ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

การจัดประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 (ICV-7) ณ จังหวัดเชียงใหม่

ขอเชิญร่วมกันเป็นเจ้าภาพและเข้าร่วมการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7
ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 26 – 29 ตุลาคม 2563

Kindly be invited to join the 7th International Conference on Vetiver (ICV-7) in Chiang Mai, Thailand
during 26 – 29 October 2020

Theme “Vetiver for Soil and Water Conservation:
In Commemoration of His Majesty King Bhumibol Adulyadej”

  

      

 

 

 

หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกและตัดสินรางวัลฯ

The King of Thailand Vetiver Awards (ICV-7)

ประเภทรางวัลและจำนวนรางวัล

รางวัล The King of Thailand Vetiver Awards มีทั้งหมด 3 ประเภท แบ่งเป็น 6 รางวัล ๆ ละ 2,500 เหรียญสหรัฐ ได้แก่

1) รางวัลด้านงานวิจัยดีเด่น (Outstanding Vetiver Research) ประกอบด้วย

  1. ประเภทผลงานในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Application)        
  2. ประเภทผลงานนอกภาคเกษตรกรรม (Non-agricultural Application)

2 รางวัลด้านการส่งเสริมและการใช้งานระบบหญ้าแฝกดีเด่น (Outstanding Dissemination and Application of the Vetiver System) ประกอบด้วย

  1)  ประเภทการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Dissemination and Technology Transfer)

  2)  ประเภทการใช้งานระบบหญ้าแฝก (Application of the Vetiver System)

3. รางวัลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดีเด่น (Outstanding People Participation) ประกอบด้วย

    1)  ประเภทผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจสังคม (On-farm Applications and Socio-economic Impacts)

    2)  ประเภทการบรรเทาภัยพิบัติหรือการปกป้องสภาพแวดล้อม (Disaster Mitigation or Environmental Protection)

 

วิธีการเสนอผลงาน

          1. ผู้เสนอผลงานต้องกรอกใบสมัครให้ครบถ้วน

          2. รูปแบบของผลงานให้ใช้รูปแบบที่คณะกรรมการตัดสินรางวัลกำหนด

          3. ต้องเป็นผลงานที่สมบูรณ์ในลักษณะ Full Paper ให้มีข้อมูลรายละเอียดมากที่สุด (ควรมีรูปตารางประกอบ) จำนวนไม่เกิน 15 หน้า

          4. เมื่อผลงานได้รับรางวัล เจ้าของผลงานหรือผู้แทนต้องไปเสนอผลงาน (Oral Presentation) ในงานสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

             ส่งผลงานในรูปแบบกระดาษและไฟล์ได้ที่  

 

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินรางวัล “The King of Thailand Vetiver Awards”

กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ กองแผนงานและวิเทศสัมพันธ์

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

2012 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700

โทร 02-4478500 ต่อ 237 โทรสาร 02-4478543

อีเมลล์ rdpb_vetiver@yahoo.com

 

หลักเกณฑ์ในการเลือกผลงาน

 1. หลักเกณฑ์สำหรับผลงานด้านงานวิจัยดีเด่น ผลงานที่ส่งเข้าประกวดควรมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งและหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้

             1) เป็นการดำเนินการศึกษาของนักวิจัย คณะนักวิจัย หรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับ

             2) งานศึกษาวิจัย ในระดับพื้นฐาน ประยุกต์หรือเชิงพัฒนา

             3) เป็นผลงานวิจัยที่ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม

             4) เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ผลอย่างกว้างขวาง

2. หลักเกณฑ์สำหรับผลงานด้านการส่งเสริมและการใช้งานระบบหญ้าแฝกดีเด่น ผลงานที่ส่งเข้าประกวดควรมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งและหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้

           1) แสดงถึงวิธีการส่งเสริมถึงเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

            2) ต้องมีความยั่งยืน

            3) เป็นผลงานที่ใช้ได้อย่างกว้างขวางไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

            4) คำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้อง และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

            5) ควรมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน พิสูจน์ได้ เป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับ

            6) มีปริมาณงานที่เหมาะสม

 3. หลักเกณฑ์สำหรับผลงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดีเด่น ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเกี่ยวกับผลงานที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนอาสาและควรมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งและหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้

    3.1 ประเภทผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจสังคม  

1) แสดงถึงวิธีการนำระบบหญ้าแฝกไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

2) นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ

3) แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประยุกต์ใช้ระบบหญ้าแฝก

3.2 ประเภทการบรรเทาภัยพิบัติหรือการปกป้องสภาพแวดล้อม

            1) มีการนำระบบหญ้าแฝกไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบรรเทาภัยพิบัติและ/หรือปกป้องสภาพแวดล้อม

            2) มีความยั่งยืนทั้งในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนและประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

 

กำหนดการต่างๆ

          1.  กำหนดส่ง Abstract และ Full Paper ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563

          2.  กำหนดประกาศผลงานผู้ชนะเลิศ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

 

การดำเนินการ

          1 เมื่อมีผู้ส่ง Abstract และ/หรือ Full Paper เข้ามา ฝ่ายเลขานุการฯ จะจัดส่งให้คณะกรรมการชุดที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในเบื้องต้นก่อน

          2. หลังจากวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดส่ง Full Paper ฝ่ายเลขานุการฯ จะเชิญประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคัดเลือกและตัดสินผู้ชนะเลิศทุกรางวัล

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

  1.  รางวัลด้านงานวิจัยดีเด่น
  1. ดร. Paul Truong กรรมการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ และผู้อำนวยการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
  2. นาย Roley Noffle กรรมการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ, ผู้อำนวยการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ รับผิดชอบภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และประธานสมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดินนานาชาติ
  3. ดร. วีระชัย ณ นคร อนุกรรมการด้านวิชาการและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

  1. รางวัลด้านการส่งเสริมและการใช้งานระบบหญ้าแฝกดีเด่น
  1. ดร. Jim Smyle ประธานเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ และผู้อำนวยการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ รับผิดชอบภูมิภาคอเมริกา
  2. นางสาว Elise Pinners กรรมการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ และผู้อำนวยการ Platform for Land Use Sustainability (PLUS-Kenya)
  3. ดร. พิทยากร ลิ่มทอง อนุกรรมการด้านวิชาการและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

  1. รางวัลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนดีเด่น

     3.1 ประเภทผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจสังคม 

  1. นาย Richard Grimshaw ผู้ก่อตั้งเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติและกรรมการ
  2. ดร. Dale Rachmeler กรรมการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ และผู้อำนวยการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ รับผิดชอบภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
  3. ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา อนุกรรมการด้านวิชาการและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

     3.2  ประเภทการบรรเทาภัยพิบัติหรือการปกป้องสภาพแวดล้อม

  1. นาย Richard Grimshaw ผู้ก่อตั้งเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติและกรรมการ
  2. ดร. Dale Rachmeler กรรมการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ และผู้อำนวยการเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ รับผิดชอบภูมิภาคแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า
  3. นายสุรพล สงวนแก้ว อนุกรรมการด้านวิชาการและติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ     

 

    Downlaod Application Form