ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

การคัดเลือกจุลินทรีย์คุ้นถิ่น (ฺBacillus spp.) จากฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของกลุ่มผลิตจุลินทรีย์สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ปีที่เริ่มวิจัย
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี
สาขางานวิจัย
การพัฒนาประมงและเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)

บทคัดย่อ

ในธรรมชาติจุลินทรีย์มีบทบาทในการลดสารอินทรีย์ ลดของเสียในดินและน้ำของบ่อเพาะเลี้ยงสัตฺว์น้ำ เมื่อบ่อเพาะเลี้ยงมีปริมาณของเสียมากเกินจนจุลินทรีย์ในธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการจัดการตามแนวทางธรรมชาติบำบัด การใช้จุลินทรียที่มีประโยชน์เข้ามาช่วยในเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพน้ำ คุณภาพดินพื้นบ่อ โดยการเพิ่มกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์อย่างสมบูรณ์ จึงเป็นวิธีการที่จำเป็นต่อจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเติมจุลินทรีย์เพื่อช่วยในการย่อยสลายสิ่งขับถ่าย เศษอาหารที่หลงเหลือในบ่อ รวมถึงแอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่เป็นสารประกอบที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ให้กลายเป็นน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลให้การสะสมสารอินทรีย์และของเสียอื่นๆ ในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลดลง นอกจากนั้นการใช้จุลินทรีย์หรือโพรไบโอติก ยังนิยมใช้เพื่อยับยั้งเชื้อก่อโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกันของสัตว์น้ำ ทำให้เกิดสมดุลในระบบทางเดินอาหารและช่วยย่อยสารอาหารขนาดใหญ่ให้เป็นสารอาหารขนาดเล็ก รวมทั้งลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงทำให้การใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดของเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งได้รับความนิยมจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้าง และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัย คันคว้า และพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ มาประมวลเป็นองค์ความรู้ครบวงจรในด้านการพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การพัฒนาจุลินทรีย์คุ้นถิ่น การจัดตั้งห้องปฏิบัติการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ และ หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำที่ใช้ทางการประมง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของกลุ่มผลิตจุลินทรีย์ สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ชาวประมง เกษตรกร สมาคม ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้สนใจ สามารถนำไปประยุกษ์ใช้ในขอบเขตงานที่กว้างขวางมากขึ้น ทำให้เอกสารเผยแพร่นี้มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย อันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดใหม่ๆต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ ลดการนำเข้าจุลินทรีย์จากต่างประเทศ และยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในการรวมกลุ่มการผลิตจุลินทรีย์ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในพื้นที่ เกษตรกรมีความมั่นคง ยั่งยืน และมีศักยภาพในการแข่งขัน โดยน้อมนำพระราชดำริฯ ในด้านการศึกษา ทดลอง และวิจัย ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯความว่า “…ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษา ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้า วิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่ สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่าง ๆ กัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน....
ผู้วิจัย / คณะวิจัย กัญญารัตน์ สุนทรา
ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
พระราชทานพระราชดำหริ