โครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ตำบลบางจาก โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (ตราวัวชน) หมู่ ๘ ต.บางจาก อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ความเป็นมา
โครงการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน ได้ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เรื่องการจัดทำข้อมูลแผนแม่บทชุมชนตำบลบางจาก ได้รับงบประมาณการเรียนรู้จากมูลนิธิหมู่บ้านเพื่อจัดทำข้อมูลชุมชน และได้นำเสนอสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2545 ได้รับงบประมาณ ปี พ.ศ. 2546 (งบกระตุ้นเศรษฐกิจ) วงเงิน 935,000 บาท ในการจัดสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ หลังได้รับงบประมาณองค์กรชุมชนได้จัดกระบวนการเรียนรู้ต่อ โดยถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้จากทีมงานของคุณลุงประยงค์ รณรงค์ และอาจารย์จำนงค์ แรกพินิจ ในเรื่องการบริหารจัดการชุมชน เริ่มผลิตในปี 2547 ใช้สูตร กศน. โดย ดร.วินัย ไชยทอง เป็นผู้ควบคุมสูตรการผลิต ปรับสูตรให้เกิดความเหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่และจำหน่ายภายนอกพื้นที่ โดยคณะกรรมการโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็นผู้ควบคุมสูตร ปัจจุบันเป็นสูตรของโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเอง ได้รับการรับรองคุณภาพจากสถานีวิจัยพืชลำตะคอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) การดำเนินการดังกล่าว ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากส่วนราชการต่างๆ เช่น พัฒนาที่ดิน เกษตร พัฒนาชุมชน กศน. อบต. รวมถึงประชาชนในพื้นที่ร่วมถือหุ้นและเรียนรู้การพัฒนาไปสู่เกษตรธรรมชาติ (เกษตรอินทรีย์) ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยสารเคมีในการทำการเกษตร หันมาใชปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน ทำให้ระบบนิเวศต่างๆดีขึ้น และทำให้สามารถสร้างเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนได้อย่างเหมาะสม
การพัฒนา 3 ระดับ
ระดับที่ 1 (คน/องค์กรเป้าหมาย/โครงการเป้าหมาย)
ปี 2548
- ค้นหาคน คณะทำงานแต่ละหมู่บ้าน 60 คน
- ค้นหาองค์กรเป้าหมาย เพื่อสร้างองค์กรต้นแบบ โรงปุ๋ย โรงงสี ฯลฯ ไม่น้อยกว่า 8 องค์กร
- โครงการเรียนรู้ “เกษตรอินทรีย์” ต้นแบบในพื้นที่
- โครงการเรียนรู้ “เศรษฐกิจพอเพียง” ต้นแบบในพื้นที่
ระดับที่ 2 (ขยาย/ขยายงานขององค์กร/ขยายโครงการเป้าหมาย)
ปี 2549
- ขยายจาก 60 คน เป็น 120 คน
- ขยายจาก 8 องค์กร เป็น 12 องค์กร
- ขยายโครงการ “ เกษตรอินทรีย์” 30% ของพื้นที่ 1,000 ไร่
- ขยายโครงการ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และจัดระบบแก้ไขปัญหาความยากจน 100 ครัว ในพื้นที่
ระดับที่ 3 (ได้งาน/คน ต้นแบบในการพัฒนาระดับตำบล)
ปี 2550
- ขยายคนจาก 120 คน เป็น 200 คน
- ขยายจาก 12 องค์กร เป็น 15 องค์กร
- ขยายโครงการ “เกษตรอินทรีย์” 50% ของพื้นที่
- ขยายโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียง” 200 ครัว ในพื้นที่
- ชุมชนเข้มแข็ง
- องค์กรเข้มแข็ง
- พึ่งตนเองได้
- คน / องค์กรมีความรู้ความเข้าใจ
- สภาพดินเหมาะสมในการทำเกษตรอินทรีย์
- สิ่งแวดล้อมดี / คืนธรรมชาติให้ท้องถิ่น