สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 13-14) ได้อธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางการพัฒนา ของประเทศ โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 ได้ยึดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริเป็นปรัชญานำทางการพัฒนาของประเทศ โดยมีแนวทางดังนี้ 1. ทางสายกลาง ไม่พัฒนาไปในทางทิศใดทิศหนึ่งจนเกินไป เช่น ปิดหรือเปิดเสรีเต็มที่ 2. ความสมดุลและความยั่งยืน เน้นการพัฒนาในลักษณะองค์รวม 3. ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความพอดีทั้งในการผลิตและการบริโภค 4. ภูมิคุ้มกันและรู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว 5. การเสริมสร้างคุณภาพคน เน้นให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มิตรไมตรี เอื้ออาทร มีความ เพียร มีวินัย มีสติ ไม่ประมาท พัฒนาปัญญาและความรู้อย่างต่อเนื่อง สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 33-34) ได้อธิบายถึง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ สอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธของ (Schumacher) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้กล่าวว่า “สัมมาอาชีวะ” ซึ่งเป็นธรรมข้อหนึ่งในมรรคแปดของพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ นัก เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ส่งเสริมให้มนุษย์มีมาตรฐานการครอบชีพที่สูง โดยวัดจากจำนวนการบริโภค และ ถือว่า ผู้ที่บริโภคมากจะ “อยู่ดีกินดี” กว่าผู้บริโภคน้อย แต่นักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีความเห็นว่า การ บริโภคเป็นเพียงมรรคที่จะนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดี ดังนั้นจุดมุ่งหมายน่าจะอยู่ที่การทำให้การกินดีอยู่ดี มากที่สุด โดยการบริโภคให้น้อยที่สุด หัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือ ความเรียบง่าย อหิสาธรรม และทางสายกลาง สมพร เทพสิทธา (2548, หน้า 36-37) ได้อธิบายถึง “เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ” ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต) ว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธนี้มีลักษณะเป็นสายกลาง อาจจะเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ สายกลางหรือเศรษฐศาสตร์มัชฌิมาปฏิปทาที่ว่า เป็นสายกลางเป็นมัชฌิมา คือ มีความพอดี พอประมาณ ได้ดุลยภาพ ความพอดี คือ จุดที่คุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจมาบรรจบกัน หมายความ ว่า เป็นการได้รับความพึงพอใจด้วยการตอบสนองความต้องการของคุณภาพชีวิต ตัวกำหนด เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ คือ มัตตัญญุตา ความรู้จักพอประมาณ รู้จักพอประมาณ รู้จักพอดีในการบริโภค หมายถึง ความพอดี ให้คุณภาพของชีวิตมาบรรจบกับความพึงพอใจ