ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


1. แนวพระราชดำริและฎีกา

แนวพระราชดำริ ได้มาจาก

การตามเสด็จโดยตรงของสำนักงาน กปร.
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ หรือ ผู้ที่ติดตามเสด็จพระราชดำเนินได้รับทราบความตามพระราชดำริ แล้วแจ้งต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ (อ้างอิงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2534
ทรงรับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กรณีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
ฎีกา

ความหมายของฎีกา

คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศ์ เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง ๆ เช่น 

ขาดแคลนถนน / น้ำ / ไฟฟ้า
ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
การไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องที่ดินทำกิน ฯลฯ
ต้องการอาชีพ

รูปแบบและวิธีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
มี 2 ทาง คือ
1. การทูลเกล้าฯ ถวายอย่างเป็นทางการผ่านสำนักราชเลขาธิการ
2. การทูลเกล้าฯ ถวายในเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านหรือเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่างๆ
กรอบระยะเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาของสำนักงาน กปร.

จากการประชุมระหว่างสำนักราชเลขาธิการ สำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี โดยนับตั้งแต่สำนักงาน กปร. ได้รับเรื่องจากสำนักราชเลขาธิการ จนถึงขั้นตอนการสรุปข้อมูลเสนอสำนักราชเลขาธิการ


ขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน กปร.

ขั้นตอนที่ 1 : เมื่อได้รับหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว สำนักงาน กปร. จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ภายใน 8 วันทำการ) พิจารณาและเสนอแนะข้อคิดเห็นพร้อมเสนอแนะแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ

ขั้นตอนที่ 2 : ประมาณ 1 เดือน หลังจากส่งหนังสือแล้ว จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 3 : หน่วยงานสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมแนวทางในการให้ความช่วยเหลือส่งมายังสำนักงาน กปร. ภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้

      1. กรมชลประทาน 90 วัน

      2. กรมอุทยานฯ 60 วัน

      3. กระทรวงมหาดไทย 15 วัน

      4. หน่วยงานอื่นๆ 30 วัน

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อได้รับข้อมูลจากหน่วยงานครบถ้วนแล้ว สำนักงาน กปร. จะจัดทำสรุปข้อมูลเสนอสำนักราชเลขาธิการ โดยมีกรอบระยะเวลา 40 วัน นับจากได้รับหนังสือของหน่วยงานฉบับสุดท้าย

 

 


2. การประสานการจัดทำโครงการการวิเคราะห์/อนุมัติโครงการ

การประสานการจัดทำโครงการ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ พ.ศ. 2534 หมวด 4 ข้อ 13 (2) ความว่า เมื่อส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบพระราชดำริจากสำนักงาน กปร. หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จัดทำรายละเอียดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมทั้งกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายเสนอสำนักงาน กปร. โดยด่วน

หน่วยงานต่างๆ

ให้กรอกแบบคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยส่งผ่านไปยังกระทรวง ทบวง หรือคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโครงการนั้นๆ

ประเภทของโครงการ

โครงการประเภทที่ 1

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นงานด้านวิชาการ เช่น โครงการประเภทเพื่อการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือโครงการที่มีลักษณะเป็นงานวิจัย และโครงการใดๆ ที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถพิจารณาอนุมัติโครงการ และงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการได้ทั้งหมด เพื่อให้ดำเนินงานได้ทันที

โครงการประเภทที่ 2

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นโครงการพัฒนาด้านต่างๆ โดยทั่วไป ซึ่งสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน 6 ปี ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายให้สามารถเริ่มงานได้ทันทีในปีแรก ส่วนปีต่อๆ ไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการเสนอของงบประมาณไปตามปกติ

โครงการประเภทที่ 3

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีลักษณะเป็นโครงการใหญ่ที่ใช้เวลาดำเนินงานเกินกว่า 6 ปีขึ้นไปจึงแล้วเสร็จ ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. สามารถอนุมัติงบประมาณได้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เริ่มงานได้ทันที หรือพิจารณาอนุมัติเฉพาะแต่แผนงาน / โครงการเท่านั้น ส่วนงบประมาณให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ ดำเนินการของงบประมาณไปตามระบบปกติ

โครงการประเภทที่ 4

เป็นแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมอื่นใด ที่มีพระราชประสงค์ให้ดำเนินการ ซึ่งโครงการประเภทนี้ กปร. หรือประธาน กปร. อนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณค่าใช้จ่ายได้ตามความเหมาะสมในทุกกรณี

การวิเคราะห์โครงการ

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2534 หมวด 4 ข้อ 13 (3) ความว่า เมื่อสำนักงาน กปร. ได้รับรายละเอียดโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้สำนักงาน กปร. รวบรวมรายละเอียดโครงการและวงเงินงบประมาณรายจ่ายสำหรับโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจดังกล่าว และพิจารณากลั่นกรองและนำเสนอ กปร. พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบโดยด่วน

หลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ

ความสอดคล้องกับพระราชดำริ
พื้นที่ดำเนินการ
กรณีอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หรือกรมป่าไม้
กรณีอยู่ในพื้นที่ราษฎร ต้องได้รับความยินยอมจากราษฎร
กรณีอื่นๆ ต้องได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่
ความพร้อมของหน่วยงานที่จะดำเนินการ มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
การมีส่วนร่วมของราษฎรในพื้นที่โครงการ
ความซ้ำซ้อนของแผนงาน/โครงการ กับโครงการที่ดำเนินการโดยใช้งบประมาณจากแหล่งอื่น
ประโยชน์ที่ได้รับ

การอนุมัติโครงการ

มื่อหน่วยงานเสนอแผนงาน / โครงการ และงบประมาณมายังสำนักงาน กปร. สำนักงานฯ จะวิเคราะห์ พิจารณากลั่นกรอง และนำเสนอ กปร. หรือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธาน กปร. (สามารถใช้อำนาจหน้าที่แทน กปร. ได้) พิจารณาอนุมัติต่อไป หากได้รับการอนุมัติสำนักงาน กปร. จะแจ้งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยทันทีพร้อมทั้งแนบแบบรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานรายงานผลตามไตรมาส

 


3.การติดตามประเมินผลโครงการ

ระบบติดตามประเมินผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สำนักงาน กปร. มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการฯ ตามพันธกิจของสำนักงาน นอกจากนี้ ยังมี มติและคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

มติ กปร. ครั้งที่ 1/2527 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2527 และครั้งที่ 1/2539 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2539
คำสั่ง กปร. ที่ 2/2540 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2540

สรุปว่า

การประเมินผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน้าที่ของ สำนักงาน กปร. เท่านั้น หากหน่วยราชการใดมีความประสงค์จะประเมินผลโครงการในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผลการดำเนินงานของส่วนราชการนั้น ๆ ให้ขออนุมัติจาก สำนักงาน กปร. ก่อน

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ รายไตรมาสดำเนินการโดย กผง.
การติดตามผลการดำเนินงานประจำปีดำเนินการโดย กลุ่มประสานงานโครงการทั้ง 4 ภาค
การติดตามผลการดำเนินงานเป็นกรณี ดำเนินการโดย กลุ่มประสานงานโครงการทั้ง 4 ภาค และ กศพ.
โครงการฯ ที่สำคัญและอยู่ในความสนพระทัย หรือเป็นโครงการที่องคมนตรี มีนโยบายให้ติดตาม หรือสำนักงาน กปร. มีนโยบาย
ติดตามผลการดำเนินการแนวพระราชดำริ เป็นเรื่องๆ เช่น ติดตามผลงานการศึกษา ทดลอง และวิจัยของศูนย์ศึกษาฯ เป็นต้น

ภาพรวมระบบการติดตามประเมินผลโครงการฯ


4.การขยายผลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

การขยายผล

แนวทางหลักในการขยายผล

1. การสร้างองค์ความรู้ที่สมบูรณ์
2. การสร้างเครือข่าย

การสร้างองค์ความรู้ที่สมบูรณ์

การสร้างองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ด้านการศึกษา ทดลอง วิจัย

รวบรวมผลการศึกษา ทดลอง วิจัย
ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในด้านการสร้างอาชีพให้เหมาะกับภูมิสังคม
กลั่นกรองงานวิจัยให้สอดคล้องกับพระราชดำริ


การส่งเสริมขยายผลไปยังพื้นที่เป้าหมาย

สาธิตในศูนย์ศึกษาฯ
การฝึกอบรม
ศูนย์ศึกษาฯ ไปขยายผลยังพื้นที่เกษตรโดยตรง ณ หมู่บ้านรอบศูนย์

 

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการงานขยายผล

กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานในภูมิภาคที่ตั้งศูนย์ศึกษาฯตั้งอยู่ องค์กรท้องถิ่นในจังหวัดที่ศูนย์ศึกษาฯ ตั้งอยู่ เช่น อบต. เทศบาล, ศูนย์เรียนรู้ เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง สื่อมวลชนท้องถิ่น

เป้าหมาย : การนำเสนอผลสำเร็จของศูนย์ฯ และนำเสนอหลักสูตรการฝึกอบรม ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ และจุดประกายเพื่อนำไปขยายผลต่อไป

วิธีการ : การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างศูนย์ศึกษา และผู้จะทำการขยายผล (อบต.,หน่วยงานพื้นที่) และผู้รับการขยายผล ร่วมกับการศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาฯ

การสร้างเครือข่าย

การสร้างเครือข่าย :

เกษตรกรเครือข่าย
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ
พอเพียงหน่วยงานภาคี

ตัวอย่างเครือข่าย

 

 

 

 

เครือข่ายเกษตรกรตัวอย่างและศูนย์เรียนรู้

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์

ศึกษาข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย
วางแผนการประชาสัมพันธ์ เช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์
เตรียมรายละเอียดของโครงการต่างๆ
เตรียมการด้านบุคลากร และงบประมาณในโครงการ
ดำเนินงานตามแผนโครงการ
ติดตามและประเมินผล

ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์

สื่อมวลชนสัมพันธ์ :

จัดแถลงข่าว
จัดสื่อมวลชนสัญจร ศึกษาดูงานโครงการฯ
จัดงานเลี้ยงขอบคุณ / พบปะสังสรรค์

 

สื่อมวลชนศึกษาดูงาน

สื่อวิทยุ :
จัดทำรายการวิทยุ ชุด “สืบสานงานพัฒนากับสำนักงาน กปร.” ความยาว 20 นาที จำนวน 52 ตอน

สื่อโทรทัศน์ :
จัดทำสารคดีเฉลิมพระเกียรติ ชุด “ร้อยไทยด้วยดวงใจ” จำนวน 15 ตอน ความยาว 2 นาที
จัดทำรายการโทรทัศน์ “ เที่ยวไทย ไปดูงานสืบสานการพัฒนากับ สำนักงาน กปร.” ความยาว 10 นาที จำนวน 5 ตอน
จัดทำสารคดีเชิงข่าว เผยแพร่ข่าวความเคลื่อนไหวของสำนักงาน กปร. ความยาว 1 นาที จำนวน 24 ตอน

สื่อสิ่งพิมพ์ :
เผยแพร่ข่าว บทความ และภาพข่าวประชาสัมพันธ์โครงการฯ ทางสื่อหนังสือพิมพ์
จัดพิมพ์หนังสือ เอกสารเผยแพร่โครงการฯ รวมถึง แผ่นพับ โปสเตอร์ และวารสารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 4 ฉบับ

 

 

 

 

จัดแสดงนิทรรศการ

จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ