ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

การศึกษาชนิดของจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม พื้นที่ความเค็มต่ำจังหวัดฉะเชิงเทรา

ปีที่เริ่มวิจัย
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
อ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี
สาขางานวิจัย
การพัฒนาประมงและเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)

บทคัดย่อ

ฟาร์มที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่ความเค็มต่ำของจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่มีการจัดการระบบการเลี้ยงด้วยจุลินทรีย์เป็นหลัก และมีใช้จุลินทรีย์หลากหลายชนิดในระบบการเลี้ยง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกและระบุชนิดของจุลินทรีย์กลุ่ม Bacillus ที่พบในดิน พื้นบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boon, 1931) ในพื้นที่ความเค็มต่ำ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเก็บตัวอย่างจากฟาร์มจำนวน 3 ฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไม ที่ไม่พบการเกิดโรค หรือกุ้งป่วย ฟาร์มมีการจัดการฟาร์มเลี้ยงด้วยจุลินทรีย์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี โดยทำการเก็บตัวอย่างจากฟาร์มจำนวน 3 แห่ง พบว่าจุลินทรีย์ที่แยกได้เป็นกลุ่ม Bacillus จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ B. megaterium (CH1), B. subtilis (CH2), B. paralicheniformis (CH3), B. amyloliquefaciens (CH4), B. siamensis (CH5) และ B. velezensis (CH6) ซึ่งมีความเหมือนของลำดับนิวคลีโอไทด์เท่ากับ 99.00 เปอร์เซ็นต์ จุลินทรีย์ทั้ง 6 ชนิดสามารถเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 30-40 องศาเซลเซียส ในช่วงค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 4-10 และความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ 0-4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำจุลินทรีย์ Bacillus spp. ทั้ง 6 ชนิด มาทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมเชื้อ Vibrio parahaemolyticus สายพันธุ์ก่อโรค Acute hepatopancreatic necrosis disease (VpAHPND) ด้วยวิธี co-culture พบว่า B. subtilis (CH2) มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดปริมาณเชื้อ VpAHPND เหลือ 3.10 × 10² CFU/ml โดยภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่มีปริมาณเชื้อ 2.78 × 107 CFU/ml จึงคัดเลือก B. subtilis (CH2) ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ชนิดผง ที่มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 3.12 × 106 – 2.71 × 107 CFU/g โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ไม่มีการปนเปื้อนของยีสต์และรา และไม่พบการสร้างสารปฏิชีวนะ จากการทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์บาซิลลัสในการลดปริมาณสารอินทรีย์ที่เป็นของเสียจากสิ่งขับถ่ายของกุ้งที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ พบว่าผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผง CH2 เมื่อใช้ในอัตรา 500 ลิตร/ไร่ เป็นเวลา 21 วัน สามารถลดปริมาณสารอินทรีย์จากสิ่งขับถ่ายได้ 22.11 เปอร์เซนต์ อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้ง และผลการใช้จุลินทรีย์ผง CH2 ของเกษตรกรจำนวน 51 รายในการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในด้านการปรับปรุงคุณภาพน้ำ (67 เปอร์เซ็นต์) การป้องกันโรค (49 เปอร์เซ็นต์) และการเสริมสร้างความแข็งแรงของกุ้ง (41 เปอร์เซ็นต์) ผลผลิตเฉลี่ยต่อรอบการเลี้ยงอยู่ที่ 288.65 ตัน และผลผลิตรวมทั้งปี 1,277 ตัน/ปี ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าจุลินทรีย์ Bacillus CH2 ที่แยกได้จากดินพื้นบ่อในพื้นที่ความเค็มต่ำ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์แบบผง และสามารถนำไปส่งเสริมใช้ในการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ความเค็มต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ Bacillus CH2 ที่ขยายเพิ่มปริมาณแล้วในอัตรา 500 ลิตร/ไร่ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร คำสำคัญ: กุ้งขาวแวนนาไม, จุลินทรีย์, บาซิลลัส, ความเค็มต่ำ, โพรไบโอติก
ผู้วิจัย / คณะวิจัย กัญญารัตน์ สุนทรา
ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
พระราชทานพระราชดำหริ