ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

สรุป จากการศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ คือ การยึดหลักทางสายกลางและความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การ สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนการใช้ความรู้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และมีคุณธรรมเป็น พื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำ

อำพล เสนาณรงค์ (2550) ได้กล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา หรือแนวปฏิบัติ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงปรารถนาจะให้รากแก้วในสังคมได้ยึดเป็นแนวดำรงชีวิตเพื่อความอยู่ดีกินดี ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมีด้วยกัน 7 ข้อ คือ พึ่งพาตนเอง พอประมาณ เดินสายกลาง มีภูมิคุ้มกัน มีเหตุผล เป็นคนดี และรู้รักสามัคคี โดยหลักสำคัญทั้ง 7 ข้อนี้ คนทุกกลุ่มทุก อาชีพสามารถน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สุรยุทธ์ จุลานนท์ (2550) ได้อธิบายถึง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติโดยนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐานของนโยบายการพัฒนา ซึ่งหมายถึง ว่าจะให้ความสำคัญกับ การเติบโตอย่างมั่นคงความมีวินัยของนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจให้มีความเป็นธรรม ซึ่งการเติบโตอย่างมีคุณภาพ หมายถึง การให้ความห่วงใยอย่างยิ่งยวด ต่อหลักธรรมาภิบาลและการบริหารความเสี่ยง แต่ความห่วงใยในเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อกลไกตลาด หรือแม้แต่มีอิทธิพลต่อการเปิดของเศรษฐกิจไทยในความเป็นจริงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นแบบของ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ข, หน้า 56) ได้อธิบายถึง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชา และหลักธรรมหลายประการ อาทิ 1. เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ 2. เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง 3. จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการ รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้อย่างดี 4. ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง ภายนอกและภายใน 5. จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำ วิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน 6. จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้ มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ก, หน้า 78) ได้อธิบายถึง พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คำว่า ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวดีพอสมควรต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มี ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้ สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี สุเมธ ตันติเวชกุล (2550ก, หน้า 83) ได้อธิบายถึง การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ ใช้ให้ ประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การมีสติพิจารณาตัวเองรู้จักใช้ทรัพยากรให้เพียงพอ และเหมาะสมอย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งทุกจังหวัดต้องสำรวจจำนวนข้าราชการพร้อม ศักยภาพข้าราชการ และวางแผนการทำงานให้เกิดการพัฒนา ในแต่ละจังหวัดไม่จำเป็นต้องดำเนินงาน ในลักษณะที่เหมือนกันก็ได้ รู้จักใช้เหตุและผล พร้อมกับสติปัญญา ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ รู้จักปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้รอบรู้อยู่เสมอและที่สำคัญ คือ ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต เพราะหาก ข้าราชการไม่ซื่อสัตย์สุจริตแล้วจะเกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนและประเทศชาติ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2549, หน้า 39-45) ได้อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริอยู่ เหนือกว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตะวันตก ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องวัตถุที่เป็นรูปธรรม เช่น เงิน ทรัพย์สิน กำไร ไม่เกี่ยวกับเรื่องจิตใจซึ่งเป็นนามธรรม แต่เศรษฐกิจพอเพียงมีขอบเขตกว้างขวางกว่าเศรษฐกิจ นายทุนหรือเศรษฐกิจธุรกิจ เพราะครอบคลุมถึง 4 ด้าน คือ 1. มิติด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจแบบพออยู่พอกินให้มีความขยันหมั่นเพียร ประกอบสัมมาอาชีพเพื่อให้พึ่งตนเองได้ให้พ้นจากความยากจน การปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่ตามแนว พระราชดำริเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติตามเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้ช่วยให้เกษตรกรจำนวนมากมีรายได้ เพิ่มสูงขึ้น และมีชีวิตที่เป็นสุขตามสมควรแก่อัตภาพพ้นจากการเป็นหนี้และความยากจน สามารถ พึ่งตนเองได้ มีครอบครัว ที่อบอุ่นและเป็นสุข 2. มิติด้านจิตใจ เศรษฐกิจพอเพียงเน้นที่จิตใจที่รู้จักพอ คือ พอดี พอประมาณ และพอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ ไม่โลภ เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเริ่มที่ตัวเองโดยสร้างรากฐานทางจิตใจที่มั่งคง โดยเริ่ม จากใจที่รู้จักพอเป็นการปฏิบัติตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา 3. มิติด้านสังคม เศรษฐกิจพอเพียงมุ่งให้เกิดสังคมที่มีความสุขสงบ ประชาชนมีความเมตตาเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ มุ่งให้เกิดความสามัคคีร่วมมือ เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้โดย ปราศจากการเบียดเบียนกัน การเอารัดเอาเปรียบกัน การมุ่งร้ายทำลายกัน 4 มิติด้านวัฒนธรรม วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิต (way of life) ของประชาชน เศรษฐกิจพอเพียงมุ่ง ให้เกิดวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่ประหยัด อดออม มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ไม่ตกเป็นทาส ของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งทำให้เกิดการเป็นหนี้เป็นสินเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นปัญหาสังคมที่ ร้ายแรงที่สุดปัญหาหนึ่งที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ

สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 13-14) ได้อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางการพัฒนา ของประเทศ โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 ได้ยึดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นปรัชญานำทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีแนวทางดังนี้ 1. ทางสายกลาง ไม่พัฒนาไปในทางทิศใดทิศหนึ่งจนเกินไป เช่น ปิดหรือเปิดเสรีเต็มที่ 2. ความสมดุลและความยั่งยืน เน้นการพัฒนาในลักษณะองค์รวม 3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความพอดีทั้งในการผลิตและการบริโภค 4. ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว 5. การเสริมสร้างคุณภาพคน เน้นให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มิตรไมตรี เอื้ออาทร มีความ เพียร มีวินัย มีสติ ไม่ประมาท พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 33-34) ได้อธิบายถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ สอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธของ (Schumacher) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้กล่าวว่า “สัมมาอาชีวะ” ซึ่งเป็นธรรมข้อหนึ่งในมรรคแปดของพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ นัก เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ส่งเสริมให้มนุษย์มีมาตรฐานการครอบชีพที่สูง โดยวัดจากจำนวนการบริโภค และ ถือว่า ผู้ที่บริโภคมากจะ “อยู่ดีกินดี” กว่าผู้บริโภคน้อย แต่นักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีความเห็นว่า การ บริโภคเป็นเพียงมรรคที่จะนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดี ดังนั้นจุดมุ่งหมายน่าจะอยู่ที่การทำให้การกินดีอยู่ดี มากที่สุด โดยการบริโภคให้น้อยที่สุด หัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือ ความเรียบง่าย อหิสาธรรม และทางสายกลาง สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 36-37) ได้อธิบายถึง “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต) ว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธนี้มีลักษณะเป็นสายกลาง อาจจะเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ สายกลางหรือเศรษฐศาสตร์มัชฌิมาปฏิปทาที่ว่า เป็นสายกลางเป็นมัชฌิมา คือ มีความพอดี พอประมาณ ได้ดุลยภาพ ความพอดี คือ จุดที่คุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจมาบรรจบกัน หมายความ ว่า เป็นการได้รับความพึงพอใจด้วยการตอบสนองความต้องการของคุณภาพชีวิต ตัวกำหนด เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือ มัตตัญญุตา ความรู้จักพอประมาณ รู้จักพอประมาณ รู้จักพอดีในการบริโภค หมายถึง ความพอดี ให้คุณภาพของชีวิตมาบรรจบกับความพึงพอใจ

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2550ค) ได้อธิบายถึง การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการ บริหารเศรษฐกิจ ได้แยกออกเป็น 4 ส่วน คือ การพัฒนาคนของประเทศไทย คิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงในภาคปฏิบัติ และเศรษฐกิจพอเพียงกับหนทางข้างหน้า ในเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งของ เศรษฐกิจพอเพียงในภาคปฏิบัติ ได้ระบุไว้ว่า นักเศรษฐศาสตร์แสดงให้เห็นเช่นกันว่า หลักการของ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารเศรษฐกิจ การออกแบบนโยบายและการวาง แผนการพัฒนาประเทศได้ ในช่วงการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 หลักการของเศรษฐกิจ พอเพียง ในเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันจากผลกระทบ ทำให้เกิดมาตรการและเครื่องมือในการจัดการกับ ความเสี่ยง และความผันผวนในระบบเศรษฐกิจมหภาคขึ้นหลายอย่าง การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ก็ยึดแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักที่ให้คนเป็นเป้าหมาย หลักของการพัฒนา และ มีแนวคิดที่จะทบทวนวิธีการใช้ทรัพยากรและงบประมาณทั้งหมดของ ประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่มีความสมดุล ความยั่งยืน และการเติบโตที่เสมอภาคยิ่งขึ้น ผลสำเร็จระยะยาวของการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่า แนวคิดนี้จะ สามารถซึมลึกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประเทศได้มากน้อยเพียงใด ขณะที่ส่วนท้ายสุด คือ เศรษฐกิจพอเพียงกับหนทางข้างหน้า ได้มีข้อเสนอแนะ 6 ประการ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง คือ 1. เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับการขจัดความยากจน และการ ลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของคนจน 2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของการสร้างพลังอำนาจของชุมชน และการ พัฒนาศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ 3. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ด้วยการ สร้างข้อปฏิบัติในการทำธุรกิจที่เน้นผลกำไรระยะยาวในบริบทที่มีการแข่งขัน 4. หลักการเศรษฐกิจพอเพียงจะมีความสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานภาครัฐ 5. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของชาติเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบโดยฉับพลัน และเพื่อปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสม 6. ในการปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของ คนเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาจจะไม่เห็นภาพชัดเจนในห้วงเวลา อันใกล้นี้ เพราะจะต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างและปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนให้เกิดความพอเพียง ให้เกิด การสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความลึกซึ้งมากกว่าแนวทางการ พัฒนาทั่วไป เนื่องจากมีการเชื่อมโยงเรื่องการพัฒนาที่เน้นเรื่องคนเป็นเป้าหมาย

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2550ข) ได้อธิบายถึง คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ คำว่า “เศรษฐกิจ พอเพียง” ในระดับหนึ่งทว่ายังคงมองว่า เป็นเรื่องของความประหยัดมัธยัสถ์ในการใช้ชีวิตประจำวันหรือ มองว่า เป็นการนำมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น ซึ่งอันที่จริงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกภาคส่วน และนำมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ง่ายในการทำ ความเข้าใจ ในขณะที่ต่างชาติมักเข้าใจผิดคิดว่าพอเพียง แปลว่า ไม่ก้าวหน้าซึ่งไม่เป็นความจริงอย่าง ที่สุดโลกาภิวัฒน์ มีทั้งด้านดี และด้านลบ สิ่งที่ดีก็นำมาประยุกต์ใช้ให้ประเทศก้าวหน้า แต่ความก้าวหน้า ต้องสมดุลกับประเทศด้วย ที่สำคัญการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ให้ได้ผล ต้องพยายาม ลบค่านิยมด้านวัตถุนิยมที่เน้นความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย พร้อมปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในเรื่องของการ เอื้อเฟื้อ แบ่งปันเสริมเข้าไปด้วยมุ่งหวังให้สังคมไทยรู้จักคำว่า พอเพียงมากขึ้น ไม่หลงตามไปกับกระแส บริโภคนิยม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนเข็มทิศ เพื่อนำไปสู่หนทางการตัดสินใจที่ถูกต้อง และยั่งยืน

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2550ก) ได้อธิบายถึง คำนิยามเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้จำได้ ง่ายที่สุด คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ปัจจัยสำคัญที่เป็นแก่นแท้ของ 3 ห่วง คือ (1) ความพอประมาณ ไม่ สุดโต่งจนเกินไป (2) การมีเหตุมีผลที่จะคิดวิเคราะห์ทุกอย่างก่อนลงมือปฏิบัติ (3) มีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อ ไม่ให้กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามามีผลกระทบต่อชีวิตของเรามากเกินไป ส่วน 2 เงื่อนไข คือ (1) ตอกย้ำ ความมีเหตุผล ใช้ความรู้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง (2) คุณธรรม หากมีสิ่งเหล่านี้ไม่มีคำว่าไปไม่ รอด ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เบื้องต้นคงต้องใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา (2549, หน้า 27-28) ได้อธิบายถึง เนื้อหาสรุปปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง จากการสรุปเนื้อหาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้ร่วมกันแปลงนิยามออกมาเป็นสัญลักษณ์ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ จดจำและนำไปปฏิบัติ โดยมีความหมายว่า ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นเรื่องของทางสายกลาง ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ข้อ คือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้ เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้านความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยมกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้น ปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย ความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต และมี 3 คุณลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไป คือ 2.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 2.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผล ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก การกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 2.3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้จะนำชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ไปสู่การพัฒนาที่ สมดุล มั่นคง และยั่งยืน

เกษม วัฒนชัย (2550ค, หน้า 123) ได้อธิบายถึง ในขณะนี้ประเทศชาติมีการเปลี่ยนแปลงมาก ดังนั้น การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้อย่างรู้เท่าทันและอย่างฉลาดใช้ เพราะภาวะหลายอย่างของประเทศขณะนี้ มีปัญหาในหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หากประชาชนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุข และวันนี้หลายคนยังมี ความเข้าใจผิดเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นแนวคิดที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ แต่ในความเป็นจริง แล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครัวไปจนถึงประเทศ เพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักสายกลาง ประหยัด อดออม ซึ่งทุกประเทศสามารถนำไปใช้ได้

เกษม วัฒนชัย (2550ข, หน้า 89) ได้อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับตัว บุคคล และองค์กรทุกระดับที่นำไปปฏิบัติเป็นภูมิคุ้มกันและนำมา ซึ่งความสุขเป็นรากฐานรองรับความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก รวมทั้งไม่เคยทำลายเศรษฐกิจหลักของประเทศเหมือนที่บางคนกล่าว อ้าง แม้สหประชาชาติก็ยังยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้มี เงื่อนไข 3 ประการ คือ เงื่อนไขด้านหลักวิชาการที่จะต้องมีความสมเหตุสมผล เงื่อนไขด้านคุณธรรม และเงื่อนไขด้านการดำเนินชีวิต เช่น ความอดทน ความเพียร ความขยัน ส่วนเรื่องความพอประมาณ ไม่ใช่การขี้เหนียวจนสุดโต่ง แต่เป็นทางสายกลาง คือ ความประหยัด พอดี พอเหมาะต่อความจำเป็น ตามอัตภาพ การรักษาหน้าหรือลัทธิ เอาอย่างนั้นไม่เป็น

เกษม วัฒนชัย (2550ก, หน้า 14) ได้อธิบายถึง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงใช้ ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงว่า ประหยัดไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความละมุนละม่อม ด้วย เหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงและทุกคนจะมีความสุข และพระองค์ได้ทรงย้ำคำว่า พอเพียง คือ ไม่โลภ ไม่เบียดเบียน และพอเพียงนี้อาจมีมากก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น และต้องพอประมาณ ตามอัตภาพ

<< < 1 > >>