ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

พื้นที่ตัวแทนกลุ่มทำประมงน้ำจืดในนากุ้งเดิม นางอุบล ไชยสุวรรณ บ้านเลขที่ ๒๐๘ หมู่ที่ ๓ ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

พื้นที่ตัวแทนกลุ่มทำประมงน้ำจืดในนากุ้งเดิม นางอุบล ไชยสุวรรณ บ้านเลขที่ ๒๐๘ หมู่ที่ ๓ ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

นางอุบล ไชยสุวรรณ ราษฎรหมู่ที่ 3 ต.เชียรใหญ่ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เดิมเคยเลี้ยวกุ้งกุลาดำ และกุ้งขาว เมื่อประมาณปี 2533 ต่อมาปี 2545–2546 การเลี้ยงกุ้งเริ่มขาดทุน จึงได้หันมาเลี้ยงปลานิลไม่แปลงเพศ โดยได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ประมง สำนักงานประมงเชียรใหญ่ และในปี 2547 ได้สมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนอาชีพราษฎรพื้นที่เลี้ยงกุ้งในเขตน้ำจืด ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 27 ไร่เศษ มีบ่อเลี้ยงปลานิล ขนาด 6 ไร่ 1 บ่อ 3.5 ไร่ 1 บ่อ 2.5 ไร่ 2 บ่อ 2.75 ไร่ 1 บ่อ 0.5 ไร่ 1 บ่อ และ 0.25 ไร่ 1 บ่อ รวม 7 บ่อ เนื้อที่น้ำ 18 ไร่

การเลี้ยงปลา เกษตรกรจะให้อาหารส่วนหนึ่งจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น กากมะพร้าว พืชผัก และอาหารสำเร็จรูป การจับสัตว์น้ำ เกษตรกรจะใช้ข่ายดักปลาขนาดตา 9 เซนติเมตร ทยอยจับเกือบทุกวัน โดยคัดตัวที่ได้ขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม ราคาขายปลีก 35–40 บาท/กิโลกรัม โดยเกษตรกรจะขายเองโดยขายปลาที่เป็นๆ ซึ่งจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ขายได้วันละ 15-20 กิโลกรัม/วัน

บริเวณคันบ่อของเกษตรกร จะปลูกพืชผักและไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว ขนุน มะกรูด มะนาว มะกอก พืชผักที่เก็บยอดขาย เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ ตะไคร้ กระเพราะ มันปู สมุย สัง มะม่วงหิมมะพาน ผักบุ้ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการปลูกแบบผสมผสาน และใช้ประโยชน์จากพื้นที่คันบ่อปลา เมื่อเกษตรกรไปขายปลา ก็จะนำพืชผักไปขายด้วย ซึ่งจำหน่ายพืชผักได้วันละ 200 –300 กิโลกรัม/วัน

บ่อปลาของเกษตรกร ได้รับใบรับรองการปฏิบัติทางการประมงที่ดี สำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (ปลานิล) เลขที่ IFNAK-80-GAPFI-02-48-00032 ออกให้ วันที่ 8 กรกฎาคม 2548 ทะเบียนฟาร์มเลขที่ 8001008729