ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

 

เรื่องเดิม

            เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์ และอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายเล็ก  จินดาสงวน ให้พิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน โดยมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลองการเกษตรในด้านต่างๆ ตลอดจนการอบรม และเผยแพร่ไปสู่ราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน  2525  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดสกลนคร โดยมุ่งเน้นให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษา ทดลองงานที่พัฒนาแบบเบ็ดเสร็จและมีรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ อันจะนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองต่อไป และได้พระราชทานพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการที่ครบวงจร  เพื่อให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานก-เค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 2,100 ไร่ และมีเขตปริมณฑลเพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ 11,000 ไร่ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2527 โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักและมีหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ส่วน  เข้าร่วมในการดำเนินงาน  โดยมุ่งเน้นที่จะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา     ภูพานฯ เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลองการเกษตรในด้านต่างๆ ตลอดจนการอบรมและเผยแพร่ไปสู่ข้าราชการ และเกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์ต่อไป

             เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในการนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาในด้านต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ “การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนใช้ไม้ไผ่จำนวนมากในศูนย์ศึกษานี้ ควรรวบรวมพันธุ์ไผ่และปลูกไผ่ในสภาพพื้นที่ต่างๆ กัน ถ้าเลือกเฉพาะสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมปลูกแล้ว ที่อื่นๆ ไม่ทราบ ลองปลูกดูว่าจะได้ผลในสภาพใดบ้าง ต้องพยายามปลูกไม้ต่างๆ ในสภาพพื้นที่ต่างๆ ปลูกทุกลักษณะเดิม ปลูกเป็นส่วนๆ ควรปลูกในที่อื่นด้วย เพื่อเป็นตัวอย่าง”

              กิจกรรมการพัฒนาที่ดิน ควรพิจารณาแก้ไขปัญหาดินลูกรังโดยเร็ว โดยพิจารณานำเครื่องจักร เครื่องมือ มากระทุ้งชั้นดิน ลูกรัง แล้วนำดินลูกรังชั้นล่างขึ้นมาผสมกบดินลูกรังชั้นบน แล้วไถกลบเชื่อว่าภายใน 2 ปี สามารถปลูกพืชได้ และที่สำคัญในบริเวณที่ไม่ดี แต่สามารถทำให้ปลูกพืชได้ เมื่อชาวบ้านมาดู มาเห็น ทำได้ ก็จะนำไปเป็นตัวอย่างและทดลองทำในพื้นที่ของตนต่อไป

              กิจกรรมการศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ ควรส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ที่จะให้ราษฎรสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงเพราะจะต้องใช้เงินลงทุนสูงตามไปด้วย ให้ค่อยๆ เพิ่มความรู้ให้ชาวบ้านทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ส่วนการเลี้ยงไก่นั้น ราษฎรมักประสบปัญหาการตายของไก่เป็นจำนวนมาก ลองศึกษาว่าควรจะส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงสัตว์อะไรที่ทนทานกว่าไก่ เช่น การเลี้ยงเป็ด เพราะแข็งแรง อดทนดีกว่า และไม่ต้องลงทุนสูง ส่วนวัวที่จะไปส่งเสริมให้มีการเลี้ยง ก็ควรเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง และเป็นลูกผสม เพราะวัวพันธุ์แท้เวลานำมาเลี้ยงจะตายหมด ส่วนการเลี้ยงสุกรนั้น จะต้องนำปลาทะเลมาทำเป็นปลาป่น ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างไกลจากทะเลมากก็น่าจะทดลองเลี้ยงปลาหมอเทศ และนำมาเป็นอาหารสุกรบ้าง เพราะปลาหมอเทศเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แต่จะต้องประสานงานกับกรมประมงดูว่าจะเลี้ยงได้ไหม เพราะปลาหมอเทศเป็นปลานิสัยดุ หากหลุดออกไปแพร่พันธุ์ในที่ที่ไม่ต้องการจะไปทำลายปลาอื่นๆ ด้วย

            ควรขยายพันธุ์สุกรเหมยชานให้มากขึ้น โดยให้คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม ลูกดก เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้ราษฎรได้เลี้ยงให้มากขึ้น และให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการดูแล วัวจำนวน 35 ตัว ที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย โดยดำเนินการผสมเทียม และดูแลเรื่องสุขภาพด้วย

             ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า  ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  มีพื้นที่โครงการ 13,300 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆ 2,300 ไร่ และมีเขตพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 11,000 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่งานศึกษาทดลองและวิจัย และงานด้านการขยายผลการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว ซึ่งมีผลการดำเนินงานก้าวหน้าเป็นที่พอใจตามลำดับสรุปได้ดังนี้

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2532

              งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและประชาสัมพันธ์ โดยจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ 4 ประเภท จำนวน 24 รายการ

ประโยชน์ของโครงการ

               ช่วยให้ราษฎรในเขตหมู่บ้านบริวาร จำนวน 14 หมู่บ้าน และหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเรียนรู้ และเข้าใจความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ง่ายขึ้น และมีความสำนึกและตื่นตัวในการพัฒนาอาชีพทางด้านเกษตรกรรมมากขึ้น เพื่อจะนำไปปรับปรุงแก้ไขการทำมาหากินให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น ในระยะยาวต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2533

              ในปีงบประมาณ 2533 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงาน

               3.1 งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแล รักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check Dam) และการส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ และดำเนินการก่อสร้างคูส่งน้ำและอาคารประกอบ ยาว 380 เมตร พร้อมทั้งปรับปรุงอาคารบ้านพัก

               3.2 งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านพัฒนาตัวอย่างและขยายการส่งเสริมและพัฒนาไปยังหมู่บ้านบริวารของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านค้าหมู่บ้าน ธนาคารข้าว  ประปาหมู่บ้าน และการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

               3.3 งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม แยกเป็นกิจกรรมต่างๆ ได้ดังนี้

                    - กิจกรรมข้าว ได้ดำเนินการทดสอบพันธุ์ข้าว และวิธีการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่

                    - กิจกรรมพืชไร่ ทำการศึกษาพืชไร่เศรษฐกิจต่างๆ เพื่อที่จะหาพันธุ์และวิธีการปฏิบัติรักษาที่เหมาะสมและถูกต้องสำหรับแนะนำให้เกษตรกร

                    - กิจกรรมพืชสวน ทำการทดสอบพืชสวนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวบรวมศึกษาและคัดพันธุ์และทำการเกษตรกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพผลผลิตที่ดี

                   - กิจกรรมหม่อนไหม การดำเนินงานที่สำคัญของกิจกรรมสรุปได้ คือการเปรียบเทียบผลผลิตหม่อนสายพันธุ์แก้วชนบท กับ หม่อนลูกผสมสายพันธุ์แก้วชนบท NO 20, การศึกษาการปลูกหม่อนแบบแปลงผัก, การศึกษาวิธีการเก็บเกี่ยวใบหม่อนที่เหมาะสมกับการเลี้ยงไหมไทยของเกษตรกร, การทดสอบการเลี้ยงไหมสภาพโรงเลี้ยงแบบต่างๆ ที่เกษตรกรสร้างเอง เปรียบเทียบกับโรงไหมมาตรฐาน

                    - กิจกรรมเพาะเห็ด เพื่อนำเอาวัสดุเหลือใช้มาทดสอบและพัฒนาการเพาะเห็ด ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในสภาพพื้นที่ สรุปได้คือ การทดสอบศึกษาการเลี้ยงเชื้อเห็ดที่เหมาะสมให้อาหารเหลว, การทดสอบการทำเชื้อเห็ดชนิดต่างๆ จากวัสดุต่างๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น, การทดสอบหาวัสดุที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก, การทดสอบการเพาะเห็ดหอม โดยใช้ขี้เรื่อยไม้เบญจพรรณในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม, การทดสอบวิธีการเปิดดอกเห็ดตีนแรดที่เหมาะสม, การถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ทำการฝึกอบรมเกษตรกร 64 รุ่น

                     - กิจกรรมยางพารา ดำเนินการปลูกยางพารา 3 พันธุ์ คือ RRIM 600. GT 1 และ PR 255 พบว่า พืชแซมและพืชคลุมดินมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางอย่างเห็นได้ชัด

                     -  กิจกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนารูปแบบของการถนอมอาหารและแปรรูปอาหารจากผลิตผลทางการเกษตรให้มีอายุอายุยืนยาวและคุณภาพดี โดยนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป คือ การศึกษาการทำวุ้นเส้นจากถั่วเขียว, การศึกษาการทำแป้งจากผลิตผลทางการเกษตร, การศึกษาการทำข้าวเกรียบจากผลิตผลทางการเกษตร, การศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากสับปะรด, การศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากกล้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการแปรรูปและการถนอมอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ เช่น ไวน์กระเจี๊ยบ หน่อไม้บรรจุขวด กาแฟตากแห้ง น้ำเสาวรส มะละกอแก้ว ถั่วเคลือบ เห็ดตากแห้งและถั่วทอด

                      - กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม ได้จัดทำฟาร์มสาธิตตัวอย่างระบบฟาร์มผสมผสานในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ โดยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการเลี้ยงปลา

               3.4 งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

                     - กิจกรรมสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดโดยสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในรูปแบบต่างๆ กัน ได้แก่ สาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อ ในนาข้าว ในกระชัง ในบ่อซีเมนต์ และบ่อในครัวเรือน และสาธิตการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในบ่อดิน

                         - กิจกรรมสาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยสาธิตการบริหารอ่างเก็บน้ำชลประทานขนาดเล็กปล่อยปลาไปทั้งหมด  115,000 และชี้แจงให้ราษฎรบริเวณรอบๆ อ่างช่วยกันดูแลและรักษาป่า

                         - กิจกรรมส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำในนา

                 3.5 งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยการฝึกอบรมอาชีพ 8 กิจกรรม คือ การทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและจากใบเตย ช่างซ่อมจักรยานยนต์ การฟอกย้อมสีฝ้าย  การตีเหล็ก การทอผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้า และการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าและวัสดุอื่น มีราษฎรผ่านการฝึกอบรม จำนวน 190 คน

                 3.6 งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

                       - งานศึกษาวิจัย ศึกษาปัญหาการเลี้ยงสุกรเหมยซาน การให้อาหารพลังงานและโปรตีนระดับต่ำ สำหรับสุกรแม่พันธุ์ ดูร็อก – เหมยซาน

                       - งานสาธิตเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีกต่างๆ

                       - ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น โคนม โคเนื้อ สุกรเหมยซาน ไก่พื้นเมือง ไก่ดำ เป็ดไข่

                       - การจัดหาผลิตภัณฑ์สัตว์

                 3.7 งานศึกษา พัฒนา และปรับปรุงบำรุงดิน ได้ดำเนินการ

                       - งานวิจัย ได้ดำเนินการ 8 โครงการ คือ การปรับปรุงดินลูกรังโดยใช้วัสดุคลุมดิน, การศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตและผลตอบแทนของพืชเศรษฐกิจบางชนิด, การปลูกหญ้าผสมถั่ว โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี, การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นในดินลูกรัง, การศึกษาเปรียบเทียบความชื้นในดินทราย, การศึกษาผลของการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก, การศึกษาผลของการปรับรูปแปลงนาต่อการเพิ่มผลผลิตของข้าว, การศึกษาผลของฮิวมิก้า และปุ๋ยหมักต่อผลผลิตข้าว

                        - งานถ่ายทอดวิชาการ ได้แก่ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก สาธิตการใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว สาธิตการใช้พืชสดในนาข้าว พืชสวน

                        - งานด้านบริการ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด บริการอนุรักษ์ดินและน้ำ และบริการปรับรูปแปลงนา

               3.8 งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

                     - กิจกรรมป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ฯ พื้นที่ 13,600 ไร่ ได้ออกตระเวนตรวจตรา ป้องกัน ปราบปรามการบุกรุกทำลาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

                     - กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร วัด โรงเรียน และส่วนราชการต่างๆ

                     - กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ บำรุงป่าธรรมชาติ บริเวณต้นน้ำลำธาร เนื้อที่ 1,000 ไร่

                     - กิจกรรมเกษตรกรป่าไม้ ได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกหวายดง ตัดหน่อบริโภคและขยายพันธุ์

                     - กิจกรรมการปลูกป่าและปลูกไม้ในดานหิน ได้ปลูกไม้ยางพาราเสริมธรรมชาติเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่                      

                     - กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง ได้บำรุงดูแลสวนครั่ง และปลูกต้นไม้เลี้ยงครั่งเพิ่มเติมอีก 6 ไร่ ปล่อยครั่งพันธุ์เพาะเลี้ยงกับต้นไม้

                     - กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง ได้บำรุงดูแลป่าฟืนสาธิต เตาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง และศึกษาผลผลิตของการผลิตถ่ายจากไม้โตเร็วบางชนิด

                     - กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และฝึกอบรมให้ราษฎรรู้จักการป้องกันไฟป่า และการดับไฟฟ้า

                3.9 งานส่งเสริมการเกษตร โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ส่งเสริมการจัดไร่นาสวนผสม แปลงสาธิตการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน ส่งเสริมการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน

                3.10 งานสาธารณสุข  ส่งเสริมการเผยแพร่ให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ รู้จักการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและรู้จักการป้องกันรักษาโรคต่างๆ  โดยดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี งานอนามัยแม่และเด็ก โดยหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด ทำคลอด ดูแลแม่และเด็กหลังคลอด งานจัดหาน้ำสะอาดและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานรักษาพยาบาล ได้ให้บริการโดยสถานบริการและตามแนวทางการพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน ได้จัดตั้งกองทุนยา กองทุนบัตรสุขภาพ กองทุนโภชนาการ และอื่นๆ

                3.11 งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานโดยคล่องตัว รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                3.12 งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ของกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นผลดีสามารถนำไปเผยแพร่ประชาชนต่อไป โดยมีเกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,656 คน

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2534

               ในปีงบประมาณ 2534 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงาน

               3.1 งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแล รักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check Dam) และการส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ และก่อสร้างร่องระบายน้ำสองข้างถนน

               3.2 งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านพัฒนาตัวอย่างหมู่บ้านบริวารของศูนย์ฯ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ฝึกอบรมผู้นำท้องถิ่น และกิจกรรมเยาวชน

               3.3 งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม นำความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่ไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติตาม แยกเป็นกิจกรรมข้าว พืชไร่ พืชสวน หม่อนไหม เพาะเห็ด พารา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร พัฒนารูปแบบการถนอมและการแปรรูปอาหารจากผลิตผลการเกษตรให้มีอายุยืนนาน มีคุณภาพดีและเพิ่มคุณค่าของอาหารให้มากขึ้น กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม ศึกษาการพัฒนาระบบการทำฟาร์มพื้นที่เกษตรกรในหมู่บ้าน เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน และปรับปรุงการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น

                3.4 งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในรูปแบบต่างๆ การเลี้ยงปลาในบ่อ ในนาข้าว ในกระชัง ในบ่อซีเมนต์

                      - ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อใช้แจกจ่าย และปล่อยในแหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว เป็นปลานิล 50,000 ตัว ปลาไน 50,000 ตัว และปลาตะเพียนขาว 100,000 ตัว

                      - สาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง โดยสาธิตกาบริหารอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยเวียนไพร บ้านลาดกระเชอ  พื้นที่ 10 ไร่ ปล่อยปลา 30,000 ตัว และชี้แจงให้ราษฎรบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ ช่วยกันดูแลรักษาและจับปลาเฉพาะตัวใหญ่

                       - กิจกรรมส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำในนา ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อแบบผสมผสาน และส่งเสริมการเลี้ยงปลาในกระชัง

                  3.5 งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยการฝึกอบรมอาชีพ 9 กิจกรรม คือ การทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา การบัดกรีโลหะแผ่น ช่างเชื่อโลหะ ย้อมสีฝ้าย ผลิตภัณฑ์จากเชือกกระสอบ ย้อมสีไหม ทอผ้าด้วยกี่กระตุก ซ่อมรถจักรยานยนต์ และผลิตภัณฑ์จากใบเตย

                   3.6 งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

                         - ศึกษาวิจัย

                         - สาธิตเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์ การเลี้ยงโคนม โคเนื้อ สุกร และสัตว์ปีก การพัฒนาพืชอาหารสัตว์ในแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ และแปลงนาพืชอาหารสัตว์

                         - ส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เช่น โคนม โคเนื้อ สุกรเหมยซาน สัตว์ปีก และจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงสัตว์

                         - สนับสนุนพันธุ์สัตว์และพืชอาหารสัตว์ เช่น ไก่ สุกร และผลิตพืชอาหาร

                   3.7 งานศึกษาพัฒนาและปรับปรุงบำรุงดิน ได้ดำเนินการ

                         - กิจกรรมวิจัย ทดสอบ

                         - กิจกรรมถ่ายทอดวิชาการ ได้แก่ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก สาธิตการใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว สาธิตการใช้พืชสดในนาข้าว พืชสวน

                         - กิจกรรมด้านบริการ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด บริการอนุรักษ์ดินและน้ำ และบริการปรับรูปแปลงนา

                   3.8 งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

                         - กิจกรรมป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ฯ พื้นที่ 13,600 ไร่ ได้ออกตระเวนตรวจตรา ป้องกัน ปราบปรามการบุกรุกทำลาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

                         - กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร วัด โรงเรียน และส่วนราชการต่างๆ

                         - กิจกรรมศึกษาทางด้านวนวัฒนวิทยา เป็นการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพันธุ์ไม้ และวิธีการที่เหมาะสมในการปลูกและบำรุงรักษา

                         - กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการช่วยและสนับสนุนให้พันธุ์ไม้ที่มีค่าในทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ ในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และปลูกซ่อมต้นไม้

                         - กิจกรรมบำรุงรักษาสวนเดิม บำรุงดูแลรักษาต้นไม้ โดยการถางวัชพืช ลิดกิ่ง ตกแต่งลำต้นไม้ ทั้งทำแนวกันไฟ

                         - กิจกรรมมวนเกษตร ได้จัดทำแปลงสาธิตการปลูกหวายดง ตัดหน่อบริโภคและขยายพันธุ์

                         - กิจกรรมสาธิตและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง ได้บำรุงดูแลสวนครั่ง และปลูกต้นไม้เลี้ยงครั่งเพิ่มเติมอีก 2 ไร่ ปล่อยครั่งพันธุ์เพาะเลี้ยงกับต้นไม้

                         - กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง ได้บำรุงดูแลป่าฟืนสาธิต เตาผลิตถ่านประสิทธิภาพสูง และศึกษาผลผลิตของการผลิตถ่ายจากไม้โตเร็วบางชนิด

                         - กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และฝึกอบรมให้ราษฎรรู้จักการป้องกันไฟป่า และการดับไฟฟ้า

                         - กิจกรรมปลูกไม้ไผ่แบบผสมผสาน เป็นการส่งเสริมการปลูกป่าไม้ไผ่ใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือน และศึกษาทดลองปลูกไม้ไผ่แบบผสมผสานกับไม้ผลชนิดต่างๆ

                    3.9 งานส่งเสริมการเกษตร โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ส่งเสริมการปลูกไผ่ตงแบบสวนหลังบ้าน ส่งเสริมการขยายพันธุ์ไผ่ตง ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกถั่วลิสง ขยายพันธุ์มันสำปะหลัง ปลูกงา ส่งเสริมการทำหน่อไม้อัดปี๊บ ส่งเสริมการจัดไร่นาสวนผสม ปลูกถั่วเขียว

                    3.10 งานสาธารณสุข  ส่งเสริมการเผยแพร่ให้เกษตรกรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ รู้จักการรักษาสุขภาพอนามัยที่ดีและรู้จักการป้องกันรักษาโรคต่างๆ  โดยการอบรมให้ความรู้ในเรื่องอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด การสนับสนุนให้มีการสร้างส้วมราดน้ำ และตุ่มน้ำ

                    3.11 งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมต่างๆ

                    3.12 งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ของกิจกรรมต่างๆ ว่าเป็นผลดีสามารถนำไปเผยแพร่ประชาชนต่อไป

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2535

              ในปีงบประมาณ 2535 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้มีผลการดำเนินงานพอสรุปได้ดังนี้

                        3.1 งานชลประทาน ได้ดำเนินการบำรุงดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายขนาดเล็ก (Check dam) การส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปลูกหญ้า

                        3.2 งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาบ้านตัวอย่างและหมู่บ้านรอบ ๆ ศูนย์ โดยบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเยาวชนหมู่บ้าน พัฒนาคุณภาพชีวิต บริหารธนาคารข้าว ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นและอาสาสมัคร

                        3.3 งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ได้ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และทดสอบ และทดสอบการปลูกพืชในรูปแบบต่าง ๆ กัน เพื่อที่จะนำความรู้และเทคโนโลยีแผนใหม่ไปส่งเสริมและเผยแพร่ให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ

                        3.4 งานสาธิต ส่งเสริม และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง  โดยผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ ปลานิล ปลาไน ปาตะเพียน และปลานวลจันทร์ รวม 150,000 ตัว รวมทำส่งเสริมการเลี้ยงปลาในบ่อ  เลี้ยงปลาในข้าว และบ่อแบบผสมผสาน รวม 45 ราย

                        3.5 งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว ฝึกอบรมให้ราษฎรได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ซ่อมเครื่องยนต์เล็ก ผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหลือใช้ ตัดเย็บเสื้อผ้า ทำเครื่องเรือนจากไม้ไผ่ ฝึกย้อมสี ทอผ้า ตีเหล็กและช่างเชื่อมโลหะ

                        3.6 งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ได้ดำเนินการวิจัยอาหารสัตว์ วิจัยด้านปศุสัตว์ เพื่อพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโค สุกร ไก่ เป็ด เป็นต้น

                        3.7 งานศึกษาและปรับปรุงบำรุงดิน ถ่ายทอดวิชาการ โดยสาธิตการทำปุ๋ยหมัก 150 ตัน การใช้ปุ๋ยหมักในนาข้าว พืชไร่ และสาธิตการปรับรูปแปลงนา

                        3.8 งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ ป้องกันรักษาป่าในเขตปริมณฑลศูนย์ ตั้งจุดตรวจลักลอบการตัดไม้ทำลายป่า ประชาสัมพันธ์ให้ราษฎรได้เข้าใจและให้ความร่วมมือรวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ เช่น ไม้ยางพารา ไม้ผล ไม้กินได้ หวายดง ไผ่ตง ไผ่หวาน และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง กิจกรรมส่งเสริมขยายพันธุ์หวายและไมไผ่ชนิดต่าง  ๆ

                        3.9 งานส่งเสริมการเกษตร โดยส่งเสริมและแนะนำการปลูกพืชชนิดต่างๆ ให้เกษตรกรปลูกพืชผักสวนครัว ทำไร่นาสวนผสม ไม้ผลแบบสวนหลังบ้าน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อ้อย ถั่วลิสง ข้าวโพดหวาน และการเพาะเห็ดในโรงเรือน

                        3.10 งานบริหารส่วนกลาง ได้ดำเนินการประสานงาน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ครุภัณฑ์สำนักงาน การปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                        3.11 งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแผนใหม่ให้เกษตรกร ข้าราชการ ประชาชนโดยทั่วไป

ประโยชน์ของโครงการ

                        เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาและทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่างๆ ตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาและพัฒนาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ ด้วยระบบชลประทานแบบง่ายๆ  ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจ และนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในด้านต่างๆ เพื่อให้ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2536

1. งานชลประทาน ได้ดำเนินการ

     - บำรุง ดูแลรักษาอ่างเก็บน้ำ ระบบส่งน้ำ ฝายต้นน้ำขนาดเล็ก และการส่งน้ำให้กับกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ

     - รวบรวมพันธุ์หญ้าแฝก ปลูกหญ้าแฝกเพื่อทดลอง และทดสอบการชะล้างหน้าดิน และป้องกันการพังทลาย และการกัดเซาะหน้าดินตามแนวขอบฝายต้นน้ำลำธาร

2. งานหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ได้ดำเนินการปรับปรุงหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน 15 หมู่บ้าน  ดังนี้

     - การจัดระเบียบชุมชน โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็นคุ้ม ปรับปรุงถนนภายในหมู่บ้าน จัดทำป้ายคำขวัญ บริการประปาหมู่บ้าน

     - จัดตั้งกลุ่ม และพัฒนากลุ่มต่างๆ ตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตศูนย์สาธิตการตลาด 7 ศูนย์ ธนาคารข้าว 11 แห่ง และพัฒนากลุ่มอาชีพต่างๆ

     - พัฒนาคุณภาพชีวิต จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง ตั้งกลุ่มเยาวชนครบ 15 หมู่บ้าน ฝึกอบรมสตรีอาสาพัฒนา 15 หมู่บ้าน

3. งานศึกษา และพัฒนาเกษตรกรรม ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และทดสอบการปลูกพืชในรูปแบบต่างๆ เช่น

     - กิจกรรมข้าว ได้ศึกษา ดำเนินการทดสอบ คือ การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยปลอดสารอันตราย เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีสู่เกษตรกร

     - กิจกรรมพืชไร่ ดำเนินการศึกษา ทดสอบการปลูกพืชไร่ในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ได้ดำเนินการทดสอบอัตราการใช้ปุ๋ย ทดสอบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน การกำจัดวัชพืช การใช้ปูนขาว และหินฟอสเฟต และการปลูกพืชร่วมกับมันสำปะหลัง ซึ่งส่วนใหญ่ได้ผลดีพอสมควร

     - กิจกรรมพืชสวน ศึกษาและเปรียบเทียบพันธุ์ไม้ผลบางชนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกไม้เมืองหนาว ว่าจะสามารถปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้หรือไม่ พบว่า เงาะให้ผลผลิตดีพอสมควรและยังได้ขยายไม้ผลพันธุ์ดี แจกจ่ายให้ราษฎรนำไปปลุกในพื้นที่ของตนเองด้วย

     - กิจกรรมหม่อนไหม ดำเนินการทดสอบและขยายการเลี้ยงไหมไปสู่เกษตรกรให้มากขึ้น

     - กิจกรรมเพาะเห็ด ดำเนินการทดสอบหาวัสดุที่เหมาะสม รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเพาะเห็ดด้วย

     - กิจกรรมยางพารา ดำเนินการศึกษาและทดสอบการปลูกยางพารา การทดสอบการปลูกหวายและพืชสมุนไพรในสวนยางพาราและการปลูกสร้างสวนยางแซมป่าเสื่อมโทรม

     - กิจกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

     - กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม ได้ดำเนินการศึกษา ทดสอบฟาร์มตัวอย่าง ระบบไร่นาสวนผสม ศึกษาระบบการปลูกพืชในที่ไร่ ทดสอบการเลี้ยงสัตว์เพื่อเสริมรายได้ พบว่าเกษตรกรสามารถมีรายได้จากการเกษตร หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ประมาณปีละ 14,000 บาท

4. งานสาธิตส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

     - การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงสุกร เกษตรกรสามารถมีรายได้ประมาณปีละ 14,000 บาท

     - กิจกรรมผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ มีปลานิล ไน ตะเพียนขาว และนวลจันทร์เทศ

     - สาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมงและแหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน

     - กิจกรรมส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ จำนวน 32 ราย ในนา 11 ราย ในบ่อแบบผสมผสาน 3 ราย

     - กิจกรรมทดสอบการเลี้ยงปลาในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เลี้ยงปลาแบบผสมผสานร่วมกับสุกร ไก่พันธุ์ไข่ เลี้ยงปลาในนาข้าว

5. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว ฝึกอบรมอาชีพให้แก่ราษฎร เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็นการเพิ่มรายได้

6. งานศึกษา และพัฒนาด้านปศุสัตว์

     - กิจกรรมสาธิตเพื่อพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยการเลี้ยงโค สุกร ไก่ เป็ด

     - กิจกรรมพืชอาหารสัตว์ โดยสาธิตการปลูกพืชอาหารสัตว์ 20 ไร่

     - กิจกรรมส่งเสริมด้านปศุสัตว์ในหมู่บ้าน ส่งเสริมการเลี้ยงโค 11 กลุ่ม

     - กิจกรรมป้องกันกำจัดโรค

7. งานศึกษาและปรับปรุงบำรุงดิน

     - โครงการผลของการเตรียมดิน และการคลุมดินต่อปริมาณความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อถั่วลิสง

     - กิจกรรมถ่ายทอดวิชาการ โดยสาธิตการทำปุ๋ยหมัก 166 ตัน ใช้ปุ๋ยพืชสด 116 ไร่ อนุรักษ์ดิน และน้ำ 224 ไร่ สาธิตการปรับปรุงแปลงนา 154 ไร่ และจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ปอเทือง จำนวน 1,100 กิโลกรัม

     - กิจกรรมด้านบริการ ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด การอนุรักษ์ดิน และน้ำและการปรับปรุงแปลงนา 201 ไร่

8. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

     - กิจกรรมป้องกันรักษาป่า

     - กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้

     - กิจกรรมเกษตรป่าไม้ โดยปลูกพืชควบระหว่างพืชเกษตรกับป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้กับการพัฒนาชนบท

     - กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำ

     - กิจกรรมบำรุงป่าธรรมชาติเดิมบริเวณต้นน้ำลำธาร

     - กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง

     - กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง

     - กิจกรรมส่งเสริมและขยายพันธุ์หวาย และไม้ไผ่ชนิดต่างๆ

     - กิจกรรมปลูกสร้างสวนป่า โดยการปลูกต้นไม้และกิจกรรมควบคุมไฟป่า ได้ดำเนินการรณรงค์ป้องกันไฟป่าและปฏิบัติการดับไฟป่า

9. งานส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการส่งเสริมและแนะนำการปลูกพืชชนิดต่างๆให้เกษตรกร เช่น การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว ส่งเสริมการสร้างสวนผลไม้พันธุ์ดี แปลงสาธิตการจัดไร่นาสวนผสมและส่งเสริมการปลุกสับปะรดโรงงาน 3 หมู่บ้าน

10. งานส่งเสริมสาธารณสุข ได้ดำเนินการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาด สร้างส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัวและงานสาธารณสุขอื่นๆ

11. งานบริหารส่วนกลาง ดำเนินงานประสานงาน จัดหาวัสดุอุปกรณ์และอำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมต่างๆ

12. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้มีความรู้ความสามารถในการทำการเกษตร โดยใช้หลักวิชาการให้มากขึ้น

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2537

1. งานชลประทาน

    - บำรุงรักษาระบบชลประทานให้สามารถส่งน้ำแก่แปลงศึกษาและทดลองของกิจกรรมต่างๆ

    - ขุดลอกและซ่อมแซมฝายต้นน้ำลำธาร

2. งานศึกษา และพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง

    - จัดระเบียบชุมชน และป้ายทางเข้าหมู่บ้าน ส่งเสริมครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง

    - จัดตั้ง และพัฒนาองค์กรประชาชน  โดยจัดตั้งและอบรมกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ

3. งานศึกษา และพัฒนาเกษตรกรรม

    ดำเนินการศึกษาทดสอบการปลูกพืชต่างๆ เช่น ข้าว , พืชไร่ , พืชสวน , ยางพารา , การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม , การเพาะเห็ด ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในพื้นที่ศูนย์ฯ หมู่บ้านรอบศูนย์

การศึกษา ทดลอง และทดสอบการปลูกพืชต่างๆ ภายในศูนย์ฯ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ดำเนินการขยายผลการศึกษาฯ ทดลอง โดยการสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสดในพืชไร่

4. งานสาธิตส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    กิจกรรมสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อ ในนา ในกระชัง และวิธีการเลี้ยงปลาโดยวิธีให้ปุ๋ยคอก และอาหารเสริม

5. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว การตัดเย็บเสื้อผ้า , การทำผลิตภัณฑ์กระดาษอัด , การทำผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ , ช่างซ่อมเครื่องยนต์และจักรยานยนต์ , การทอผ้ามัดหมี่ด้วยกี่กระตุก , การย้อมสีฝ้ายและไหม , การตีเหล็ก , การทำผ้าบาติก ,     การทำเครื่องเรือนไม้ไผ่ , การทำผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย , การจักสานไม้ไผ่ และช่างเชื่อมโลหะ

6. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

    - กิจกรรมศึกษา ทดลอง เปรียบเทียบ การเลี้ยงโคนมเพศเมีย สายพันธุ์ชาโรเลห์ , อเมริกันบราห์มัน , ชิลเมนทอล และโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน การเลี้ยงโคเนื้อ (โคน้อมเกล้าฯ ถวาย) และการทดลองใช้ผักบุ้ง เลี้ยงสุกรเพื่อเปรียบเทียบกับอาหารสูตรต่างๆ

7. งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

       - ทำการวิจัย 10 เรื่อง ในด้านต่างๆ คือ การจัดการวัสดุคลุมดิน การใช้ปุ๋ยพืชสดจำพวกปอเทียงเตี้ย และพืชตระกูลถั่ว วิธีการจัดปลูกหญ้าแฝก และหญ้ารูซีเป็นแนวตักตะกอนดิน การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการศึกษาลักษระของดินลูกรังที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

8. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

       - กิจกรรมป้องกันรักษาป่า

       - กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้

       - กิจกรรมวนเกษตร

       - กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำ

       - กิจกรรมบำรุงป่าธรรมชาติเดิม บริเวณต้นน้ำลำธาร

       - กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง

       - กิจกรรมสาธิตการแปรรูปไม้เป็นเชื้อเพลิง

       - กิจกรรมส่งเสริมขยายพันธุ์ไม้ไผ่ และหวายดง

       - กิจกรรมปลูกสร้างสวนป่า

       - กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และปฏิบัติงานดับไฟ

9. งานส่งเสริมการเกษตร

       - ส่งเสริมการปลูกพืชในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว

       - กิจกรรมส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

10. งานส่งเสริมสาธารณสุข

       - กิจกรรมปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการจัดหาน้ำสะอาด จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในการสร้างส้วมให้ถูกสุขลักษณะ

       - กิจกรรมอบรมด้านสาธารณสุข ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อนามัยแม่และเด็ก

       - กิจกรรมสวนสาธิตสมุนไพร จัดสร้างเรือนเพาะชำ เพื่อขยายพันธุ์ให้แก่ประชาชน

11. งานบริหารส่วนกลาง ประสานงานและอำนวยความสะดวกแก่กิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ฯ

การจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นและรวบรวมผลงานศึกษา วิจัย เพื่อจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลการดำเนินงาน

ประโยชน์ของโครงการ

ทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านบริวารประมาณ 14 หมู่บ้าน ราษฎร จำนวน 1,636 ครัวเรือน หรือ 10,876 คน ได้มีการค้นคว้า และเรียนรู้เทคโนโลยี และวิชาการสมัยใหม่ทางด้านการเกษตร เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ไขการทำมาหากินเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

ได้ก่อสร้างโรงอบพลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่อบแผ่นยางพาราให้แห้ง

12. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ด้านวิชาชีพ ฝึกอบรม จำนวน 1,200 คน และสาธารณะ

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2538

1. งานชลประทาน

    - บำรุงรักษาระบบชลประทานให้สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่แปลงศึกษา

    - ซ่อมแซมฝายต้นน้ำลำธาร (Check Dam) และปลูกหญ้าแฝกในบริเวณรอบศูนย์ฯ

    - อำนวยความสะดวกประสานงาน และบริหารโครงการ

2. งานศึกษา และพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง

    - จัดระเบียบชุมชน โดยจัดทำป้ายชื่อคุ้ม ป้ายคำขวัญ สร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาตาล ส่งเสริมครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง

    - จัดตั้ง และพัฒนาองค์กรประชาชน  โดยจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านนานกเค้ากลุ่มออมทรัพย์ สนับสนุนอาชีพกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมอาชีพปลูกพืชไร่บ้านนางอย

3. งานศึกษา และพัฒนาเกษตรกรรม

    ในรอบปีงบประมาณ 2539 ได้ดำเนินการทดสอบการปลูกพืชต่างๆ

    - กิจกรรมข้าว

      1) ด้านพันธุ์ข้าว

      2) ด้านการปรับปรุงวิธีการผลิต

      3) การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปลอดสารอันตราย

          - กิจกรรมพืชไร่

          - กิจกรรมพืชสวน ศึกษา และทดสอบ

          - กิจกรรมหม่อนไหม

          - กิจกรรมวิจัยและเพาะเห็ด

          - กิจกรรมยางพารา

          - กิจกรรมระบบการทำฟาร์ม

     4) แปลงสาธิตระบบเกษตรผสมผสาน พื้นที่ 8 ไร่

          - กิจกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  ศึกษาและทดสอบการผลิตวุ้นเส้นจากถั่วเขียว และถั่วพุ่ม

          - งานเกษตรอาศัยน้ำฝน 47 ไร่

4. งานสาธิตส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    1) งานสาธิตและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

    2) งานผลิตพันธุ์ปลา

    3) งานส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงปลา

    4) งานฝึกอบรมการเกษตร

    5) งานสาธิตการบริหารแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    6) โครงการขยายผลสู่หมู่บ้านบริวารของศูนย์ฯ

        6.1 แผนงานการพัฒนาหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และหมู่บ้านอื่นๆ

        6.2 แผนงานจัดประชุม สัมมนาทางวิชาการ

ประโยชน์ของโครงการ

จะช่วยให้เกษตรกรในเขตหมู่บ้านบริวาร ประมาณ 15 หมู่บ้าน จำนวน 2,017 ครัวเรือน 9,963 คน ได้มีการค้นคว้า และเรียนรู้เทคโนโลยีวิชาการสมัยใหม่ทางด้านการเกษตร เพื่อนำไปปรับปรุงและแก้ไขการทำมาหากินให้ดีขึ้น

การพัฒนาหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ได้มีการส่งเสริมชาวบ้านปลูกข้าวโพด แตงโม มันเทศ

มะขามหวาน มะม่วง ลำใย ลิ้นจี่ และเลี้ยงเป็ดเทศ ไก่ ห่าน ปลา

     7) การทดลองเพาะเลี้ยงปลาช่อน

5. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับราษฎรในหมู่บ้านรอบๆ ศูนย์ เช่น การทำผ้าบาติก การตัดเย็บเสื้อผ้า ย้อมสี ผลิตภัณฑ์จากเส้นใย (แฝก)

6. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

    - ภายในศูนย์ ดำเนินการ 11 กิจกรรม

      1) สาธิตการเลี้ยงโคนม 7 ตัว

      2) ทดลองเลี้ยงโคลูกผสม

      3) เลี้ยงโคทิชชัง

      4) เลี้ยงสุกรเหมยซาน

      5) เลี้ยงเป็ดเทศ

      6) เลี้ยงเป็ดไข่

      7) เลี้ยงไก่พื้นเมือง

      8) เลี้ยงไก่ป่า

      9) ปลูกพืชอาหารสัตว์

      10) ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์

      11) งานศึกษาทดลอง ปลูกผักเลี้ยงสุกรเหมยซาน ปลูกผักขมเลี้ยงเป็ดเทศ

            - งานส่งเสริมในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ 7 กิจกรรม

               1) ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อเพิ่มรายได้

               2) โครงการเลี้ยงสุกรเหมยซาน

               3) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

               4) ส่งเสริมพืชอาหารสัตว์

               5) การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรรายย่อย

               6) การบริการป้องกันและรักษาโรคสัตว์

               7) การบริการผสมเทียม

7. งานศึกษา และพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

    - กิจกรรมถ่ายทอดวิชาการ สาธิตการทำปุ๋ยหมัก

    - กิจกรรมด้านบริการ (ส่งเสริมและเผยแพร่)

    - กิจกรรมบริการทางวิชาการด้านดินและปุ๋ย

    - ขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

8. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

    - กิจกรรมป้องกันรักษาป่า

    - กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้ชนิดต่างๆ จำนวน 580,000 กล้า

    - กิจกรรมวนเกษตร ดำเนินการปลูกพืชเกษตรควบคู่กับการปลูกต้นไม้แบบผสมผสานในพื้นที่ดำเนินการ 18 ไร่

    - กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำ ปรับปรุงพื้นที่ต้นน้ำลำธารในเขตรับผิดชอบและบำรุงรักษาแปลงสาธิตการปลูกพืชไร่ระบบเกษตร-ป่าไม้

    - กิจกรรมบำรุงป่าธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ 200 ไร่

    - กิจกรรมส่งเสริมการปลูกไม้ไผ่และหวายดง

    - กิจกรรมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงครั่ง

    - กิจกรรมศึกษาทางด้านพลังงาน

    - กิจกรรมบำรุงรักษาสวนป่าเดิม ครอบคลุมพื้นที่ 400 ไร่

    - กิจกรรมควบคุมไฟป่า รณรงค์ป้องกันไฟป่า และปฏิบัติงานดับไฟป่า

9. งานส่งเสริมการเกษตร

10. งานส่งเสริมสาธารณสุข

    - กิจกรรมด้านสาธารณสุข การผลิตยาสมุนไพร และการนวดไทย

11. งานบริหารส่วนกลาง ดำเนินการประสานงาน ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้แก่กิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ

12. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ด้านวิชาชีพ 2539 แก่เกษตรกร ในด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ปรับปรุงบำรุงดินและสาธารณสุข

                สระน้ำที่ขุดให้แก่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จังหวัดสกลนคร                  การปลูกถั่ว เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบำรุงดิน

             ซึ่งเป็นการขยายผลตามทฤษฎีใหม่ (บ้านหนองไผ่) ไปสู่ราษฎร

                          แปลงทดสอบการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105                       แปลงทดสอบการปรับปรุงบำรุงดินหลังการปรับรูปแปลงนา

                     ปลอดสารอันตรายในพื้นที่ของราษฎรบ้านนานกเค้า                     เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ของราษฎรบ้านนานกเค้า

ศูนย์ภูพานฯ ได้แนะนำเกษตรกรบ้านม่วงให้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน

มีการปลูกพืชจำพวกข้าวโพด แตงโม มันเทศ ไม้ผล ควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์และเลี้ยงปลา

การประชุมทางวิชาการเรื่อง สรุปผลรวมการศึกษา วิจัย ทดลอง และแนะแนวทาง

การขยายผลสู่ราษฎรของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2538

โดยมีรักษาราชการเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นประธานในพิธีเปิด

                              ผลผลิตของกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ                            นิทรรศการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินงานภายในศูนย์ฯ

                         ที่นำมาแสดงในบริเวณที่จัดแสดงนิทรรศการฯ

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2539

1. งานชลประทาน

    - บำรุงรักษาระบบชลประทานให้สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่แปลงศึกษา

    - ด้านสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา

    - ขุดลอกและซ่อมแซมฝายต้นน้ำลำธาร 28 แห่ง

    - ก่อสร้างเรือนเพาะชำโครงการศูนย์ฯ 1 แห่ง โรงรถ 1 แห่ง

2. งานศึกษา และพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง

    - จัดระเบียบชุมชน โดยจัดทำป้ายชื่อคุ้ม ป้ายคำขวัญ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมชุมชน ปลูกรั้วกินได้

    - จัดตั้ง และพัฒนาองค์กรประชาชน  ตั้งคณะกรรมการเยาวชน และคณะกรรมการสตรีจัดตั้งธนาคารข้าว 15 แห่ง สาธิตการตลาด 9 แห่ง สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ

3. งานศึกษา และพัฒนาเกษตรกรรม

   ได้ดำเนินการทดสอบการปลูกพืชต่างๆ เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน  ยางพารา การปลุกหม่อนเลี้ยงไหม การเพาะเห็ดในรูปแบบต่างๆ ทั้งในพื้นที่ศูนย์ฯ หมู่บ้านรอบศูนย์เพื่อนำเอาความรู้นำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง

4. งานสาธิตส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    1. งานสาธิตและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

    2. งานผลิตพันธุ์สัตว์น้ำ

    3. งานฝึกอบรมเกษตรกร

    4. งานส่งเสริมและบริการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

    5. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว

    6. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

    7. งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

    8. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

    9. งานส่งเสริมการเกษตร

    10. งานส่งเสริมสาธารณสุข

    11. งานบริหารส่วนกลาง

    12. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2540

1. การศึกษาทดลอง วิจัย ค้นคว้า

    - งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม   ได้แก่  กิจกรรมข้าว  กิจกรรมพืชไร่  กิจกรรมพืชสวน กิจกรรมหม่อนไหม  กิจกรรมวิจัยและเพาะเห็ด  กิจกรรมยางพารา  กิจกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตร  กิจกรรมระบบเกษตรผสมผสาน  กิจกรรมระบบเกษตรยั่งยืน

    - งานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

    - งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

    - งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้

    - งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

2. การขยายผลการศึกษา

    - การนำผลการศึกษา ทดสอบที่เหมาะสมเผยแพร่สู่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  ได้แก่ กิจกรรมข้าว  กิจกรรมพืชไร่  กิจกรรมพืชสวน  กิจกรรมหม่อนไหม่    กิจกรรมวิจัยและเพาะเห็ด  กิจกรรมยางพารา  งานส่งเสริมการเกษตร  งานส่งเสริมสาธารณสุข

3. แผนงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่

  - งานจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงาน

  - งานจัดทำสารคดี วิดีโอทัศน์ เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์โครงการฯ

  - งานเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการของกิจกรรมภายในศูนย์

ประโยชน์ของโครงการ

การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา  ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านงานศึกษา วิจัย ค้นคว้าจนได้ผลการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อการเกษตรและการประกอบอาชีพของราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะงานขยายผลการศึกษา ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนให้ราษฎรสามารถนำตัวอย่างหรือรูปแบบที่ดีเหล่านี้ไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งสามารถได้ผลปรากฏชัดเจนแก่ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ อาทิเช่น ราษฎรที่ได้รับส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ จะมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 4,000 บาท หรือราษฎรที่จัดระบบการเกษตรแบบผสมผสาน จะมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 7,000 บาทต่อปี หรือการนำรูปแบบทฤษฎีใหม่ไปปฏิบัติในที่ดินของนายชาญโชค  พันธุลา  ที่ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพขึ้นปีละประมาณ 25,000-35,000 บาท

การทดสอบปลูกข้าวพันธ์ดี ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งได้ผลผลิต    การทดสอบหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชไร่ ได้แก่

405 กิโลกรัม/ไร่ และพันธ์หอมภูพานฯ ไห้ผลผลิต 483 กิโลกรัม/ไร่         ข้าวโพด จนสามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 6000-7,000 ฝัก/ไร่

การศึกษาทดสอบยางพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ PR255 RRIM600 และ GT1      สวนยางพาราที่ปลูกเมื่อปี 2538 และเจริญเติบโตจนสามารถ

    ให้ผลผลิตน้ำยางเท่ากับ 228 189 และ 312 กิโลกรัม/ไร่                        เปิดกรีดน้ำยางในปี 2536 ที่ระดับความสูง 120 เมตร

                 ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำยางของทางภาคใต้

ลูกสุกรพันธ์เหมยซาน จากการเลี้ยงแม่สุกรเหมยซาน สามารถให้ลูก        การปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อปรับปรุงบำรุงดินในแปลงพืชไร่หรือนาข้าว

ได้รุ่นละ 10-13 ตัว เมื่ลูกสุกรอายุได้ 45-60 วัน สามารถขายได้ราคา                               เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน

                 ตัวละ 200-300 บาท เป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกร

 

แปลงข้าวพื้นที่ 6 ไร่ ตามรูปแบบทฤษฎีใหม่ของนายชาญโชค พันธุลา           สระน้ำขนาด 1 ไร่เศษ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก

         ซึ่งจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละประมาณ 40-50 ถัง                 และเลี้ยงปลาตะเพียนขาวจำนวน 6,000 ตัว ได้ผลผลิต

                                                                                                                                        น้ำหนักปลา500-800 กิโลกรัมต่อรุ่น

 

ผลการดำเนินงานปี 2541

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ มีผลการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ

1. การศึกษา ทดลอง ค้นคว้า

    1.1 งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศึกษาทดสอบ

          -กิจกรรมข้าว พบว่า พันธ์ที่ให้ผลผลิตดี คือ เจ้าแดง สุพรรณบุรี และขาวดอกมะลิ

          -กิจกรรมพืชไร่ ศึกษาปรับปรุงดิน เพื่อการผลิตข้าวโพด ถั่วลิสงแบบยั่งยืน

          -กิจกรรมพืชสวน ศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกมะกอก จำนวน 16 สายพันธุ์

          -กิจกรรมเพาะเห็ด ศึกษาการเพาะเห็ดหอม

          -กิจกรรมยางพารา ทดสอบการปลูกยางพันธุ์ PR255 RRIM600 GT1

          -กิจกรรมระบบเกษตรแบบผสมผสาน ศึกษาผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ พบว่าระบบการปลูกข้าว พืชผัก ได้แก่บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี สลัดแก้ว ผักกาดแก้ว ให้กำไรสูงสุด

2. การขยายผลการศึกษา

3. งานบริหารและพัฒนาด้านอื่นๆ

ประโยชน์ของโครงการ

สำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการประเมินผลงานของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน และจากการสัมภาษณ์หัวหน้าจาก 12 หน่วยงานหลัก พร้อมทั้งราษฎรตัวอย่างจากหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน 216 ครัวเรือน ซึ่งได้สรุปที่ชัดเจนดังนี้

1. จากการสุ่มตัวอย่างข้อมูลหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ พบว่า มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเท่ากับ 36,552 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าเส้นความยากจนเฉลี่ยในชนบทของปี 2539 แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเพียง 8,300 บาทต่อปี ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยรายได้ต่อหัว ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) อย่างไรก็ตาม จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีสภาพความยากจนในครัวเรือน เพียงร้อยละ 18

2. ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ พบว่า ครัวเรือนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น โดยเฉพาะมีน้ำอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอถึงร้อยละ 91 และมีน้ำเพื่อการเกษตรเพียงร้อยละ 47 ดีกว่าระยะแรกก่อนเริ่มโครงการฯ ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำอย่างมาก

3. จากการประเมินระดับคุณภาพชีวิตระดับชุมชน โดยศึกษาจากข้อมูล กชช. 2ค และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) พบว่า ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีค่าดัชนีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 0.6 ในปี 2535 เป็น 0.8 ในปี 2539 แต่ยังมีบางหมู่บ้านที่ยังมีเกณฑ์คุณภาพชีวิตในระดับต่ำ ได้แก่ บ้านลาดสมบูรณ์ บ้านม่วงและบ้านขอน

โดยสรุปแล้ว การดำเนินงานกว่า 13 ปี ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ก่อประโยชน์ด้านงานศึกษา ทดลอง เพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมของสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สอดคล้องตามพระราชดำริที่ต้องการให้เป็น พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ราษฎรสามารถเข้ามาหาความรู้ และนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เพื่อพัฒนาอาชีพ และรายได้ให้ดีขึ้นต่อไป

          แปลงสาธิตพันธ์ข้าวที่เหมาะสม                                 แปลงทดลองปลูกมะกอกน้ำมันในพื้นที่ 2 ไร่

การเลี้ยงปลาในบ่อครัวเรือน                                          การบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสด

        แปลงหม่อนในพื้นที่เกษตรน้ำฝน                                    การเพาะเห็ดจากวัสดุหาง่ายในท้องถิ่น

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2542

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ มีผลการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ

1. การศึกษา ทดลอง ค้นคว้า

ศึกษาค้นคว้าวิธีการที่เหมาะสม เป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งในการเกษตรกรรม การประมง การปศุสัตว์ การพัฒนาป่าไม้และการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งมีผลการศึกษาในปี 2542 ดังนี้

1.1 งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม

  - กิจกรรมข้าว

  - กิจกรรมพืชไร่

  - กิจกรรมพืชสวน

  - กิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

  - กิจกรรมยางพารา

  - กิจกรรมเพาะเห็ด

  - กิจกรรมเกษตรแบบยั่งยืน

  - กิจกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตร

1.2 งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

1.3 งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ มีหลายกิจกรรม ดังนี้

  - กิจกรรมวนเกษตร

  - กิจกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำ

  - งานศึกษาด้านนิเวศวิทยาป่าไม้

1.4 งานสาธิตส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมง

1.5 งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

2. การขยายผลการศึกษา

 ในการขยายผลการศึกษาได้นำรูปแบบ วิธีการที่เหมาะสมหรือประสบผลสำเร็จดังกล่าว ไปเผยแพร่ สาธิต ส่งเสริมและสนับสนุนแก่ราษฎร เพื่อให้ราษฎรนำตัวอย่างที่ดีเหล่านี้ไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง โดยมีพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

 - พื้นที่แปลงสาธิตในศูนย์ศึกษา

 - พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

 - พื้นที่ศูนย์สาขา 3 แห่ง

 - พื้นที่หมู่บ้านอื่นๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 3. การบริหารและประสานงาน

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2548

.  ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย

การศึกษา ทดลอง วิจัยที่มีการสรุปผลแล้ว คือ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรค ซึ่งได้มีการสาธิตและนำไปส่งเสริมแนะนำให้แก่เกษตรกร พันธุ์พืช ได้แก่ ข้าวอุบล ๒ สันป่าตอง ๑ ปทุมธานี ๑ ถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน ๙ ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท ๗๒ ถั่วพุ่ม ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดฝักอ่อน มะม่วง ศก.๐๐๙ มะขาม ศก.๐๑๙ ลิ้นจี่ นพ ๑ ยางพันธุ์ PR ๒๕๕ เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดเป๋าฮื้อ พันธุ์สัตว์ ได้แก่ โคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง สุกรพันธุ์เหมยซาน เป็ดเทศพันธุ์กบินทร์บุรี ไก่ตำหวง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเวียดนาม พันธุ์ปลา ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาไน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์ ปลานิล เป็นต้น

                        การศึกษา ทดลอง วิจัยที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีดังนี้

- ด้านป่าไม้ ได้แก่ การวิจัยการเปลี่ยนแปลงสังคมพืชหลังสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น การวิจัยประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพันธุ์ไม้ป่าธรรมชาติและสวนป่า การวิจัยลักษณะการไหลของน้ำจากป่าธรรมชาติ การศึกษาสำรวจพันธุ์พืชท้องถิ่นเพื่อรวบรวมไว้ในแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

- ด้านการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่า ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น นกยูง  ไก่ฟ้าพญาลอ  ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดง ไก่ฟ้าหลังขาวหูขาว นกเขา นกแก้วโม่ง เก้ง เนื้อทราย เป็นต้น  และปลูกพืชอาหารสัตว์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดังกล่าวแล้ว ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างป่าและสัตว์ป่าตามสภาพธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย โดยมีเป้าหมายในการปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นไป เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ให้กลับคืนสู่ความสมดุลและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

งานศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง

เช่น นกยูง ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว  เก้ง เนื้อทราย ฯลฯ

- ด้านพืช

                     ๑) ศึกษาทดลองการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพในการผลิตมังคุดอินทรีย์มีผลการทดลองปีแรก พบว่า มีการเจริญเติบโตด้านความสูง โดยเฉลี่ย ๔.๐๘ เมตร ขนาดทรงพุ่มกว้าง โดยเฉลี่ย ๓.๗๒ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น โดยเฉลี่ย ๑๐.๙๘ เซนติเมตร

                    ๒) ศึกษาทดลองการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพในการผลิตลองกองอินทรีย์ ในปีแรกพบว่ามีการเจริญเติบโตด้านความสูง เฉลี่ย ๓.๗๐ เมตร มีขนาดทรงพุ่มกว้าง เฉลี่ย ๓.๑๒ เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น เฉลี่ย ๘.๓๑ เซนติเมตร การให้ผลผลิตพบว่าให้ผลผลิตเพียงเล็กน้อย จากลองกอง ๒ ต้น ให้ผลผลิต ๙.๓๐ กิโลกรัม

                    ๓) ศึกษาทดลองการปลูกสบู่ดำ พืชพลังงานทดแทนน้ำมัน โดยเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ผลผลิต ระหว่างสายพันธุ์ต่าง ๆ สภาพพื้นที่การปลูกเปรียบเทียบที่ดอนกับที่ลุ่ม และเปรียบเทียบระยะห่างของการปลูกที่เหมาะสม เริ่มปลูกเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๘ ขณะนี้เริ่มออกผลผลิตบ้างแล้ว โดยอยู่ระหว่างการเก็บบันทึกข้อมูล

แปลงศึกษาทดลองการปลูกสบู่ดำในบริเวณแปลงพืชไร่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

- ด้านปศุสัตว์

                    ๑) ศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ ได้แก่ สุกรสายพันธุ์ “ภูพาน” โดยพัฒนาจากจุดเด่นของสุกร ๓ สายพันธุ์ คือ พันธุ์เหมยซาน พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่  ให้มีลักษณะขนาดกะทัดรัด  ให้ลูกดก  เลี้ยงง่าย  มันน้อยและเนื้อแดงมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนต่อโรค ขณะนี้อยู่ในรุ่นที่ ๓ ซึ่งผลการเจริญเติบโตพบว่ามีคุณลักษณะตามความต้องการของเกษตรกรที่จะสามารถนำมาส่งเสริมการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในอนาคต นอกจากนี้ได้เริ่มทดลองขยายพันธุ์โคเนื้อสายพันธุ์ทาจิมะ ซึ่งเป็นโคที่รัฐบาลญี่ปุ่นน้อมเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นโคขุนที่มีความพิเศษในเรื่องรสชาติที่รู้จักกันดีในชื่อเนื้อโกเบ หากศึกษาทดลองจนสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงได้ จะเป็นลู่ทางเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี

โคพันธุ์ทาจิมะที่รัฐบาลญี่ปุ่นน้อมเกล้าฯ ถวาย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                    ๒) ศึกษาพลังงานทดแทนโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ซึ่งเป็นวงจรของระบบน้ำและมูลสัตว์จากคอก โดยให้ไหลตามราง เข้าสู่บ่อหมักซึ่งของเสียที่ผ่านการหมักแล้วจะให้ก๊าซชีวภาพที่สามารถจุดไฟและให้ความร้อนได้ สำหรับกากของมูลสัตว์ที่เหลือจากการหมักแล้วสามารถนำไปเป็นปุ๋ยใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช หรือตากแห้งเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยใช้พลังงานทดแทนอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร

บ่อก๊าซชีวภาพภายในศูนย์ฯ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง

เช่น ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่าง ใช้จุดเครื่องกกให้ความอบอุ่นลูกสัตว์

ตู้ฟักไข่ด้วยพลังงานความร้อนจากก๊าซชีวภาพ

.  ด้านการส่งเสริมและขยายผลการพัฒนา                 

๒.๑     การดูแลรักษาป่า    ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาป่า โดยการจัดตั้งคณะทำงานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่าแบบบูรณาการ ที่มีการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและภาคประชาชน โดยการคัดเลือกประชาชนหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และมอบให้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ป่า โดยปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์ฯ ในการประชาสัมพันธ์ ตรวจลาดตระเวน ตั้งจุดตรวจควบคุมการเข้าป่า เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ควบคุมการเกิดไฟป่า อย่างไรก็ตาม จากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลรักษาป่าดังกล่าว ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรและเจ้าหน้าที่ลดลง  ราษฎรเข้าใจและให้ความไว้วางใจเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าการเผาป่าลดลงจากเดิม (เมื่อปี ๒๕๔๗ มีไฟไหม้ป่า พื้นที่ ๓๑๓.๕ ไร่) ทำให้ไม่ปรากฏไฟไหม้พื้นที่ป่าดังกล่าวตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นมา

๒.๒   การส่งเสริมการปลูกป่า    ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ และไม้ผล เช่น ไผ่ หวายดง เม่า มะกรูด มะนาว ฯลฯ  โดยกล้าหวายเป็นที่นิยมของเกษตรกร ซึ่งนำไปปลูกแซมกับพืชอื่นไว้สำหรับบริโภค ส่วนต้นเม่าได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีตลาดรับซื้อผลนำไปทำน้ำหวานและไวน์ นอกจากนี้ยังได้เพาะชำกล้าไม้ป่า ไม้ท้องถิ่น โดยส่งเสริมราษฎรให้กระจายพันธุ์และปลูกไว้ใช้สอยในครัวเรือนให้มากขึ้นตามแนวพระราชดำริ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง และเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มปลูกพืชพลังงานทดแทน ได้แก่ สบู่ดำ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของชุมชนในอนาคต ตลอดจนรณรงค์ให้หน่วยงานราชการ  วัด  โรงเรียน จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในโอกาสวันสำคัญต่าง ๆ ตามแนวทางปลูกต้นไม้ในใจคน

๒.๓ การปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ โดยใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นการจัดแสดงสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากร สังคม บริเวณเทือกเขาภูพาน โดยจัดทำป้ายสื่อความหมายตามเส้นทางในพื้นที่ป่าของศูนย์ฯ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้สนใจได้รับความรู้พร้อมกับความเพลิดเพลินในการชมธรรมชาติ ตลอดจนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และสัตว์ป่าให้ยั่งยืน ตามแนวทางการท่องเที่ยวเชิงพัฒนา ซึ่งมีเยาวชนผู้สนใจมาเดินชมและจัดเข้าค่ายศึกษาธรรมชาติเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เริ่มเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๔๗ ประมาณ ๗,๒๘๐ คน

๒.๔ การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

-  ส่งเสริมการปลูกแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินบริเวณโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ศูนย์ฯ ได้แก่ ริมถนนทางเข้าศูนย์ฯ แหล่งน้ำสาธารณะ สระน้ำของเกษตรกร ทำให้รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและรักษาหน้าดินไว้ได้

-  ส่งเสริมการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก การทำและการใช้ปุ๋ยพืชสด โดยใช้พื้นที่การเกษตรหลังฤดูเก็บเกี่ยวของราษฎรเป็นพื้นที่สาธิต ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้าวที่ปลูกในแปลงปุ๋ยพืชสดมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่สูงกว่าข้าวในแปลงใกล้เคียงเป็นตัวอย่างของการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต

 -  อบรมและร่วมกับเกษตรกรปรับปรุงแปลงปลูกพืชและวางผังการใช้ที่ดินทำให้สามารถควบคุมการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๒.๕ การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตการเกษตร ได้แก่ การทำขนมจากถั่วเขียว การทำซีอิ๊วจากถั่วเขียว การผลิตน้ำตาลจากอ้อย การทำวุ้นเส้นจากถั่วเขียว การผลิตข้าวเกรียบจากมันสำปะหลัง การทำขนมจากถั่วลิสง การผลิตกล้วยฉาบ เป็นต้น

๒.๖  การเลี้ยงสัตว์

            ๑) ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ไก่ดำสายพันธุ์ “ภูพาน”  ไก่เนื้อสายพันธุ์ภูพาน ไก่ตำหวง ไก่งวงพันธุ์เบลท์สมอลไวท์ เป็ดเทศสายพันธุ์กบินทร์บุรี โดยสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกระบบปิด สาธิตให้เกษตรกรนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อป้องกันการติดต่อของไข้หวัดนก รวมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง สุกรพันธุ์เหมยซาน ซึ่งได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ของหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ใช้วิธีส่งเสริมแบบให้ยืมพันธุ์สัตว์ โดยสมาชิกกลุ่มจะต้องคืนลูกสัตว์เท่ากับจำนวนที่ยืมไป เพื่อนำไปส่งเสริมแก่สมาชิกกลุ่มรายต่อไป

โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกระบบปิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนก

           ๒) ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ หญ้าคิงเนเปียร์ กินนีสีม่วง ลูกผสมรูซี่ แพงโคล่า ซึ่งใช้วิธีการจัดการแปลงหญ้าแบบประณีตโดยใช้ระบบชลประทาน  ทำให้ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาเกษตรกรที่เคยประสบปัญหาปริมาณอาหารสัตว์ขาดแคลนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปซื้อหญ้าเลี้ยงสัตว์จากที่อื่น

๒.๗   การประมง ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสามารถในการผลิตพันธุ์ปลา และเพาะเลี้ยงปลา โดยมุ่งเน้นปลากินพืชที่เลี้ยงง่าย เช่น ปลาตะเพียนขาว  ปลาไน  ปลายี่สกเทศ  ปลานวลจันทร์  ปลานิล  ปลานิลแปลงเพศ  โดยคัดเลือกจากเกษตรกรที่มีสระน้ำในที่ดินของตนเอง นอกจากนี้นำไปส่งเสริมให้ สระน้ำของโรงเรียนตามโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาดุกและกบในบ่อซีเมนต์

๒.๘  การปรับปรุงพื้นที่ ๔๗ ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ศึกษาดูงานของเกษตรกร  พื้นที่ ๔๗ ไร่ เดิมดำเนินการศึกษาทดสอบการเกษตรแบบธรรมชาติใช้น้ำฝน โดยแบ่งเป็นแปลงปลูกป่าและไม้ผลในพื้นที่ลาดชัน แปลงกิ่งพันธุ์ไม้ผล แปลงปลูกแฝก แปลงทฤษฎีใหม่ และพื้นที่ส่วนหนึ่งจัดทำเป็นแปลงทดสอบมะกอกน้ำมันโครเอเชีย ในปี ๒๕๔๘ ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากแปลงปลูกพืชต่างๆมีสภาพทรุดโทรม เพราะดินไม่ดีและมีปัญหาขาดแคลนน้ำโดยการปรับปรุงบำรุงดิน ระบบการให้น้ำพืช ปลูกเสริมพืชสมุนไพร ทำป้ายสื่อความหมายและทางเดินชมพรรณไม้บริเวณแปลงป่าไม้ ส่วนแปลงทฤษฎีใหม่ที่เดิมจ้างลูกจ้างดูแลเปลี่ยนเป็นมอบให้เกษตรกรทำกินโดยเก็บผลผลิตเป็นของตัวเองและบันทึกข้อมูลรวมทั้งเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่เกษตรกรที่มาดูงานของศูนย์ฯ ในลักษณะเกษตรกรตัวอย่าง

๒.๙ การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโยโลยี ดำเนินการฝึกอบรมให้เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และประชาชนทั่วไป จำนวน ๙๘๖  คน  ตามหลักสูตรการประกอบอาชีพต่าง ๆ   ได้แก่  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  อุตสาหกรรมในครัวเรือน  การเลี้ยงสัตว์ทั่วไป  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขั้นพื้นฐาน  การเพาะเห็ด  การพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร  การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม  การนวดเพื่อสุขภาพ  บัญชีฟาร์ม  การปลูกยางพารา  การเลี้ยงโคเนื้อ  การเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ นาหญ้าและเสบียงสัตว์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การอบรมยุวชลกร ซึ่งเป็นการให้ความรู้เยาวชนเกี่ยวกับงานด้านชลประทาน และการอบรมกลุ่มผู้ใช้น้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ในรอบปี ๒๕๔๘ มีเกษตรกรผู้สนใจเดินทางมาศึกษาดูงานศูนย์ภูพานฯ จำนวน ๒๒,๑๒๘  คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา

การฝึกอบรมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน สามารถผลิตออกจำหน่ายเป็นรายได้เสริมสำหรับเกษตรกร เช่น กระเป๋า หมอน ชาหม่อน มูลี่ กล่องใส่กระดาษเช็ดหน้า ฯลฯซึ่งเมื่อคราวที่รัฐมนตรีประเทศต่าง ๆ เดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯได้ซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านจนไม่เพียงพอที่จะจำหน่าย

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

 ๑)        เน้นรูปแบบการมีส่วนร่วมของเกษตรกรให้มากขึ้น เช่น การขุดสระน้ำโดยเกษตรกรร่วมสมทบเงิน ส่งเสริมการเลี้ยงปลา โดยเกษตรกรเป็นผู้จัดทำบ่อปลาเอง ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยเกษตรกรเป็นผู้จัดทำคอกสัตว์เอง  เป็นต้น

 ๒)       นำผลการศึกษาทดลองด้านพลังงานทดแทนได้แก่ การใช้ก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องจักรกลการเกษตรไปส่งเสริมให้กว้างขวางมากขึ้น

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2549

1.     ด้านการศึกษา  ทดลอง  วิจัย

ดำเนินการศึกษา  ทดลอง  วิจัย  และแสวงหารูปแบบการพัฒนาและวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง  การปศุสัตว์  การพัฒนาป่าไม้  การปรับปรุงบำรุงดิน  ซึ่งผลการศึกษาทดลองที่ประสบผลสำเร็จแล้วและพร้อมจะนำไปส่งเสริมเผยแพร่แก่ราษฎรนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเองได้ ประกอบด้วย พันธุ์พืช ได้แก่ ข้าวอุบล 2 สันป่าตอง 1 ปทุมธานี 1 ถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 ถั่วพุ่ม ข้าวโพดเทียน ข้าวโพดฝักอ่อน มะม่วง ศก.009 มะขาม ศก.019 ลิ้นจี่ นพ 1 ยางพันธุ์  PR 255 เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู  เห็ดเป๋าฮื้อ  พันธุ์สัตว์ ได้แก่ โคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง สุกรพันธุ์เหมยซาน  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทดลอง วิจัย ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้

1.1   งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

        1)      ศึกษาวิธีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อปลูกหน่อไม้ฝรั่งในระบบเกษตรอินทรีย์บนชุดดินโพนพิสัย โดยข้อมูลที่ได้รับจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนปลูกพืชในพื้นที่ดินลูกรังชุดโพนพิสัย เพื่อให้มีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมในระบบเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ

        2)     ศึกษาทดสอบการปลูกแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลายของคูระบายน้ำภายในพื้นที่ศูนย์ฯ ที่มีปัญหาดินเค็มบริเวณหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ เพื่อนำข้อมูลจากผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปลูกแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ดินเค็ม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของดินเค็มภายหลังการปลูกแฝก

1.2     งานศึกษาและพัฒนาด้านป่าไม้

        1)     ศึกษาวิจัยด้านบทบาทของการทดแทนตามธรรมชาติกับการสูญเสียดินและน้ำ ได้ทำแปลงทดลองในบริเวณพื้นที่ไร่ร้าง  ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และทำการเก็บข้อมูลปริมาณตะกอนและน้ำไหลบ่าหน้าดินเพื่อหาปริมาณการสูญเสียดินและน้ำในแต่ละพื้นที่โดยเก็บข้อมูลทุกครั้งที่ฝนตก สำหรับข้อมูลการทดแทนตามธรรมชาติและข้อมูลมวลชีวภาพของไม้พื้นล่าง จะทำการเก็บเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน

ตารางเฉลี่ยการสูญเสียหน้าดินและน้ำไหล ปี 2549

 

พื้นที่

ตะกอนดิน

 (ton/ha)

น้ำไหลบ่า

(m3/ha)

น้ำฝน

(ton/ha)

ป่าเบญจพรรณ

0.05188

51.45462

996.26

ป่าเต็งรัง

0.09936

122.95925

996.26

ไร่ร้าง

0.21554

207.02843

996.26

 

        2)     ศึกษาวิจัยลักษณะการไหลของน้ำจากป่าธรรมชาติเป็นการศึกษารูปแบบของสมการที่ใช้ประเมินค่าน้ำไหลในลำธารในช่วงเวลาต่างๆกัน และลักษณะการขึ้น – ลงของระดับน้ำในลำธารที่เกิดขึ้นจากฝนตกในปริมาณที่แตกต่างกัน  ในปี 2549 พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยไร่ สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ 1,403.75 มิลลิเมตร  มีปริมาณน้ำท่า 184.56 มิลลิเมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำฝน  ร้อยละ 13.1

        3)     การศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพันธุ์ไม้ในป่าธรรมชาติ จำนวน 5 ชนิด คือ เหียงกราด เหมือดหอม  มะกอกเกลื้อน กระบก  และขี้เหล็กป่า โดยอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด  (light - Saturatednet photosynthesis, A) ของพรรณไม้  ส่วนใหญ่ในฤดูฝน มีค่าสูงกว่าในช่วงต้นฤดูฝนและฤดูแล้ง

1.3     งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม

        1)     ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพ  ปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตข้าว จำนวน 4 วิธี ซึ่งพบว่า พันธุ์ข้าว กข 6 วิธีการที่ได้ผลผลิตสูงคือ แปลงใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 10 ลิตรต่อไร่  รองลงมาคือแปลงใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 20 ลิตรต่อไร่ แปลงใช้ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 125 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ และแปลงไม่ใส่ปุ๋ยทุกชนิดผลผลิตเฉลี่ย 596  588  580 และ 500 กิโลกรัมต่อไร่  ตามลำดับ

        2)     ศึกษาการผลิตยางพาราพันธุ์ดี จำนวน 3 พันธุ์ เมื่ออายุ 20 ½ ปี  พบว่า  ยางพันธุ์  PR  255  มีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยมีขนาดเส้นรอบลำต้นที่ระดับ 170 ซม. เท่ากับ 69.52 ซม. รองลงมาคือ พันธุ์  RRIM  600  และGT 1 ได้แก่ 68.04 และ65.1 ซม. ตามลำดับ สำหรับผลผลิตของยางพันธุ์ที่ได้ผลผลิตสูงสุด คือ พันธุ์ RRIM 600 รองลงมาได้แก่ PR 255 และGT 1 ให้ผลผลิตยางตามลำดับ ดังนี้ 31.9 27.8 และ 21.4 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด

        3)     ศึกษาการปลูกข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีโดยใช้ปุ๋ยหมักแห้ง น้ำหมักจากหอยเชอร์รี่ร่วมกับการใช้ปุ๋ยพืชสดเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 -16 – 8 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ ในระยะปักดำ และ 46 – 0 – 0   อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ หว่านก่อนข้าวตั้งท้อง

ตารางแสดงการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ในวิธีแตกต่างกัน

 

วิธีการ

ผลผลิต

(กิโลกรัม/ไร่)

ต้นทุน

(บาท)

รายได้

(บาท)

ผลตอบแทน

(บาท)

ปุ๋ยหมักแห้ง + น้ำหมักหอยเชอรี่

570

1,825

5,700

3,875

ปุ๋ยเคมี

565

1,880

5,650

3,770

 

         4)     ศึกษาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น การแปรรูปจากอ้อย ได้พัฒนาวิธีการผลิตน้ำตาลแดง เพื่อรับประทานกับเครื่องดื่ม การทำซีอิ๊วจากโปรตีนถั่วเขียว โดยใช้โปรตีนถั่วเขียว 137 กิโลกรัม ทำการเพาะเชื้อรา Aspergillus Oryza เพื่อหมักและผลิตซีอิ๊วได้ 123 ขวด และบางส่วนยังอยู่ในระหว่างการหมักเพื่อผลิตซีอิ๊ว ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในพื้นที่ให้มากที่สุด นับเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน

         5)    ศึกษาวิธีการปลูกกระเจี๊ยบ  โดยใช้ระยะการปลูก 1x 0.50 เมตร ปลูกด้วยเมล็ด ได้รับผลผลิตน้ำหนักแห้ง 34.5 กิโลกรัม/ไร่ หรือน้ำหนักสดเฉลี่ย 282 กิโลกรัม/ไร่ และศึกษาวิธีการปลูกสบู่ดำ ได้ทำการปลูกสบู่ดำโดยใช้ระยะการปลูกที่แตกต่าง ได้ผลการศึกษาดังนี้

 

ระยะปลูกสบู่ดำ

ความสูงเฉลี่ย

(ซม.)

ทรงพุ่มเฉลี่ย

(ซม.)

ผลผลิตเฉลี่ย

(กิโลกรัม/ไร่)

ระหว่างแปลง 2 เมตร x ระหว่างต้น 1 เมตร

169.00

104.00

32.16

ระหว่างแปลง 2 เมตร x ระหว่างต้น 2 เมตร

140.50

106.80

12.80

        6)    ทดสอบและพัฒนาพืชสวน ได้แก่ ทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพในการผลิตมังคุด ลองกอง ในด้านผลผลิตมังคุด พบว่ามีต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว ร้อยละ  41  มากกว่าปี พ.ศ.  2548  อยู่  ร้อยละ 20  ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น 1,399 กรัม/ต้น มากกว่าปี พ.ศ. 2548 อยู่  ร้อยละ 54  ในด้านผลผลิตของลองกอง พบว่า มีต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว ร้อยละ  18.6  มากกว่าปี พ.ศ.  2548 อยู่  ร้อยละ 16  ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น 1,453 กรัม/ต้น มากกว่า ปี พ.ศ. 2548 อยู่ ร้อยละ 90  ซึ่งผลผลิตในปี พ.ศ. 2549 ของมังคุดและลองกอง นับว่ายังให้ผลผลิตน้อยอยู่ให้ผลผลิตเพียง ร้อยละ 41 และ          ร้อยละ  18.6  ตามลำดับเท่านั้น และทดสอบการปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองจาก สปป.ลาว พบว่า มีการเจริญเติบโตในด้านความสูงเฉลี่ย 245 ซม.  เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น  5 ซม. เปรียบเทียบกับพันธุ์หมอนทอง และพันธุ์ชะนี  ซึ่งให้ความสูงเฉลี่ย 163 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้น 3.8 เซนติเมตร แต่ยังไม่มีทุเรียนพันธุ์ใดมีการออกดอกและติดผล

        7)     ศึกษาการคัดเลือกสายพันธุ์เห็ด ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดตีนแรด  โดยได้ทำการเพาะทดสอบและเปรียบเทียบเห็ดหอม 10 สายพันธุ์ พบว่า เส้นใยเห็ดหอมทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตเต็มก้อนอาหารขี้เลื่อย เฉลี่ยภายใน 75 วัน พบการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ประมาณร้อยละ  9.67 – 20.67 จากการศึกษาครั้งนี้เห็นว่า เห็ดหอมสายพันธุ์หมายเลข 10 (สกลนคร) จะเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดสกลนครมากที่สุด  มีหมวกดอกเห็ดสีน้ำตาล ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าสายพันธุ์อื่น คือ 88 กรัม/ถุง สำหรับเห็ดขอนขาว ทำการทดสอบ 17 สายพันธุ์มีอัตราการเจริญต่างกัน โดยสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มใช้เป็นเชื้อพันธุ์ทางการค้าของจังหวัดสกลนครมีไม่น้อยกว่า 4 สายพันธุ์ คือ ขอนขาว 4  BUB5  BUB 9 และH – 17 สำหรับช่วงฤดูฝน – หนาว ให้ผลผลิต 133.33  138.33  141.67  และ 141.67 กรัม/ถุง ตามลำดับ

1.4   งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

        1)     โครงการพัฒนาโคเนื้อสายพันธุ์  “ทาจิมะ” เป็นการทดลองขยายพันธุ์โคเนื้อสายพันธุ์ทาจิมะ  ซึ่งเป็นโคที่รัฐบาลญี่ปุ่นน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี โดยเป็นโคขุนที่มีความพิเศษในเรื่องรสชาติที่รู้จักกันดีในชื่อ “เนื้อโกเบ” จึงได้ศึกษาวิจัยทดสอบการขุนโคทาจิมะเพื่อผลิตเนื้อคุณภาพสูง  พัฒนาเทคโนโลยีระบบการเลี้ยงและขุนให้มีความเหมาะสมกับเกษตรกรไทย เพื่อส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุน ไปปรับใช้ในการเลี้ยงของตนเอง อันจะเป็นลู่ทางเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

        2)     โครงการพัฒนาสุกรสายพันธุ์ภูพาน โดยพัฒนาจากจุดเด่นของสุกร 3 สายพันธุ์  คือ พันธุ์เหมยซาน พันธุ์พื้นเมือง  และพันธุ์ดูร๊อกเจอร์ซี่  ให้มีขนาดกะทัดรัด ให้ลูกดก  เลี้ยงง่าย มันน้อย  และเนื้อแดงมาก  ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนต่อโรค ขณะนี้อยู่ในช่วงการพัฒนารุ่นที่ 4   (F5)  ซึ่งจะได้สุกรสายพันธุ์ภูพาน ที่มีความสมบูรณ์ และมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของเกษตรกรที่สามารถส่งเสริมการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในอนาคต

        3)     โครงการพัฒนาไก่ดำสายพันธุ์ภูพาน โดยรวบรวมไก่ดำลูกผสมที่เลี้ยงอยู่ในจังหวัดสกลนครมาผสมพันธุ์  ปัจจุบันในช่วงพัฒนาสายพันธุ์ รุ่นที่ 3 (F3) ที่มีลักษณะตามต้องการ คือ โครงสร้างคล้ายไก่พันธุ์เมืองไทย ขนดำ หนังดำ กระดูกดำ และเนื้อดำ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถนำพันธุ์ไก่ดำที่ได้ไปเลี้ยงภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบเดิมๆ ที่สร้างโรงเรือนแบบง่ายๆ หรือปล่อยตามใต้ถุนบ้าน ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนหรือใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงที่ซับซ้อนและสร้างรายได้มากกว่าการเลี้ยงไก่ทั่วไป

2.     ด้านการส่งเสริมและขยายผลการพัฒนา

        เมื่อทำการศึกษา  ทดลอง วิจัย  และแสวงหารูปแบบการพัฒนาและวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และทดสอบจนได้รับผลสำเร็จแล้ว  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้นำรูปแบบการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จนั้นไปขยายผลให้แก่ราษฎร  เพื่อเป็นตัวอย่างให้ราษฎรและเกษตรกรใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง โดยวิธีการเผยแพร่  สาธิต  ส่งเสริมและสนับสนุนราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ตลอดจนพื้นที่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ดังนี้

                2.1   ด้านเกษตรกรรม

                -      ทำการเตรียมหัวเชื้อเห็ดและเพาะเห็ด สำหรับสนับสนุนเกษตรกรพร้อมทั้งจำหน่าย โดยสามารถส่งผลผลิตเป็นรายได้ศูนย์ฯ จำนวน 74 กิโลกรัม และ ดำเนินการติดตามผล ให้คำแนะนำแก่เกษตรกร จำนวน 9 รายและสนับสนุนเชื้อเห็ดให้รายละ 1,000 ก้อน พร้อมทั้ง ฝึกอบรมการเพาะเห็ดให้แก่เกษตรกร  ทำให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเห็ดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว

                -     ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้การแปรรูปผลผลิตจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ถูกวิธี  โดยการฝึกอบรม  2  รุ่น  50   คน   มีหลักสูตร    ที่ทำการแปรรูป เช่น แปรรูปวุ้นเส้นจากถั่วเขียว การแปรรูปจากถั่วลิสง  ข้าวโพด กระเจี๊ยบ และการทำผลิตภัณฑ์จากอ้อย ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น

                -      ส่งเสริมเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯทำแปลงกล้ายางและแปลงกิ่งตายางพันธุ์ดี  2 ราย เพื่อเป็นจุดแสดงการเพาะกล้ายางพารา  อันจะทำให้เกษตรกรได้มีความรู้ด้านการเพาะกล้ายางพารา ตลอดจนสนับสนุนกล้ายางพาราพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกรไปปลูกในพื้นที่ของตนทำให้ได้ผลผลิตสูง

                -     สาธิตการปลูกพืชโดยมีพืชไร่เป็นพืชร่วม มีเกษตรกรเข้าร่วม  18  ราย  โดยปลูกถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9  ในพื้นที่ทั้งหมด 26 ไร่ มีผลผลิตแห้ง 1,645  กิโลกรัม ผลผลิตสด 1,045  กิโลกรัม มีรายได้เฉลี่ยรายละ 1,485 บาท นอกจากนี้ ยังคงเหลือฝักเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป

                -     ผลิตพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดี  15 ชนิด เช่น มะม่วงพันธุ์ดี ขนุน ส้มโอ มะไฟ กระท้อน เป็นต้น สามารถผลิตได้ 6,665 ต้น เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกแก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และประชาชนทั่วไป  รวมทั้งเป็นแหล่งสาธิตให้แก่เกษตรกรในด้านพืชและไม้ผลพันธุ์ดี

               2.2    ด้านปรับปรุงบำรุงดิน

               -     สาธิตและส่งเสริมการทำและการใช้ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับเกษตรกร  21 หมู่บ้าน  232 ราย และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสดให้กับเกษตรกร     21 หมู่บ้าน 320 ราย  ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตรกรเนื่องจากไม้ผลและข้าวที่ปลูกในแปลงที่ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยดังกล่าวมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่สูงกว่าในแปลงใกล้เคียง  ผลผลิตเพิ่มดีกว่าเดิมและลดต้นทุนในการผลิตให้แก่เกษตรกร

               -     ส่งเสริมการปลูกแฝกตามแนวระดับ  เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน  เช่น ปลูกแฝกตามขอบบ่อทฤษฎีใหม่  42  บ่อ ปลูกแฝกตามขอบฝายต้นน้ำลำธาร  68  แห่ง  และแจกจ่ายกล้าแฝกให้กับกิจกรรมต่างๆภายในศูนย์ฯ ที่ต้องการนำกล้าแฝกไปปลูกเพื่อการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและรักษาหน้าดินไว้

              2.3   ด้านประมง

              -  ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  มีความรู้และความสามารถในการผลิตพันธุ์ปลา  และเพาะเลี้ยงปลา ทำให้เกษตรกรมีแหล่งโปรตีนที่ดีและมีประโยชน์สำหรับครัวเรือน  เป็นการลดค่าใช้จ่าย และช่วยเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายพันธุ์ปลาให้แก่ครอบครัว อันเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพทางการประมงในชุมชน ดังนี้

             -  ส่งเสริมสนับสนุนพันธุ์ปลาให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ 42 รายๆละ 6,000 ตัว และสนับสนุนพันธุ์ปลาดุกให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์  150 ราย

            -  สนับสนุนพันธุ์ปลาเพื่อเลี้ยงปลาในบ่อโรงเรียนตามโครงการอาหารกลางวัน   8 โรงเรียน

            -  สนับสนุนพันธุ์กบให้เกษตรกรที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ 70 ราย

           2.4   ด้านปศุสัตว์

            -  ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เกษตรกร ซึ่งเป็นแม่พันธุ์โคนม จำนวน 9 ตัว ผลิตลูกโคนม 6 ตัว เกษตรกรได้เรียนรู้ระบบการเลี้ยงโคนมอย่างครบวงจร

            -  ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรพันธุ์เหมยซานและสุกรพันธุ์ภูพาน โดยสนับสนุนสุกรอายุ 2-3 เดือน แก่เกษตรกร 49 ราย และได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งสุกรดังกล่าวเป็นที่นิยมของเกษตรกรในปัจจุบัน

            -  ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด  เช่น เป็ดเทศสายพันธุ์กบินทร์บุรีท่าพระ  เป็ดเทศสายพันธุ์กากีแคมเบล  ไก่ดำสายพันธุ์ “ภูพาน”  ตลอดจนพัฒนาไก่พื้นเมืองให้สามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็ว โดยสนับสนุนพันธุ์ไก่พื้นเมืองอายุ 3-4 เดือนแก่เกษตรกร  478 ราย ซึ่งไก่ดำกำลังเป็นที่นิยมของตลาดในขณะนี้

            -  ส่งเสริมการผลิตเสบียงสัตว์คุณภาพดี  โดยส่งเสริมให้จัดทำแปลงปลูกหญ้า ในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  160  ไร่  เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารสัตว์ โดยการทำนาหญ้ากำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกร

          2.5   ด้านการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ทำการฝึกอบรมให้เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และประชาชนทั่วไป  1,335 คน ตามหลักสูตรการประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาการผลิตข้าวพันธุ์ดี  การปลูกหม่อนไหม  การใช้สบู่ดำ  การทอเสื่อกกและการแปรรูปอาหารจากข้าว  การเพาะเห็ด  การปลูกไม้ผล  การผลิตยางพารา  การพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตร การนวดเพื่อสุขภาพ  การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขั้นพื้นฐาน  การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร  การทอผ้าฝ้ายผสมไหมด้วยกี่กระตุก  การทอผ้าไหมมัดหมี่  บัญชีฟาร์ม  การเลี้ยงโค – สุกร  การทำนาหญ้าและเสบียงสัตว์  และการเกษตรผสมผสาน

ทั้งนี้  การสนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่ของกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ราษฎรทั่วไปในแต่ละด้าน  ล้วนเป็นการขยายผลที่มีผลเชื่อมโยงเป็นประโยชน์ พึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ราษฎรมีความรู้ในการประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ที่แน่นอนเพื่อความพออยู่  พอกิน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของราษฎร

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.     ด้านการศึกษา  ทดลอง วิจัย  เน้นการให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านพลังงานทดแทนเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านพลังงานในอนาคต และสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัย  เพิ่มมากขึ้น โดยยึดแนวพระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน  2549 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่

2.     ด้านการขยายผล เน้นการถ่ายทอดความรู้สู่ราษฎรโดยใช้เกษตรกรต้นแบบหรือปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละพื้นที่เป็นแกนนำในการขยายผลการมีส่วนร่วมในชุมชน ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร และการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นแรงเสริมให้งานขยายผลเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2550

1.   แผนงานวิจัย ค้นคว้า ทดลอง และพัฒนา

      1.1    งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม

-  ศึกษาการใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตข้าวเพื่อเป็นแนวทางในการปลูกข้าวอินทรีย์  เพื่อเป็นการลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีและยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในด้านการปรับปรุงบำรุงดิน

-  ศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูงโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร หรือเป็นการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่ต้องการของเกษตรกรและตลาด

-  ศึกษาระบบการปลูกพืชไร่แบบยั่งยืนโดยใช้ระบบหมุนเวียนพืช (พื้นที่2 ไร่) โดยการปลูกพืชไร่เป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียว พบว่าการดำเนินการปลูกถั่วพุ่มพันธุ์ KVC7 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 379 กก./ไร่ น้ำหนักแห้งเฉลี่ย 112 กก./ไร่ ปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวิท ให้ผลผลิตเฉลี่ย  836   กก./ไร่ สำหรับการปลูกพืชไร่สลับกับปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง) พบว่าการดำเนินการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวิท  ให้ผลผลิตพืชสดเฉลี่ย 1,214 กก./ไร่ ส่วนถั่วพุ่มพันธุ์ KVC7 อยู่ในระหว่างการปลูกและการดูแลรักษา

-  ศึกษาการใช้หญ้าแฝกป้องกันการชะล้างพังทลายของดินในการปลูกพืชไร่บนพื้นที่ลาดเอียง (พื้นที่ 3 ไร่)

-  ศึกษาการจัดระบบการปลูกสบู่ดำโดยอาศัยน้ำฝนและระบบชลประทานดำเนินการเก็บข้อมูลดังนี้

แปลง

ความสูง

(ซม.)

ทรงพุ่ม

(ซม.)

ผลผลิต

(กก./ไร่)

แปลงอาศัยน้ำฝน

 

 

 

            พื้นที่ดอน

219.77

166.58

27.23

            พื้นที่ลาดเอียง

178.36

114.94

27.29

            พื้นที่ลุ่ม

179.21

110.2

21.94

แปลงระบบชลประทาน

 

 

 

            พื้นที่ดอน

22.72

153.23

34.96

            พื้นที่ลาดเอียง

187.72

119.32

35.06

            พื้นที่ลุ่ม

149.64

84.83

23.91

 -  ศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกสบู่ดำ  ดำเนินการปลูกสบู่ดำ 2 ระยะ คือ ระยะ ปลูก 2 x 1 เมตร และ 2 x 2 เมตร ดำเนินการเก็บข้อมูลความสูง ทรงพุ่ม และผลผลิต ดังนี้

            ระยะปลูก

ความสูง

(ซม.)

ทรงพุ่ม

(ซม.)

ผลผลิต

(กก./ไร่)

ระยะปลูกระหว่างแถว 2 x ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร

189.28

117.14

17.44

ระยะปลูกระหว่างแถว 2 x ระยะปลูกระหว่างต้น 2 เมตร

184.77

137.22

20.73

-  ศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวดีเด่นที่ให้ผลผลิตสูงโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร หรือเป็นการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่ต้องการของเกษตรกรและตลาด

-  ทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการผลิตมังคุดอินทรีย์  มังคุดจะเริ่มแทงช่อดอก ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม พ.ศ.2550 และ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ.2550 ในด้านผลผลิตมังคุด พบว่า มีต้นมังคุดที่ให้ผลผลิตแล้วร้อยละ 67 มากกว่าปีพ.ศ. 2549

-  ศึกษาปริมาณวัสดุที่เหมาะต่อการเพาะเห็ดหอมให้ได้ผลผลิตสูง  การเพาะเห็ดหอมเบอร์ 4 สายพันธุ์สกลนคร ในอาหารขี้เลื่อยผสมฟางข้าวที่บรรจุในถุงปริมาณ 300 500 700  900 และ 1,200 กรัมต่อถุง เปรียบเทียบผลผลิต เพื่อศึกษาวิธีการเพาะเห็ดโดยวิธีดำเนินการทดลองที่ต่างกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาของเกษตรกรให้สามารถปลูกเองได้และลดต้นทุนการผลิตเป็นการเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนอีกทางหนึ่งรวมทั้งศึกษาการใช้เศษเหลือก้านดอกเห็ดหอมป่นเป็นอาหารเสริมใช้เพาะเห็ดหอม  การเพาะเห็ดหอมเบอร์ 4 สายพันธุ์สกลนคร  ในอาหารขี้เลื่อยผสมฟางข้าวที่ผสมอาหารเสริมเศษหรือก้านดอกเห็ดหอมป่น รำข้าว และน้ำตาล  12   กรรมวิธี

-  ทดสอบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการผลิตลองกองอินทรีย์  ทดสอบกับต้นลองกองที่ให้ผลผลิตแล้ว 2 ปี ( ปีที่ให้ผลผลิต คือ ปี 46 และ ปี 47 )  เริ่มดำเนินการทดลองในปี พ.ศ. 2548 มี  4  กรรมวิธี

-  ทดสอบการปลูกทุเรียนพื้นเมืองของ สปป.ลาว 7 พันธุ์  และทุเรียนไทย 2 พันธุ์  ปลูกทุเรียนพันธุ์ลาว เพิ่มอีก  6 พันธุ์  จากไทย 4 พันธุ์  โดยปลูกรวมในแปลงเดียวกัน  แต่ละพันธุ์ปลูก 4 ต้น  ยกเว้นกระดุมทองและพวงมณี  ปลูกเพียงพันธุ์ละ 2 ต้น  ใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร  รวมมีพันธุ์ทุเรียนทั้งสิ้น 19 พันธุ์ โดยมาจาก สปป.ลาว  13 พันธุ์  จากไทย 6 พันธุ์

-  ศึกษาการเลี้ยงกบแบบครัวเรือน  โดยการใช้อาหารที่มีในท้องถิ่นเพื่อทดแทนอาหารเม็ด ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ทำการทดสอบ 3 วิธีการคือ วิธีที่ 1  ให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว  วิธีที่ 2  ให้อาหารเม็ดร่วมกับหอยเชอร์รี่  วิธีที่ 3 ให้หอยเชอร์รี่เพียงอย่างเดียว ให้ผลดังนี้

ตารางแสดงผลผลิต รายได้ และผลตอบแทนการเลี้ยงกบเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

วิธีการ

ผลผลิต
(จำนวนตัว)

น้ำหนักรวม

(กรัม)

น.น.เฉลี่ยต่อตัว
(กรัม)

ต้นทุน

รายได้

ผลตอบแทน

อาหารเม็ด

55

11.996

144

1,188

719

-469

อาหารเม็ด+หอยเชอร์รี่

53

14.82

132

702

850

148

หอยเชอร์รี่

58

15.92

184

216

955

739

-  ศึกษาผลผลิตยางพันธุ์ดี เริ่มปลูกยางพาราเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2528 ในพื้นที่ 17 ไร่ ใช้ยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร 3 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ RRIM600, GT1 และ PR255 แบ่งออกเป็น 3 แปลงย่อย

                1.     แปลงที่ 1 ประกอบด้วย ต้นยางเปิดกรีด พันธุ์ RRIM 600 , GT1 และ PR255  มีการปลูกพืชสมุนไพรทนร่มเงา ได้แก่ หวาย พริกไทย กระวาน อบเชย ดีปลี กระทือ เร่ว ข่าป่า และว่านชักมดลูก แซมระหว่างแถวยางในปีที่ 6

                2.   แปลงที่ 2 ประกอบด้วย ต้นยางเปิดกรีด พันธุ์ RRIM 600 ,  GT1  และ PR255

                3.   แปลงที่ 3 ประกอบด้วย ต้นยางเปิดกรีด พันธุ์ RRIM 600 , GT1  และ PR255 มีการปลูกพืชคลุมดินคาโลโปโกเนียมระหว่างแถวยางมีต้นยางเปิดกรีดมีจำนวนทั้งสิ้น 951 ต้น เป็นพันธุ์ RRIM600  327 ต้น  พันธุ์ GT1  327 ต้น และพันธุ์ PR255  297 ต้น

-  ศึกษาการปลูกยางพาราเอนกประสงค์สำหรับสวนยางขนาดเล็ก  ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM600 พื้นที่ 6 ไร่ ในปี พ.ศ.2536 โดยใช้ระยะปลูก 2.5 x 7 เมตร ปีที่ 1 ปลูกข้าวไร่ กล้วย สับปะรด ปีที่ 2 ปลูกข้าวไร่   แซมยาง และทำการปลูกพืชร่วมยางในพื้นที่ว่างระหว่างแถวยางในปีที่ 1 มะม่วง 3 ฤดู  ปีที่ 2 ได้แก่ หวาย ไผ่ตง ไผ่รวก มังคุด ลองกอง ขนุน สะตอ

      1.2    งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

-  โครงการพัฒนาสุกรสายพันธุ์ "ภูพาน" ซึ่งเป็นการคัดเลือกพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สุกร 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เหมยซาน สุกรพื้นเมือง ดูร็อคเจอร์ซี และแลนด์เรซ เพื่อได้สุกรที่มีความเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกร มีความทนต่อโรคและสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย ให้ลูกดก

-  โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเลี้ยงกวางเชิงธุรกิจเป็นการดำเนินการศึกษาหาวิธีการและขั้นตอนการเลี้ยงกวางเชิงธุรกิจและการพัฒนากวางม้าลูกผสม เพื่อทำการศึกษาหาเทคนิค วิธีการและความเป็นไปได้ในการเลี้ยงกวาง  รูซ่าและกวางม้าลูกผสมในเชิงเศรษฐกิจในสภาพภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

-  งานวิจัยทดสอบการขุนโคทาจิมะเพื่อผลิตเนื้อคุณภาพสูง เป็นการดำเนินการขุนโคทาจิมะเพศผู้ภายใต้การจัดการเดียวกันการให้อาหารปรับปริมาณและ
ชนิดตามรูปแบบการขุนแบบญี่ปุ่น เพื่อทดสอบคุณภาพซากโคด้านส่วนประกอบทางเคมีของเนื้อและไขมันรวมทั้งศึกษาต้นทุนการผลิตเนื้อโคนมเพศผู้ขุนแบบญี่ปุ่น

-  ฟาร์มสาธิตพัฒนาระบบการจัดการให้อาหารโคนม  เป็นการจัดตั้งฟาร์มสาธิตการเลี้ยงโคนมโดยแยกกลุ่มการเลี้ยงตามประเภทของโคเพื่อสะดวกในการจัดการให้อาหาร  เช่น  โครีดนม  โคแห้งนม  ลูกโค โคสาว  รวมทั้งการจัดการด้านอาหารหยาบคุณภาพดีเลี้ยงโคได้ตลอดทั้งปี  เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการฟาร์มโคนมของตนเอง และช่วยแก้ปัญหาในด้านการจัดการเลี้ยง  การให้อาหาร ลดต้นทุนการผลิต

      1.3    งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว

ศึกษาการพัฒนาเส้นไหมตามแนวพระราชดำริ  โดยได้เข้าทำการสำรวจ กลุ่มปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม และไหมที่เลี้ยงเป็นพันธุ์ที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสกลนคร คือ พันธุ์ไทย(นางตุ่ย) ซึ่ง 3 หมู่บ้าน นั้น คือ บ้านนากับแก้ บ้านนาอ่าง และบ้านหนองไผ่  โดยร่วมกับกลุ่มราษฎรทั้ง 3  หมู่บ้าน ร่วมกับคณะศึกษาพัฒนาเส้นไหม

      1.4    งานศึกษาและพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง

-  โครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อขจัดความยากจน  138  ครัวเรือน และ 21  หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  โดยแบ่งออกเป็น  3  กิจกรรม

             1.   ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำของหมู่บ้าน (ชุดปฏิบัติการ) หมู่บ้านละ  2  คน 13  หมู่บ้าน

             2.   จัดเวทีประชาคมเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัด 6x2 และการปรับแผนชุมชน  13  หมู่บ้าน

             3.   ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่ปรากฏในแผนชุมชน 13  หมู่บ้าน

2.   แผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      2.1  งานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า จำนวน 11,000  ไร่  เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ ระวังป้องกันและควบคุมไฟป่า โดยดำเนินงานในเขตพื้นที่  บ้านลาดกระเฌอ  หมู่ที่ 8  บ้านนานกเค้า หมู่ที่ 10  บ้านลาดสมบูรณ์  หมู่ที่ 12  บ้านห้วยยาง หมู่ที่ 2  บ้านลาดสมบูรณ์ใหม่ หมู่ที่ 16  บ้านบอน หมู่ที่ 5  บ้านเหล่า หมู่ที่ 6  บ้านม่วง  หมู่ที่ 9

      2.2  งานบำรุงแปลงสาธิต  จำนวน 7 แปลง/200 ไร่  เพื่อบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งความรู้และเป็นรูปแบบหรือตัวอย่างการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร

3.   แผนงานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี

       3.1   งานศึกษาการพัฒนาเกษตรกรรม

-  แนะนำพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี พื้นที่ 1 ไร่/ 16 พันธุ์ จัดทำแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมและสามารถเป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และสามารถเลือกใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์ดีได้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตัวเอง

-  สาธิตการปลูกข้าวแบบผสมผสาน การเลี้ยงหมู  และปลาในนาข้าว พื้นที่ 3 ไร่  รวบรวมข้อมูลเพื่อหาวิธีและระบบการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ  ที่ได้ไปปรับปรุงใช้ในพื้นที่ของตัวเอง

-  สาธิตการปลูกพืชก่อนและหลังนาที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตและมีอัตราการใช้น้ำน้อย  และการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน มุ่งเน้นพื้นที่ตระกูลถั่ว

-  การผลิตข้าวพันธุ์ดี 6 พันธุ์ (สกลนคร  กข.6  เหนียวอุบล 2 หางยี 71  กข. 15และขาวดอกมะลิ 105) ในพื้นที่ 8 ไร่   ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อสนับสนุนเกษตรกรโดยมุ่งเน้นความบริสุทธิ์และตรงตามพันธุ์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

-  การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กข6 และขาวดอกมะลิ 105 ในนาเกษตรกร (พันธุ์ละ 4 ไร่) จัดทำแปลงสาธิตผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยมุ่งเน้นการปลูกข้าวไว้ทำพันธุ์ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ใจในความบริสุทธิ์ของพันธุ์   อันเป็นปัญหาให้เกิดข้าวแข็งบางพันธุ์อาจจะคืนพันธุ์ หรือมีข้าวอื่นปน

-  ผลิตท่อนพันธุ์หม่อนพันธุ์ดี (3 พันธุ์) บุรีรัมย์ 60  สกลนคร 72  และสกลนคร 10  ผลิตท่อนพันธุ์หม่อนพันธุ์ดีที่เกษตรกรต้องการปลูก  โดยเฉพาะ         หม่อนพันธุ์ใหม่  ได้แก่  สกลนคร 72  และสกลนคร 10

-  ผลิตไข่ไหมพันธุ์ดีพันธุ์พื้นบ้าน (นางตุ่ย)  การผลิตไข่ไหมพันธุ์ดี 210 แผ่น เกษตรกรหันมาสนใจการเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านมากขึ้น  ประกอบกับมีโครงการพัฒนาคุณภาพเส้นไหมพันธุ์พื้นบ้านและเกษตรกรสามารถจำหน่ายเส้นไหมได้ราคาดี

-  แปลงแนะนำเทคโนโลยีพืชไร่พันธุ์ดี (อ้อย  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว มันสำปะหลัง  ถั่วพุ่ม  และปอโมโรเฮยะ) (2 ไร่)   โดยทำการปลูกพืชไร่พันธุ์ดีชนิดต่าง ๆ ที่กิจกรรมพืชไร่ ศูนย์ภูพานฯ เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจทางด้านการเกษตร ได้เข้าศึกษาและดูงาน โดยทำการปลูกพืชไร่ต่าง ๆ ดังนี้

                                          - ข้าวฟ่างหวาน            พันธุ์ มข.40            ผลผลิตเฉลี่ย        189.47 กก./ไร่

                                          - ถั่วเขียวผิวดำ            พันธุ์ อู่ทอง 2          ผลผลิตเฉลี่ย            266 กก./ไร่

                          - ถั่วเขียวผิวดำ            พันธุ์ พิษณุโลก 2      ผลผลิตเฉลี่ย            121 กก./ไร่

                                          - ถั่วลิสง                    พันธุ์ ไทนาน 9        ผลผลิตเฉลี่ย            153 กก. /ไร่

                                          - ถั่วพุ่ม                     พันธุ์ KVC 7            ผลผลิตเฉลี่ย       114.28 กก. /ไร่

                                          - ถั่วเขียว                   พันธุ์ ชัยนาท72       ผลผลิตเฉลี่ย             99 กก. /ไร่

                                          - ถั่วเขียว                   พันธุ์ ชัยนาท 36      ผลผลิตเฉลี่ย           154 กก. /ไร่                   

                                          - ข้าวโพดเทียน           พันธุ์ สุโขทัย 1        ผลผลิตเฉลี่ย           219 กก. /ไร่

 

-  สาธิตระบบการปลูกพืชไร่ สาธิตระบบการปลูกพืชโดยมีพืชไร่เป็นพืชร่วม  ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 15 ราย โดยปลูกถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9  ข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวิท และข้าวโพดเทียนพันธุ์สุโขทัย 1

-  สาธิตการผลิตเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด  เพื่อส่งเสริมการผลิตเชื้อเห็ดและการเพาะ เนื่องจากอาชีพของเกษตรกรคือ  การทำนาปี  เป็นส่วนมาก  หลังจากทำนาเสร็จจะว่างงาน  จึงจำเป็นต้องมีการแนะนำและส่งเสริมในการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก  รวมทั้งดำเนินการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  5 กลุ่ม  กลุ่มละ 2,000 ก้อน  ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ  ติดตามผลให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ยังขาดความรู้ในด้านทักษะ จึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่เกษตรกร

-  สาธิตการปลูกผักพื้นบ้าน การปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ โดยดำเนินการสาธิตการปลูกผักที่ปลอดสารพิษ โดยใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรได้รู้ถึงวิธีการปลูกผักแบบปลอดสารพิษ  และการลดต้นทุนการสาธิตระบบการปลูกไม้ผลผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรได้ศึกษาในเรื่องของระบบการปลูกพืช หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต  นอกจากนี้ ได้ดำเนินการสาธิตระบบการปลูกพืชในพื้นที่นาข้าว  สาธิตระบบการปลูกพืชโดยมีข้าวเป็นพืชหลักในระบบเกษตรผสมผสาน  เพื่อเป็นการสาธิตและเป็นการส่งเสริมสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ

-  สาธิตระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพื่อควบคุมวัชพืชในสวนผลไม้  และการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรผสมผสานที่สามารถลดต้นทุนและมีรายได้เพิ่มขึ้น  เช่น  ไก่พื้นบ้าน  เป็ด  ห่าน  สุกร เป็นต้น

-  สร้างแปลงกล้ายางและกิ่งตาพันธุ์ดี 7 พันธุ์ ได้แก่ Tjirl AVROS2037, สงขลา 36, BPM24, RRIT251 จำนวน 2 ซ้ำ พื้นที่ 15 ไร่ ในปี พ.ศ.2543 โดยใช้ระยะปลูก 3x7 เมตร  รวมทั้งแสดงพันธุ์ยางและเทคโนโลยีการปลูกสร้างสวนยาง  โดยวัดการเจริญเติบโตของต้นยาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ที่ระดับ 10 เซนติเมตร จากพื้นดิน เมื่อต้นยางอายุ 1-2 ปี และวัดเส้นรอบลำต้นที่ระดับ 170 เซนติเมตร จากพื้นดิน   เมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป  นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อยางชำถุงพันธุ์ดี  สนับสนุนและส่งเสริมการปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักวิธีการในพื้นที่เกษตรกรให้เป็นต้นแบบแก่เกษตรกร

       3.2    งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์

-  ส่งเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ดำเนินการเพาะพันธุ์ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ดี ที่มีความแข็งแรงอายุ 3-4 เดือน นำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรนำไปเลี้ยงเป็นพ่อ-แม่พันธุ์   ผลิตลูกแล้วนำไปเลี้ยงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนในครัวเรือนและสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือน

-  ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ดำสายพันธุ์"ภูพาน"  เพื่อสร้างอาชีพให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และสามารถสร้างพันธุ์สัตว์
ที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯได้  เพื่อนำพันธุ์ไก่ดำที่ได้ไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรนำไปเลี้ยงเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

-  ส่งเสริมการเลี้ยงสุกร  ผลิตลูกสุกรเพศเมียสายพันธุ์เหมยซาน  ดูรอคเจอร์ซี่แลนด์เลซและ ลาร์จไวท์  เพื่อใช้ในการส่งเสริมให้กับเกษตรกรยืมไปใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์  สำหรับเกษตรกรที่มีความสนใจแต่ขาดทุนทรัพย์และเมื่อสุกรที่เลี้ยงให้ลูกก็ให้ส่งคืนเพื่อนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรรายต่อไป

-  ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อสายพันธุ์ดี  พร้อมทั้งสาธิตการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อสายพันธุ์ต่าง ๆ  ที่มีเลี้ยงในประเทศไทย พร้อมศึกษาหาข้อได้เปรียบ  ข้อเสียเปรียบ  เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ ทดสอบ  ทดลองและแสดงต้นทุน  กำไร  ผลผลิตที่ได้แสดงให้เกษตรกรเข้ามาศึกษาอย่างละเอียดทุกขั้นตอนภายใต้การเลี้ยงดูในจังหวัดสกลนคร

-  สาธิตระบบการจัดการแปลงเสบียงอาหารสัตว์ตัดสดแบบประณีต เพื่อนำมาแสดงสาธิตให้กับเกษตรกร ทั้งหญ้าและถั่วหลากสายพันธุ์  ได้ศึกษาและเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกร  แสดงให้เห็นความสำคัญของพืชอาหารสัตว์ตัดสดในการลดต้นทุนการผลิตการเลี้ยงโค-กระบือ เพื่อให้เกษตรกรได้กำไรจากการเลี้ยงมากขึ้น

-  งานขยายแปลงหน่อพันธุ์หญ้าแพงโกล่าและเนเปียยักษ์  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่เลี้ยงโคกระบือในหมู่บ้านบริวารรอบศูนย์ฯ  ให้มีการปลูกหญ้าไว้เลี้ยงสัตว์ของตนเองและหากมีมากเกินพอ  ก็สามารถเก็บสำรองไว้เป็นเสบียงเลี้ยงสัตว์ในยามขาดแคลนหรือขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

       3.3    งานศึกษาและพัฒนาด้านประมง

ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดเพื่อสนับสนุนแก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และเป็นการส่งเสริมโครงการขุดสระเก็บน้ำตามแนวทฤษฎีใหม่ โครงการเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำ โครงการฝึกอบรมเกษตรกร

       3.4    งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

-  สาธิตและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมักแก่เกษตรกรใน 21  หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ หมู่บ้านละ 50 ไร่  รวมเป็น  1,050  ไร่  เกษตรกรบ้านละ 25 ครัวเรือน ๆละ 2 ไร่  รวมเป็นเกษตรกร  525   ครัวเรือน  ปุ๋ยหมักคือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการนำซากพืชซากสัตว์มาหมักผ่านกรรมวิธีประกอบด้วยเชื้อราแบคทีเรียและคติโนมัยซีสเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายเศษพืชเพื่อผลิตปุ๋ยหมัก

-  สาธิตและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  สารเร่ง พด.2 คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชและสัตว์ที่สดหรืออวบน้ำ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนจะได้ของเหลวที่ประกอบด้วยกรดอินทรีย์และฮอร์โมน สามารถนำไปใช้ในรูปปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เหมาะสำหรับพืชผักและไม้ผลโดยส่งเสริมให้เกษตรกรจำนวน  22  หมู่บ้าน ๆ ละ 100 ไร่และศูนย์เรียนรู้   32   ศูนย์ๆ ละ  10  ไร่   รวม 2,520   ไร่

-  สาธิตและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มพื้นที่การดำเนินงานแผนงาน 100 ไร่  โดยส่งเสริมให้เกษตรกร  10  หมู่บ้าน ๆ ละ 10  ไร่

-  สาธิตและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด  ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการไถกลบพืชลงไปในดิน   ในขณะที่พืชยังเขียวสดอยู่  โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์  ปุ๋ยพืชสดที่นิยมปลูกทั่วไปจะเป็นพืชตระกูลถั่วได้แก่ ถั่วพร้า  ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน  และถั่วมะแฮะ   เพราะมีปมที่รากซึ่งมีเชื้อไรโซเบียมที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาเก็บไว้ในปมรากถั่วและสะสมในต้นพืชได้

-  สาธิตและส่งเสริมการปลูกพืชตามแนวระดับอนุรักษ์ดินและน้ำ  ออกสำรวจและวิเคราะห์ดินในพื้นที่เกษตรกรเพื่อหาธาตุอาหารของพืชและจะได้วางแผนในการให้ธาตุอาหารพืชที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

-  งานปรับรูปแปลงนาเพื่อควบคุมการใช้น้ำ เพื่อปรับปรุงบำรุงดินที่เสื่อมโทรมให้เหมาะสมกับการปลูกพืช  ทำให้เกษตรกรรู้จักการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ดินเค็มให้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรได้ เช่น  การปรับรูปแปลงนาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในการทำการเกษตร เกษตรกรได้เห็นความสำคัญในการนำหญ้าแฝกหรือปลูกต้นไม้ตามแนวระดับเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ  ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตที่ทำการเกษตร    เพิ่มมากขึ้น  มีรายได้เพิ่มมากขึ้นมีความเป็นอยู่ดีขึ้น

4.   ด้านการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์และประชาชนทั่วไป 1,211 คน ตามหลักสูตรการประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่ การผลิตข้าวพันธุ์ดีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การแปรรูปหม่อนไหม การปลูกถั่วลิสง การปลูกและการดูแลรักษาสบู่ดำ การปลูกพืชไร่ การปลูกไม้ผล การเพาะเห็ด การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร เช่น เห็ด ถั่วเขียว อ้อย และกระเจี๊ยบ การเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ การผลิตยางพาราครบวงจร การเลี้ยงสัตว์ทั่วไป การทำนาหญ้าและเสบียงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด การพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการส่งเสริมการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร

ทั้งนี้การสนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่ของกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ราษฎรทั่วไปในแต่ละด้าน ล้วนเป็นการขยายผลที่มีผลเชื่อมโยงเป็นประโยชน์ พึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยนำรูปแบบการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จจากการศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาไปขยายผลให้แก่ราษฎร อันจะทำให้ราษฎรมีความรู้ในการประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีรายได้ที่แน่นอน เพื่อความพออยู่ พอกิน และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของราษฎร

      อบรมการเพาะเห็ด 5 รุ่นๆ ละ 10 คน รวม 50 คน                                  อบรมนาหญ้าและเสบียงสัตว์ 2 รุ่นๆละ 30 คน รวม 60  คน

5.   แผนงานอำนวยการ

5.1)  ก่อสร้างฝายทดน้ำประเภทถาวร 16 แห่ง  เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามลำธารต้นน้ำเป็นช่วงๆ ไว้  เพื่อก่อให้เกิดความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า  เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้  เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร  ฝายต้นน้ำลำธารประเภท ฝายคอนกรีต  ก่อสร้างในเขตพื้นที่ป่าภูล้อมข้าวและภูเพ็ก 8 แห่ง และฝายต้นน้ำลำธารประเภทฝายหินก่อ  ก่อสร้างในเขตพื้นที่ป่าภูล้อมข้าวและภูเพ็ก 8  แห่ง

5.2)  ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารประเภทกึ่งถาวร 50 แห่ง เพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลบ่ามาตามลำธารต้นน้ำเป็นช่วงๆ ไว้ เพื่อก่อให้เกิดความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร  โดยกำหนดรูปแบบการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารคือ  ก่อสร้างฝายกักตะกอนหินก่อ  ในเขตพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ  50   แห่ง

5.3)  ก่อสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า 280 แห่ง เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝน เนื่องจากสภาพป่าธรรมชาติส่วนมากเป็นป่าเต็งรังทำให้การเก็บกักน้ำไม่ค่อยดี จึงทำให้ป่ามีความชุ่มชื้นและสมบูรณ์มากขึ้น

5.4)   กิจกรรมสำคัญที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินการในปี พ.ศ.2550  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และสำนักงบประมาณ จัดโครงการเฉลิมพระเกียรติ “80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์” ขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร  ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมงาน 9,647 คน

    โครงการเฉลิมพระเกียรติ“80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์”                        นายสวัสดิ์  วัฒนายากร  องคมนตรีเป็นประธาน

                ระหว่างวันที่ 17-21 ตุลาคม พ.ศ. 2550                                            ในพิธีเปิดงาน “80 พรรษาปวงประชาเป็นสุขศานต์”

   การแสดงวงดนตรีพื้นบ้าน วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                แบบจำลองแผนที่ประเทศไทย แสดงศูนย์ศึกษาการพัฒนา

                                                                                                                       อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง

 แนวทางการดำเนินงานต่อไป

ดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้จากการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2549 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรอบในการทำงานโดยแยกแผนงานการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.   ด้านการบริหาร  เน้นการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของส่วนราชการ ควรมีส่วนร่วมในจุดมุ่งหมาย เป้าหมายของโครงการร่วมกันมุ่งเน้นให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นคลังแห่งความรู้และให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ

2.   ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย เน้นผลงานที่สามารถนำไปขยายผลสู่ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม ต้องมีความครบถ้วนของการดำเนินงานศึกษาทดลอง วิจัย ตามแนวพระราชดำริและวิเคราะห์การศึกษา ทดลอง วิจัย ที่ได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมดว่ามีจำนวนเท่าไร สรุปเป็นเรื่องในแต่ละด้านแยกเป็นดิน ป่า น้ำ เกษตร พืช สัตว์ ประมง อย่างละเท่าไร และมีเรื่องใดบ้างที่ประสบผลสำเร็จแล้วสามารถนำผลไปขยายผลสู่ประชาชน รวมทั้งสามารถนำมาจัดพิมพ์เป็นตำรา และคัดเลือกเรื่องที่ดีเด่นมาจัดทำเป็นบัญชีหลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ตลอดจนเน้นการให้ความสำคัญกับงานวิจัยในด้านพลังงานทดแทน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านพลังงานตามแนวพระราชดำริให้เหมาะสมสอดคล้องใน  แต่ละท้องถิ่น

3.   ด้านการขยายผล  ยึดถืองานขยายผลเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญของศูนย์ศึกษาการพัฒนา  ทั้งนี้โดยเทคโนโลยีที่จะนำไปขยายผลให้ชาวบ้าน เน้นถึงความประหยัด เรียบง่ายและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและมุ่งขับเคลื่อนสู่การเป็น “ต้นแบบการพัฒนา” เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างได้ผล

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2551

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่โครงการประมาณ 2,300 ไร่ และพื้นที่เพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ 11,000 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 13,300 ไร่ โดยดำเนินการ ศึกษา ทดลอง วิจัยแบบเบ็ดเสร็จทั้งการพัฒนาดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ และการเกษตร เพื่อนำผลสำเร็จจากการศึกษา ทดลอง วิจัยไปเป็นแบบอย่างให้ราษฎรสามารถนำไปพัฒนาอาชีพในพื้นที่ทำมาหากินของตนเองให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งผู้สนใจสามารถเข้ามาชมการศึกษา ค้นคว้า ฝึกอบรมความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติได้จริง โดยในปีงบประมาณ 2551 มีผลการดำเนินงานดังนี้

1.  แผนงานวิจัย ค้นคว้า ทดลอง และพัฒนา

ปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัยทั้งหมด 284 เรื่อง ซึ่งได้ดำเนินการสิ้นสุดไปแล้ว 245 เรื่อง และได้นำไปขยายผลสู่ราษฎรเพื่อนำไปปฏิบัติแล้ว   ในพื้นที่ของตนเอง 55 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

-   ด้านการพัฒนาป่าไม้ 1 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาประมง 6 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาปศุสัตว์ 4 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัว 4 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาด้านเกษตรกรรม 40 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมข้าว  24 เรื่อง , กิจกรรมหม่อนไหม 3 เรื่อง , กิจกรรมพืชสวน 5 เรื่อง ,  กิจกรรมเกษตรผสมผสาน 6 เรื่อง และกิจกรรมเพาะเห็ด 2 เรื่อง

โดยสามารถสรุปกิจกรรมที่สำคัญได้ดังนี้

1)    ศึกษา ค้นคว้า ทดลองรูปแบบต่างๆ ทางด้านการเกษตรและเทคโนโลยีแบบใหม่ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้แก่เกษตรกร

-      ข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และเป็นที่นิยมของเกษตรกร คือ กข 6 และขาวดอกมะลิ 105   สำหรับข้าวไร่ ได้แก่ ซิวแม่จัน และสกลนคร 69

-      พันธุ์ไม้ผลที่เหมาะสมกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น มะม่วงแก้ว น้อยหน่า ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 และพันธุ์ฮงฮวย  เงาะโรงเรียน ลำไยพันธุ์อีดอ และพันธุ์สีชมพู

-      ยางพาราพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพดินและลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ PR 225 PRIM 600 และ GT 1 ซึ่งส่งผลเทียบเท่าผลผลิตน้ำยางของทางภาคใต้

-      การแปรรูปถั่วเขียวเป็นผลิตภัณฑ์วุ้นเส้น

-      ศึกษาการเจริญเติบโตของสายพันธุ์เห็ดขอนขาว ซึ่งเป็น    อาชีพที่ทำรายได้เป็นอย่างดี

-      ศึกษาการปลูกข้าวที่ปลอดภัยจากสารเคมีโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติ

2)    ศึกษาการเลี้ยงปลาช่อนโดยการใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป

ปัจจุบันต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงปลาสูง การศึกษาจึงเน้นหาจุดคุ้มทุนต่อการเลี้ยง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะแนะนำเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงปลาช่อนต่อไป    โดยได้ทำการปล่อยปลาช่อนขนาด 5-7 เซนติเมตร ลงในบ่อขนาด 3-6 ตารางเมตร  โดยมีตาข่ายล้อมรอบบ่อ อัตรา 30 ตัวต่อตารางเมตร จำนวน 1,080 ตัว ให้อาหาร 2 มื้อ ในอัตราร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว ระยะเวลา 8 เดือน พบว่า ปลาช่อนมีการเจริญเติบโตได้ดี มีความยาวเฉลี่ย 13.92 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 263.38 กรัม ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมกับตลาดทางภาคอีสานที่มีการบริโภคปลาช่อนขนาดเล็กกว่าทางภาคกลาง

3)    ศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์และการเลี้ยงสุกรภูพาน เพื่อต้องการสุกรที่เลี้ยงง่าย กินเก่ง  โตเร็ว  ทนต่อสภาพแวดล้อมให้ผลผลิตดี ผลการศึกษาได้สุกร    ภูพาน 1 ซึ่งมีลักษณะสีดำ-สีน้ำตาล สุกรภูพาน 2 มีลักษณะ สีขาว จุดสีดำ-น้ำตาล บริเวณลำตัว  ทั้ง 2 พันธุ์สามารถส่งเสริมให้แก่เกษตรกรที่สนใจนำไปเลี้ยง โดยมีผลผลิตเป็นที่พอใจของเกษตรกร

4)    ศึกษาและพัฒนาโคเนื้อทาจิมะภูพาน โดยศึกษารูปแบบกระบวนการขุนโคเนื้อทาจิมะภูพาน ผลการศึกษาพบว่า การขุนใช้เวลาเฉลี่ย 447 วัน  โดยมีการตอบสนองต่อการขุนอาหารที่ดี มีน้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดสอบเฉลี่ย 565 กิโลกรัม มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 738 กรัมต่อวัน มีต้นทุนการผลิตตลอดการทดสอบเฉลี่ย 34,022.83 บาท เป็นค่าอาหารเฉลี่ย 26,732.83 บาท และค่าพันธุ์โคก่อนขุนเฉลี่ย 10,710.00 บาท เมื่อคำนวณรายได้โดยประเมินจากซากโคและเกรดไขมันแทรกเนื้อ พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 49,274.12 บาท ทำให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยตัวละ 15,251.33 บาท หรือ 1,099.59 บาทต่อเดือน

5)    ศึกษาพัฒนาไม้ผลหลายสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการปลูกเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและนำรายได้มาสู่เกษตรกรและพอสรุปได้ดังนี้

5.1)   ลิ้นจี่ นพ. 1 เป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 140 เมตรขึ้นไป ปลูกได้ดีในจังหวัดนครพนม หนองคาย เลย สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี

5.2)   ลำไยอีดอ มีการเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสม่ำเสมอ อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ผลผลิตเฉลี่ยเมื่ออายุ 8 ปี 42 กิโลกรัมต่อต้นจำนวน 114 ผลต่อกิโลกรัม รองลงมาพันธุ์สีชมพู 34 กิโลกรัมต่อต้น จำนวน 108 ผลต่อกิโลกรัม พันธุ์ที่สมควรแนะนำและส่งเสริมได้แก่พันธุ์อีดอจะเก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์อื่นประมาณกลางเดือนกรกฎาคม

5.3)    เงาะโรงเรียน ปลูกในพื้นที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะแหล่งที่ปลูกใกล้เทือกเขา ริมชายแดนประเทศลาว ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี มุกดาหาร นครพนม หนองคายและจังหวัดสกลนคร ทั้งนี้จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ   ในฤดูแล้ง

5.4)    มะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษมีความเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด เพราะมีลำต้นเตี้ยให้ผลดกติดผล และมีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ สูงกว่าพันธุ์แขกดำพื้นเมืองทั่วไป ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (ปีที่ 1) น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.28 กิโลกรัม

5.5)   มะม่วงแก้ว ศก.007 เป็นพันธุ์ที่สมควรแนะนำส่งเสริมเนื่องจากออกดอกติดผลสม่ำเสมอทุกปี ผลผลิตสูงอายุ 7  ปีให้ผลผลิตเฉลี่ย 49 กิโลกรัมต่อต้น  น้ำหนักผล 200-250 กรัมต่อลูกและมีเนื้อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55 คุณภาพเมื่อแปรรูปเป็นที่ต้องการของตลาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.  แผนงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1  งานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า พื้นที่ 11,000 ไร่ โดยส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระวังป้องกันและควบคุมไฟป่า

2.2  งานบำรุงแปลงสาธิต  จำนวน 8 แปลง 215 ไร่ เพื่อบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และเหมาะสมสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้

2.3  งานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ดูแลรักษาแปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติและการลักลอบทำลาย รวมทั้งศึกษาและเก็บข้อมูลพรรณไม้และสังคมพืชในแปลง เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ และดูงานของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปด้านพรรณพืช และระบบนิเวศน์ของป่า

2.4  ส่งเสริมการผลิตและการใช้บล็อกประสานแทนไม้ ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ยุ้งฉาง หรืออาคารอื่นใด เพื่อให้ราษฎรสามารถนำไปเป็นอาชีพได้และ ลดการทำลายทรัพยากรป่าไม้

3.  แผนงานขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ได้นำรูปแบบการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จไปขยายผลให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ 22 หมู่บ้าน ตลอดจนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับการขยายผลไปสู่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ ได้ทำการคัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมและเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมจากศูนย์ศึกษาฯ ที่สนใจและยินดีจะเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ไปสู่เพื่อนบ้านเกษตรกรด้วยกัน โดยจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ทั้งหมด 32 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ 22 หมู่บ้าน เป็นศูนย์เรียนรู้ฯที่อยู่ในเขตพื้นที่เกษตรน้ำฝน 22 แห่ง และในเขตพื้นที่ชลประทาน 10 แห่ง โดยในแต่ละศูนย์เรียนรู้ฯ มีรูปแบบการเกษตรตามความโดดเด่นในลักษณะต่างๆ แตกต่างกัน อาทิ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรไร่นาสวนผสม เกษตรผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเป็นเสมือนตัวแทนของความสำเร็จของงานต่างๆ จากศูนย์ศึกษาฯ และทำหน้าที่เป็นเครือข่ายกระจายในระดับพื้นที่ ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้ฯ มีสมาชิกรวมทั้งหมด 588 คน โดยกิจกรรมที่นำไปขยายผลให้แก่ราษฎรสามารถสรุปได้ดังนี้

3.1)   ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม โดยใช้ปุ๋ยพืชสด (โสนอัฟริกัน)และแกลบดินในการปรับปรุงคุณภาพดินเค็มในพื้นที่ปลูกข้าว 100 ไร่ อัตราการใช้โสนอัฟริกัน 5 กิโลกรัมต่อไร่ แกลบดิน 2-5 ตันต่อไร่ ทำให้พื้นที่นาที่เป็นดินเค็มได้รับการปรับปรุงคุณภาพ ต้นข้าวมีการเติบโตสม่ำเสมอ ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น

3.2)     ส่งเสริมการทำและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยสนับสนุนถังหมัก  3 ใบ พร้อมกากน้ำตาลให้แก่กลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร 35 กลุ่ม พร้อมสาธิตวิธีการผลิตและการใช้ รวมทั้งการใช้น้ำหมักชีวภาพจาก พด. 2 และสารไล่แมลงจาก พด. 7 ทำให้เกษตรกรทราบแนวทางและวิธีการทำการเกษตรแบบปลอดภัยและลดต้นทุนการผลิต

3.3)   ส่งเสริมการทำและการใช้ปุ๋ยหมักในพื้นที่ปลูกข้าวและพืชไร่  30 ไร่ อัตราการใช้ 0.5 ตันต่อไร่ ทำให้เกษตรกรทราบวิธีการนำเศษวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ลดต้นทุนการผลิตและเรียนรู้ถึงแนวทางปรับปรุงบำรุงดินให้สามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืน

3.4)   ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพุ่ม) ในพื้นที่ปลูกข้าวและพืชไร่ 1,312 ไร่ อัตราการใช้ถั่วพุ่ม 8 กิโลกรัมต่อไร่ ไถกลบเมื่อถั่วพุ่มออกดอกหรือประมาณ 30-45 วัน หลังจากปลูกแล้ว เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร โดยการใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงบำรุงดิน และเรียนรู้การทำการเกษตรแบบยั่งยืน

3.5)   ส่งเสริมการปลูกพืชตามแนวระดับเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การทำการเกษตรเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยการปลูกไม้ผลตามแนวระดับในพื้นที่ลาดชันเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ

3.6)   สาธิตการใช้เทคโนโลยีพืชไร่พันธุ์ดี ดำเนินการปลูกพืชไร่พันธุ์ดีชนิดต่างๆ เพื่อให้ราษฎรทั่วไปที่สนใจทางด้านการเกษตรได้เข้ามาศึกษาดูงาน

 

ชนิดพืช

 

พันธุ์

ผลผลิตแห้งเฉลี่ย

(กิโลกรัมต่อไร่)

ถั่วเหลืองฝักสด

เชียงใหม่ 1

113

ถั่วลิสง

ไทนาน 9

171

ข้าวโพดเทียน

สุโขทัย 1

355

3.7)   สาธิตการปลูกพืชไร่ โดยมีพืชไร่เป็นพืชร่วม มีราษฎร 15 ราย ทำการปลูกถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 6 , ข้าวโพดเทียนพันธุ์สุโขทัย 1 , ข้าวโพดหวานพันธุ์ซุปเปอร์สวีท ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตพืชไร่เก็บไว้บริโภคในครัวเรือน และมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลผลิต

3.8)   สาธิตการปลูกกระเจี๊ยบ ดำเนินการปลูกกระเจี๊ยบพันธุ์ซูดาน โดยใช้ระยะปลูก 1X0.50 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันอยู่ในช่วงดูแลรักษา

3.9)   สาธิตการปลูกพืชไร่เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร

3.10)   กระจายพันธุ์พืชสวนพันธุ์ดีสู่ราษฎร 14 ชนิด รวม 10,000 ต้น ได้แก่ ลิ้นจี่ นพ. 1  ลำไยอีดอ  มะม่วง (พันธุ์ดี)  ขนุน  มะขาม (เปรี้ยว/หวาน)  ส้มโอ  ฝรั่ง  กระท้อน  มะไฟหวาน  มะนาว  มะกอกน้ำ  พริกไทย มะละกอ  และน้อยหน่า

3.11) ส่งเสริมการผลิตเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เข้าร่วมโครงการฯ 5 ศูนย์เรียนรู้ฯ มีสมาชิก 14 ราย

3.12) สาธิตการเลี้ยงไก่ดำภูพานที่มีความทนทานต่อโรค ราษฎรสามารถนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อประกอบอาชีพได้ โดยมีพ่อแม่ไก่ดำภูพาน เป็นเพศผู้ 15 ตัว     เพศเมีย 80 ตัว สามารถผลิตลูกได้ 2,990 ตัว ซึ่งได้จัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำภูพาน เพื่อสร้างเครือข่ายด้านสัตว์ปีก  และสนับสนุนพันธุ์ไก่ดำสู่หน่วยงานต่างๆ  และราษฎรที่สนใจทั่วประเทศ

3.13) สาธิตการเลี้ยงไก่งวงพันธุ์เบลสวิทส์สมอลไวท์ เนื่องจากไก่งวงเป็นสัตว์ปีกที่เลี้ยงง่าย ราคาสูง เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติและคนไทย

สามารถเลี้ยงโดยใช้อาหารและวัสดุเหลือที่มีอยู่ในท้องถิ่น  อาทิ  หญ้า  ต้นกล้วย   โดยมี พ่อแม่พันธุ์ไก่งวง เป็นเพศผู้ 5 ตัว เพศเมีย 30 ตัว ผลิตลูกได้ 1,200 ตัว ซึ่งจะได้นำไปส่งเสริมให้แก่ราษฎรที่สนใจเลี้ยงต่อไป

3.14) สาธิตระบบการจัดการพืชอาหารสัตว์และเสบียงสัตว์ เพื่อเป็นอาหารสัตว์และแหล่งขยายพันธุ์อาหารสัตว์ รวมทั้งส่งเสริมให้กับราษฎรที่สนใจ

3.15) สาธิตการผลิตเสบียงอาหารสัตว์ โดยการทำหญ้าแห้งอัดฟ่อน ซึ่งใช้เครื่องอัดหญ้าแบบติดท้ายรถแทรกเตอร์ ใช้แรงงาน 2 คน อัดหญ้าแห้งได้วันละ 800 -1,000 ฟ่อน ได้หญ้าแห้งคุณภาพดี กลิ่นหอม ไม่แข็งกระด้าง มีโปรตีนร้อยละ 9-10 ซึ่งเมื่อเทียบกับฟางข้าวจะมีโปรตีนร้อยละ 1-2 เท่านั้น

3.16) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ดูแลรับผิดชอบอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริ  11  อ่าง  รวมความจุ  14.18  ล้านลูกบาศก์เมตร  มีระบบคลองส่งน้ำ  24  สาย  และระบบท่อส่งน้ำ  8  สาย  รวมความยาว  67  กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์  24,300  ไร่  ซึ่งอยู่ในพื้นที่  22  หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ  โดยได้ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่อ่างเก็บน้ำจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ 11  อ่าง  ขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไข ปัญหาในการบริหารจัดการน้ำที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้น้ำได้มีการบริหารจัดการน้ำเอง โดยมีการจัดสรรน้ำเป็นแบบรอบเวร ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นโซนทำให้การส่งน้ำให้เกษตรกรได้ทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งดูแล บำรุงรักษาระบบส่งน้ำ และอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีอยู่เสมอ

ส่งเสริมองค์กรกลุ่มผู้ใช้น้ำ 11 อ่าง ให้มีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการน้ำได้เองอย่างยั่งยืน  และพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นสมาคมผู้ใช้น้ำชลประทาน

4.  ด้านการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ และราษฎรทั่วไป 1,734 คน ตามหลักสูตรการประกอบอาชีพต่างๆ

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

ดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริ โดยกำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ดังนี้ คือ เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เป็นตัวอย่าง         แห่งความสำเร็จ เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการแบบบูรณาการและการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาฯ อย่างมีเอกภาพ โดยมีแผนการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย

1.    ด้านการบริหารจัดการ  เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการในลักษณะบูรณาการภายใต้การบริหารของคณะอนุกรรมการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ จัดทำแผนปฏิบัติการรายปีตามแนวทางของแผนแม่บท รวมทั้งให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ

2.    ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย  ดำเนินงานในด้านการศึกษาพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคม เน้นผลงานที่สามารถนำไปขยายผลสู่ประชาชน ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีตัวอย่างที่แสดงว่าสามารถปฏิบัติได้จริง และที่สำคัญข้อมูลนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพได้และต้องเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวอย่างแท้จริง หากประชาชนต้องการพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ต้องสามารถบริการตามความต้องการได้ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวิจัยพลังงานทดแทนให้แก่ราษฎรและเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น ตลอดจนสรุปงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จเพื่อจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมและคู่มือเผยแพร่แก่ราษฎรในรูปแบบวิธีการนำเสนอที่ง่ายต่อความเข้าใจ

3.    ด้านการขยายผล  เป็นแหล่งความรู้ด้านการพัฒนาของภูมิภาค   โดยเน้นให้ความรู้ด้านทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการฝึกอบรมความรู้ทั้งในและนอกภาคเกษตรเพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกร โดยเทคโนโลยีที่จะนำไปขยายผล เน้นถึงความประหยัด เรียบง่ายและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

 

ผลการดำเนินงาน  ปี 2552   สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง

1.    การศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนา

ได้ดำเนินการ จำนวน 284 เรื่อง ซึ่งได้ดำเนินการสิ้นสุดไปแล้ว จำนวน 245 เรื่อง และได้นำไปขยายผลสู่ราษฎรเพื่อนำไปปฏิบัติแล้วในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 55 เรื่อง โดยแบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

-   ด้านการพัฒนาป่าไม้                             จำนวน   1 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาประมง                           จำนวน   6 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาปศุสัตว์                          จำนวน   4 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัว   จำนวน   4 เรื่อง

-   ด้านการพัฒนาด้านเกษตรกรรม              จำนวน 40 เรื่อง

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สภาพพื้นที่เสื่อมโทรมของศูนย์ฯเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและนิเวศวิทยาภายในพื้นที่จนเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ  ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพระราชดำริ 11 อ่าง ในพื้นที่ในเขตชลประทาน ความจุ 14.40 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร 24,300 ไร่ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ป่ามีความชุ่มชื้นและสมบูรณ์มากขึ้น

ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน ได้พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยการขุดสระทฤษฎีใหม่และการขุดบ่อประมงในพื้นที่ราษฎร เพื่อใช้ในการอุปโภค - บริโภค

ด้านการพัฒนาป่าไม้  สามารถฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ปลูกรักษาป่าธรรมชาติ ปลูกป่าทดแทน รวมทั้งการควบคุมป้องกันไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ 11,000 ไร่ จนทำให้ผืนป่ากลับคืนมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น จนสามารถแก้ปัญหาลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ดีในระดับหนึ่ง อันเป็นการเกื้อกูลต่อระบบนิเวศโดยรวม

ตาดไฮใหญ่

ด้านการพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน  มุ่งเน้นใช้หลักธรรมชาติแก้ไขปัญหาปรับปรุงอนุรักษ์ดินให้เหมาะสมสำหรับการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่     โดยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การใช้ปุ๋ยหมัก การใช้ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชหมุนเวียน การพัฒนาพื้นที่ดินลูกรัง ตลอดจนการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

ด้านการพัฒนาอาชีพ  มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร โดยเฉพาะการให้องค์ความรู้ในด้านการทำการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และสามารถนำไปปฏิบัติได้เองในพื้นที่ของตนเอง รวมถึงการให้ความช่วยเหลือราษฎรให้สามารถใช้เวลาว่างประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อผลิตของใช้ในครัวเรือนขึ้นใช้เองหรือผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้แก่ราษฎร

2.    การขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ได้นำรูปแบบการพัฒนาที่ประสบผลสำเร็จไปขยายผลให้แก่ราษฎรในลักษณะส่งเสริม เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมความรู้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ทำให้ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน 22 หมู่บ้าน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากเดิม 30,000 – 42,000 บาทต่อคนต่อปี เป็น 50,000 – 70,000 บาทต่อคนต่อปี

จากการพัฒนางานศึกษา ทดลอง วิจัย จนประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ได้ทำการคัดเลือกผลงานดีเด่นที่พร้อมจะนำไปขยายผลสู่ราษฎร จำนวน 19 เรื่อง ดังมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

กล่องข้อความ: ข้าวเหนียวพันธุ์สกลนคร มีคุณภาพเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง            อายุประมาณ 128 วัน เหมาะที่จะปลูก เป็นข้าวไร่ ผลผลิตประมาณ 350 – 490กิโลกรัมต่อไร่       ข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง

 

                                 ข้าวเหนียวพันธุ์สกลนคร มีคุณภาพเหนียวนุ่ม และมีกลิ่นหอม เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง

                                 อายุประมาณ 128 วัน เหมาะที่จะปลูก เป็นข้าวไร่ ผลผลิตประมาณ 350 – 490กิโลกรัมต่อไร่

                                 ข้อควรระวังคือ ไม่ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง

กล่องข้อความ: ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าคุณภาพข้าวสุกมีกลิ่นหอม เป็นข้าวชนิดไวต่อช่วงแสง      เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ราบ ผลผลิตประมาณ 400 – 580 กิโลกรัมต่อไร่ ข้อควรระวังคือ      เป็นข้าวไม่ต้านทานโรคไหม้
ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าคุณภาพข้าวสุกมีกลิ่นหอม เป็นข้าวชนิดไวต่อช่วงแสงเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ราบ ผลผลิตประมาณ 400 – 580 กิโลกรัมต่อไร่ ข้อควรระวังคือ เป็นข้าวไม่ต้านทานโรคไหม้
กล่องข้อความ: ไก่ดำภูพาน ถูกพัฒนามาจากการรวบรวมไก่ดำที่มีการเลี้ยงในจังหวัดสกลนครมาทำการ            ผสมพันธุ์และคัดเลือกเอาลักษณะที่ตรงตามความต้องการของตลาด มีความต้านทาน        โรคระบาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถเลี้ยงภายใต้ระบบการจัดการแบบเดิมๆ ของชาวบ้าน โดยใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก       หากเลี้ยงจนมีอายุ 4 เดือน จะสามารถจำหน่ายได้ตัวละ 250 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคา ไก่เนื้อทั่วไป จะสามารถจำหน่ายได้เพียงตัวละ 70-90 บาทเท่านั้น

ไก่ดำภูพาน ถูกพัฒนามาจากการรวบรวมไก่ดำที่มีการเลี้ยงในจังหวัดสกลนครมาทำการผสมพันธุ์และคัดเลือกเอาลักษณะที่ตรงตามความต้องการของตลาด มีความต้านทานโรคระบาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถเลี้ยงภายใต้ระบบการจัดการแบบเดิมๆ ของชาวบ้าน โดยใช้ต้นทุนไม่สูงมากนั หากเลี้ยงจนมีอายุ 4 เดือน จะสามารถจำหน่ายได้ตัวละ 250 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคา ไก่เนื้อทั่วไป จะสามารถจำหน่ายได้เพียงตัวละ 70-90 บาทเท่านั้น

กล่องข้อความ: โคเนื้อทาจิมะภูพาน เป็นโคเนื้อที่พัฒนามาจากกลุ่มสายพันธุ์หลักของโคหวากิว ที่มีการเลี้ยงกันในประเทศญี่ปุ่นและถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเนื้อโคขุนที่ดีที่สุด การพัฒนาได้มุ่งเน้นการใช้โคแม่พันธุ์ที่ราษฎรมีอยู่แล้ว       มาผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อโคเนื้อทาจิมะภูพาน แล้วทำการขุนลูกโค เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยใช้ระยะเวลาในการขุนเฉลี่ย 447 วัน ราษฎรจะมีรายได้จากการเลี้ยงเฉลี่ยตัวละ 15,251 บาท หรือ 1,099 บาทต่อเดือน

โคเนื้อทาจิมะภูพาน เป็นโคเนื้อที่พัฒนามาจากกลุ่มสายพันธุ์หลักของโคหวากิว ที่มีการเลี้ยงกันในประเทศญี่ปุ่นและถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเนื้อโคขุนที่ดีที่สุด การพัฒนาได้มุ่งเน้นการใช้โคแม่พันธุ์ที่ราษฎรมีอยู่แล้วมาผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อโคเนื้อทาจิมะภูพาน แล้วทำการขุนลูกโค เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร โดยใช้ระยะเวลาในการขุนเฉลี่ย 447 วัน ราษฎรจะมีรายได้จากการเลี้ยงเฉลี่ยตัวละ 15,251 บาท หรือ 1,099 บาทต่อเดือน

กล่องข้อความ: สุกรภูพาน เป็นการพัฒนาที่ได้รวบรวมเอาลักษณะที่ดีเด่นจากสุกรเหมยซานและสุกรอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สุกรพันธุ์พื้นเมือง (หมูกี้) สุกรพันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่ และสุกรพันธุ์แลนด์เรซ  โดยมีคุณลักษณะประจำพันธุ์ คือ ให้ลูกดก เฉลี่ย 14-16 ตัวต่อครอก เลี้ยงลูกเก่ง ทนทานต่อโรคระบาดและปรับตัว      เข้ากับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นได้ดี กินอาหารคุณภาพต่ำได้ ใบหูขนาดเล็ก ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น   โตเร็ว เนื้อแดงมาก ไขมันน้อย

สุกรภูพาน เป็นการพัฒนาที่ได้รวบรวมเอาลักษณะที่ดีเด่นจากสุกรเหมยซานและสุกรอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สุกรพันธุ์พื้นเมือง (หมูกี้) สุกรพันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี่ และสุกรพันธุ์แลนด์เรซ  โดยมีคุณลักษณะประจำพันธุ์ คือ ให้ลูกดก เฉลี่ย 14-16 ตัวต่อครอก เลี้ยงลูกเก่ง ทนทานต่อโรคระบาดและปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นได้ดี กินอาหารคุณภาพต่ำได้ ใบหูขนาดเล็ก ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น โตเร็ว เนื้อแดงมาก ไขมันน้อย

ลิ้นจี่ นพ.1 เป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 140 เมตรขึ้นไป  ปลูกได้ดีในจังหวัดนครพนม หนองคาย เลย สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี

กล่องข้อความ: ลิ้นจี่ นพ.1 เป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 140 เมตรขึ้นไป      ปลูกได้ดีในจังหวัดนครพนม หนองคาย เลย สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี

ยางพาราพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพดิน และลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ PR 255 และ RRIM 600 ซึ่งส่งผลเทียบเท่าผลผลิตน้ำยางของทางภาคใต้ โดยยางพันธุ์ PR 225 มีการเจริญเติบโตของต้นดีที่สุด ในขณะที่พันธุ์ RRIM 600 ให้ผลผลิตน้ำยางสูงสุด 30.5 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีดและมีจำนวนต้นเปลือกแห้งต่ำสุด ร้อยละ 16.6

การเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อควบคุมศัตรูไม้ผล โดยได้ ทำการทดสอบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อควบคุมหนอน และเลี้ยงห่านเพื่อควบคุมวัชพืชในแปลงส้มโอ พบว่า การเลี้ยงไก่และห่านในอัตราชนิดละ 25 ตัวต่อไร่ จะทำให้สามารถควบคุมการทำลายของหนอนศัตรูส้มโอ และควบคุมวัชพืชในแปลง ส้มโอได้ดี                                      

กล่องข้อความ: การเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อควบคุมศัตรูไม้ผล โดยได้ ทำการทดสอบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เพื่อควบคุมหนอน และเลี้ยงห่านเพื่อควบคุมวัชพืชในแปลงส้มโอ พบว่า การเลี้ยงไก่และห่านในอัตราชนิดละ           25 ตัวต่อไร่ จะทำให้สามารถควบคุมการทำลายของหนอนศัตรูส้มโอ และควบคุมวัชพืชในแปลง ส้มโอได้ดี
ไหมพันธุ์ไทย (นางตุ่ย) เป็นการพัฒนาเส้นไหมตามแนวพระราชดำริทำให้ราษฎร  มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายเส้นไหม ห็ดพื้นบ้าน/เห็ดเศรษฐกิจ ได้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุที่เหมาะสมในการทำเชื้อเห็ดที่หาง่ายในท้องถิ่น
การผลิตวุ้นเส้นจากถั่วเขียว เป็นการส่งเสริมให้ราษฎร ได้รับความรู้การแปรรูปผลผลิตจากผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร ทฤษฏีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีการจัดทำแปลงสาธิตในพื้นที่บ้านราษฎร ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีรายได้ตลอดปี

  นอกจากนี้ยังได้นำผลสำเร็จจากการศึกษา ทดลอง และวิจัย  มาพัฒนาเป็นหลักสูตรการฝึกอบรม 32 หลักสูตร เพื่อขยายผลให้กว้างขวางออกไป  โดยเริ่มจากพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ แล้ว จึงขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในปีงบประมาณ 2552 ได้ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ราษฎรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ และราษฎรทั่วไปรวมทั้งสิ้น 2,475 คน จำนวน 41 หลักสูตร ตามหลักสูตรการประกอบอาชีพต่างๆ และมีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาดูงานทั้งสิ้น 43,644 คน  ในภาพรวมของการพัฒนาหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ จำนวน 22 หมู่บ้าน พบว่าราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากผลสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน จปฐ. ข้อ 30 (คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 23,000 บาทต่อคนต่อปี) จำนวน 3,389 ครัวเรือน มีครัวเรือนผ่านเกณฑ์ 3,383 ครัวเรือน ไม่ผ่านเกณฑ์ 6 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของครัวเรือนหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ซึ่งจะได้วางแผนพัฒนาอาชีพและรายได้ให้ราษฎรทั้ง 6 ครัวเรือนให้ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว ต่อไป ส่งผลให้การพัฒนาในภาพรวมของหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีผลการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา ระดับ 3 (ก้าวหน้า) ทุกหมู่บ้านตามข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท (กชช. 2 ค.)

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

ดำเนินงานโดยยึดแนวพระราชดำริ คือเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จ เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการแบบบูรณาการ และ     การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาฯอย่างมีเอกภาพโดยในปีต่อไปจะมุ่งเน้นการดำเนินงานดังนี้

1.    จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการนำเอาผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาฯไปขยายผลแก่ องค์กรปกครองท้องถิ่น  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อำเภอ สถานศึกษา ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร

เลี้ยงปลานิลแดงร่วมกับเป็ดบาบาลีในบ่อครัวเรือน เป็นรูปแบบการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน เนื่องจากจะช่วยลดการเสี่ยงการขาดทุนจากการเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว  ส่วนปลานิลแดงนั้นเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตได้ดี  ทนต่อโรคและให้ผลผลิตสูงทั้งในการเลี้ยงแบบผสมผสาน และการเลี้ยงแบบอื่นๆ

2.    จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสัญจรผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาฯไปขยายผลในจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3.    สนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวดและโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

4.    ขยายเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นให้ราษฎรเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรโดยประยุกต์กับภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ราษฎรด้วยกันเอง

5.    สนับสนุนการใช้ศูนย์ศึกษาฯเป็นเสมือนห้องเรียนทางธรรมชาติ โดยให้นักเรียน นักศึกษาเข้ามาศึกษาหาความรู้หรือสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา ด้านการเกษตร ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2553

1.  การศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนา

ได้ศึกษา ทดลอง วิจัยอย่างต่อเนื่องนับถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ มีผลการศึกษา ทดลอง วิจัยกว่า 300 เรื่อง และได้นำไปขยายผลสู่ราษฎร โดยได้นำเอาผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 19 เรื่อง มาจัดทำเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมแก่ราษฎรให้สามารถนำเอาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้โดยวิธีง่ายๆ ในพื้นที่ของตนเอง ผลสำเร็จดังกล่าว ได้แก่

ผลสำเร็จที่ 1 สายธารแห่งชีวิต  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เดิมเป็นป่าโปร่ง ถูกนำไปใช้ประโยชน์และถูกทำลายไปมาก ทำให้ไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝน หน้าดินถูกชะล้างเกิดปัญหาดินเค็ม ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริในการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ป่าเปียก (Wet  Fire  Break) การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และการปลูกป่าในใจคนมาใช้

ผลสำเร็จที่ 2 การเลี้ยงโคเนื้อทาจิมะภูพาน  เป็นสายพันธุ์ที่ให้เนื้อคุณภาพดีที่สุดในโลก  มีความนุ่ม  ไขมันแทรกเกรดสูง  ที่สำคัญคือ มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันอิ่มตัวสูงกว่าโคทั่วไป  จึงมีผลทำให้เนื้อโคทาจิมะปลอดภัยต่อการบริโภค  การพัฒนาโคเนื้อทาจิมะภูพานนี้ มุ่งเน้นการใช้โคแม่พันธุ์ที่ราษฎรมีอยู่แล้วมาผสมกับน้ำเชื้อโคเนื้อทาจิมะภูพานแล้วทำการขุนลูกโคเนื้อสร้างรายได้ให้กับราษฎร    ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของราษฎร

ผลสำเร็จที่ 3  การเลี้ยงไก่ดำภูพาน  ไก่ดำจัดเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ   ซึ่งได้บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ไก่ดำภูพานเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา     ภูพานฯ ได้พัฒนาปรับปรุงให้ได้ไก่พันธุ์ดี  ทนโรค  เลี้ยงง่าย  โตเร็ว  สามารถสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรมากกว่าไก่เนื้อทั่วไป ไก่ดำนำหนัก 1 กิโลกรัม ราคาตัวละ 250 บาท ในขณะที่ไก่เนื้อทั่วไป ราคาตัวละ 70-80 บาท เท่านั้น จึงได้รับความนิยมจากราษฎรเป็นจำนวนมาก

ผลสำเร็จที่ 4  การเลี้ยงสุกรภูพาน  เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์จากสุกร  4 สายพันธุ์  ได้แก่  สุกรพันธุ์เหมยซาน  พันธุ์พื้นเมืองสกลนคร  พันธุ์ดูร๊อกเจอร์ซี่  และพันธุ์แลนด์เรซ ได้สายพันธุ์สุกรภูพาน 1 และ 2 ที่มีจุดเด่น  เป็นสุกรที่เลี้ยงง่าย  โตเร็ว ให้ลูกดก  สามารถปรับตัวเข้ากับการเลี้ยงของราษฎรได้ดี  สามารถตอบสนองต่อความต้องการของราษฎรที่หลากหลาย

ผลสำเร็จที่ 5  การปลูกข้าวพันธุ์สกลนคร  เป็นข้าวเหนียว สามารถปลูกได้ทั้งนาดอน  นาชลประทาน และสภาพไร่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกได้ทั้งปี    คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลสำเร็จที่ 6  การปลูกข้าวขาวพันธุ์หอมมะลิ 105  เป็นข้าวเจ้าทนแล้งได้ดีพอสมควร ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี คุณภาพข้าวสุกอ่อนนุ่มมีกลิ่นหอม

ผลสำเร็จที่ 7  ลิ้นจี่  นพ. 1  เป็นสายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตจังหวัดที่มีความหนาวเย็นสม่ำเสมอ  ออกดอกติดผลสม่ำเสมอทุกปี ผลมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ลักษณะเด่น คือ ออกดอกเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ในเดือนเมษายนของทุกปี ทำให้จำหน่ายได้ราคาดีเป็นที่นิยมของราษฎร

ผลสำเร็จที่ 8  การเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อควบคุมศัตรูพืชสวนผลไม้  คือการพึ่งตนเอง เป็นการใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการควบคุมศัตรูพืชในสวนผลไม้  โดยการเลี้ยงห่าน เพื่อควบคุมวัชพืช  เลี้ยงไก่พื้นเมือง  เพื่อควบคุมแมลงในสวนไม้ผล  ในอัตรา 100 ตัวต่อไร่ นอกจากราษฎรจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ  ปราศจากสารพิษ  โรค  และแมลง  ยังได้อาหารจากการเลี้ยงห่านและไก่พื้นเมืองที่จะให้ไข่ตลอดปี รวมทั้งได้ปุ๋ยคอกที่มีคุณภาพสูงด้วย จึงเป็นที่นิยมของราษฎร

ผลสำเร็จที่ 9 การผลิตวุ้นเส้นจากถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบอยู่ถึงร้อยละ 56 มีโปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และยังมีอะมายโลส และอมายโลเพคตีน จึงสามารถผลิตเป็นแป้งที่มีคุณภาพ ลักษณะเหนียวนุ่ม ไม่เปื่อยยุ่ย เป็นที่ต้องการและนิยมบริโภคกันทั่วไป

ผลสำเร็จที่ 10 การเลี้ยงปลานิลแดงร่วมกับเป็ดบาบาลีลูกผสม เป็นแนวทางในการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานที่ดีและเหมาะสมสำหรับสภาพพื้นที่     ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะเวลา 8 เดือน สามารถเลี้ยงเป็ดได้ถึง 2 รุ่น เลี้ยงปลานิลแดงได้ 1 รุ่น พบว่าต้นทุนหลักมาจากค่าอาหารเป็ดมากกว่าร้อยละ 50 ส่วนกำไรที่ได้มาจากการขายเป็ดและปลา ซึ่งเป็นรายได้ที่มากกว่าการเลี้ยงปลาแบบอื่นๆ  จึงเป็นที่สนใจของราษฎร

ผลสำเร็จที่ 11 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ มีความสะดวกในการจัดการเหมาะสำหรับราษฎรที่มีน้ำใช้ในการทำการเกษตรอย่างจำกัด มีทั้งการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ทั้งแบบเหลี่ยมและแบบกลม แต่แบบกลมราษฎรจะนิยมมากกว่า พันธุ์ปลาดุก    ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาดุกเทศ หรือปลาดุกยักษ์ เนื่องจากโตเร็วมากกินอาหารได้แทบ   ทุกชนิด ระยะเวลาเลี้ยงสั้นเพียง 2-3 เดือน ก็สามารถจำหน่ายหรือบริโภคได้แล้ว

ผลสำเร็จที่ 12 เกษตรทฤษฎีใหม่ มีการบริหารจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะดินและน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการคำนวณตามหลักวิชาการอย่างเหมาะสม เพื่อให้ราษฎรสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง เน้นการพึ่งตนเองให้มากที่สุด

ผลสำเร็จที่ 13 การจัดการดินเค็มเพื่อปลูกข้าว ดินเค็มเป็นปัญหาที่สำคัญมากต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 17.8 ล้านไร่ อย่างไรก็ตามราษฎรสามารถเลือกปลูกพืชทนเค็ม หรือพืชชอบเกลือ และควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสม เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำขังควรปลูกข้าว จะทำให้ผลผลิตเพิ่มได้จาก 10-15 ถัง/ไร่ เป็น 30-50 ถัง/ไร่ และควรใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงบำรุงดิน เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แกลบ หรือปุ๋ยพืชสด

ผลสำเร็จที่ 14 การจัดการดินลูกรังเพื่อปลูกไม้ผล ปัญหาที่พบคือดินลูกรังมีหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนอยู่มาก ทำให้ดินมีปริมาณน้อยลง การอุ้มน้ำต่ำ หน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย ดังนั้น ต้องมีการจัดการดินด้วยการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน การใช้ประโยชน์ดินลูกรังในการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชไร่ หรือพืชที่มีรากตื้น ต้องใส่ปุ๋ยและรักษาความชื้นด้วยวัสดุคลุมดิน เทคนิคในการปลูกไม้ผลในดินลูกรัง

ผลสำเร็จที่ 15 การเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง ได้มีการเพาะเห็ดในสภาพแวดล้อมของศูนย์ฯ โดยนำเอาวัสดุเหลือใช้ในด้านเกษตรกรรม และด้านอื่นๆ มาเป็นวัสดุในการเพาะปรับปรุงการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดภูฎาน  เห็ดบด  เห็ดขอนขาว ฯลฯ ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมให้แก่ราษฎร โดยเฉพาะ

-   เห็ดขอนขาว กิโลกรัมละ 50-60 บาท ได้ผลผลิตดีในช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม,กุมภาพันธ์-เมษายน

-   เห็ดบด กิโลกรัมละ 90-120 บาท ได้ผลผลิตดีในช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม,กุมภาพันธ์-เมษายน

ผลสำเร็จที่ 16 การปลูกยางพารา ปัจจุบันยางพาราเป็นพืชที่ราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมปลูก เนื่องจากยางมีราคาสูง ยางพาราพันธุ์ดีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พันธุ์ RRIM 600 เนื่องจากสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปริมาณและการกระจายตัวของน้ำฝนน้อยได้ดี ให้น้ำยางมาก การเจริญเติบโตก่อนเปิดกรีดและระหว่างเปิดกรีด ปานกลาง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นวัน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 240 กิโลกรัมต่อปี

ผลสำเร็จที่ 17 หม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ยสกลนคร ลักษณะเด่น มีความทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดี เมื่อปักชำออกรากได้ดี ขยายพันธุ์ง่ายสามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรงหรือปักชำก่อนปลูก เจริญเติบโตรวดเร็วหลังการตัดแต่ง มีความต้านทานโรครากเน่า แข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี เลี้ยงง่ายผลผลิตสูง เปลือกรังชั้นนอกสีขุ่น เปลือกรังชั้นในสีเหลืองเข้ม เส้นไหมมีความเลื่อมมันวาว หนอนไหมโตเต็มวัยตัวผู้ขาว ตัวเมียขาวลักษณะลายบนตัวหนอนไหมไม่มีสีของรังไหมสีเหลือง รูปร่างรังไหมวงรีรอยย่นบนผิวรังละเอียด ลักษณะเด่นเลี้ยงง่ายผลผลิตสูง เส้นไหม 1 กิโลกรัมขายได้ประมาณ 1,300-1,600 บาท

ผลสำเร็จที่ 18 การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร สมุนไพรเกี่ยวข้องชีวิตประจำวันของเรามาโดยตลอด อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทย มาช้านาน สมุนไพรถูกนำมาใช้สารพัดประโยชน์ และถูกแปรรูปออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำลูกประคบกับสมุนไพรแห้ง (น้ำหนัก 250 กรัม) สมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบหลักได้แก่ ไพล ขมิ้น ตะไคร้  ใบมะกรูด ใบมะขาม พิมเสน การบูรและเกลือ สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 1,800-2,500บาท/คน/เดือน

ผลสำเร็จที่ 19 การผลิตผ้าย้อมคราม ต้นครามเป็นไม้พุ่มตระกูลถั่ว ชอบน้ำน้อย แดดจัด ใบครามสด หรือทั้งกิ่งทั้งใบแก่และใบอ่อนประมาณ 8 กิโลกรัม    จะได้เนื้อครามปนปูนขาว 1 กิโลกรัม ย้อมฝ้ายได้ประมาณ 200-300 กรัม ดังนั้น จึงต้องปลูกต้นครามมาก ขั้นตอนการเตรียมน้ำย้อมครามต้องใช้เวลาประมาณ 7 วัน  การทอผ้าย้อมครามสามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 2,000 – 2,500 บาท/คน/เดือน

2.  การขยายผล

จากผลสำเร็จที่โดดเด่นทั้ง 19 เรื่อง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้นำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรการฝึกอบรม 32 หลักสูตร เพื่อขยายผลไปสู่ราษฎร โดยเริ่มจากพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ 22 หมู่บ้าน แล้วขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดประชุมขยายผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ฯ สู่หน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด 10 คณะ จำนวน 1,917 คน ดังนี้

 

 

วันเดือนปี

 

 

รายชื่อคณะ

 

จำนวน

14 มกราคม 2553

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสกลนคร

 

400

6,13,20 มกราคม 2553

กรมการปกครอง (ปลัดอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

 

322

10 มีนาคม 2553

สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์ (กำนัน, ผู้นำท้องถิ่น, หัวหน้าส่วนราชการ)

 

100

7-8 เมษายน 2553

สำนักงานจังหวัดมหาสารคาม (ผู้นำท้องถิ่น นายก อบต.) จำนวน 2 รุ่น

 

100

7 พฤษภาคม 2553

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด

75

24 พฤษภาคม 2553

สำนักงานจังหวัดนครพนม

140

31 พฤษภาคม 2553

สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร

60

8 , 22 มิถุนายน 2553,

6 กรกฎาคม 2553

สำนักงานจังหวัดหนองบัวลำภู (ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะ, สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองบัวลำภู) จำนวน 3 รุ่น

 

 

269

16 กรกฎาคม 2553

สำนักงานจังหวัดอุดรธานี

181

7 สิงหาคม 2553

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา

270

ทั้งนี้ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาดูงานจะได้นำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลในพื้นที่ของตน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานต่อไป

 

เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เข้าร่วมประชุมขยายผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ฯ

                   นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2553 มีผู้สนใจที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้าเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ รวม 607 คณะ 51,007  คน

เมื่อวันที่ 14 มกราคม และ 30 เมษายน 2553 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการงานขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพาน ฯ และเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 3  ณ  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 กระทรวงการต่างประเทศนำสื่อมวลชนไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่พำนักอยู่ในนครลอสแองเจลิส เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งสื่อมวลชนต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างมากและจะนำความซาบซึ้งนี้ไปเผยแพร่ให้แก่คนไทยในนครลอสแองเจลิส ประมาณ 200,000 คน ได้รับรู้ต่อไป

      

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2554   “สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง”

ในปีงบประมาณ 2554 ได้ดำเนินงานศึกษา ทดลอง และขยายผลกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรอย่างบูรณาการและมีความหลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1.   แหล่งองค์ความรู้  จากการดำเนินงาน ศึกษา ทดลอง วิจัย มาจวบจนถึงปัจจุบันนั้นมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก และได้คัดเลือกผลงานที่โดดเด่นมาจัดทำเป็นหลักสูตร จำนวน 19 เรื่อง เพื่อนำไปฝึกอบรมราษฎรให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย

ผลสำเร็จที่ 1 สายธารแห่งชีวิต

ผลสำเร็จที่ 2 การเลี้ยงโคเนื้อภูพาน

ผลสำเร็จที่ 3 การเลี้ยงไก่ดำภูพาน

ผลสำเร็จที่ 4 การเลี้ยงสุกรภูพาน

ผลสำเร็จที่ 5 การปลูกข้าวพันธุ์สกลนคร

ผลสำเร็จที่ 6 การปลูกข้าวขาวพันธุ์หอมมะลิ 105

ผลสำเร็จที่ 7 ลิ้นจี่  นพ. 1

ผลสำเร็จที่ 8 การเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อควบคุมศัตรูพืชสวนผลไม้

ผลสำเร็จที่ 9 การผลิตวุ้นเส้นจากถั่วเขียว

ผลสำเร็จที่ 10 การเลี้ยงปลานิลแดงร่วมกับเป็ดบาบาลีลูกผสม

ผลสำเร็จที่ 11 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

ผลสำเร็จที่ 12 เกษตรทฤษฎีใหม่

ผลสำเร็จที่ 13 การจัดการดินเค็มเพื่อปลูกข้าว

ผลสำเร็จที่ 14 การจัดการดินลูกรังเพื่อปลูกไม้ผล

ผลสำเร็จที่ 15 การเพาะเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง

ผลสำเร็จที่ 16 การปลูกยางพารา

ผลสำเร็จที่ 17 หม่อนพันธุ์สกลนครและไหมพันธุ์นางตุ่ยสกลนคร

ผลสำเร็จที่ 18 การแปรรูปจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ผลสำเร็จที่ 19 การผลิตผ้าย้อมคราม

ตัวอย่างผลสำเร็จดีเยี่ยม อาทิเช่น

โคเนื้อภูพาน ได้ปรับปรุงสายพันธุ์โคเนื้อภูพาน ให้มีระดับสายเลือดโคทาจิมะสูงขึ้น ทำให้ได้เนื้อมีไขมันดีแทรก ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้ขยายผลให้แก่เกษตรกรโดยมอบน้ำเชื้อ เพื่อนำไปผสมเทียมกับโคแม่พันธุ์ของสมาชิก ทำให้ลูกโคที่มีอายุ 1 ปี  มีราคาสูงจาก 8,000 บาท เป็น 15,000 บาทต่อตัว

ไก่ดำภูพาน เป็นอาหารบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยม จึงได้ปรับปรุงพันธุ์  ให้เลี้ยงง่าย ทนโรค โตเร็ว ขายได้มีกำไร มีตลาดรองรับ และราคาสูง จาก 40-50 บาท เป็น 200-250 บาทต่อตั

สุกรภูพาน เป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง ให้มีลักษณะ เลี้ยงง่าย โตเร็ว ลูกดก ทนทานต่อโรค ให้เนื้อคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถเลี้ยงแบบขุน หรือเลี้ยงแบบผลิตลูกหมูก็ได้

ข้าวอินทรีย์ เป็นการผลิตข้าวที่ปลอดภัยจากสารพิษ ประกอบด้วย การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ข้าวกล้องงอก และข้าวฮาง ดำเนินการรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว ปรับปรุงพันธุ์ข้าว ทำให้ขายได้ราคาดี จากเดิมกิโลกรัมละ 30-35 บาท เป็น 70 บาท

rice_2_07_000

2.   ขยายผลสำเร็จสู่ราษฎร

2.1  การขยายผลโดยการฝึกอบรมทั่วไป มีหลักสูตรที่หลากหลาย ทั้งด้านพืช-สัตว์ เช่น การเลี้ยงโคเนื้อภูพาน การปลูกข้าวอินทรีย์ การเพาะเห็ด การทำเกษตรผสมผสาน การทำข้าวฮาง ข้าวกล้องงอก และน้ำข้าวกล้องงอก ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ตามโครงการเยาวชนเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมรวม 1,645 คน

DSC06871

2.2  การขยายผล สู่หน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นการขยายผลที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลต่างๆ ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมจาก 10 จังหวัด จำนวน 1,614 คน

2.3  การขยายผลไปสู่ราษฎรในเขตกองทัพภาคที่ 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 2 จัดอบรมโครงการถ่ายทอดความรู้และผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาฯ ไปสู่ราษฎรในเขตกองทัพภาคที่ 2 สำหรับนำไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นได้จริง โดยมีราษฎรเข้ารับการอบรม จำนวน 1,214 คน แบ่งเป็น 9 รุ่น ใช้เวลาอบรมรุ่นละ 3 วัน 2 คืน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2554 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจและได้รับปัจจัยการผลิตในเบื้องต้นด้วย


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 2 จัดอบรมโครงการถ่ายทอดความรู้และผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาฯ ไปสู่ราษฎรในเขตกองทัพภาคที่ 2 สำหรับนำไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นได้จริง โดยมีราษฎรเข้ารับการอบรม จำนวน 1,214 คน แบ่งเป็น 9 รุ่น ใช้เวลาอบรมรุ่นละ 3 วัน 2 คืน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน 2554 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจและได้รับปัจจัยการผลิตในเบื้องต้นด้วย

DSCF8027.JPG

3.   การบริหารจัดการที่ดี

3.1  การส่งเสริมด้านการตลาด สำนักราชเลขาธิการ ร่วมกับ สำนักงาน กปร. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และภาคเอกชน เพื่อวางแผนพัฒนา และส่งเสริมการตลาดให้กับเกษตรกร ที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านเกษตรกรรมไปประกอบอาชีพ พร้อมเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมต่างๆ โดยมีผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ ไก่ดำ สุกร โคเนื้อภูพาน  ข้าวอินทรีย์ เมล็ดข้าวพันธุ์ดี ข้าวกล้อง ข้าวฮาง ซึ่งภาคเอกชนให้ความสนใจ และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมการตลาด ต่อไป

3.2  งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

1.   การจัดนิทรรศการ

- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุข สู่ปวงประชา ระหว่างวันที่ 21-25 มิถุนายน 2554 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เดินทางไปเป็นประธานพิธีเปิดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร ซึ่งมีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 30,000 คน

- ร่วมจัดนิทรรศการสัญจร ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด

- ร่วมจัดนิทรรศการสัญจร ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2554 ณ MCC Hall ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด

2.   การศึกษาดูงานกิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ศึกษาฯ

หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตรกร สถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมที่หลากหลาย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ โดยได้สัมผัสตัวอย่างผลสำเร็จที่เป็นของจริง สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้โดยง่าย

DSCN9996 DSCF1912

                                                                             นักเรียน นักศึกษา เข้ามาทัศนศึกษาดูงาน

DSCF2476.JPG

                                                             ข้าราชการ หน่วยงาน ท้องถิ่น เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

ชาวต่างชาติ อาทิเช่น คณะทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย สื่อต่างๆ เข้ามาถ่ายทำรายการและสารคดี เช่น สารคดี “3 ทศวรรษศูนย์ศึกษา สรรค์สร้างงานพัฒนาที่ยั่งยืน” , รายการ “ผู้ว่าพาเที่ยว”, รายการเส้นทางเศรษฐี, รายการทีวีอีสาน เป็นต้น

DSCF8229.JPG DSCF2301.JPG

ในปีงบประมาณ 2554 มีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นจำนวนมากจากหลากหลายอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อทัศนะศึกษา และนำไปประกอบอาชีพ โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ทั้งการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และประโยชน์ กับความรู้ที่ได้รับ

4.   นำไปสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการขยายผลสำเร็จไปสู่ราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ให้สามารถประกอบอาชีพที่มีความมั่นคง มีรายได้ที่เหมาะสม ส่งผลให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในวิถีที่พอเพียง

ตัวอย่างผลความก้าวหน้าของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่าย

                              ศูนย์เรียนรู้ฯ อ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่ ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร

100_3472.JPG 102_0051
100_3472.JPG 102_0051

                                       ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านบึงสา ตำบลจันทร์เพ็ญ  อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

                                                    การทำหัวอาหารปลาอัดเม็ด จาก หอยเชอรี่บดมาผสมปลาป่น,กากน้ำตาล,รำข้าว

                  นายนำชัย  ยากันจา  หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ฯ                                                         นายสุบัน  ทิพเสนา

ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านนาอ่าง, บ้านนาตาล  ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

                                     นายอนันต์  แก้วหาวงศ์                                                           นายบุญเถิง   สอนระวัส

      ตัวอย่างเกษตรกรที่เป็นสมาชิกศูนย์เรียนรู้ฯ และได้รับการส่งเสริมให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

                 ชนะเลิศการประกวดเกษตรกรต้นแบบหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2554

                                                     

            นายกัณหา  นวลศรี   ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กิจกรรม ปลูกพริก, มะเขือ  จำนวน 5 ไร่  รายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อปี

                        นางเจษฎา ไกรวิสุทธิ์  ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร   กิจกรรมทำนาปรัง รายได้ 35,000 บาทต่อปี

                      นางไพรวัน  กาทอง  ตำบลพังขว้าง  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร   กิจกรรมทอเสื่อ รายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อปี

             นายวีระ  สุขทวี    ตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  กิจกรรมเพาะเห็ด รายได้ประมาณ 35,000 บาทต่อปี

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1.   เพิ่มเติมหลักสูตรที่โดดเด่น สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่สนใจเลือกอบรมในด้านที่ตนเองถนัด รวมทั้งต้องปรับปรุงข้อมูลของหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

2.   ขยายผลไปสู่ราษฎรอย่างกว้างขวาง ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้แนวทางที่ยั่งยืนตามหลักการระเบิดจากข้างใน

3.   ส่งเสริมด้านการตลาดให้กับราษฎรที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปประกอบอาชีพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยระมัดระวังการตั้งราคาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2555  “สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง”

นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ดำเนินงานในลักษณะ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมของภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
 เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่หลากหลาย และขยายผลสำเร็จไปสู่ราษฎรบนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดีเพื่อนำเกษตรกรและประชาชนไปสู่วิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยในปีงบประมาณ 2555 ได้ดำเนินงานศึกษา ทดลอง และขยายผลกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านองค์ความรู้

ปรับปรุงเอกสารคู่มือผลงานศึกษา ทดลอง และวิจัยที่โดดเด่นและประสบความสำเร็จ จำนวน 19 เรื่อง ให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้น 
เพื่อแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร หน่วยงาน และผู้ที่เข้าศึกษาดูงาน

2. การพัฒนาและขยายผลสำเร็จ

2.1 พัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มเกษตรกรในศูนย์เรียนรู้ทั้ง 32 แห่ง ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำภูพาน โคเนื้อภูพาน สุกรภูพาน และผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นต้น 
เพื่อต่อยอดด้านอาชีพในลักษณะของกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบและสินค้า สำหรับจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดขององค์กรภาคเอกชน ซึ่งมีความร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เช่น มูลนิธิโครงการหลวง (โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จังหวัดสกลนคร) บริษัท เทสโก้ โลตัส และบริษัท สยามแม็คโคร

2.2 ขยายผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ไปสู่ราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยใช้แนวคิด “3 ดี” คือ

ความรู้ดี หมายถึง องค์ความรู้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ศึกษา ทดลอง และวิจัยแล้ว ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยมีตัวอย่างแสดงให้เห็นด้วย

พันธุ์ดี หมายถึง พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ รวมถึงปัจจัยการผลิตคุณภาพดี ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ สามารถผลิตเพื่อให้สนับสนุนแก่เกษตรกรได้

คนดี หมายถึง เกษตรกรที่มีความตั้งใจ ขยัน อดทน และมุ่งมั่นในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติจริง

สำหรับรูปแบบการดำเนินงาน เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งจะให้ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตคุณภาพดีให้แก่เกษตรกร กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะคัดเลือกและนำเกษตรกรที่มีความตั้งใจจริงไปศึกษาดูงานและฝึกอบรมในหลักสูตรอาชีพที่แต่ละคนสนใจที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยในปี 2555 มีผลการดำเนินการดังนี้

 โครงการขยายผลสำเร็จร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 รุ่น

รุ่นที่ 1 จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอดงหลวง) จำนวน 76 คน ในระหว่าง
วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2555

รุ่นที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร (บ้านโนนป่าก่อ ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี) จำนวน 68 คน ในระหว่างวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2555

โครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังภาวะน้ำท่วม โดยฝึกอบรมและมอบปัจจัยการผลิตให้แก่ราษฎร จำนวน 10 รุ่น รวม 1,257 คน

โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ราษฎรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 โดยมีราษฎรเข้ารับการอบรม จำนวน 1,093 คน แบ่งออกเป็น 10 รุ่น ใช้เวลาอบรมรุ่นละ 3 วัน 2 คืน ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555 และจะขยายระยะเวลาการอบรมเพิ่มเติมอีก 8 รุ่น จำนวนรุ่นละ 100 คน โดยเริ่มอบรมเพิ่มเติมรุ่นแรกในช่วงปลายเดือนตุลาคม  2555

3. การบริหารจัดการ

3.1 การส่งเสริมด้านตลาด

สำนักราชเลขาธิการ สำนักงาน กปร. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันนำเสนอผลิตผลทางการเกษตรที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพ เพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดขององค์กรภาคเอกชน เช่น บริษัท เทสโก้ โลตัส บริษัท สยามแม็คโคร และเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันแล้ว

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ให้มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ คงทน และช่วยรักษาคุณภาพสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าว จะบรรจุในซองพลาสติกสูญญากาศ ไก่ดำและหมูดำ บรรจุในกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง เป็นต้น รวมทั้งได้จัดการประกวดออกแบบตราสินค้า (Logo) โดยรูปแบบที่ชนะเลิศมีลักษณะเป็นรูปนกเค้าแมวซึ่งสื่อถึงบ้านนานกเค้า 
อันเป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ในส่วนของลายเส้นด้านล่างเปรียบเสมือนสายธารพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อราษฎร

3.2 งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

1. การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

- ร่วมจัดนิทรรศการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2555

- ร่วมจัดนิทรรศการ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ณ เทสโก้โลตัส ศรีนครินทร์ ระหว่างวันที่ 14-28 มีนาคม 2555 โดยมีพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด

การศึกษาดูงานกิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

ในปี 2555 มีเกษตรกร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมที่หลากหลาย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จำนวน 71,686 คน

                                            ตัวอย่างผลความก้าวหน้าของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่าย

1. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ บ้านนาคำ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

นายละมัย พังแสงสุ ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยมีจุดเด่นคือการทำเกษตรทฤษฏีใหม่และการใช้ชีวิตอย่าง “พอเพียง” โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในพื้นที่ 8 ไร่ และใช้ปุ๋ยพืชสด

น้ำหมักชีวภาพ และสารธรรมชาติป้องกันและไล่แมลง เพื่อลดต้นทุนการผลิต และมีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างง่ายๆภายในพื้นที่การเกษตรมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น เลี้ยงปลานิล กบ และไก่ดำภูพาน ปลูกไม้ยืนต้น ข้าว กล้วย ลิ้นจี่ และพืชสมุนไพร เช่น “หนอนใต้ใบ” เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งเรียนรู้การเพาะขยายลิ้นจี่ และมะม่วง เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกร ทำให้มีรายได้ประมาณ 253,756 บาท/ปี

2. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ บ้านนางอย ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

นายพิษณุเภาโพธิ์ อายุ 54 ปี ได้เข้ารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯเกิดความประทับใจและสนใจในการทำแปลงเกษตรโดยการแบ่งพื้นที่ปลูกไม้ผลและทำคอกเลี้ยงสัตว์ในปี 2542 จึงได้เข้าร่วมโครงการขุดสระทฤษฎีใหม่ เลี้ยงปลา ทำการเกษตรแบบผสมผสาน และปรับปรุงพื้นที่ในแปลงให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุดโดยการพัฒนามาเรื่อยๆ จนได้รับคัดเลือกให้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ปัจจุบันมีรายได้เพิ่มขึ้นและเหลือเก็บออมไว้ใช้ในครอบครัว พื้นที่13 ไร่ ของนายพิษณุ มีกิจกรรมที่ดำเนินการ คือ การเลี้ยงปลานิลปลาตะเพียนขาว ส่วนพื้นที่รอบสระใช้ปลูกผักสวนครัว ปลูกข้าวนาปีและนาปรังรวมทั้งมีการปลูกไม้ผลสลับกับยางพารา เลี้ยงโคขุน 5 ตัว หมูป่า 5 ตัว ไก่ดำภูพาน30 ตัว ไก่พื้นเมือง 50 ตัว เป็ดบาบาลี 50 ตัว และเป็นเทศ 70 ตัว จากกิจกรรมที่หลากหลายส่งผลให้มีรายได้ประมาณ151,450 บาท/ปี

3. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ บ้านดงยอ ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

นางสุภารัตน์ โพธิพันธุ์ อายุ 51 ปี ได้เข้าร่วมโครงการพระราชดำริ ปี 2552 และได้รับคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านดงยอ

กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ 7 ไร่ คือ การเลี้ยงปลา ปลูกข้าวนาปีและนาปรัง ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น และพืชผักสวนครัว เลี้ยงโคขุน 4 ตัว เลี้ยงกบ 1,000 ตัว ไก่ดำภูพาน 40 ตัว และจิ้งหรีด 5 ท่อซีเมนต์ ส่งผลให้มีรายได้ 152,506 บาท/ปี

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

1. ขยายผลสำเร็จไปสู่ราษฎรในวงกว้าง โดยการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และหาช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร โดยระมัดระวังการตั้งราคาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร

3. สร้างเครือข่ายเกษตรกร พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานอาหารหลวงสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย)

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2556

1.  ด้านองค์ความรู้

1.1  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยนับตั้งแต่ปี 2525 จนทั้งปัจจุบันมีผลงานวิจัยรวมทั้งสิ้น 284 เรื่อง วิจัยแล้วเสร็จรวมจำนวน 276 เรื่อง      ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้นั้นได้ถูกนำมาทำเป็นหลักสูตรและขยายผลสู่เกษตรกร จำนวน 19 หลักสูตร

1.2  การผลิตข้าวครบวงจร ได้มีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบของสหกรณ์ผลิตข้าวครบวงจร เพื่อให้สมาชิกได้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี โดยเข้าสู่กระบวนการผลิต  จากเมล็ดพันธุ์ดีสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (From Q-Seed to Q-Brand Rice) สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

1.3     การศึกษาความหลากหลายของระบบนิเวศป่าไม้ เห็ดป่า พบว่า สภาพป่าเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ประกอบด้วย ป่าเต็งรัง มีความหนาแน่น 193 ต้น/ไร่ พบพันธุ์ไม้ 24 ชนิด ป่าเบญจพรรณ มีความหนาแน่น 97 ต้น/ไร่ พบพันธุ์ไม้ 34 ชนิด  ป่าดิบแล้ง มีความหน้าแน่น 234 ต้น/ไร่ พบพันธุ์ไม้ 39 ชนิด นอกจากนี้ยังได้สำรวจ สายพันธุ์เห็ดป่า 185 ชนิด พบว่าเป็นเห็ดที่บริโภคได้ 84 ชนิด

1.4  การศึกษาวิจัยการแพร่กระจายของพันธุ์ปลาในพื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ พบว่ามีจำนวน 25 ชนิด ซึ่งพันธุ์ปลาที่สำรวจ พบว่า เป็นพันธุ์ปลาที่ศูนย์ฯ ได้ปล่อยสู่ธรรมชาติ จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ปลานิล ปลานิลแดง ปลาตะเพียนทอง ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนขาว หมอไทยและปลากาดำ

1.5  การศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ เช่น ปรับปรุงสายพันธุ์ให้ได้ไก่ดำพันธุ์ดี ทนโรค ทนต่อสภาพแวดล้อม เลี้ยงง่าย โตเร็ว สำหรับสุกรเหมยซาน มีการปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีลักษณะเลี้ยงง่าย โตเร็ว ลูกดก ทนทานต่อโรค ให้เนื้อคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับโคเนื้อภูพาน ได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์โคเนื้อภูพานให้มีระดับสายเลือดโคทาจิมะสูงขึ้น มีไขมันดีแทรก ซึ่งเป็นเนื้อที่มีคุณภาพดี

2.  การพัฒนาและขยายผลสำเร็จ

2.1  ศูนย์ศึกษาฯ ได้เพิ่มประสิทธิภาพศูนย์เรียนรู้ โดยการพัฒนาตัวเกษตรกร พัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและรวมกลุ่มเกษตรกรของศูนย์เรียนรู้ทั้ง 32 แห่ง โดยแบ่งระดับศูนย์เรียนรู้ออกเป็น 3 ระดับ คือ เกษตรกรระดับ A คือ มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอด และมีตัวอย่างเห็นอย่างชัดเจน มีจำนวน 10 ราย เกษตรกรระดับ B คือ เกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดแต่มีตัวอย่างยังไม่ชัดเจน มีจำนวน 15 ราย และเกษตรกรระดับ C มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดและความเหมาะสมน้อยต้องปรับปรุง มีจำนวน 7 ราย

2.2 ขยายผลสำเร็จที่โดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ไปสู่ราษฎรและประชาชนที่สนใจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยใช้แนวคิด “3 ดี” คือ คนดี ความรู้ดี และพันธุ์ดี โดย ในปีงบประมาณ 2556 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำเกษตรกร และผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงาน ในหลักสูตรอาชีพที่แต่ละคนสนใจที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จำนวน 25 หลักสูตร 56 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 3,113 คน รายละเอียดดัง ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการดำเนินการฝึกอบรมของศูนย์ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

ชื่อโครงการ

วันที่อบรม

จำนวน

  1. โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการพระราชดำริแก่ผู้นำจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

8-14 ต.ค. 55

53 ราย

  1. โครงการพัฒนาเด็ก ท่าแร่ จังหวัดสกลนคร

18-19 ต.ค. 55

73 ราย

  1. โครงการคิดเป็นกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนครพนม

16-17  ต.ค. 55

41 ราย

  1. โครงการหลักสูตรการเกษตรทฤษฎีใหม่ โรงเรียนห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์

5-6 พ.ย. 55

50 ราย

5.   โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากศูนย์ฯ  สู่ราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับกองทัพภาคที่ 2

5-27 พ.ย.55

จำนวน 8 รุ่น

554 ราย

6.   หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาจาก สปป.ลาว

12-14 ธ.ค.55

21 ราย

7.   โครงการอบรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ร.ร.ธรรมบวรวิทยา)

24-26 ธ.ค. 55

116 ราย

8.   โครงการตามนโยบายของประเทศไทยในการพัฒนาบุคลากรร่วมมือระหว่างประเทศไนจีเรีย

9 -10 ม.ค.56

11 ราย

9.   สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ

 10-13 ม.ค.56

42 ราย

  1. หลักสูตรการกรีดยางพารา (2 รุ่น)

 4-10 ก.พ.56

15-21 ก.พ. 56

36 คน

  1. โครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาเยาวชน

      (ซีซีเอฟ อุดรธานี)

 22-23 ม.ค.56

66 คน

  1. หลักสูตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมาจากจังหวัดสกลนคร (สนง.เกษตรจังหวัด) (4 รุ่น)

4-15 มี.ค. 56

319 คน

  1. โครงการชลประทานสกลนคร (กลุ่มผู้ใช้น้ำ)

20-22 มี.ค.56

51 คน

  1. กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ จ.สกลนคร

22-23 มี.ค.56

80 คน

  1. โครงการฝึกปฏิบัติภาคสนาม จ.น่าน(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

25-27 มี.ค.56

47 คน

ตารางที่ 1 ผลการดำเนินการฝึกอบรมของศูนย์ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ)

ชื่อโครงการ

วันที่อบรม

จำนวน

  1. ประชุมกลุ่มสหกรณ์ข้าว จ.สกลนคร

23 เม.ย.56

90 คน

  1. การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน

24-26 เม.ย.56

35 คน

  1. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

17-24 พ.ค.56

46 คน

19. หลักสูตรการเกษตรทฤษฎีใหม่ (อบต.หนองบัวแก้ว) จ.มหาสารคาม

22-23 พ.ค.56

77 คน

20. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) (2 รุ่น)

25 พ.ค.-1มิ.ย.56

45 คน

21. การเกษตรทฤษฏีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.ชัยภูมิ รุ่นที่ 1

6-8 มิ.ย.56

61 คน

22. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.อุบลราชธานี รุ่นที่ 2

10-12 มิ.ย.56

  1. คน

23. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.นครราชสีมา รุ่นที่ 3

12-14 มิ.ย.56

  1. คน

24.       การเกษตรทฤษฎีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.เลย,มุกดาหาร รุ่นที่ 4

17-19 มิ.ย.56

  1. คน

25. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.มหาสารคาม,ชัยภูมิ รุ่นที่ 5

24-26 มิ.ย.56

  1. คน

26. หลักสูตรลดต้นทุนการผลิตก้อนเชื้อนางฟ้าด้วยฟางข้าวทดแทนสปก. จังหวัดสกลนคร

15-17 ก.ค.56

19 คน

27. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร

18-19 ก.ค.56

  1. คน

28. การพัฒนาพืชสมุนไพรเศรษฐกิจแบบครบวงจร

26 ก.ค.56

  1. คน

29. หลักสูตรการติดตายางพารา(จ.สกลนคร,กาฬสินธุ์,มหาสารคาม)

15-19 ก.ค.56

  1. คน

30. การเกษตรกรทฤษฎีใหม่ (กลุ่มผู้ใช้น้ำ) จ.ชัยภูมิ,บุรีรัมย์,นครราชสีมา

6 ก.ค.-28 ส.ค.56

721 คน

31. การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์จากใบเตย

7-9 ส.ค.56

  1. คน

32. การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝก

4-7 ก.ย.56

  1. คน

33. โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการอันเนื่องฯหลักสูตรเกษตรทฤษฎีใหม่ คณะมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

18-27 ส.ค.56

  1. คน

34. โครงการค่ายเรียนรู้และเผยแพร่โครงการอันเนื่องฯหลักสูตรเกษตรทฤษฎี  ใหม่ คณะมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

26-31 ส.ค.56

  1. คน

35. หลักสูตรเกษตรกรทฤษฏีใหม่ (บริษัทฟินิกซ์ จ.ขอนแก่น)

24 ก.ย.56

  1. คน

36. หลักสูตรการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อบต.โพธิ์ตาก จ.นครพนม

27 ก.ย.56

60 คน

3.  การบริหารจัดการ

3.1  การส่งเสริมด้านตลาด

       ปัจจุบันศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันนำเสนอผลิตผลทางการเกษตรที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพจำหน่ายผ่านช่องทางการตลาดขององค์กรภาคเอกชน และร้านจำหน่ายสินค้าในชุมชน ดังนี้

ตารางที่ 2 แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของศูนย์ฯ

ผลิตภัณฑ์

แหล่งจำหน่าย

ข้าวกล้องงอก

ห้างแม็คโคร สาขาสกลนคร

ข้าวฮางหอมมะลิ 105

ศรีนครินทร์ กทม.

ข้าวฮางสามสี ,ข้าวฮางมะลิแดง และข้าวฮางหอมนิน

ห้างบิ๊กซี 8 สาขา คือ สาขาสกลนคร อุดรธานี 2 แห่ง ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มุกดาหาร มหาสารคาม นครราชสีมา และตลาดท้องถิ่นในจังหวัดสกลนคร

วุ้นเส้น

ร้านค้าสวัสดิการศูนย์ฯ จุดดูงานของกิจกรรมแปรรูป และงานแสดสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผ้าย้อมคราม

จุดดูงานของกิจกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผ้าประกอบเส้นใย (กกผสมฝ้าย)

จุดดูงานของกิจกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผ้าฝ้าย (ถิ่นภูพาน)

จุดดูงานของกิจกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ

จุดดูงานของกิจกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

จักสานหญ้าแฝก

จุดดูงานของกิจกรรมอุตสาหกรรมในครัวเรือน และร้านจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ร้านค้าสวัสดิการศูนย์ฯ ภูพาน

โรงพยาบาลสกลนคร

โรงพยาบาลสกลนคร สาขา 1

โรงพยาบาลพังโคน จ.สกลนคร

 

3.2  งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

3.2.1  ในปี 2556 มีเกษตรกร หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนสถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจ เข้ามาเยี่ยมชมกิจกรรมที่หลากหลาย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จำนวน 70,481 คน

ตารางที่ 3 จำนวนคณะที่เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ 2556

 

ลำดับที่

 

เดือน

จำนวน

จำนวน

อาชีพ

(คณะ)

(คน)

นักเรียน/นักศึกษา

ข้าราชการ

เกษตรกร

ประชาชนทั่วไป

ชาวต่าง
ประเทศ

ทำสารคดี

1

ต.ค.55

40

2,908

1,832

482

448

106

34

6

2

พ.ย.55

54

5,394

3,620

608

1,112

54

-

-

3

ธ.ค.55

66

6,445

4,746

682

836

114

50

17

4

ม.ค.56

87

7,089

4,678

753

1,488

76

44

50

5

ก.พ.56

120

11,780

7,814

1,198

2,502

87

119

60

6

มี.ค.56

115

9,431

4,838

1,097

3,336

147

1

12

7

เม.ย.56

29

1,714

109

407

920

202

76

-

8

พ.ค.56

40

2,263

256

298

1,358

8

3

-

9

มิ.ย.56

52

4,635

755

496

3,351

13

16

4

10

ก.ค.56

47

4,374

966

7,161

2,249

19

-

-

11

ส.ค.56

87

6,835

3,290

1,743

1,768

6

24

4

12

ก.ย.56

74

7,613

2,642

1,004

3,923

9

35

-

รวมทั้งหมด

811

70,481

35,546

15,929

23,291

841

402

153

3.2.2  จัดทำป้ายสื่อความหมายและประชาสัมพันธ์ของศูนย์ฯ

นอกจากนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ยังได้ผลิตเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของศูนย์ฯ รวมทั้งการเผยแพร่และขยายผลการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศ การจัดนิทรรศการประจำปี จัดประชุมศูนย์ฯสัญจร สัมมนาวิชาการ และจัดอบรมโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์และขยายผล

ตัวอย่างความก้าวหน้าของศูนย์เรียนรู้ และเครือข่าย

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ บ้านบอน หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

                                                              นายแดง  โพธิบัติ   

นายแดง  โพธิบัติ ได้รับคัดเลือกเป็นหัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ บ้านบอน เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีจุดเด่นคือ การทำเกษตรทฤษฏีใหม่และการใช้ชีวิตอย่าง “พอเพียง” โดยทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในพื้นที่ 21 ไร่ และได้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง ได้รับการอบรมความรู้ด้านการเกษตร และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จนสามารถพึ่งตนเองได้ และ นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาในแปลงตนเองจนเจริญก้าวหน้าสามารถถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในหมู่บ้านและเกษตรกรทั่วไปที่มีความสนใจได้

ภายในพื้นที่การเกษตรมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวนาปี การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ปลูกพืชไร่ ปลูกผักสวนครัวและปลูกกล้วยหอม การเลี้ยงไก่ดำภูพาน รวมทั้งทำถ่านเพื่อใช้ในครัวเรือนเอง เหลือก็นำไปขาย ทำให้มีรายได้สุทธิประมาณ152,506 บาท/ปี

 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงฯ บ้านนาขาม ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

                                                              ดต.ปัญญา ประชาชิต

ดต.ปัญญา ประชาชิต อายุ 66 ปี จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ก่อนรับราชการตำรวจได้ลาออกและหันมาทำการเกษตรเมื่อปี 2549 ต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอ่างเก็บน้ำห้วยเคลิ้ม และได้รับการสนับสนุนด้านความรู้ทางการเกษตรและปัจจัยการผลิตจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ แล้วนำมาดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งได้มีการไปศึกษาดูงานกับเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และนำมาพัฒนาในแปลงของตนเองจนเจริญก้าวหน้าสามารถถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรที่อยู่ในหมู่บ้านและเกษตรกรทั่วไปที่มีความสนใจได้

ภายในพื้นที่การเกษตรมีกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวนาปี  การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ปลูกพืชไร่ ปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงโคขุน และไก่ดำ การขุดสระ เพื่อทำประมง เลี้ยงปลาดุก ปลานิล และปลาตะเพียน ทำให้มีรายได้สุทธิประมาณ 211,150 บาท/ปี

                             บ่อประมงเพื่อเลี้ยงปลานิล             ไม้ยืนต้น เช่น ลำไย มะม่วง ขนุน                 การเลี้ยงโคขุน
                              ปลาตะเพียน และปลาดุก              มะพร้าว กล้วยหอมทอง และลิ้นจี่

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

  1. การขยายผลของศูนย์เรียนรู้ 32 แห่ง และศูนย์ต้นแบบ 18 อำเภอ (อำเภอละ 2 แห่ง รวม 36 แปลง) โดยค้นหาตัวแทนผลสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ที่สามารถมีรูปแบบที่ชัดเจนทั้งในเรื่องต้นทุนการผลิต รายได้ เพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลของศูนย์ศึกษาฯ รวมทั้งการกำหนดแนวทางการสร้างเครือข่ายของแต่ละศูนย์เรียนรู้
  2.  การฝึกอบรม  ในปีงบประมาณ 2557 ศูนย์ศึกษาฯ จะมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายคือ (1) กลุ่มผู้ใช้น้ำ (2) อปท. และ (3) เยาวชนในจังหวัดสกลนคร โดยกำหนดหลักสูตรที่มีความหลากหลาย
  3. การเชื่อมโยงศูนย์ศึกษาฯ กับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย)  โดยศูนย์ศึกษาฯ จะทำหน้าที่ส่งเสริมการปลูกพืชที่เป็นความต้องการของโรงงานฯ เช่น มะเขือเทศ ฝรั่ง มะม่วง ฯลฯ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอาหารของโรงงานฯ

 

ผลการดำเนินงานปี 2560

                 ดำเนินการค้นคว้า ทดลอง วิจัย ในสภาพแวดล้อมของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง และได้นำผลสำเร็จไปขยายผลให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป โดยในปีงบประมาณ 2560 มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้

                  1. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

                     ดำเนินงานในลักษณะสาธิตการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของราษฎรในท้องถิ่นและสอดคล้องกับภูมิสังคม โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

                     1.1 ด้านวิชาการ  ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย จำนวน 9 เรื่อง ประกอบด้วยโครงการต่อเนื่อง จำนวน 2 เรื่อง และโครงการใหม่ จำนวน 7 เรื่อง ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าวจะถูกนำไปต่อยอดและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน

                      1.2 ด้านสิ่งแวดล้อม  ปรับปรุงป้ายสื่อความหมาย จำนวน 44 ป้าย บำรุงรักษาเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ป้องกันรักษาป่าไม้พื้นที่ 16,453 ไร่ สำรวจและบันทึกพิกัด GPS เพื่อจัดทำรหัสประจำต้นไม้ ปลูกรักษา และขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืน

                      1.3 ด้านอาชีพ สาธิตตัวอย่างความสำเร็จในด้านเกษตรกรรมที่หลากหลาย  ให้ผลผลิตและผลตอบแทนสูง สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม 

 

ในปีงบประมาณ 2560 มีเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา องค์กรต่าง ๆ ประชาชนทั่วไป และชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน รวมจำนวน 97,967 คน 

                     

                        2. ระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว

                      ดำเนินการเผยแพร่ขยายผลแบบเบ็ดเสร็จ เกษตรกรสามารถรับบริการต่าง ๆ  ได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่เรื่องดิน พืช สัตว์ ไปจนถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยจัดเป็นหลักสูตรต่าง ๆ ให้เกษตรกรเข้ารับการฝึกอบรม โดยในปีงบประมาณ 2560 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวมจำนวน 6,425 คน

 

      3. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 

                  จัดนิทรรศการและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับพระราชดำริด้านการพัฒนาและการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ ในวาระต่าง ๆ

 

                  4. การสนับสนุนช่วยเหลือในเหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดสกลนคร

                     4.1 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการปลูกหญ้าแฝกบริเวณโดยรอบเหนือขอบอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น ตำบลพังขว้าง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ความยาวรวมประมาณ 4,000 เมตร โดยใช้กล้าหญ้าแฝกรวมกว่า 100,000 กล้า  เพื่อป้องกันการพังทลายของดินและป้องกันตะกอนดินไหลลงอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น

                     4.2 จัดกิจกรรมการตกกล้าแปลงรวม เพื่อผลิตกล้าข้าวพันธุ์สกลนครแจกจ่ายให้ราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้นที่ได้รับผลกระทบ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว รวม 2,000 กิโลกรัม  พันธุ์ปลา 83,000 ตัว ไก่ดำภูพาน 180 ตัว กิ่งพันธุ์มะนาว ชุดยาสมุนไพรพื้นบ้าน ตลอดจนจัดฝึกอบรมอาชีพการเพาะเห็ด ให้แก่ราษฎร จำนวน 120 คน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพอีกทางหนึ่งด้วย

 

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

 

ผลการดำเนินงานปี 2561

                 ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยนำผลสำเร็จดังกล่าวมาสาธิตและขยายผล ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้

                 1. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

                     จัดทำพื้นที่แห่งการเรียนรู้และการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพของราษฎรในท้องถิ่น ในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาดูงานในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย

                     1.1 ด้านวิชาการ  ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่

                           1) การประเมินความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้และปริมาณคาร์บอนสะสม  ในระบบนิเวศป่าเต็งรัง ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

                           2) การศึกษาสายพันธุ์ข้าว BKNLR78015-R-R-PSL-3-1 (ภูพาน 1)   ในสภาพนาน้ำฝนในพื้นที่ที่มีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                           ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาดังกล่าวจะถูกนำไปต่อยอดและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนต่อไป

                       1.2 ด้านสิ่งแวดล้อม  บำรุงแปลงสาธิตด้านป่าไม้พื้นที่ 230 ไร่ สำรวจและบำรุงรักษาพื้นที่ป่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ลาดตระเวนป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้รอบศูนย์ฯ เสริมประสิทธิภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และส่งเสริมการปลูกป่า ควบคู่ไปกับการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เช่น หลักสูตรเยาวชนเพื่อการพิทักษ์ป่าไม้ หลักสูตรเทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ หลักสูตรชุมชนเข้มแข็งทรัพยากรยั่งยืน เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

                       1.3 ด้านอาชีพ สาธิตตัวอย่างความสำเร็จด้านการเกษตรที่มีความหลากหลายและครบวงจร ตั้งแต่การปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืช การทำปุ๋ยใช้เอง การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ ในแปลง ไปจนถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย   

                   2. ระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว

                      ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องและต่อเนื่องจากกิจกรรมสาธิตในรูปแบบของการให้คำปรึกษา การจัดฝึกอบรม และการขยายผล เกษตรกรสามารถรับบริการ     ได้อย่างครบวงจรตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูป ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวม 5,616 คน โดยหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดได้แก่ หลักสูตรการเกษตรแบบผสมผสาน และหลักสูตรการผลิตข้าวครบวงจร

 

                   3. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 

                     ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพระราชดำริด้านการพัฒนาและ    การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบต่าง ๆ      เช่น การจัดนิทรรศการเนื่องในโอกาสต่าง ๆ การจัดรถรางสำหรับการศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาฯ  การจัดอบรมเยาวชน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง 909 สกลนคร และระบบวิทยุออนไลน์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน รวม 87,983 คน

 

 

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

mapp1pupan

 

 

แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการมาตราส่วน  1 : 50,000

                            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ที่ตั้ง  ตำบลห้วยยาง   อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร

บริเวณพิกัด    48 QVD  981 - 906  ระวาง  5843 lll

 

 

ผลการดำเนินงานปี 2562

                 ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยนำผลสำเร็จดังกล่าวมาสาธิตและขยายผล ให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งปีงบประมาณ 2562 มีผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้

                 1. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

                     จัดทำพื้นที่แห่งการเรียนรู้และการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพของราษฎรในท้องถิ่น ในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประชาชนสามารถเข้ามาศึกษาดูงานในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย ประกอบด้วย

                     1.1 ด้านวิชาการ  ดำเนินการศึกษา ทดลอง วิจัย จำนวน 1 เรื่อง ได้แก่

                             1.1.1 การเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโต และลักษณะซากของ
โคลูกผสมภูพานชาโรเลส์และโคลูกผสมภูพานโคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน (2562-2563)   โดยดำเนินการ ดังนี้

                                  1.) เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโต โคลูกผสมภูพานชาโรเลส์กับ โคลูกผสมภูพานไทยฟรีเชี่ยน ที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อพ่อโคเนื้อภูพานจากพ่อพันธุ์หมายเลข PP153

                                  2.) เปรียบเทียบคุณภาพซากของโคเนื้อลูกผสมภูพานชาโรเลส์กับ  โคลูกผสมภูพานไทยฟรีเชี่ยน ที่เกิดจากการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อพ่อโคเนื้อภูพานจากพ่อพันธุ์หมายเลข PP153

ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาดังกล่าวจะถูกนำไปต่อยอดและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนต่อไป


 คัดเลือกโคเนื้อลูกผสมภูพานชาโรเลส์ (PPxCH)          ชั่งน้ำหนักโคทดลองทุกๆ 1 เดือน

 

                       1.2 ด้านสิ่งแวดล้อม  บำรุงแปลงสาธิตด้านป่าไม้พื้นที่ 230 ไร่ สำรวจและบำรุงรักษาพื้นที่ป่าโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ลาดตระเวนป้องกันรักษาพื้นที่ป่าไม้รอบศูนย์ฯ ส่งเสริมประสิทธิภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และส่งเสริมการปลูกป่า ควบคู่ไปกับการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เช่น หลักสูตรเยาวชนเพื่อการพิทักษ์ป่าไม้ หลักสูตรเทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ หลักสูตรชุมชนเข้มแข็งทรัพยากรยั่งยืน เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

           

          ส่งเสริมการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง                              บำรุงรักษาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

       และสนับสนุนกล้าไม้  จำนวน 100,000 กล้า                       และป้ายสื่อความหมาย  สำหรับการศึกษาดูงาน

 

                       1.3 ด้านอาชีพ สาธิตตัวอย่างความสำเร็จด้านการเกษตรที่มีความหลากหลายและครบวงจร ตั้งแต่การปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกพืช การทำปุ๋ยใช้เอง การเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ ในแปลง ไปจนถึงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย   

                                

                       คณะศึกษาดูงานแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่                       สาธิตการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

                เรียนรู้หลักการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ        โดยการทำฝายผสมผสาน  และฝายชะลอน้ำ

 

                                 

               สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์  เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน                           สาธิตการเพาะขยายพันธุ์ปลา

 

                                 

                         สาธิตการเพาะเห็ดอย่างง่าย                                   สาธิตการขยายพันธุ์  ตอนกิ่ง  ติดตา

 

                  2. ระบบบริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว

                      ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องและต่อเนื่องจากกิจกรรมสาธิต   ในรูปแบบของการให้คำปรึกษา การจัดฝึกอบรม และการขยายผล เกษตรกรสามารถรับบริการ  ได้อย่างครบวงจรตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูป ซึ่งในปีงบประมาณ 2562     มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม รวม 1,500 คน โดยหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดได้แก่ หลักสูตรการเกษตรแบบผสมผสาน และหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์น้ำขั้นพื้นฐาน รวมถึงผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน และอบรมความรู้ระยะสั้น จำนวน 76,377 คน 

                                 

                       อบรมเยาวชนเสริมความรู้เรื่อง                         อบรมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนว

                            การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด                                                       พระราชดำริ

 

                                 

                        อบรมการผลิตผ้าย้อมคราม                                             อบรมการทอผ้าไหมย้อมคราม

 

                                 

           อบรมการแปรรูปผลิตภันฑ์จากข้าวฮาง                         อบรมหลักการปลูกข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่

 

       3. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 

                        ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพระราชดำริด้านการพัฒนาและ    การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบต่าง ๆ      เช่น การจัดนิทรรศการเนื่องในโอกาสต่าง ๆ การจัดรถรางสำหรับการศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาฯ  การจัดอบรมเยาวชน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง 909 สกลนคร และระบบวิทยุออนไลน์ ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน รวม 76,377 คน

 

                                

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ

 สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจยังศูนย์ศึกษาการพัฒนา

ภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

                              

วันที่ 26 เมษายน 2562 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ
ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ

mapp1pupan


 

แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการมาตราส่วน  1 : 50,000

                                      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ที่ตั้ง  ตำบลห้วยยาง   อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร

บริเวณพิกัด    48 QVD  981 - 906  ระวาง  5843 lll

สามารถดาวโหลด pdf.ได้ที่นี่