สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน–ห้วยซั้ว หลัก 22 เมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ โครงการที่ดำเนินการในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ขึ้น ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามที่ ฯพณฯ นายไกสอน พมวิหาน ขอพระราชทานพระมหากรุณาโดยได้เสด็จ ฯ ไปทรงเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2538

         เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปความว่า ให้นำครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาศึกษาดูงานในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน–ห้วยซั้ว (หลัก 22) โครงการโรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้า (หลัก 67) และบ้านเกษตรกร นายวัน หลวงสีโยทา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรต่อไป
 

ผลการดำเนินงานปี 2555

               ในปีงบประมาณ 2555 ได้ดำเนินกิจกรรมในด้านการส่งเสริมและฝึกอบรมให้กับเกษตรกร พร้อมทั้งนำคณะไปอบรมและศึกษาดูงานในโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดังนี้
 

การพัฒนาที่ดิน

-ส่งเสริมการสาธิตผลิตปุ๋ยหมัก (พด.1) ไว้ใช้ในแปลงสาธิต การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ (ปุ๋ยหมักแห้ง) ผลิตสารป้องกันและสารขับไล่แมลงศัตรูพืช และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง ถั่วพุ่ม)

-ผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อปลูกและสำหรับแจกจ่าย จำนวน 20,000 กล้า

-ฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน 2 รุ่น

   

การพัฒนาด้านวิชาการเกษตร

-กิจกรรมการปลูกข้าวนาปรังโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ (ข้าวพันธุ์ชัยนาท และ CR 203) ในพื้นที่ 2 ไร่ และผลิตเมล็ดข้าวนาปรัง (พันธุ์ท่าดอกคำ และชัยนาท) จัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวนาปี (พันธุ์ท่าดอกคำ ปทุมธานี และชัยนาท)

-กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ผล ได้แก่ ขนุน มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน ฝรั่ง น้อยหน่า และมะละกอ จำนวน 4,500 ต้น

-กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ดอก-ไม้ประดับ จำนวน 1,500 ต้น และอบรมเกษตรกร จำนวน 15 ราย

 

-กิจกรรมผลิตผักอินทรีย์ในแปลงสาธิตเพื่อการศึกษาดูงานในพื้นที่ 6 ไร่ เช่น ผักกะหล่ำ ผักบุ้ง บร็อคโคลี่ เป็นต้น

-กิจกรรมผลิตถุงเชื้อเห็ดนางรม เห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดบด และเห็ดนางฟ้า พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเห็ด

-กิจกรรมขยายผลและพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมาย โดยจัดทำแปลงเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกร จำนวน 20 รายกิจกรรมพืชไร่ จัดทำแปลงสาธิตการปลูกยางพารา

 

 

การพัฒนาด้านปศุสัตว์

-สาธิตการเลี้ยงโคเนื้อ ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว และสามารถผลิตลูกโคได้ 2 ตัว โดยได้จำหน่ายโคเพศผู้ให้เกษตรกรเพื่อนำไปขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของเกษตรกรให้มีคุณภาพ

-สาธิตการเลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 14 ตัว และผลิตลูกสุกรหย่านม 224 ตัว

-สาธิตการเลี้ยงเป็ดเทศ ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 40 ตัว แม่พันธุ์ 200 ตัว เป็ดเทศทดแทน 224 ตัว สามารถผลิตลูกเป็ดเทศได้ 6,000 ตัว ซึ่งเกษตรกรมีความต้องการลูกเป็ดเทศมาก

-กิจกรรมผลิตพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ปรับปรุงแปลงหญ้า 13 ไร่ ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ 14 ไร่ 

   

 

การพัฒนาด้านประมง

ผลิตพันธุ์ปลาเพื่อปล่อยและแจกจ่าย จำนวน 1,400,000 ตัว ตลอดจนฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาน้ำจืดขั้นพื้นฐาน และสนับสนุนพันธุ์ปลาในกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตการประมงในแหล่งน้ำของหน่วยงานราชการ

การขยายผลโครงการ

ในปีงบประมาณ2555 คณะทำงานโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอนห้วยซั้ว (หลัก 22) ฝ่ายลาวและฝ่ายไทยได้จัดโครงการฝึกอบรมขยายผลสำเร็จของงานด้านวิชาการของโครงการ สัญจรไปยังแขวงต่าง ๆใน สปป.ลาว จำนวน 2 แขวง ได้แก่ แขวงอุดมไซ และแขวงอัตตะปือ

              ในการขับเคลื่อนผลสำเร็จและขยายผลไปสู่แขวงต่างๆ รวมทั้งการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับหัวหน้าและเจ้าหน้าที่แผนกกสิกรรมและป่าไม้สปป.ลาว ได้เกิดความสนใจในการจัดตั้งศูนย์สาขาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
 
              -แขวงหลวงพระบาง เป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาด้านการประมง โดยให้การสนับสนุนปัจจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะและขยายพันธุ์ปลา

 

              -แขวงหลวงน้ำทา เป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาด้านการเกษตรประเภทไม้ผล โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้สนับสนุนพันธุ์ไม้ผลชนิดต่าง ๆ จำนวน 1,200 ต้น ให้กับแผนกกสิกรรมและป่าไม้แขวงหลวงน้ำทา เพื่อเพาะและขยายพันธุ์ต่อไป
   
              -แขวงอัตตะปือ เข้าพบเจ้าแขวงอัตตะปือ ดร.คำพัน พรมมะทัด เพื่อส่งเสริมและขยายผลให้แขวงอัตตะปือเป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ โดยให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เป็ดเทศ จำนวน 200 ตัว เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรต่อไป

 

                   การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้      

สำนักงาน กปร. ได้ดำเนินการจัดโครงการศึกษาดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการบริหาร ดังนี้

              1.คณะผู้บริหารและครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 35 คน ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) และโครงการส่งเสริมกิจกรรมโรงเรียนวัฒนธรรมชนเผ่าเด็กกำพร้า (หลัก 67)

 

              2.คณะผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้ง 6 แห่ง จำนวน 22 คน ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22)

คณะเข้าพบ นายวิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ศึกษาดูงานบ้านเกษตรกรต้นแบบ นายวัน หลวงสีโยทา ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 400,000 บาท/ปี

        
       
 
ผลการดำเนินงานปี 2556

              ในปีงบประมาณ 2556 ได้ดำเนินกิจกรรมในด้านการส่งเสริมและฝึกอบรมให้กับเกษตรกรพร้อมทั้งนำคณะไปอบรมและศึกษาดูงานในโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ดังนี้

 

การพัฒนาด้านประมง

ผลการดำเนินงานได้ผลิตลูกปลาเพื่อจำหน่าย แจกและปล่อยแหล่งน้ำ จำนวน 1,900,000 ตัว โดยผลิตพันธุ์ปลาจำหน่าย868,000 ตัว และผลิตเพื่อปล่อยแหล่งน้ำและส่งเสริม พร้อมทั้งอนุบาลไว้ภายในศูนย์รวม 1,032,000 ตัว

งานขยายผลส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสนับสนุนกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่เกษตรกรครอบครัวตัวแบบในการสนับสนุนปัจจัยการผลิตสร้างกระชังขนาดการเลี้ยงปลาดุก จำนวน 1 กระชังจำนวน 2,000 ตัว ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนา จำนวน 2 กระชัง จำนวน 1,000 ตัวและใช้เพาะพันธุ์ปลานิล จำนวน 2 กระชัง จำนวน 3,000 ตัว

 

การพัฒนาที่ดิน

-ส่งเสริมการสาธิตผลิตปุ๋ยหมัก(พด.1) ไว้ใช้ในแปลงสาธิต การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ (ปุ๋ยหมักแห้ง)ผลิตสารป้องกันและสารขับไล่แมลงศัตรูพืช และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยพืชสด(ปอเทือง ถั่วพุ่ม)

-ผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อปลูกและสำหรับแจกจ่าย จำนวน 20,000 กล้า

                   -ฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินจำนวน 2 รุ่น

 

                  การพัฒนาด้านวิชาการเกษตร

 

-กิจกรรมการปลูกข้าวนาปรังโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ(ข้าวพันธุ์ชัยนาท และ CR 203) ในพื้นที่ 2ไร่ และผลิตเมล็ดข้าวนาปรัง (พันธุ์ท่าดอกคำ และชัยนาท)จัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวนาปี (พันธุ์ท่าดอกคำ ปทุมธานี และชัยนาท)

-กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ผลได้แก่ ขนุน มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ กระท้อน ฝรั่ง น้อยหน่า และมะละกอ จำนวน 4,500ต้น

-กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ดอก-ไม้ประดับจำนวน 1,500 ต้น และอบรมเกษตรกร จำนวน 15 ราย

-กิจกรรมผลิตผักอินทรีย์ในแปลงสาธิตเพื่อการศึกษาดูงานในพื้นที่6 ไร่ เช่น ผักกะหล่ำ ผักบุ้ง บร็อคโคลี่ เป็นต้น

-กิจกรรมผลิตถุงเชื้อเห็ดนางรมเห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เห็ดบด และเห็ดนางฟ้า พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเห็ด

-กิจกรรมขยายผลและพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายโดยจัดทำแปลงเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกร จำนวน 20 ราย

-กิจกรรมพืชไร่จัดทำแปลงสาธิตการปลูกยางพารา

การพัฒนาด้านปศุสัตว์

-สาธิตการเลี้ยงโคเนื้อประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว โครุ่น 1 ตัว และสามารถผลิตลูกโคได้ 2 ตัว โดยได้จำหน่ายโคเพศผู้ให้เกษตรกร เพื่อนำไปขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โคพื้นเมืองของเกษตรกรให้มีคุณภาพ

-สาธิตการเลี้ยงสุกรพ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 14 ตัว และผลิตลูกสุกรหย่านม 224 ตัว สามารถจำหน่ายลูกสุกรและสุกรรุ่นได้จำนวน 190 ตัว

-สาธิตการเลี้ยงเป็ดเทศ ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 40 ตัว แม่พันธุ์200 ตัว เป็ดเทศทดแทน 224 ตัว สามารถผลิตลูกเป็ดเทศได้6,000 ตัว ซึ่งเกษตรกรมีความต้องการลูกเป็ดเทศมาก

-กิจกรรมผลิตพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ปรับปรุงแปลงหญ้าเนเปีย 30 ไร่ ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์14 ไร่ ฟางแห้งเลี้ยงสัตว์ 2ตัน

การขยายผลโครงการ

ในปีงบประมาณ 2556 คณะทำงานโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอนห้วยซั้ว (หลัก 22) ฝ่ายลาวและฝ่ายไทย ได้จัดโครงการฝึกอบรมขยายผลสำเร็จของงานด้านวิชาการของโครงการสัญจรไปยังแขวงต่าง ๆ ใน สปป.ลาว จำนวน 2 แขวง ได้แก่ แขวงพงสาลี และแขวงเชียงขวางโดยผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้แก่ หัวหน้า และเจ้าหน้าที่แผนกกสิกรรม และป่าไม้สปป.ลาว ในแขวงดังกล่าว

นอกจากนี้ ในปี 2556ได้ส่งเสริมขยายผลให้กับแขวงอัตตะปือ ซึ่งได้จัดฝึก อบรมไปแล้ว โดยเป็นศูนย์เรียนรู้ในการพัฒนาด้านปศุสัตว์พร้อมทั้งให้การสนับสนุนตู้ฝักไข่ เพื่อผลิตและเพาะขยายพันธุ์เป็ดเทศสำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรประชาชนชาวลาวต่อไป

 

 

 

แนวทางการดำเนินงานต่อไป

-ให้ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว(หลัก 22) เป็นแหล่งองค์ความรู้ในด้านการเกษตรทุกสาขาซึ่งสามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

-ให้มีการขยายผลสำเร็จโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว(หลัก 22) ไปสู่แขวงต่าง ๆ ในพื้นที่ สปป.ลาว จนครบถ้วน

 

ที่มา : สำนักประสานงานโครงการพื้นที่ 2

ข้อมูล ณ วันที่ : 27 มกราคม 2557

สามารถดาวน์โหลด .pdf ได้ที่นี่

 

ผลการดำเนินงานปี 2560              

                 ในปีงบประมาณ 2560 ได้ดำเนินกิจกรรมสาธิตส่งเสริมและฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ตลอดจนจัดการศึกษาดูงานให้แก่องค์กรภาครัฐ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาดูงาน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

                  1. การพัฒนาด้านประมง

                     1.1 ขยายผลส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบ และสนับสนุนโครงการประมงโรงเรียนรอบเขตโครงการ จำนวน 5 แห่ง

                     1.2 ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร จำนวน 40 คน พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร

                     1.3 ปรับปรุงบ่อซีเมนต์ผลิตพันธุ์ปลา จำนวน 6 บ่อ

                  2. การพัฒนาด้านวิชาการเกษตร

                     2.1 จัดฝึกอบรมการขยายพันธุ์ไม้ผล การผลิตพืชอินทรีย์ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง และจัดเวทีชาวบ้าน จำนวน 2 รุ่น

                     2.2 ก่อสร้างอาคารปฏิบัติการ ขนาด 6x12 เมตร สำหรับใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุ อุปกรณ์การเพาะเห็ด และกิจกรรมต่าง ๆ

                 3. การพัฒนาที่ดิน

                    3.1 ปรับปรุงบำรุงดินโดยการผลิตปุ๋ย  ได้แก่ ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพ และสารขับไล่แมลงศัตรูพืช ตลอดจนเพาะพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อปลูกและแจกจ่ายเกษตรกร

               3.2 ฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน 2 รุ่น

                 

               4. การพัฒนาด้านปศุสัตว์  

                    4.1 ปรับปรุงซ่อมแซมร่องระบายน้ำเสียออกจากคอกหมู และปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรือนสัตว์ปีก 4 หลัง

                    4.2 ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ เลี้ยงเป็ดเทศ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สุกร และโคเนื้อ จำนวน 2 รุ่น

                 5. การพัฒนาด้านชลประทาน

                    กรมชลประทาน จะดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมประตูปิด-เปิดน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยซอน และประตูปิด-เปิดน้ำรางระบายน้ำฝั่งซ้าย    

                 6. งานประชุมสัมมนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

                    ประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานให้กลุ่มผู้ใช้น้ำ จำนวน 2 รุ่น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ศึกษาดูงานในไทยระดับเจ้าหน้าที่ 1 รุ่น และระดับผู้นำ 1 รุ่น  ประชุมสัมมนาสัญจรต่างแขวง “การขยายผลความสำเร็จโครงการศูนย์ฯ” จำนวน 1 รุ่น  และสนับสนุนแนวพันธุ์ครอบครัวตัวแบบ จำนวน 30 ครอบครัว

                    เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2560 คณะทำงานฝ่ายลาว ได้ศึกษาดูงานในประเทศไทย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ โดยเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22)

 

สามารถดาวน์โหลดข้อมูล . pdf ได้ที่นี่

 

ผลการดำเนินงานปี 2561             

               ในปีงบประมาณ2561 ได้ดำเนินกิจกรรมสาธิตส่งเสริมและฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ตลอดจนจัดการศึกษาดูงานให้แก่องค์กรภาครัฐ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาดูงาน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้

                1. งานพัฒนาด้านประมง

                   1.1 ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร จำนวน 40 คน พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร

                   1.2 ปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างในการผลิตพันธุ์ปลา ระบบหมุนเวียนน้ำในการเพาะฟักปลานิลแปลงเพศ

ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่เกษตรกร

                2. งานพัฒนาด้านวิชาการเกษตร

                  2.1 จัดฝึกอบรมการขยายพันธุ์ไม้ผล การผลิตพืชอินทรีย์ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วง และจัดเวทีชาวบ้าน จำนวน 2 รุ่น

การขยายพันธุ์ไม้ผลและผลิตพืชอินทรีย์

จัดฝึกอบรมการขยายพันธุ์ไม้ผล การผลิตพืชอินทรีย์

                3. งานพัฒนาที่ดิน

                 3.1 ปรับปรุงบำรุงดินโดยการผลิตปุ๋ย  ได้แก่ ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพ สารขับไล่แมลงศัตรูพืช และปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ตลอดจนเพาะพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อปลูกและแจกจ่ายเกษตรกร และฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน 2 รุ่น

การผลิตปุ๋ยหมักจากเศษพืช

จัดทำแปลงเพาะพันธุ์หญ้าแฝก

              4. งานพัฒนาด้านปศุสัตว์  

                4.1 ปรับปรุงซ่อมแซมคอกไก่ ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร จำนวน1 คอก ปรับปรุงซ่อมแซมห้องทำงานและห้องน้ำของแผนก

                4.2 ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร ได้แก่ เลี้ยงเป็ดเทศ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สุกร และโคเนื้อ จำนวน 2 รุ่น

คอกไก่ที่จะดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

การฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์

              5. งานพัฒนาด้านชลประทาน

                  กรมชลประทาน จะดำเนินการก่อสร้างเรือนเพาะพันธุ์ปลานิล ขนาดกว้าง24 เมตร ยาว 38 เมตร และปรับปรุงโรงเก็บวัสดุ ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 24 เมตร

              6. งานประชุมสัมมนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

                 ประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานให้กลุ่มผู้ใช้น้ำ จำนวน ๒ รุ่น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ศึกษาดูงานในไทยระดับเกษตรกร 1 รุ่น ระดับเจ้าหน้าที่ 1 รุ่น และระดับผู้นำ 1 รุ่น  ประชุมสัมมนาสัญจรต่างแขวง “การขยายผลความสำเร็จโครงการศูนย์ฯ” จำนวน 1 รุ่น  และสนับสนุนแนวพันธุ์ครอบครัวตัวแบบ จำนวน 30 ครอบครัว

                 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 คณะทำงานฝ่ายลาว ได้ศึกษาดูงานในประเทศไทย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ โดยเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22)

คณะทำงานฝ่ายลาวศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

 

ที่มา : สำนักประสานงานโครงการพื้นที่ 2

ข้อมูล ณ วันที่ : 24 เมษายน 2562

สามารถดาวน์โหลด .pdf ได้ที่นี่

 

ผลการดำเนินงาน ปี 2562

              ในปีงบประมาณ 2562 ดำเนินกิจกรรมสาธิตส่งเสริมและฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ตลอดจนจัดการศึกษา ดูงานให้แก่องค์กรภาครัฐ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาดูงาน  ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมงานเบื้องต้น ระยะเวลาที่แล้วเสร็จเดือนมกราคม 2563  โดยมีกิจกรรมสำคัญที่ดำเนินการ ดังนี้

            1. งานพัฒนาด้านประมง

                    1.1 พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร

                  1.2 ส่งเสริมการผลิตอาหารธรรมชาติมีชีวิตเพื่อการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้แก่เทคนิคแขวงเวียงจันทน์ และเทคนิคดงคำช้าง โดยส่งเสริมความรู้ด้านประมง พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต

 

            2. งานพัฒนาด้านวิชาการเกษตร

                จัดฝึกอบรมการขยายพันธุ์ไม้ผล การผลิตพืชอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร และจัดเวทีชาวบ้าน จำนวน 2 รุ่น

                 

              3. งานพัฒนาที่ดิน

                3.1 ปรับปรุงบำรุงดินโดยการผลิตปุ๋ยได้แก่ ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพ สารขับไล่แมลงศัตรูพืช และปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด (ปอเทือง)  การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยการเพาะพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อปลูกและแจกจ่ายเกษตรกร และฝึกอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน จำนวน 2 รุ่น

                      3.2 ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ พร้อมถังเก็บน้ำเพื่อใช้สำหรับสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานพัฒนาที่ดิน

 

               4. งานพัฒนาด้านปศุสัตว์

                   4.1 ฝึกอบรมการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงการจัดการโคเนื้อ สุกร สัตว์ปีก การควบคุมป้องกันโรคให้แก่เกษตรกร จำนวน 2 รุ่น

                       4.2 ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 1 บ่อ พร้อมถังเก็บน้ำเพื่อใช้สำหรับสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานพัฒนาด้านปศุสัตว์

 

                5. งานพัฒนาด้านชลประทาน

                 กรมชลประทาน จะดำเนินการซ่อมแซมอาคารเรือนพักนักศึกษาฝึกงาน พร้อมติดตั้งพัดลมภายในอาคาร จำนวน 10 ตัวปรับปรุงโรงครัวติดตั้งกันสาดบังแดด จำนวน 4 แห่งปรับปรุงป้ายโครงการฯ ขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 3 เมตรปรับปรุงประตูคอกสัตว์ซ่อมแซมเรือนฟักไข่และซ่อมแซมคลองชลประทาน

                                

อาคารเรือนพักนักศึกษาฝึกงาน บริเวณที่จะดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม

 

               6. งานประชุมสัมมนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

                    ประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำชลประทานให้กลุ่มผู้ใช้น้ำ จำนวน 2 รุ่น  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ศึกษาดูงานในไทยระดับเกษตรกร 1 รุ่น ระดับเจ้าหน้าที่ 1 รุ่น และระดับผู้นำ 1 รุ่น  ประชุมสัมมนาสัญจรต่างแขวง “การขยายผลความสำเร็จโครงการศูนย์ฯ” จำนวน 1 รุ่น  และสนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์แก่ครอบครัวตัวแบบ จำนวน 30 ครัวเรือน

 

                              

สัมมนาสัญจรแขวงอัตตะปือ “การขยายผลความสำเร็จโครงการศูนย์พัฒนาฯ”

และสนับสนุนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์แก่ครอบครัวตัวแบบ

 

 

                             

 

สามารถดาวน์โหลด .pdf ได้ที่นี่