ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าตามแนวพระราชดำริห้วยสัตว์ใหญ่ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เรื่องเดิม

            สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  ได้มีพระราชเสาวนีย์กับ พลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๕ ความโดยสรุปว่า “...ช้างเป็นสัตว์ที่ พระบาท    สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะช้างทางกุยบุรี และแก่งกระจาน ทรงห่วงใยมาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ ที่กินให้ช้าง จะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากันน้อยที่สุด เช่น ที่กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ช้างมีความสำคัญมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ เคยช่วยรักษาบ้านเมือง กู้บ้านกู้เมือง ดังนั้น ขอให้ช่วยกันดูแลมิให้ช้างถูกฆ่าอย่างทารุณเยี่ยงนี้ เพื่อจะได้ไม่ผิดพระราชประสงค์ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งพระทัย ที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้าง ให้เป็นสัตว์คู่แผ่นดินสืบไป...

         สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้มีพระราชเสาวนีย์กับท่านผู้หญิงฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ และพลเอก นพดล วรรธโนทัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ความโดยสรุปว่า “...ขอให้ร่วมมือกับ แม่ทัพภาคที่ ๑ และ ดร.ธวัชชัย สันติสุข ดำเนินการ เรื่อง การปลูกพืชอาหารช้าง การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่ามีที่อยู่ที่กินของช้างที่แก่งกระจาน เช่นเดียวกับที่กุยบุรี...

 

ผลการดำเนินงาน

           กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการในเขตพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจัดหาและรวบรวมพืชอาหารช้าง (พันธุ์ไผ่ท้องถิ่น) จำนวน ๔๕,๐๐๐ กล้า ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า ขนาด ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร จำนวน ๔ แห่ง ปรับปรุงทุ่งหญ้าสำหรับเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า จำนวน ๒๐๐ ไร่ ปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่า (โป่งเทียม) จำนวน ๓๐ แห่ง

     

                        จัดหาและรวบรวมพืชอาหารช้าง                            ปรับปรุงแหล่งน้ำสำหรับสัตว์ป่า

                                                                                               (ไผ่พันธุ์ท้องถิ่น)

     

        ปรับปรุงทุ่งหญ้าสำหรับเป็นแหล่งอาหารสัตว์ป่า      ร่องรอยเท้าช้างและสัตว์ป่าที่มากินโป่งเทียม

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

      ช่วยเพิ่มแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของช้างป่า รวมทั้งสัตว์ป่าอื่น ส่งผลให้ช้างป่าไม่ออกจากป่ามากินพืชผลการเกษตรของราษฎร ลดการกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่า นอกจากนี้ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ

สามารถดาวน์โหลด pdf.ที่นี่