพระราชดำริทั้งปวง “สิ่งใดที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนต้องดำเนินการและขับเคลื่อนต่อไป)

           การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไม่เพียงแต่เกิดผลในด้านการพัฒนาเท่านั้น
แต่ยังสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่ามหาศาล เพราะผ่านกระบวนการศึกษา ทดลอง ประยุกต์ใช้หลักวิชาการ หลักประสบการณ์ และหลักภูมิสังคมเข้าด้วยกัน  อาทิ หลักการทรงงาน ทฤษฎีใหม่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ความรู้เหล่านี้มีอยู่เป็นจำนวนมากที่อยู่ในรูปของประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในแต่ละบุคคลที่ปฏิบัติงานสนองพระราชดำริหรือที่น้อมนำเอาพระราชดำริไปประยุกต์ใช้  ซึ่งได้มีความพยายามจากหลายฝ่าย หลายหน่วยงาน ที่จะดึงเอาความรู้ในตัวบุคคลเหล่านี้ออกมาบริหารจัดการเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังเช่น การจัดการเรียนการสอน การจัดประกวดเพื่อหาตัวแบบในแต่ละด้าน หรือการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หรือศูนย์การเรียนรู้การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

          1.2 รัฐและรัฐบาลได้แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ที่จะน้อมนำแนวทางการพัฒนาตามพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้บังเกิดผลยิ่งๆ ขึ้นเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นับแต่ฉบับที่ 9 เป็นต้นมาจนถึงฉบับที่ 12 ก็น้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

          1.3 ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าแห่งองค์ความรู้ในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันมีเป้าหมายที่ประโยชน์สุขของประชาชนและความเจริญมั่นคงของประเทศ ตลอดจนเพื่อพิทักษ์ รักษา เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สอดรับกับรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนบริหารราชกรแผ่นดิน สำนักงาน กปร. จึงกำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาและขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของสำนักงาน กปร. ตลอดจนแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนา
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (พ.ศ.
2560 2564) ที่มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งวิธีหนึ่งที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือการจัดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในลักษณะองค์รวมของการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำเสนอความรู้ ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริและการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มารวบรวมเป็นองค์ความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ดำเนินการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและการเผยแพร่ขยายผลการพัฒนาต่อไปซึ่งจากการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรนี้มาแล้ว 8 รุ่น ปรากฏว่ามีผลการประเมินผลการฝึกอบรมจากผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านวิทยากร ด้านการบริหารการฝึกอบรมและด้านผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้  อีกทั้งยังปรากฏว่าผู้ผ่านการอบรมนำเอาความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในงานของตนและพัฒนาความสัมพันธ์ในลักษณะของเครือข่าย

 

สมดังวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยโครงการอบรมในรุ่นที่ 8 นั้น มีหน่วยงานต่างๆ เสนอชื่อผู้สมัครเข้ารับการอบรมเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จึงได้กำหนดโครงการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (พพร.) เป็นรุ่นที่ 9 ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น

 

2.    วัตถุประสงค์

          1) เพื่อเทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

          2)  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักการและประสบการณ์ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นประโยชน์
ในการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้ และความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการศึกษาอบรมให้ดียิ่งขึ้น

          3) เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้และการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           4) เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ สำนักงาน กปร. ระยะ 5 ปี  พ.ศ.2561 –2565

3.    กลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่เกิน  60 คน

        3.1 กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าศึกษาอบรม ดังนี้

                (1) ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงชำนาญการพิเศษหรืออำนวยการต้น 

                (2) ข้าราชการประเภทอื่น หรือพนักงานในสังกัดองค์กรอิสระของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าตาม (1)

                (3) ข้าราชการทหารหรือตำรวจ ซึ่งครองยศตั้งแต่พันตรีแต่ไม่เกินพันเอก

                (4) พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานอื่นของรัฐต้องดำรงตำแหน่งเทียบได้กับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนตามข้อ (1)

              (5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี หรือปลัดเทศบาล  มูลนิธิ หรือองค์กรไม่แสวงกำไร ผู้นำชุมชน สื่อมวลชน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งสำนักงาน กปร. เชิญให้เข้าร่วม

          3.2 บุคคลตามข้อ 3.1 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

                   (1) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี

                   (2) ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานต้นสังกัดให้เข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตร

                   (3) มีหน้าที่ความรับผิดชอบหรือประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริหรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   (4) อายุไม่เกิน 53 ปี 

          3.3 จำนวนผู้เข้ารับการอบรมไม่เกิน 60 คน จากสำนักงาน กปร. ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคเอกชน ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากราชดำริ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือเป็นตัวอย่างความสำเร็จในการน้อมนำหลักการทรงงานและการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หรือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ

          3.4 การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม  สำนักงาน กปร. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้ได้ผู้มีคุณสมบัติ มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ ตามจำนวนที่กำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการศึกษาอบรมและความเป็นเครือข่ายความร่วมมือ สำนักงาน กปร. อาจพิจารณายกเว้นให้ผู้ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากที่กำหนดเข้ารับการอบรมได้

4.  การรับการสมัคร

          1)  เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม 2565  

          2) หน่วยงานต้นสังกัด เป็นผู้คัดเลือกและส่งบุคคลที่มีคุณสมบัติฯ สมัครเข้ารับการศึกษาอบรม

          3) เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมใบสมัคร

                   - รูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป โดยติดในใบสมัคร

                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ

5. วิธีการ สถานที่และระยะเวลาฝึกอบรม

          1) วิธีการศึกษาอบรม ประกอบด้วย การบรรยาย การอภิปราย การสัมมนา การศึกษาดูงานในประเทศ และการปฏิบัติจริงโดยจัดทำโครงการพัฒนาที่ตกลงร่วมกันของรุ่น  รวมถึงการนำเสนอโครงการดังกล่าวภายหลังจากสำเร็จการศึกษาอบรม

          2) สถานที่ศึกษาอบรม

                   2.1 หลักสูตรที่เป็นการบรรยาย จำนวน 13 วัน ณ ห้องประชุม 101 ชั้น 1 สำนักงาน กปร.

                   2.2 สถานที่ศึกษาดูงานในประเทศ 3 ครั้ง ครั้งละ 2-3  วัน                      

          3) ระยะเวลาศึกษาอบรม  ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 10 กันยายน 2565 โดยปกติสัปดาห์ละ
4 วัน (วันพุธ-วันเสาร์ ยกเว้นกรณีศึกษาดูงาน) รวม 22 วัน เป็นการบรรยายในชั้นเรียน 13 วัน และศึกษาดูงานในประเทศ 9 วัน ทั้งนี้ กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

6.  งบประมาณ

           ใช้งบประมาณของสำนักงาน กปร. ปี 2565 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนด ให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัด อาทิ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเพื่อเข้ารับการอบรม เป็นต้น

7.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

           1) สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับการยกย่องเทิดทูน และมีเครือข่ายในการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย

          2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้ ประสบการณ์ และมีความเข้าใจที่ชัดเจนอย่างเป็นองค์รวมในหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผลของการนำไปประยุกต์ใช้ที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับแผนและนโยบายในระดับต่าง ๆ

            3) ประโยชน์ต่อการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับจากการถ่ายทอดประสบการณ์ของวิทยากรและผู้เข้ารับการฝึกอบรม

            4) สนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจตามยุทธศาสตร์ของสำนักงาน กปร. การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ และการเผยแพร่ขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น              

8.  การประเมินผล

        1) ผู้สำเร็จการอบรมตามเงื่อนไข ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด

        2) ผู้ผ่านการอบรมได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ระดับในแต่ละหมวดการฝึกอบรมเมื่อเทียบกับก่อนการอบรม

        3) ผู้ผ่านการอบรมมีความพึงพอใจต่อเนื้อหาหลักสูตร วิทยากร กลุ่มเป้าหมาย เทคนิควิธีการฝึกอบรม และการบริหารจัดการฝึกอบรม ในระดับมากขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 และระดับปานกลางขึ้นไปไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

          4) ผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์การสอบวัดความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

         5) ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ ประสบการณ์ ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่ายไปใช้ประโยชน์ในงานของตนอย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 

9. เงื่อนไขการสำเร็จการอบรม

          1) มีเวลาเข้าอบรมและศึกษาดูงานในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  (18 วัน)

          2) นำเสนอประสบการณ์ส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริตามที่หลักสูตรกำหนด (เช่น การเล่าประสบการณ์หน้าชั้นเรียน)

           3) กลุ่มที่สังกัดส่งรายงานการศึกษาของกลุ่ม

           4) ผ่านการทดสอบวัดความรู้ด้วยคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม

-------------------------------

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตร “พัฒนาองค์ความรู้และเสริมสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนา

ตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (พพร.)  รุ่นที่ ๙

ระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม – ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕

 

วัน เดือน ปี

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

สัปดาห์ที่ ๑

วันจันทร์ที่ ๒๕

กรกฎาคม ๒๕๖๕

 

 - ลงทะเบียน (๐๘.๓๐น.)

   แนะนำโครงการอบรมฯ

   โดย เลขาธิการ กปร.

   แนะนำหลักสูตร

 โดย อ.ดร.วิชัย รูปขำดี

  •  การสอบวัดความรู้

 

พิธีเปิดการฝึกอบรม

และบรรยายพิเศษ “ประสบการณ์การสนองพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”

วิทยากร :

นายจรัลธาดา กรรณสูต

องคมนตรี

 

 

กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

 วิทยากร : ดร.บรรจบ ปิยมาตย์

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วันอังคารที่ ๒๖ –

วันพุธที่ ๒๗

กรกฎาคม ๒๕๖๕

ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

จำนวน ๒ วัน  ๑ คืน

สัปดาห์ที่ ๒

วันพุธที่ ๓

สิงหาคม ๒๕๖๕

 

 

สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย

วิทยากร : ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

 

 

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากร : กระทรวงการต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ ๔

สิงหาคม ๒๕๖๕

 

การพัฒนาบุคลิกภาพและการเข้าสังคม

วิทยากร : อ.ดร. ภัทราวุธ เจริญรูป

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 

การสื่อสารยุคดิจิทัล

วิทยากร : รศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕

 

การเปลี่ยนดุลอำนาจของโลกกับการขับเคลื่อน      การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากร : ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สำนักงาน กปร. กับการขับเคลื่อนงานพัฒนา

ตามแนวพระราชดำริ

ระดับนโยบาย

วิทยากร :

เลขาธิการ กปร.

การหาประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโครงการพัฒนา

วิทยากร : อ.ดร.วิชัย รูปขำดี

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันเสาร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕

 

การแปลงแผนยุทธศาสตร์ชาติลงสู่การปฏิบัติ

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิทยากร :

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การน้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในภาคราชการ
วิทยากร
: นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

สัปดาห์ที่ ๓

วันอังคารที่ ๙ –

วันพฤหัสบดีที่ ๑๑  สิงหาคม ๒๕๖๕

ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร

จำนวน ๓ วัน  ๒ คืน

สัปดาห์ที่ ๔

วันพฤหัสบดีที่ ๑๘  สิงหาคม ๒๕๖๕

 

การน้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในภาคเอกชน

วิทยากร  :  นายบัญญัติ คำบุญเหลือ

เครือเบทาโกร

การน้อมนำการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในภาคประชาชน
วิทยากร : นายยวง เขียวนิล

วันศุกร์ที่ ๑๙  สิงหาคม ๒๕๖๕

 

STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต

 วิทยากร : ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสำนักงาน ป.ป.ช.

 

ภาวะโลกรวน

วิทยากร : ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

วันเสาร์ที่ ๒๐  สิงหาคม ๒๕๖๕

 

Design Thinking for Sufficiency economy

วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัปดาห์ที่ ๕

วันพุธที่ ๒๔ –

วันศุกร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕

ศึกษาดูงาน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดพิษณุโลก

จำนวน ๓ วัน  ๒ คืน

สัปดาห์ที่ ๖

วันพฤหัสบดีที่ ๑  กันยายน ๒๕๖๕

 

การพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในมุมมองของภาคเอกชน

วิทยากร  ดร.วัชรมงคล  เบญจธนะฉัตร์

ประธานกรรมการบริหาร

บริษัท บาธรูม ดีไซน์ ไอ-สปา จำกัด

 

หลักการทรงงาน
วิทยากร : ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา

 

 

วันศุกร์ที่ ๒  กันยายน ๒๕๖๕

 

การจับประเด็น Tools Active Listening & Capturing Keyword

วิทยากร : รศ.ดร.จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัมมนาการจัดการความรู้

(ภาคทฤษฎี และแบ่งกลุ่มทำรายงานกลุ่ม)

 

วันเสาร์ที่ ๓  กันยายน ๒๕๖๕

 

การบริหารจัดการเครือข่ายเพื่อความร่วมมือ

วิทยากร : รศ. ทองทิพภา วิริยะพันธุ์

การจัดการความรู้เพื่อขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงวิทยากร : นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล

สัปดาห์ที่ ๗

วันพฤหัสบดีที่ ๘

กันยายน ๒๕๖๕

ศึกษาดูงาน ณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

วันศุกร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๕

 

ภูมิคุ้มกันประเทศไทย

วิทยากร : ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย

องคมนตรี

ศึกษาดูงานมูลนิธิทันตนวัตกรรม

ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิทยากร : นายวรวุฒิ  กุลแก้ว

เลขาธิการมูลนิธิทันตนวัตกรรมฯ

วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๕

 

การนำเสนอรายงานการศึกษาของกลุ่ม

วิพากษ์การนำเสนอ โดย

อ.ดร.วิชัย รูปขำดี และ ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

การทดสอบวัดความรู้หลังจากศึกษาอบรม

 

หมายเหตุ : กำหนดการอบรมและการศึกษาดูงานอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

สามารถ Download ใบสมัครโครงการ พพร.รุ่นที่ 9 (ได้ที่นี่)
สามารถ Download กำหนดฝึกอบรม พพร.รุ่นที่ 9 (ได้ที่นี่)

 

สามารถ Download ใบสมัครฝึกอบรม Word พพร.รุ่นที่ 9 (ได้ที่นี่)

สามารถ Download กำหนดฝึกอบรม Word พพร.รุ่นที่ 9 (ได้ที่นี่)

 


แจ้งผลการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร ( ได้ที่นี่