ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

การไหลบ่าของน้ำและการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้

ปีที่เริ่มวิจัย
2549
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
ห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
สาขางานวิจัย
การพัฒนาป่าไม้ ,
การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

ความเป็นมาและความส้าคัญของปัญหา


พระราชด้าริ
1) พระราชด้าริเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริจักรพันธุ์ องคมนตรีอธิบดีกรมชลประธานและเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด้าริพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์สวนจิตรลดาในการนี้ได้พระราชทานกระแสพระราชด้าริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการจัดหาน้้าสนับสนุนศูนย์ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ต้นน้้าห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชด้าริ อ้าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเร่งด่วน ดังนี้
“...ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้้าทางบริเวณต้นน้้าห้วยฮ่องไคร้เหนืออ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ที่ส้านักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ก่อสร้างไว้แล้วเพื่อใช้เป็นแหล่งน้้าส้าหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้้าห้วยฮ่องไคร้ต่อไป…”
“...ควรพิจารณาต่อท่อผันน้้าจากฝายทดน้้าแม่ลายไปลงอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 เพื่อเสริมปริมาณน้้าของอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ในช่วงที่ขาดฝนและในระยะปลายฤดูฝนด้วยโดยการต่อท่อจากปลายท่อผันน้้าของฝายทดน้้าแม่ลายของกรมชลประทานที่ผันน้้าไปลงอ่างเก็บน้้าห้วยแม่คูหาของส้านักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทในเขตหมู่บ้านสหกรณ์สันก้าแพงที่ได้ก่อสร้างไว้เดิมแล้ว…”
“...ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ตอนล่างบริเวณบ้านกาดขี้เหล็กอ้าเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่เพื่อจัดหาน้้าให้กับราษฎรหมู่บ้านต่างๆในเขตต้าบลแม่โป่งอ้าเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ สามารถท้าการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งและมีน้้าเพื่อการอุปโภคบริโภคส้าหรับราษฎรหมู่บ้านต่างๆดังกล่าวตลอดปีด้วย…”

2) พระราชด้าริเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด้าเนินทอดพระเนตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชด้าริในเขตอ้าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้พระราชทานพระราชด้าริเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการวางแผนการด้าเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ดังนี้ “...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชด้าริจะท้าการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้้าล้าธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักให้เป็นต้นทางปลายทางเป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้้าต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรอย่างแท้จริง ผสมกับการศึกษาด้านสหกรณ์ด้านเกษตรกรรมด้านปศุสัตว์ (รวมโคนม) และด้านเกษตรอุตสาหกรรมรวมทั้งด้านตลาดอีกด้วยเพื่อให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้แห่งนี้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์แล้วน้าไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป...”

แนวทางการด้าเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนา
      1) การจัดหาแหล่งน้้า
การก่อสร้างอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 5 ความจุ 2.0 ล้านลูกบาศก์เมตร ส้านักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2522 อ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ความจุ 0.25 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทาน ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2526 ระบบท่อผันน้้าจากแม่ลายไปลงอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ปริมาณน้้าประมาณวันละ 5,000 ลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527
ควรพิจารณาด้าเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้้าของอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ในปี พ.ศ. 2527 เพื่อส่งน้้าสนับสนุนพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้้าชลประทานประมาณ 600 ไร่ ควรก่อสร้างอาคารบังคับน้้าจากแนวท่อไว้ที่บริเวณห้วย
ธรรมชาติที่ท่อส่งน้้าตัดผ่านเพื่อระบายน้้าลงสู่ล้าห้วยให้กับฝายเก็บกักน้้าต่างๆ และสร้างอาคารบังคับน้้าไว้ตามลูกเนินแล้วขุดคูส่งน้้าระบบก้างปลาไว้โดยให้คูส่งน้้าลัดเลาะไปตามลูกเนินมีส่วนลาดชันเพียงเล็กน้อยและสร้างฝายปิดกั้นน้้าในคูไว้เป็นช่วงๆ ให้น้้าขังอยู่ในคูได้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้น้้าดูดซึมลงไปในดินเพิ่มความชุ่มชื้นในดินส้าหรับสนับสนุนการปลูกป่าให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป
ควรพิจารณาด้าเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 2 พร้อมระบบส่งน้้าบางส่วนในปี พ.ศ. 2527 เพื่อส่งน้้าสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ของศูนย์ซึ่งจะเริ่มด้าเนินการในปี พ.ศ. 2527 นี้เช่นหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบประณีต การปลูกทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงโคนม การปศุสัตว์และการเกษตรกรรมอื่นๆ
ควรพิจารณาสร้างฝายเก็บน้้าตามล้าน้้าสาขาของห้วยฮ่องไคร้โดยสร้างเป็นฝายแบบง่าย เช่น ฝายหินตั้งและฝายแบบชาวบ้านโดยด้าเนินการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ทั้งในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้้าชลประทานและพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้้าฝนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาป่าไม้ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป ควรเร่งด้าเนินการในปี พ.ศ. 2527 บางส่วนและด้าเนินการในปีต่อๆ ไป ตามความเหมาะสม
     2) การพัฒนาป่าไม้
เนื่องจากการปลูกป่าในสภาพปัจจุบัน ปลูกกล้าไม้ไป 100 ต้น จะเหลือเพียง 30 ต้น โดยตายไปเสีย 70 ต้น เนื่องจากการขาดแคลนน้้า นอกจากนั้น ในระยะฤดูแล้ง ต้นไม้ต่างๆ จะแห้งมากท้าให้เกิดไฟไหม้ป่าเสียหายเป็นจ้านวนมากเป็นประจ้าทุกปี ดังนั้น ในการพัฒนาป่าไม้ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้นี้จึงได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้้าและฝายเก็บกักน้้าบริเวณต้นน้้าล้าธารขึ้น เพื่อเป็นการศึกษาและทดลองการปลูกป่า โดยให้น้้าชลประทาน ซึ่งเชื่อแน่ว่าป่าไม้ที่ปลูกโดยได้รับน้้าชลประทานนี้จะต้องเจริญเติบโตเร็ว นอกจากนั้น พื้นดินจะชุ่มชื้นตลอดเวลาและต้นไม้จะเขียวสดอยู่ตลอดปี ท้าให้เกิดไฟป่าได้ยากและเปอร์เซ็นต์การตายหลังจากปลูกกล้าไม้แล้วจะต้องลดลงมากด้วย อาจจะเหลือเปอร์เซ็นต์การตายเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะตายประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เช่นในสภาพปัจจุบัน
     2.1 การพัฒนาป่าไม้ในเขตชลประทาน
          พื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้้าชลประทานจากอ่างเก็บน้้าห้วยฮ่องไคร้ 1 ประมาณ 600 ไร่ นั้น พื้นที่ตามลูกเนินจะได้รับน้้าซึมจากคูน้้าระบบก้างปลาและพื้นที่ตามริมน้้าล้าห้วยธรรมชาติต่างๆ ส้าหรับในช่วงที่ขาดฝนและตลอดในระยะฤดูแล้งจะท้าให้ป่าไม้ในพื้นที่นี้ได้รับน้้าตลอดปี ซึ่งต้นไม้จะเขียวชอุ่มตลอดปี และ นอกจากนั้น พื้นที่ดินยังชุ่มชื้นตลอดทั้งปีอีกด้วย ลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ทั้ง 600 ไร่ บริเวณนี้จะเป็นแนวป้องกันไฟ (ป่าเปียก) ทั้งผืน
     2.2 การพัฒนาป่าไม้นอกเขตชลประทาน
พื้นที่พัฒนาป่านอกเขตชลประทานภายในศูนย์แห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ ส้าหรับพื้นที่ตามร่องห้วยธรรมชาติต่างๆ จะได้รับน้้าซึมจากฝายเก็บน้้าต่างๆ และฝายเก็บน้้าเหล่านี้ควรต่อท่อชักน้้าทั้งสองฝั่ง (อาจจะใช้ท่อไม้ไผ่) เพื่อชักน้้าจากเหนือฝายกระจายน้้าออกไปตามสันเนินเพื่อให้น้้าซึมลงไปในดินเพิ่มความชุ่มชื้นในดินส้าหรับสนับสนุนการปลูกป่าไม้ตามร่องห้วยธรรมชาติและชายเนินต่อไป ซึ่งต้นไม้ตามร่องห้วยและชายเนินนี้จะเติบโตเร็วคลุมร่องห้วยไว้ท้าให้พื้นดินชุ่มชื้นตลอดเวลาลักษณะเป็นแนวป้องกันไฟ (ป่าเปียก) เป็นแนวๆ ไปตามร่องห้วยต่างๆ ดังกล่าวแล้วการปลูกควรพิจารณาด้าเนินการปลูกในพื้นที่ป่าที่ถูกลอบท้าลายไว้แล้วก่อนและการปลูกป่าตามแนวถนน ในเขตโครงการที่ก่อสร้างไว้แล้วหรือที่จะก่อสร้างต่อไป ซึ่งต้นไม้บางส่วนถูกท้าลายไปเนื่องจากการก่อสร้างถนนดังกล่าว ควรพิจารณาด้าเนินการปลูกต้นไม้ชนิดที่ใช้ประกอบในการท้าอาหารได้ เช่น ต้นแค ต้นขี้เหล็ก ต้นมะรุม ต้นสะเดา ต้นมะม่วง เป็นต้น โดยปลูกให้เป็นหย่อมๆ เพื่อความสวยงามและใช้ประโยชน์ได้ด้วย ส่วนพื้นที่ป่าโดยทั่วไป ควรพิจารณาปลูกไม้ 3 อย่าง ไม้ใช้สอย (รวมทั้งไม้ไผ่) ไม้ผลและไม้ฟืนตามความเหมาะสม ควรพิจารณาก่อสร้างถนนสันเขาและก่อสร้างรั้วตามแนวถนนรอบเขตโครงการเพื่อการตรวจสอบสภาพป่าไม้อย่างทั่วถึงป้องกันการบุกรุกท้าลายป่าและจะจัดท้าเป็นสวนสัตว์เปิดในระยะต่อไปด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการ
(1) เพื่อศึกษาปริมาณการชะล้างหน้าดินในพื้นที่ป่าไม้ลุ่มน้้าห้วยฮ่องไคร้ ได้แก่ พื้นที่ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ
(2) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้้าไหลบ่ากับปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้างในแต่ละพื้นที่ศึกษา
(3) ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการชะล้างหน้าดินที่เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ต้นน้้าโดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศไทย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยการไหลบ่าของน้ำและสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2556 โดยการวางแปลงทดลองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 4x20 เมตร จำนวน 6 แปลงๆ ละ 3 ซ้ำ ในพื้นที่ป่าธรรมชาติ 2 ชนิด ซึ่งปกคลุมพื้นที่ที่วัตถุต้นกำเนิดดินชนิด 3 ชนิด ได้แก่ 1) ป่าเต็งรังพื้นที่หินฮอนเฟลส์ 2) ป่าเบญจพรรณพื้นที่หินฮอนเฟลส์ 3) ป่าเต็งรังพื้นที่หินดินดาน 4) ป่าเบญจพรรณพื้นที่หินดินดาน 5) ป่าเบญจพรรณพื้นที่หินทราย และ 6) ป่าเต็งรังพื้นที่หินทราย ทำการวัดปริมาณน้ำฝนจากเครื่องวัดน้ำฝนแบบมาตรฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางพื้นที่รับน้ำฝน 8 นิ้ว วัดปริมาณน้ำไหลบ่าจากแปลงทดลองในถังเก็บกักน้ำและตะกอน เก็บตัวอย่างน้ำในถังเก็บกักน้ำและตะกอนจำนวน 1 ลิตร เพื่อวิเคราะห์ปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้าง ทำการเก็บข้อมูลดังกล่าววันละ 1 ครั้งภายหลังวันที่ฝนตก จากการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,322.1 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำไหลบ่ารายปีเท่ากับ 8.90 มิลลิเมตร/ไร่ ปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้างจากแปลงทดลองที่ 1-6 เฉลี่ยเท่ากับ 22.70 16.77 27.97 19.49 21.81 และ 25.44 กิโกกรัม/ไร่ต่อปี ตามลำดับ จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า ในพื้นที่ที่มีวัตถุต้นกำเนิดดินชนิดเดียวกันพื้นที่ป่าเบญจพรรณมีปริมาณการชะล้างหน้าดินน้อยกว่าพื้นที่ป่าเต็งรัง ปริมาณตะกอนที่ถูกชะล้างจากแปลงทดลองทั้ง 6 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
ผู้วิจัย / คณะวิจัย สุภาพ ปารมี, สุรพล กัณชัย, จุไรพร แก้วทิพย์
ดำเนินการ 2549
ระยะเวลา 2548-2556
งบประมาณ 2556
พระราชทานพระราชดำหริ 11 ธันวาคม 2525, 3 กุมภาพันธ์ 2527