ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

  โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร

 

เรื่องเดิม

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ พิจารณาช่วยเหลือเรื่องปากท้องของราษฎรในพื้นที่ซึ่งเป็นหมู่บ้านยากจน 

ในวันเดียวกันนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพบริเวณหนองอึ่ง ในพื้นที่บ้านท่าเยี่ยม ตำบลค้อเหนือ และมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือราษฎรดังนี้

1. ให้ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่ง เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและแหล่งเพาะพันธุ์ปลา

2. ให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่และสภาพดินโดยรอบหนองอึ่ง ปลูกหญ้าแฝก และต้นไม้เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน

3. ให้ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรวม เพื่อให้คนกับป่าอยู่อย่างเกื้อกูลกัน

ผลการดำเนินงาน ปี 2545

1. ปรับปรุงขุดลอกหนองอึ่งและแหล่งน้ำบริเวณโดยรอบ  ดำเนินการขุดลอกหนองน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วมีปริมาณเก็บกักน้ำได้ 640,530 ลูกบาศก์เมตร

2. การพัฒนาและปรับปรุงดิน  ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างและพังทลายของดินบริเวณขอบหนองอึ่งและสาธิตการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 7 ตันใน 7 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ตัน สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด รวม 30 ไร่ ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด จำนวน 50 ไร่

3. การพัฒนาป่าไม้และป่าชุมชน  ทำแปลงสาธิตอาหารชุมชนพื้นที่ 16 ไร่ โดยปลูกหวายดง ไผ่ และพันธุ์ไม้ท้องถิ่น เพาะชำกล้าไม้ 100,000 ต้น จำนวน 30 ชนิด แจกจ่ายให้ราษฎรในพื้นที่ปลูกซ่อมบำรุงป่าเดิม จำนวน 380 ไร่ โดยปลูกต้นไม้ตามแนวเขตป่าชุมชน จัดทำธนาคารอาหารชุมชนในโรงเรียน

ประโยชน์ของโครงการ

ราษฎร จำนวน 6 หมู่บ้าน 693 ครัวเรือน ประชากร 3,493 คน มีน้ำใช้เพื่อการเกษตร และอุปโภค-บริโภค และยังสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้อีกประมาณ 581 ไร่

ขุดลอกหนองอึ่ง ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 640,530 ลูกบาศก์เมตร

และปลูกหญ้าแฝกตามแนวคันดินเพื่อป้องกันการพลังทลายของหน้าดินโดยรอบ

                  จัดทำปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ในการปลูกป่าชุมชน                                         ราษฎรร่วมกันบำรุงป่าชุมชน

                     การเก็บหาผลผลิตจากป่าดงมัน “เห็ดโคนใหญ่”                                  ผลผลิตจากป่าดงมัน “เห็ดโคนใหญ่”

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานสนองพระราชดำริ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยได้ทำการพัฒนาในด้านต่างๆ แล้ว คือ ปรับปรุงและขุดลอกหนองอึ่งให้สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 640,000 ลูกบาศก์เมตร ส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าโดยรอบหนองอึ่งและ 7 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ พัฒนาและปรับปรุงสภาพดินโดยปลูกหญ้าแฝก รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ และมีศูนย์เรียนรู้ ได้แก่

1.  การพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ

เมื่อสภาพป่าไม้สมบูรณ์มากขึ้นและมีผลผลิตจากป่า เช่น เห็ดโคนเป็นจำนวนมาก จึงมีการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าชุมชน ได้แก่ การแปรรูปเห็ดโคนและไข่มดแดงในน้ำเกลือโดยบรรจุขวดแก้วและกระป๋อง และฝึกอบรมหลักสูตรจัดตั้งและบริการจัดการกลุ่มอาชีพเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาระบบสหกรณ์ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพด้านประมงและฝึกอบรมพัฒนาทักษะการทอผ้า ทำให้ราษฎรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น

   

2.  การพัฒนาด้านการเกษตร

จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร โดยมีแปลงสาธิตวนเกษตร และส่งเสริมให้ราษฎรทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง

   

 3.  การพัฒนาด้านป่าไม้

ส่งเสริมและพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน และมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในชุมชน

   

ผลการดำเนินงาน ปี 2554

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินงานสนองพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำชีไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกเป็นประจำเกือบทุกปี โดยในปี 2554 มีผลการดำเนินงานดังนี้

1.  การพัฒนาด้านอาชีพ

สาธิต ฝึกอบรม และส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน การปรับปรุง บำรุงดิน และระบบวนเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยเน้นการทำเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ลดการใช้สารเคมี และให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังได้ขยายระบบกระจายน้ำเพิ่มเติมให้พื้นที่เพาะปลูก ส่งเสริมการผลิตงานศิลปาชีพ รวมทั้งให้ความรู้และส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอื่นนอกจากการเพาะปลูกที่ราษฎรสนใจเรียนรู้ ได้แก่ การเลี้ยงหมูพันธุ์ภูพาน และการเลี้ยงปลานิลในกระชัง

               การฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเกษตรกรรม                                                 การสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง

สำหรับการส่งเสริมการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชนดงมันพื้นที่ 3,006 ไร่ ภายใต้ตราสินค้า “วนาทิพย์” นั้น ปัจจุบันกระบวนการผลิตและการจำหน่ายเริ่มอยู่ตัวแล้ว และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยกลุ่มเกษตรกรมีรายรับจากการจำหน่ายสินค้าประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี และทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน ปีละกว่า 300,000 บาท ทั้งนี้ ในปี 2554 ได้ดำเนินการพัฒนามาตรฐานการผลิตโดยปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป ด้วยชุดกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis (R.O.)

           กลุ่มเกษตรกรกำลังทำความสะอาดเห็ด                                                 ชุดกรองน้ำระบบ R.O. ซึ่งช่วยปรับปรุงคุณภาพ

     ที่เก็บจากป่าชุมชนในพื้นที่โครงการ ก่อนนำไปแปรรูป                                   น้ำที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน

 2.   การพัฒนาด้านป่าไม้

ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้มีค่า เช่น พะยอม แดง รวมทั้งไม้ผล และ ไม้เชื้อเพลิง จำนวน 40,000 กล้า เพื่อปลูกฟื้นฟูสภาพป่าและแจกจ่ายให้ราษฎร ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 100 ไร่ ปรับปรุงแปลงสาธิตวนเกษตร พื้นที่ 20 ไร่ ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซ่าในกล้าไม้และสวนป่า เพื่อเพิ่มผลผลิตเห็ดป่า รวมทั้งฝึกอบรมเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

การพัฒนาเทคนิคการปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาในกล้าไม้วงศ์ยางและสวนป่า         กิจกรรมฝึกอบรมเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า                                                                                                                                     

3.   การพัฒนาพื้นที่ และบริหารงานโครงการ

ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการน้ำหนองอึ่ง โดยซ่อมแซมประตูกักเก็บน้ำ และสร้างบ้านพักชั่วคราวพนักงานควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหนองอึ่งเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณดังกล่าวแล้ว ยังช่วยดึงดูดราษฎรนอกพื้นที่เข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่โครงการมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมชุมชนโดยทบทวนและปรับปรุงแผนชุมชน 7 หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโครงการ ทั้งนี้ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับส่วนราชการมากขึ้น

การตรวจเยี่ยมโครงการฯ ขององคมนตรี

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ฯ ตลอดจนให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและพบปะเยี่ยมเยียนประชาชน ในการนี้ องคมนตรีได้ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน ปี 2555

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการโดยมีจุดหมายเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในพื้นที่ คือ ป่าชุมชนดงมัน และหนองอึ่ง ให้เป็นแหล่งอาหารและเป็นต้นทุนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนของชุมชนที่อยู่โดยรอบ 7 หมู่บ้าน รวมทั้งดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. การพัฒนาพื้นที่ และบริหารงานโครงการ

วางแผนพัฒนาระบบชลประทานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้ราษฎรใช้เพาะปลูกในฤดูแล้ง โดยการเชื่อมต่อคลองส่งน้ำหนองอึ่งกับคลองส่งน้ำของสถานีสูบน้ำบ้านแจ้งน้อย พร้อมก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ระยะทางประมาณ 400 เมตร นอกจากนี้ยังจะดำเนินการปรับสภาพพื้นที่บริเวณรอบหนองอึ่งด้วยการก่อสร้างคันดินพร้อมเสริมผิวลูกรัง และก่อสร้างทางลำลองระยะทางรวมประมาณ 2,200 เมตร เพื่อเป็นคันกั้นดินกัดเซาะไหลลงแหล่งน้ำและใช้เป็นเส้นทางสัญจร โดยแผนงานทั้งหมดจะเริ่มดำเนินการหลังจากราษฎรเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว 

          ในด้านอาคารสถานที่ ได้ปรับปรุงห้องประชุมและห้องฝึกอบรมภายในอาคารที่ทำการโครงการเพื่อใช้เป็นสถานที่บรรยายสรุปและรองรับผู้เข้ามาศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์และท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งใช้เป็นอาคารอำนวยการและประสานงาน

DSC04179

   บริเวณหนองอึ่งที่จะดำเนินการก่อสร้างคันดิน และเชื่อมต่อคลองส่งน้ำ                   งานปรับปรุงห้องประชุมและห้องฝึกอบรม

                           2. การพัฒนาด้านป่าไม้

ดำเนินการปรับปรุงระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแม่น้ำชี โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 15 แรงม้า จำนวน 2 เครื่อง และก่อสร้างบ่อพักน้ำ จำนวน 1 แห่ง เพื่อจัดหาน้ำเพิ่มเติมสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาป่าไม้ แปลงสาธิตวนเกษตร ธนาคารอาหารชุมชน และส่งน้ำให้แปลงเกษตรผสมผสานของราษฎรที่อยู่นอกเขตชลประทาน   นอกจากนี้ ยังดำเนินการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพิ่มเติมจำนวน 50 ไร่ ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาในไม้วงศ์ยาง เพาะชำกล้าไผ่และกล้าไม้มีค่าเพื่อปลูกเสริมป่าและแจกจ่ายให้แก่ราษฎร รวมทั้งจัดกิจกรรมและจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างส่วนราชการและราษฎรในชุมชนโดยรอบ

Copy of DSC04168 Copy of DSC04083

 งานติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อจัดหาน้ำสนับสนุนกิจกรรมด้านป่าไม้          กิจกรรมพัฒนาเทคนิคการปลูกเชื้อไมคอร์ไรซาในไม้วงศ์ยาง

                                                                                                                                  เพื่อผลิตเห็ดป่า

DSC08296 IMG_4818

            เพาะกล้าไผ่และกล้าไม้มีค่า                                                                 กิจกรรมค่ายเยาวชนและจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์

                            3.  การพัฒนาด้านอาชีพ

ดำเนินการสาธิต ฝึกอบรมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อพัฒนาอาชีพทางเลือกให้แก่ราษฎรซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้เสริมในครัวเรือน ประกอบด้วย การเลี้ยงสัตว์น้ำ การเลี้ยงโคเนื้อ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและศิลปาชีพ กลุ่มอาชีพปลาร้าบองสมุนไพรและการเลี้ยงไก่ดำภูพาน นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนกลุ่มอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากป่า “วนาทิพย์” โดยก่อสร้างโรงเก็บผลิตภัณฑ์ทดแทนอาคารชั่วคราวเดิมที่ทรุดโทรม

IMG_6899

              งานปรับปรุงโรงเก็บผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าแปรรูป                                           ฝึกอบรมสมาชิกศิลปาชีพ

              ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2556

ในปี 2555 โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งฯ ได้ร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยการร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

                   1) ร่วมจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2555

    2) กิจกรรม “สื่ออาสา สืบสานพระราชดำริ” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555โดยมีสื่อมวลชนสาขาต่างๆ เข้าร่วมประมาณ 60 คน

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

                   1. จะเน้นการขยายผลไปสู่ราษฎร โดยสร้างการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และราษฎร

                   2. เพิ่มการพัฒนาและส่งเสริมด้านอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่

                   3. จะมีการจัดทำแผนแม่บทของโครงการเพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

คณะทำงานโครงการฯ ซึ่งมีจังหวัดยโสธรเป็นหน่วยงานหลักได้ประสานการดำเนินงานโครงการโดยมีเป้าหมายสำคัญคือการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชุมชนดงมัน พื้นที่ 3,006 ไร่ และแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์หนองอึ่ง ให้เป็นแหล่งอาหารและเป็นต้นทุนการพัฒนาชุมชนที่อยู่โดยรอบ 7 หมู่บ้าน ควบคู่ไปกับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร โดยในปีงบประมาณ 2556 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. ด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ

ดำเนินการจัดทำป้ายแสดงแผนผังบริเวณโครงการ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ และจัดประชุมจัดทำแผนแม่บทโครงการ          ปี 2557-2560 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                    นอกจากนี้ ยังมีแผนก่อสร้างบ่อพักน้ำพร้อมระบบกระจายน้ำในบริเวณแปลงเกษตรของราษฎรใกล้กับหนองอึ่ง เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชและกิจกรรมสาธิต ด้านอาชีพที่จะดำเนินการในระยะต่อไป

            การประชุมจัดทำแผนงานโครงการ                                                                การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

                       2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

จัดทำแปลงสาธิตพืชอาหารพื้นล่าง ป้ายสื่อความหมายทางธรรมชาติเรื่องป่าชุมชนดงมันเพื่อรองรับการศึกษาดูงานของบุคคลคณะต่างๆ เพาะชำกล้าไม้มีค่า 30,000 กล้า และกล้าไม้พะยูง 25,000 กล้า เพื่อปลูกเสริมป่าและแจกจ่ายราษฎร เพาะเลี้ยงอึ่งอ่าง 100,000 ตัว สำหรับปล่อยลงสู่หนองอึ่งเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและเป็นแหล่งอาหารของราษฎร และจัดกลุ่มราษฎรอาสาสมัครออกลาดตระเวนพื้นที่ป่าและตั้งจุดสกัดป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า

                      3.  ด้านการพัฒนาอาชีพ

จัดทำแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดีเพื่อขยายผลสู่เกษตรกร ส่งเสริมฟาร์มสาธิตด้านการเลี้ยงโค สุกร ไก่ไข่ และเป็ดไข่ ในพื้นที่เกษตรกรผู้นำ 7 หมู่บ้าน และก่อสร้างบ่อคอนกรีตเพาะพันธุ์ปลา 5 บ่อ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงานและให้บริการด้านประมงแก่เกษตรกรที่สนใจ  นอกจากนี้ยังจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะการทอผ้าไหมให้แก่สมาชิกโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ 40 ราย ฝึกอบรมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตน้ำยาอเนกประสงค์ การทอเสื่อกก และการสานตะกร้าพลาสติก ให้แก่ราษฎรรวม 60 ครัวเรือน เพื่อเป็นอาชีพเสริมและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสนับสนุนวัสดุให้แก่กลุ่มเกษตรกรผลิตภัณฑ์อาหารจากป่าแปรรูป “วนาทิพย์” รวมทั้งให้บริการตรวจสอบคุณภาพอาหารแปรรูป

             การฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพ                                                         บ่อคอนกรีตเพาะพันธุ์ปลาบริเวณหนองอึ่ง

             โรงงานแปรรูปอาหารจากป่า “วนาทิพย์” ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มเกษตรกร   

การร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

ร่วมในงานนิทรรศการ  “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”  ซึ่งจัดโดยกองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมกับสำนักงาน กปร. และหน่วยงานต่างๆ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 13-20 กรกฎาคม 2556 

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

จะเพิ่มกิจกรรมด้านการพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรในพื้นที่โครงการ 7 หมู่บ้าน โดยใช้แนวคิด “ยโสธรโมเดล” ที่เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในจังหวัดและภาคประชาชน มาปรับใช้ในการดำเนินงาน โดยจังหวัดยโสธรได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงาน   นอกจากนี้ โครงการยังจะพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนดงมัน จำนวน 3,006 ไร่ และแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์หนองอึ่ง ซึ่งมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศให้ผู้สนใจเดินทางไปศึกษาดูงาน 

 

                                        

 

ผลการดำเนินงานปี 2559

          1. ด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ

ดำเนินการประสานงานหน่วยงานที่ร่วมกันปฏิบัติงานสนองพระราชดำริ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในงานอำนวยการและการให้บริการค่ายพักแรม ปรับปรุงอาคารสถานที่ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางมาศึกษาดูงาน และฝึกอบรมภายในพื้นที่โครงการ ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 มีจำนวน 46 คณะ 2,930 ราย

การประชุมคณะทำงานโครงการฯ

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยการปลูกแฝก
และปล่อยพันธุ์ปลาในบริเวณหนองอึ่ง

2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

                        ดำเนินการจัดทำโครงการห้องเรียนธรรมชาติป่าชุมชนดงมัน ในพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานทางธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเพิ่มปริมาณของเห็ดป่าในป่าชุมชนดงมัน ปลูกไผ่เพื่อเป็นแนวกันชนและเป็นแหล่งอาหารของชุมชน จำนวน 10,000 ต้น เพาะชำกล้าไม้มีค่า จำนวน 20,000 กล้า เพาะกล้าไม้ป่าบุ่งป่าทาม จำนวน 30,000 กล้า ปลูกไม้เสริมป่าบุ่งป่าทาม จำนวน 10,000 ต้น จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การป้องกันไฟป่าในพื้นที่โครงการ

                    ในด้านเครือข่ายการอนุรักษ์ ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายป่าไม้ ตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้าน รวมทั้งฝึกทบทวนกลุ่มราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จำนวน 200 ราย และพัฒนาเครือข่ายเยาวชนตามแนวพระราชดำริครูป่าไม้ ในกลุ่มเยาวชน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 6 แห่ง

Copy of DSC04168 Copy of DSC04083

 กิจกรรมฝึกทบทวน รสทป.                       งานเพาะพันธุ์ไม้มีค่า และศึกษาเทคนิคการเพิ่ม

                                                                ปริมาณของเห็ดป่าในป่าชุมชนดงมัน

DSC08296 IMG_4818

ค่ายเยาวชนรักษ์พงไพร                                    โครงการห้องเรียรธรรมชาติป่าชุมชนดงมัน

                                                                    พื้นที่ 20 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ 

           3. ด้านการพัฒนาอาชีพ

                       ส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงสุกร และการเพาะปลูก ให้แก่กลุ่มราษฎรในพื้นที่นำร่อง บ้านแจ้งน้อยหมู่ 12 และบ้านคำน้ำสร้าง หมู่ 11, 15 ตำบลค้อเหนือ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยชีวภาพให้แก่ราษฎรตำบลค้อเหนือ จำนวน 5 หมู่บ้าน ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ส่งเสริมกิจกรรมตามโครงการประมงโรงเรียน ผลิตพันธุ์ปลาปล่อยลงในหนองอึ่งเพื่อเพิ่มทรัพยากรด้านการประมง จำนวน 100,000 ตัว และจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง โดยการจัดฝึกอบรมยุวเกษตรกร จำนวน 100 คน พร้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรให้แก่โรงเรียน

                    นอกจากนี้ ยังได้จัดฝึกอบรมสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่งฯ จำนวน 60 ราย เพื่อรองรับมาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูป (อย.) รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการผลิตอาหารแปรรูปของสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน GMP

Copy of DSC04168 Copy of DSC04083

งานปรับปรุงโรงเรียนและมอบปัจจัยการผลิต         กิจกรรมส่งเสริมการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่                      

DSC08296 IMG_4818

การฝึกอบรมและมอบปัจจัยการผลิตทางการเกษต       โครงการประมงโรงเรียน

DSC08296 IMG_4818

            ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ราษฎรเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตและแปรรูอาหาร

และการศึกษาดูงานด้านการแปรรุปที่ บริษัท ดอยคำผลิตอาหาร จำกัด อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ประโยชน์ที่ได้รับ

     1. ราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับความรู้เพิ่มเติมในการประกอบอาชีพและได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตพื้นฐาน

     2. พื้นที่ป่าชุมชนดงมัน พื้นที่ 3,006 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับการฟื้นฟูดูแลอย่างต่อเนื่องและมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ตามแนวพระราชดำริคนอยู่กับป่าอย่างเกื้อกูลกัน

     3. มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติในพื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการไปสู่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

     4. มีการสร้างเครือข่ายด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม จำนวน 500 คน

     5. ให้บริการศึกษาดูงาน และฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนประมาณ 2,930 คน

 

ผลการดำเนินงานปี 2560

                หน่วยงานภายในจังหวัดยโสธรที่ร่วมเป็นคณะทำงาน จำนวน ๑๒ หน่วยงาน มีแผนที่จะดำเนินการขับเคลื่อนโครงการในด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการพัฒนาอาชีพ คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม ๒๕๖๑ ดังนี้

                   1. ด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ

                  จะดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในงานอำนวยการและการให้บริการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ก่อสร้างบ้านพักคนงานและบ้านพักเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำโครงการ อย่างละ 1 หลัง จัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่คณะทำงานโครงการ ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางมาศึกษาดูงานในพื้นที่โครงการ ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 มีจำนวน 45 คณะ 2,555 คน

    งานอำนวยการและให้บริการด้านฝึกอบรมและศึกษาดูงานโครงการ

2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

                      จะดำเนินการก่อสร้างซุ้มสื่อความหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม จำนวน 11 ซุ้ม ในพื้นที่โครงการห้องเรียนธรรมชาติป่าชุมชนดงมัน ศึกษาและพัฒนาเทคนิคการเพิ่มปริมาณของเห็ดป่าในป่าชุมชนดงมัน ปลูกไผ่เพื่อเป็นแนวกันชนและเป็นแหล่งอาหารของชุมชน จำนวน 10,000 ต้น ปลูกไม้เสริมป่าบุ่งป่าทามและจัดหากล้าไม้สนับสนุนชุมชน จำนวน 40,000 ต้น และเพาะชำกล้าไม้มีค่า จำนวน 20,000 กล้า

                    ในด้านเครือข่ายการอนุรักษ์ จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายป่าไม้    ตามแนวพระราชดำริ ในพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้าน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตตำบล   ค้อเหนือในการฟื้นฟูและพัฒนาธนาคารอาหารชุมชน พัฒนาเครือข่ายเยาวชนตามแนวพระราชดำริครูป่าไม้ในโรงเรียน 6 แห่ง และจัดฝึกอบรมส่งเสริมการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 60 คน

งานอำนวยการและให้บริการด้านฝึกอบรมและศึกษาดูงานโครงการ

3. ด้านการพัฒนาอาชีพ

                     3.1 ด้านการปศุสัตว์ มีแผนจะส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ราษฎรในเขตตำบลค้อเหนือ ได้แก่ ด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 54 คน การเลี้ยงสุกรชีวภาพ (หมูหลุม) จำนวน 37 คน และไก่พื้นเมือง จำนวน 34 คน รวมทั้งติดตั้งซองบังคับสัตว์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง

                     3.2 ด้านการเกษตร จะสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกร จำนวน 70 คน และจัดฝึกอบรมด้านการขยายพันธุ์พืชสวน และการเพาะเห็ด ให้แก่ราษฎรจำนวนหลักสูตรละ 50 คน

                     3.3 ด้านการประมง จะผลิตพันธุ์ปลาปล่อยลงในหนองอึ่งเพื่อเพิ่มทรัพยากรด้านการประมง จำนวน 100,000 ตัว ส่งเสริมการเลี้ยงกบในบ่อครัวเรือน จำนวน 30 คน ส่งเสริมการเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน จำนวน 10 คน และผลิตพันธุ์กบ ปลาดุกอุยลูกผสม และปลาตะเพียนสนับสนุนให้ราษฎร รวมจำนวน 61,500 ตัว

                      3.4 ด้านพัฒนาที่ดิน มีแผนจะส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 100 ตัน ส่งเสริมการทำและใช้น้ำหมักชีวภาพ จำนวน 100 ชุด และสนับสนุนโดโลไมท์ ให้ราษฎรใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด จำนวน 50 ตัน

                      3.5 ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จะสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลแปลงปลูกหม่อนให้กับสมาชิกโครงการศิลปาชีพ พร้อมทั้งจัดโครงการศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เฮือนผ้าไหมทอมือ บ้านโคกจาน ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

                      3.6 ด้านการศึกษาเรียนรู้ด้านอาชีพ จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน จำนวน 1 แห่ง และจัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง โดยจะจัดฝึกอบรมยุวเกษตรกร จำนวน 100 คน พร้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรให้แก่โรงเรียน

                      3.7 ด้านการส่งเสริมสหกรณ์และการรวมกลุ่มของเกษตรกร มีแผนที่จะจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อพัฒนาและยกระดับกำลังการผลิตการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน ในชื่อสินค้า “วนาทิพย์” ให้แก่กลุ่มเกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมในด้านมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารแปรรูปและพัฒนาระบบการจัดการระบบสหกรณ์

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชน ในชื่อสินค้า “วนาทิพย์” โดยกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

         1. ราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้านการประกอบอาชีพ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตพื้นฐาน

         2. พื้นที่ป่าชุมชนดงมัน พื้นที่ 3,006 ไร่ และหนองอึ่งสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรด้านอาหารที่สำคัญของราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

         3. โครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ห้องเรียนธรรมชาติ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการไปสู่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

         4. ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการ

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

 

ผลการดำเนินงานปี 2561

           หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดยโสธรที่ร่วมเป็นคณะทำงานโครงการฯ จำนวน ๑๒ หน่วยงาน มีแผนงานที่จะดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการพัฒนาอาชีพ โดยกิจกรรมจะดำเนินการระยะเวลาที่แล้วเสร็จเดือนมีนาคม ๒๕๖๒ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

             1. ด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ

                      ดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในงานอำนวยการ และการให้บริการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน ก่อสร้างอาคารโรงนอนชายและหญิง รองรับผู้เข้าไปศึกษาอบรมภายในโครงการ จำนวน 2 หลัง ก่อสร้างระบบน้ำประปา จัดทำป้ายโครงการ และดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ

จัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานโครงการฯ

 

2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

                    จะดำเนินการขยายผลเกี่ยวกับการเพาะเห็ดป่าในไม้วงศ์ยางเพื่อเป็นแหล่งอาหารในชุมชนและสร้างรายได้เสริม โดยการส่งเสริมให้ราษฎรเพาะพันธุ์กล้าไม้วงศ์ยางปลูกเชื้อเห็ด ไมคอร์ไรซาเพื่อจำหน่ายและปลูกขยายในป่าชุมชนในรูปแบบ“ธนาคารกล้าไม้ชุมชน”พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบวนเกษตรในพื้นที่ราษฎร ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและพัฒนาธนาคารอาหารชุมชน พื้นที่ 100 ไร่ ปลูกเสริมพันธุ์ไม้ป่าและสมุนไพรในชุมชนเขตตำบลค้อเหนือ พื้นที่ 100 ไร่ ปลูกไผ่เป็นแนวกันชนป่าชุมชนในพื้นที่โครงการ จำนวน 10,000 ต้น ปลูกไม้เสริมป่าบุ่งป่าทาม จำนวน 10,000 ต้น และจัดหากล้าไม้ป่าบุ่งป่าทามสนับสนุนชุมชน จำนวน 20,000 ต้น

                    นอกจากนี้ ยังจะจัดดำเนินจัดทำกล้าไม้วงศ์ยางปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาเพื่อปลูก เพิ่มเติมในพื้นที่โครงการและแจกจ่ายทั่วไป จำนวน 40,000 กล้า และสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายอนุรักษ์ โดยการจัดฝึกอบรมกลุ่มเยาวชนตามแนวพระราชดำริครูป่าไม้ จำนวน 1 รุ่น 100 คน และฝึกอบรมส่งเสริมการพัฒนาการป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 1 รุ่น 60 คน

           

                       กิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติป่าชุมชนดงมัน                           งานขยายผลด้านป่าไม้และสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์

                    ซึ่งมีผู้สนใจเดินทางไปศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง                             

 

3. ด้านการพัฒนาอาชีพ

                      3.1 ด้านการปศุสัตว์ มีแผนจะส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ราษฎรในเขตตำบลค้อเหนือ ได้แก่ ด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 2 หมู่บ้าน 60 คน การเลี้ยงสุกรชีวภาพ (หมูหลุม) จำนวน 2 หมู่บ้าน 30 คน และการเลี้ยงเป็ดไข่ จำนวน 3 หมู่บ้าน 60 คน รวมทั้งติดตั้งซองบังคับสัตว์ประจำหมู่บ้านแบบถอดประกอบได้ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ร่วมกันในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดสัตว์ ผสมเทียม และรักษาสัตว์ป่วย จำนวน 50 แผง

                      3.2 ด้านการเกษตร จะดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติด้านการเพาะเห็ดนางฟ้า การแปรรูปเห็ด และการทำปุ๋ยจากก้อนเห็ด พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ด้านการเพาะเห็ดให้แก่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง  

                      3.3 ด้านการประมง จะผลิตพันธุ์ปลาปล่อยลงในหนองอึ่ง จำนวน 100,000 ตัว พร้อมทั้งติดตามปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำ และอบรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์และบริหารจัดการแหล่งน้ำให้แก่ราษฎร และส่งเสริมการเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน จำนวน 10 คน

                       3.4 ด้านพัฒนาที่ดิน มีแผนจะส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จำนวน 70 ตัน และส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพและสารป้องกันแมลงศัตรูพืชให้แก่ราษฎร จำนวน 100 คน

                       3.5 ด้านการส่งเสริมศิลปาชีพ มีแผนดำเนินการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะการย้อมสีเส้นไหมให้แก่สมาชิกโครงการ จำนวน 1 รุ่น 50 คน  

                       3.6 ด้านการส่งเสริมสหกรณ์และการรวมกลุ่มของเกษตรกร จะดำเนินการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจของกลุ่มสหกรณ์ในพื้นที่โครงการ ฯ รวมถึงการให้ความรู้แก่สมาชิกด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการตลาด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์

กิจกรรมส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่าชุมชน ในชื่อสินค้า “วนาทิพย์”
ดำเนินการโดยกลุ่มสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการ ฯ

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

        1. ราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้านการประกอบอาชีพ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตพื้นฐาน

        2. พื้นที่ป่าชุมชนดงมัน จำนวน 3,006 ไร่ และหนองอึ่งสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรด้านอาหารที่สำคัญของราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม

         3. มีการขยายผลและสร้างเครือข่ายด้านอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้น และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการศึกษาดูงานและการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

 

ผลการดำเนินงานปี 2562

                 1. ด้านการพัฒนาพื้นที่และบริหารโครงการ

                    ดำเนินการจัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้แก่คณะทำงานโครงการ ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางมาศึกษาดูงานในพื้นที่โครงการ ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 มีรายการถ่ายทำสารคดี จำนวน
4 คณะ และจัดฝึกอบรมให้แก่คณะศึกษาดูงาน จำนวน 7 รุ่น มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 513 คน

                              

                                 การถ่ายทำสารคดีเพื่อเผยแพร่                                       จัดฝึกอบรมให้แก่คณะศึกษาดูงาน

 

                   2. ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

                      ดำเนินการขยายผลเกี่ยวกับการเพาะเห็ดป่าในไม้วงศ์ยาง เพื่อเป็นแหล่งอาหารในชุมชนและสร้างรายได้เสริม โดยการส่งเสริมให้ราษฎรเพาะพันธุ์กล้าไม้วงศ์ยาง ปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาเพื่อจำหน่ายและปลูกขยายในป่าชุมชนในรูปแบบ “ธนาคารกล้าไม้ชุมชน”
พร้อมสนับสนุนการพัฒนาระบบวนเกษตรในพื้นที่ราษฎร  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูและพัฒนาธนาคารอาหารชุมชน พื้นที่ 100 ไร่ นอกจากนี้ ยังเพาะพันธุ์กล้าไม้วงศ์ยางปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซาเพื่อปลูก เพิ่มเติมในพื้นที่โครงการและแจกจ่ายทั่วไป จำนวน 40,000 กล้า

                             

                               กล้าวงศ์ยางปลูกเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา                                 แจกจ่ายกล้าไม้ให้แก่เกษตรกร

 

                      ด้านเครือข่ายการอนุรักษ์ ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 2 หมู่บ้าน จากในพื้นที่เป้าหมาย 15 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านคำน้ำสร้าง หมู่ที่ 15  บ้านแจ้งน้อย หมู่ที่ 12 โดยจัดฝึกอบรมส่งเสริมการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จำนวน 80 คน และพัฒนาเครือข่ายเยาวชนตามแนวพระราชดำริครูป่าไม้ในโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง

                            

                                                          การจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานภายในโครงการ

 

                  3.  ด้านการพัฒนาอาชีพ

                     3.1 ด้านการเกษตร ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติด้านการเพาะเห็ดนางฟ้า การแปรรูปเห็ด และการทำปุ๋ยจากก้อนเห็ด พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ด้านการเพาะเห็ดให้แก่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน จำนวน 6 แห่ง

                     3.2 ด้านประมง ผลิตพันธุ์ปลาปล่อยลงในหนองอึ่งเพื่อเพิ่มทรัพยากรด้านประมง จำนวน 100,000 ตัว และส่งเสริมการเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน จำนวน 10 ตัว

                     3.3 ด้านการส่งเสริมศิลปาชีพ มีแผนดำเนินการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะการย้อมสีเส้นไหมให้แก่สมาชิกโครงการ จำนวน 1 รุ่น 50 คน  

                             

                                          ส่งเสริมการย้อมผ้า                                            อบรมการเพาะและแปรรูปเห็ด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

                  ทำให้ราษฎรตำบลค้อเหนือ ได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้านการประกอบอาชีพ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตพื้นฐาน พื้นที่ป่าชุมชนดงมัน จำนวน 3,006 ไร่ และหนองอึ่งสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรด้านอาหารที่สำคัญของราษฎรตำบลค้อเหนือได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม มีการขยายผลและสร้างเครือข่ายด้านอนุรักษ์ธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นภายในพื้นที่โครงการ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่