ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการนี้ ได้มีพระราชกระแสกับนายสมพล พันธุ์มณี เลขาธิการ กปร. และนายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ รองเลขาธิการ กปร. ถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานฟื้นฟูสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนในเขตตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกน้ำพัดพาเสียหาย เมื่อวันที่ 7 – 8 ตุลาคม 2549 โดยเฉพาะการปรับปรุงโรงงานของโครงการหลวงที่เสียหายและการฟื้นฟู สภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน โดยพระราชทานแนวทางเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ และการจัดที่ทำกินให้แก่ราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบใหม่ และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ


สำนักงาน กปร. ร่วมกับคณะทำงานวางแผนและประสานงานโครงการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. การฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำ

 
 

1.1 การก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร : ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ตามแผนงานบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร จำนวน 451 แห่ง ซึ่งจะช่วยเก็บกักตะกอนดินลดแรงปะทะชะลอการไหลของน้ำที่บ่าลงมา ทำให้น้ำซึมลงไปในชั้นดินที่อยู่สองฟากฝั่งลำธารได้มากขึ้น

 
 

1.2 การใช้ผลิตภัณฑ์หมอนกันดินและผ้าห่มคลุมดิน : ดำเนินการ ในพื้นที่วิกฤตที่เคยเกิดการเคลื่อนตัวของมวลดิน (Flows) จำนวน 3 จุด บริเวณเส้นทางขึ้น ดอยอ่างขาง ปัจจุบันดำเนินงานติดตั้งแล้วเสร็จ พร้อม ๆ ไปกับการปลูกแฝกและปลูกไม้พื้นถิ่นช่วยยึดหน้าดิน

2. การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
 

ดำเนินการขุดลอกลำห้วยแม่งอนและแม่งอนน้อย ระยะทาง 12.86 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ทางน้ำไหลสะดวกขึ้น และรองรับปริมาณน้ำ ที่ไหลลงสู่ลำน้ำฝางได้ในปริมาณที่มากขึ้น 102

3. การพัฒนาอาชีพและส่งเสริมการผลิตพืช


3.1 การส่งเสริมการผลิตพืชในระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) : จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ สตรอเบอรี่ กระเจี๊ยบแดง กาแฟ ส้ม ลิ้นจี่ และถั่วเหลือง รวมทั้งจัดทำแปลงสาธิตในพื้นที่เกษตรกร และบริเวณโรงงานหลวงฯ ปัจจุบันเริ่มฤดูการผลิตและทำสัญญากับโรงงานหลวงฯ แล้ว

3.2 ส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 10 กลุ่ม ใน 10 โรงเรียน ได้จัดไปดูงานที่โรงเรียนยุวเกษตรกรดีเด่น อำเภอแม่อาย และจะจัดให้มีการประกวดกิจกรรมในแต่ละกลุ่ม

3.3 ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 15 กลุ่ม ปัจจุบันมีผลผลิตจำหน่ายในท้องถิ่นแล้ว

4. การปรับปรุงโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง)


โรงงานได้เริ่มเดินเครื่องจักรผลิตสินค้าแล้ว ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง น้ำดื่ม ผลไม้ในขวดแก้ว แยมผลไม้ และซื้อขายพืชผลเกษตร สำหรับการปรับปรุง ดำเนินงาน โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ งบประมาณ 130,196,600 บาท แบ่งเป็นการก่อสร้างโรงงานและพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีกำหนดดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานให้แล้วเสร็จ ก่อนเดือนมกราคม 2552

5. การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดทำแผนแม่บทสนับสนุนการท่องเที่ยว วงเงิน 4,250,000 บาท มีระยะเวลาดำเนินงาน 8 เดือน (พ.ย. 51 – มิ.ย. 52) โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้จัดให้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องขึ้น ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

6. การมีส่วนร่วมภาคประชาชน

รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้น โดยมี นายก อบต.แม่งอนเป็นหัวหน้าคณะทำงาน และได้จัดให้ประชาชน/เกษตรกรไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ไปแล้ว 4 รุ่น ๆ ละ 40 – 50 คน 104
 


ที่มา :: กลุ่มประสานงานโครงการพื้นที่ภาคเหนือ