ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

ประชาสัมพันธ์เข้าร่วมแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ Thailand Cyber Top Talent 2023

Thailand Cyber Top Talent 2023

Thailand Cyber Top Talent 2023

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2023

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

• เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย โดยต้องแนบบัตรนักเรียนเป็นหลักฐานประกอบการสมัคร
• เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร โดยต้องแนบบัตรนิสิตหรือนักศึกษาเป็นหลักฐานประกอบการสมัคร
• เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย
• รับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน กรณีระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา สมาชิกมาจากต่างโรงเรียน ต่างมหาวิทยาลัย หรือต่างสถาบันต้องอยู่ภูมิภาคเดียวกัน
• ผู้สมัคร 1 คน สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น
• ชื่อทีมต้องมีความเหมาะสม ไม่หยาบคาย สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้
• ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หากคณะกรรมการพบว่ามีผู้เข้าแข่งขันทำผิดข้อกำหนดหรือกติกาใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ตัดสิทธิ์การเข้าร่วมแข่งขันของทีมดังกล่าว และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
• เปิดรับสมัครถึง 8 กันยายน 2566 

รูปแบบและกติกาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับมัธยมศึกษา เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย

ระดับอุดมศึกษา เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร

ระดับประชาชนทั่วไป เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย

รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ

  • รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์
  • รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี

 รางวัลการแข่งขัน

เงินรางวัลรวมกว่า 521,000 บาท

  • ระดับประชาชนทั่วไป เป็นเงิน 201,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล  50,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล  30,000 บาท
    •  รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท
  • ระดับอุดมศึกษา เป็นเงิน 171,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล  90,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล  40,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล  20,000 บาท
    •  รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท
  • ระดับมัธยมศึกษา เป็นเงิน 149,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 80,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาท
    •  ชนะเลิศอันดับ 3 เงินรางวัล 18,000 บาท
    •  รางวัลชมเชยสำหรับทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ทีมละ 3,000 บาท

รายละเอียดกติกาการแข่งขัน

รอบคัดเลือก

เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography

ระยะเวลาการแข่งขัน : วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง) 

เกณฑ์การคัดเลือก : คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม

โดยกำหนดโควตาในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้ (อ้างอิงจากที่ตั้งโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย)

➢ กทม. 2 ทีม
➢ ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
➢ ภาคเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคใต้ 2 ทีม

ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม

รวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม

ประกาศผลรอบคัดเลือก : –

ตารางการอบรมก่อนการแข่งขันรอบคัดเลือก

 

รอบชิงชนะเลิศ

เป็นการแข่งขัน CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack the virtual World โดยผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี

รูปภาพ Diagram : การแข่งขัน CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack the virtual World

ระยะเวลาการแข่งขัน : วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง) 

เกณฑ์การตัดสิน : ทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุด

หมายเหตุ
– ในการแข่งขันแต่ละรอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขันผู้เข้าร่วมแข่งขันแต่ละท่านต้องจัดเตรียมคือคอมพิวเตอร์ (เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เสถียร), กล้อง Webcam และไมโครโฟน
– หากเกิดข้อโต้แย้งใด ๆ ระหว่างการแข่งขัน การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
– กำหนดการสำหรับการแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามความเหมาะสมของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การสมัครเข้าแข่งขัน (เปิดรับสมัคร 24 กรกฎาคม ถึง 8 กันยายน 2566)

 ระดับมัธยมศึกษาคลิก! (Junior)

 ระดับอุดมศึกษาคลิก! (Senior)

 ระดับประชาชนทั่วไปคลิก! (Open)

ตรวจสอบรายชื่อทีมสมัครแข่งขัน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ร.อ.นพรัตน์ สุจินดา
โทร. 089-600-6626
อีเมล thctt23@ncsa.or.th และทาง facebook fanpage ของ NCSA