ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช

    

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช


เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริกับคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ความว่า

“แม้ว่าประตูน้ำอันเดียวนี้จะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมด แต่จะต้องสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง...แต่ถ้าหากว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาทั้งหลาย ซึ่งแต่ก่อนนี้การแก้ไขปัญหาต่างคนต่างทำต่างฝ่ายต่างทำ จุดเริ่มไม่มี ตอนนี้ถ้าสร้างประตูน้ำเสร็จ... จากอันนี้จะทำอะไร ๆ ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการ”

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เลขาธิการ กปร. และอธิบดีกรมชลประทาน ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปความว่า ให้บริหารจัดการน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้พระราชทานพระราชดำริ ความสรุปว่า ให้พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในพรุควนเคร็งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้พรุ

การดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถพัฒนาระบบชลประทานครอบคลุมพื้นที่ 521,000 ไร่ แบ่งเขตน้ำจืด-น้ำเค็ม โดยคันแบ่งเขตระยะทาง 91.50 กิโลเมตร บรรเทาน้ำท่วม ป้องกันน้ำเค็ม และเก็บกักน้ำจืดเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมทั้งพัฒนาส่งเสริมอาชีพประชาชน และติดตามสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง


ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีผลการดำเนินงานในด้านหลักที่สำคัญ ดังนี้

1. การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

1.1 กิจกรรมการปลูกข้าว

1.2 กิจกรรมปลูกน้ำมันปาล์ม (เขตปลูกน้ำมันปาล์ม)

1.3 กิจกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง)

1.4 กิจกรรมด้านปศุสัตว์

1.5 กิจกรรมให้ความช่วยเหลือพื้นที่ป่าจาก

เนื่องจากราษฎรพื้นที่บริเวณตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง ประมาณ 4,000 ไร่ ถูกแนวคันแบ่งเขตตัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ประมาณครึ่งต่อครึ่ง (2,000 ไร่/2,000 ไร่) ทำให้ผลผลิตจากป่าจากในพื้นที่ที่อยู่ในเขตน้ำเค็มด้อยลง และไม่มีคุณภาพ ราษฎรที่ประกอบอาชีพจากป่าจากมีรายได้ลดลง กรมชลประทานจึงได้จัดทำโครงการก่อสร้างอาคารอัดน้ำสำหรับให้เรือสามารถสัญจรผ่านไปมาขนาดกว้าง 2.70 เมตร สูง 1.70 เมตร ความยาว 8.00 เมตร จำนวน 3 แห่ง พร้อมกับการก่อสร้างอาคารท่อลอดถนนอัดน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร ความยาว 14.00 เมตร ถึง 16.00 เมตร จำนวนรวม 14 แห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเค็มเข้าท่วมพื้นที่ป่าจากในช่วงที่น้ำเค็มจัดและระบายน้ำในพื้นที่ป่าจากช่วงฤดูน้ำหลาก ขณะนี้ อยู่ระหว่างเตรียมงานเบื้องต้น และคาดว่าจะแล้วเสร็จเรียบร้อยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งระบบ จะสามารถแก้ปัญหาน้ำเค็มท่วมขังพื้นที่ป่าจากในเขตตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง ได้ประมาณ 2,000 ไร่ ราษฎรประมาณ 530 ครัวเรือน มีรายได้จากป่าจากเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่


หนึ่งในสถานที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารอัดน้ำ สำหรับให้เรือสัญจร ขนาดกว้าง 2.70 เมตร สูง 1.70 เมตร ความยาว 8.00 เมตร จากจำนวนทั้งหมด 3 แห่ง2. การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม


หนึ่งในสถานที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารท่อลอดถนนอัดน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.00 เมตร ความยาว 14.00 เมตร ถึง 16.00 เมตร จากแผนก่อสร้างทั้งหมด 14 แห่ง

2.1 กรมป่าไม้ ดำเนินงานโครงการพัฒนาป่าไม้และระบบนิเวศป่าพรุโครงการพัฒนาในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งขณะนี้ ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
                                  - กิจกรรมประสานควบคุมไฟป่า
                                  - กิจกรรมบริหารจัดการโดยประชาชนมีส่วนร่วม
                                  - กิจกรรมพัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ
                                  - กิจกรรมปลูกพันธุ์ไม้เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ 
                                  - กิจกรรมอำนวยการและประสานงานการดำเนินงานตามโครงการฯ

ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งระบบ ทำให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เนื้อที่ 54,221 ไร่ อย่างยั่งยืน โดยมีอาสาสมัครป้องกันไฟป่าพรุและองค์กรหมู่บ้านรักษ์ป่าพรุ จำนวน 10 หมู่บ้านในเขตอำเภอชะอวด และอำเภอเชียรใหญ่ เป็นเครือข่ายในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึกหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ และเกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าพรุ


การฝึกอบรมให้ราษฎรปฏิบัติงานดับไฟป่า




กิจกรรมปลูกต้นไม้เสริมป่าธรรมชาติในพื้นที่โครงการฯ

2.2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 250 ฝาย ขณะนี้ ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถบรรเทาความรุนแรงของปัญหาระบบนิเวศป่าพรุในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 4 แห่ง ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าช้างข้าม ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองค็อง ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุมแป บ้านในลุ่มและป่าควนเคร็ง และป่าสงวนแห่งชาติดอนทรายและป่ากลอง เนื้อที่รวม 78,310 ไร่ และเป็นการพัฒนาที่ส่งผลทางบวกต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนจำนวนกว่า 20 หมู่บ้าน

การก่อสร้างฝายชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 250 ฝาย

การก่อสร้างฝายชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 250 ฝาย ที่มา :: กลุ่มประสานงานโครงการพื้นที่ภาคใต้ ปรับปรุงข้อมูล :: มกราคม 2552