ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชป่าไม้และการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้

ปีที่เริ่มวิจัย
ศูนย์การศึกษาพัฒนาฯ
สาขางานวิจัย
การพัฒนาเกษตรกรรม(พืช)

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 

1-1.  ความเป็นมา 

1-1.1 พระราชดำริ

 

(1) พระราชดำริเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี อธิบดีกรมชลประธานและเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ในการนี้ได้พระราชทานกระแสพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนศูนย์ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเร่งด่วน ดังนี้

“...ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทางบริเวณต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ก่อสร้างไว้แล้ว เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำห้วยฮ่องไคร้ต่อไป…”

“...ควรพิจารณาต่อท่อผันน้ำจากฝายทดน้ำแม่ลายไปลงอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 เพื่อเสริมปริมาณน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ในช่วงที่ขาดฝนและในระยะปลายฤดูฝนด้วย โดยการต่อท่อจากปลายท่อผันน้ำของฝายทดน้ำแม่ลายของกรมชลประทานที่ผันน้ำไปลงอ่างเก็บน้ำห้วยแม่คูหาของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทในเขตหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงที่ได้ก่อสร้างไว้เดิมแล้ว…”

“...ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ตอนล่าง บริเวณบ้านกาดขี้เหล็ก อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดหาน้ำให้กับราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ในเขตตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้งและมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ดังกล่าวตลอดปีด้วย…”

 

(2) พระราชดำริ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527

 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเขตอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ดังนี้ “...ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะทำการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักให้เป็นต้นทาง ปลายทางเป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรอย่างแท้จริง ผสมกับการศึกษาด้านสหกรณ์ ด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ (รวมโคนม) และด้านเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งด้านตลาดอีกด้วยเพื่อให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้แห่งนี้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์แล้วนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป...” 

 

ทรงประทานพระราชดำริเพิ่มเติมให้ทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยายามใช้ประโยชน์จากน้ำที่ไหลมาจากยอดเขาลงสู่พื้นที่ตอนล่างให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยการจัดทำฝายต้นน้ำ (Check dam) และทำคูน้ำระบบก้างปลา เพื่อรักษาและชะลอความชื้นของดินในฤดูแล้งอันจะนำประโยชน์มาใช้ในการปลูกป่าและเป็นแนวป้องกันไฟป่าเปียก (Wet fire break) ด้วยน้ำที่ไหลผ่านมาเบื้องล่างจะเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเพื่อประโยชน์ไปใช้สนับสนุนกิจกรรมการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และการประมง สำหรับการปลูกป่าให้พิจารณาปลูกไม้ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วและไม้ชนิดอันที่จะเป็นประโยชน์ทั้งในการใช้สอยและเป็นเชื้อเพลิง โดยการปลูกสร้างเสริมป่าและพัฒนาป่าไม้เดิมที่อยู่สันเขาเพื่อให้เป็นแม่ไม้ในการโปรยเมล็ดพันธุ์ลงสู่พื้นดินเบื้องล่างที่จะทำให้เกิดสภาพป่าที่หนาทึบและสมบูรณ์ขึ้นได้ ตามแนวพระราชดำริดังกล่าวงานกิจกรรมด้านพัฒนาป่าไม้จึงได้ดำเนินการมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าไม้กันหลายประเด็น ได้แก่ ความหลากลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดิน ความชุ่มชื้นของพื้นที่ ปริมาณและอัตราการไหลของน้ำในลำธาร เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นอย่างมากและพระองค์ท่านได้ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายครั้งโดยให้ทดลองใช้ฝายต้นน้ำเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน ลดการซะล้างหน้าดิน เป็นต้น จากแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านนำไปสู่การพัฒนาป่าไม้เพื่อให้เป็นแนวกันไฟป่าเปียก โดยการทำฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสานในลำห้วยและสร้างเหมืองไส้ไก่ที่คดเคี้ยวไปตามระดับเป็นระบบคล้ายก้างปลา เพื่อกระจายน้ำไปยังพื้นที่รอบข้างเพื่อสร้างความชุ่มชื้น เมื่อพื้นที่มีความชุ่มชื้น ระบบนิเวศป่าไม้ก็จะพัฒนาขึ้น การพัฒนาขึ้นของป่าไม้ตามพระราชดำริ ทำให้ป่าไม้ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาก ส่งผลดีต่อสภาพนิเวศของพื้นที่ต้นน้ำ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ผลผลิตจากป่าที่เป็นเนื้อไม้ (Wood products) และ ผลผลิตจากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้หรือของป่า (Non-wood forest products) ประโยชน์ทางอ้อมของป่าไม้ ได้แก่ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ป้องกันการพังทลายของดิน ช่วยปรับสภาพอากาศจากการดูดซับและสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยก๊าซออกชิเจนออกมา เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและท่องเที่ยว เป็นต้น

จากแนวพระราชดำริดังกล่าวจึงจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการศึกษาวิจับเพื่อประเมินเกี่ยวกับความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชป่าไม้และการกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากต้นไม้ในป่ามีการเจริญเติบโตขึ้นและสิ่งแวดล้อมในป่าเปลี่ยนแปลงไปทุกปี 

 

1.1.2 แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ

 

(1) การจัดหาแหล่งน้ำ

 

(ก) อ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 5 ความจุ 2.0 ล้านลูกบาศก์เมตร สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2522

 (ข) อ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ความจุ 0.25 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมชลประทาน ก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

 (ค) ระบบท่อผันน้ำจากแม่ลายไปลงอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ปริมาณน้ำประมาณวันละ 5,000 ลูกบาศก์เมตร กรมชลประทานก่อสร้างเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

(ง) ควรพิจารณาดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ในปี พ.ศ. 2527 เพื่อส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำชลประทาน ประมาณ 600 ไร่ ควรก่อสร้างอาคารบังคับน้ำจากแนวท่อไว้ที่บริเวณห้วยธรรมชาติที่ท่อส่งน้ำตัดผ่าน เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำห้วยให้กับฝายเก็บกักน้ำต่างๆและสร้างอาคารบังคับน้ำไว้ ตามลูกเนินแล้วขุดคูส่งน้ำระบบก้างปลาไว้ โดยให้ คูส่งน้ำลัดเลาะไปตามลูกเนินมีส่วนลาดชันเพียงเล็กน้อยและสร้างฝายปิดกั้นน้ำในคูไว้เป็นช่วงๆ ให้น้ำขังอยู่ในคูได้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้น้ำดูดซึมลงไปในดินเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน สำหรับสนับสนุน การปลูกป่าให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป

(จ) ควรพิจารณาดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 2 พร้อมระบบส่งน้ำบางส่วนในปี พ.ศ. 2527 เพื่อส่งน้ำสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ของศูนย์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2527 นี้ เช่น หมู่บ้านเกษตรกรรมแบบประณีต การปลูกทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงโคนม การปศุสัตว์และการเกษตรกรรมอื่นๆ 

(ฉ) ควรพิจารณาสร้างฝายเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาของห้วยฮ่องไคร้ โดยสร้างเป็นฝายแบบง่าย เช่น ฝายหินตั้งและฝายแบบชาวบ้าน โดยดำเนินการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ทั้งในเขตพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำชลประทานและพื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำฝน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาป่าไม้ ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป ควรเร่งดำเนินการในปี พ.ศ. 2527 บางส่วนและดำเนินการในปีต่อๆ ไป ตามความเหมาะสม

 

(2) การพัฒนาป่าไม้

 

เนื่องจากการปลูกป่าในสภาพปัจจุบัน ปลูกกล้าไม้ไป 100 ต้น จะเหลือเพียง 30 ต้น โดยตายไปเสีย 70 ต้น เนื่องจากการขาดแคลนน้ำ นอกจากนั้นในระยะฤดูแล้ง ต้นไม้ต่างๆ จะแห้งมากทำให้เกิดไฟไหม้ป่าเสียหายเป็นจำนวนมากเป็นประจำทุกปี ดังนั้นในการพัฒนาป่าไม้ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้นี้ จึงได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารขึ้น เพื่อเป็นการศึกษาและทดลองการปลูกป่า โดยให้น้ำชลประทาน ซึ่งเชื่อแน่ว่าป่าไม้ที่ปลูกโดยได้รับน้ำชลประทานนี้จะต้องเจริญเติบโตเร็ว นอกจากนั้นพื้นดินจะชุ่มชื้นตลอดเวลาและต้นไม้จะเขียวสดอยู่ตลอดปี ทำให้เกิดไฟป่าได้ยากและเปอร์เซ็นต์การตายหลังจากปลูกกล้าไม้แล้วจะต้องลดลงมากด้วย อาจจะเหลือเปอร์เซ็นต์การตายเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะตายประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เช่น ในสภาพปัจจุบัน

 

(ก) การพัฒนาป่าไม้ในเขตชลประทาน

 

พื้นที่พัฒนาป่าไม้ด้วยน้ำชลประทานจากอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ 1 ประมาณ 600 ไร่นั้น พื้นที่ตามลูกเนินจะได้รับน้ำซึมจากคูน้ำระบบก้างปลาและพื้นที่ตามริมน้ำลำห้วยธรรมชาติต่างๆ สำหรับในช่วงที่ขาดฝนและตลอดในระยะฤดูแล้งจะทำให้ป่าไม้ในพื้นที่นี้ได้รับน้ำตลอดปี ซึ่งต้นไม้จะเขียวชอุ่มตลอดปีและนอกจากนั้นพื้นที่ดินยังชุ่มชื้นตลอดทั้งปีอีกด้วย ลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ทั้ง 600 ไร่ บริเวณนี้จะเป็นแนวป้องกันไฟ (ป่าเปียก) ทั้งผืน

 

ข. การพัฒนาป่าไม้นอกเขตชลประทาน

 

พื้นที่พัฒนาป่านอกเขตชลประทานภายในศูนย์แห่งนี้ มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่สำหรับพื้นที่ตามร่องห้วยธรรมชาติต่างๆ จะได้รับน้ำซึมจากฝายเก็บน้ำต่างๆและฝายเก็บน้ำเหล่านี้ควรต่อท่อชักน้ำทั้งสองฝั่ง (อาจจะใช้ท่อไม้ไผ่) เพื่อชักน้ำจากเหนือฝายกระจายน้ำออกไปตามสันเนินเพื่อให้น้ำซึมลงไปในดินเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน สำหรับสนับสนุนการปลูกป่าไม้ตามร่องห้วยธรรมชาติและชายเนินต่อไป ซึ่งต้นไม้ตามร่องห้วยและชายเนินนี้จะเติบโตเร็วคลุมร่องห้วยไว้ ทำให้พื้นดินชุ่มชื้นตลอดเวลาลักษณะเป็นแนวป้องกันไฟ (ป่าเปียก) เป็นแนวๆ ไปตามร่องห้วยต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การปลูก ควรพิจารณาดำเนินการปลูกในพื้นที่ป่าที่ถูกลอบทำลายไว้แล้วก่อนและการปลูกป่าตามแนวถนน ในเขตโครงการที่ก่อสร้างไว้แล้วหรือที่จะก่อสร้างต่อไป ซึ่งต้นไม้บางส่วนถูกทำลายไปเนื่องจากการก่อสร้างถนนดังกล่าว ควรพิจารณาดำเนินการปลูกต้นไม้ชนิดที่ใช้ประกอบในการทำอาหารได้ เช่น ต้นแค ต้นขี้เหล็ก ต้นมะรุม ต้นสะเดา ต้นมะม่วง เป็นต้น โดยปลูกให้เป็นหย่อมๆ เพื่อความสวยงามและใช้ประโยชน์ได้ด้วย  ส่วนพื้นที่ป่าโดยทั่วไป ควรพิจารณาปลูกไม้ 3 อย่าง ไม้ใช้สอย (รวมไม้ไผ่) ไม้ผลและไม้ฟืน ตามความเหมาะสม ควรพิจารณาก่อสร้างถนนสันเขาและก่อสร้างรั้วตามแนวถนนรอบเขตโครงการเพื่อการตรวจสอบสภาพป่าไม้อย่างทั่วถึง ป้องกันการบุกรุกทำลายป่าและจะจัดทำเป็นสวนสัตว์เปิดในระยะต่อไปด้วย

 

1-2.                ขอบเขตของการวิจัย 

โครงการวิจัยโดยใช้แปลงสุ่มตัวอย่าง ขนาด 40 x 40 เมตร ในพื้นที่ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 แบบ คือ (1) พื้นที่ลุ่มน้ำป่าไม้ที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว (2) พื้นที่ลุ่มน้ำที่ได้รับน้ำชลประทาน (3) พื้นที่ลุ่มน้ำที่มีการสร้างฝาย (4) พื้นที่ลุ่มน้ำที่มีการสร้างอ่างเก็บน้ำและฝาย และ (5) ป่าไม้ในพื้นที่นอกศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึง 2555 (12 ปี) ครอบคลุม 3 ประเด็น ดังนี้

 

(1) การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ในป่า 

(2) การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ 

(3) การศึกษาผลผลิตปฐมภูมิ (มวลชีวภาพ) และการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ

 

1-3.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

 

(1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (species) สกุล (genus) และวงศ์ (families) ของพรรณไม้ในป่าเต็งรังและเบญจพรรณ รวมทั้งจำนวนประชากรของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดในป่า ประกอบด้วยจำนวนชนิดพันธุ์ (Species richness) ดัชนีความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ (Species diversity index) และข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่า

(2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชในป่าเต็งรังและเบญจพรรณ ได้แก่ ความหนาแน่นของต้นไม้ พื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม ดัชนีบ่งชี้สภาพป่าและผลผลิตมวลชีวภาพ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลผลิตปฐมภูมิสุทธิของป่าไม้ (Primary production)

(3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศของป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ 

-

วิธีดำเนินการ 

2-1.  สภาพทั่วไปของพื้นที่                                                                

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 53 ลิปดา ถึง 17 องศา 56 ลิปดาเหนือ และ เส้นแวงที่ 99 องศา  14 ลิปดา ถึง 99  องศา 16 ลิปดา พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง  350-580 เมตร (รทก) มีความลาดชันของพื้นที่ค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด 8,500 ไร่  โดยมีความกว้างของลุ่มน้ำเฉลี่ย 2,500  เมตร และ ความยาวเฉลี่ย 6,500 เมตร มีทิศของพื้นที่ลาดเท (slope aspect) จากทิศเหนือลงไปทางใต้

สภาพป่าก่อนการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ โดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังที่ค่อนข้างเสื่อมโทรม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นเนินเขา พื้นป่าบางแห่งมีหินโผล่ขนาดใหญ่กระจายอยู่  โดยพบป่าเบญจพรรณตามบริเวณใกล้ลำห้วยที่มีความชุ่มชื้นพอสมควร แต่พบพันธุ์ไม้เด่นของป่าเต็งรังขึ้นปะปนอยู่บ้างในบางพื้นที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่ดั้งเดิมค่อนข้างแห้งและมีสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมก่ำกึ่งระหว่างป่าสองชนิด ทำให้มีการกระจายของพันธุ์ไม้บางชนิดจากป่าเต็งรังเข้าไปปะปนในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ขณะเดียวกันพันธุ์ไม้บางชนิดจากป่าเบญจพรรณก็จะกระจายเข้าไปในพื้นที่ป่าเต็งรัง

ดินส่วนใหญ่ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ เป็นดินที่เกิดจากการผุสลายของหินภูเขาไฟ เป็นหินชั้นและหินตะกอน ลักษณะดินจัดอยู่ในกลุ่ม  Red yellow podzolic soil และ Reddish brown lateristic soil เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะเปิดหน้าดินเพื่อการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว

2-2.  ชนิดของป่าไม้ 

 

(1) ป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest, MDF)

 

ป่าเบญจพรรณที่พบมีไม้สักเป็นพันธุ์ไม้เด่น วงศ์ Labiatae  ส่วนใหญ่มีไผ่ซางขึ้นปะปนมาก พบตามเชิงเขาและพื้นที่ใกล้กับลำห้วยบนพื้นที่หินภูเขาไฟ หินดินดาน หินปูนและหินทราย ทำใฟ้สังคมพืชมีความผันแปรแตกต่างกันบ้าง ลักษณะพื้นที่มีความลาดชันน้อย  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 450 เมตร  มีแสงสว่างส่องถึงพื้นได้ประมาณ 30% และมีจำนวนต้นไม้ขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวนมากกว่าไม้ขนาดเล็กขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ลูกไม้และไม้พื้นล่างของป่าได้แก่ แดง สัก รกฟ้า มะแฟน เป็นต้น

 

(2) ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest, DDF)

 

สังคมพืชป่าเต็งรังมีความผันแปรแตกต่างกันอย่างมากระหว่างพื้นที่หินต้นกำเนิดดินชนิดต่าง บริเวณหินภูเขาไฟมักจะมีไม้รังและเต็งเป็นพันธุ์ไม้เด่น พื้นที่หินทรายมักจะปกคลุมไปด้วยไม้เหียงและพื้นที่หินดินดานจะมีไม้พลวงขึ้นเป็นพันธุ์ไม้เด่น ป่าเต็งรังพบตามบริเวณไหล่เขาและสันเขา รวมทั้งพื้นที่ค่อนข้างราบ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ  500 เมตร พรรณไม้เด่นคือ วงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)  ขึ้นกระจายอยู่อย่างหนาแน่นทั่วพื้นที่  ต้นไม้ที่มีขนาดเล็กจะพบอยู่เป็นจำนวนมาก เรือนยอดไม้ชั้นบนมีการแผ่ซ้อนทับไม้ชั้นล่างบ้างแต่ไม่มาก แสงสว่างส่องลงไปถึงพื้นป่าได้มาก

รูปที่ 2-1.  ขอบเขตพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตามแผนที่แสดงสภาพภูมิประเทศ (มาตราส่วน 1:50,000)

2-3.  ลักษณะทางธรณีวิทยา 

พื้นที่มีความผันแปรของลักษณะทางธรณีวิทยาในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งประกอบด้วยหินต้นกำเนิดดินที่แตกต่างกัน 5 กลุ่ม คือ (1) พื้นที่หินทราย (Quartzitic and feldspatic sand stone)  (2) พื้นที่หินฟิลไลท์ (Phyllite, grey to purple gray) (2) พื้นที่หินภูเขาไฟ (Volcanic rocks; rhyorite and andesite) (3) พื้นที่หินปูนและหินดินดาน (Massive limestone, shale) และ (4) พื้นที่หินตะกอน (High terrace deposites) 

รูปที่ 2-2.  ลักษณะทางธรณีวิทยาในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่อง

รูปที่ 2-3.  การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

รูปที่ 2-4.  ขอบเขตพื้นที่ (ภาพถ่ายดาวเทียม) ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  

 

ป่าเต็งรังที่ได้รับการพัฒนาโดยระบบชลประทานนั้น  พื้นที่แปลงตัวอย่างตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการมีการให้น้ำแก่พื้นที่โดยมีการสเปรย์น้ำผ่านพื้นที่ป่า  สภาพพื้นที่มีความลาดชันประมาณ  18  เปอร์เซ็นต์ ทิศด้านลาดหันไปทางทิศตะวันตก  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 550 เมตร พรรณไม้ที่ขึ้นบริเวณด้านบนของทิศด้านลาดจะขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นซึ่งเป็นไม้ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)  เป็นส่วนมากส่วนตอนล่างของทิศด้านลาดจะมีไม้สักขึ้นแทรกอยู่และมีความหนาแน่นน้อยกว่าบริเวณด้านบนของทิศด้านลาด  เรือนยอดของไม้ชั้นล่างส่วนใหญ่จะถูกบดบังโดยไม้ชั้นบน ลูกไม้หรือไม้พื้นล่างที่พบมาก คือรัง

2-4.  สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนเดือนตุลาคม มีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาวในเดือนธันวาคม ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อากาศจะร้อนจัดในเดือนเมษายน สรุปลักษณะอากาศตั้งแต่ปี 2828-2554 (ตารางที่ 2-1) มีดังนี้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,328.9 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยต่อปี 112 วัน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 18.9 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 79.9 เปอร์เซ็นต์ การระเหยของน้ำเฉลี่ยต่อปี 1,222.6 มิลลิเมตร สภาพภูมิอากาศของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ตารางที่ 2-1.   ข้อมูลสภาพอากาศบริเวณสถานีงานวิจัยการจัดการต้นน้ำในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ

อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  ระหว่างปี  พ.ศ. 2528-2550

รูปที่ 2-5.   สภาพทั่วไปของป่าเต็งรัง (บน)  และ ป่าเบญจพรรณ (ล่าง)  ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ    อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่

 

ผลการศึกษาทดลองวิจัย 

ผลการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชและการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ แบ่งออกเป็น 5 ตอนคือ (1) ป่าไม้ที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว (2) ป่าไม้ที่มีการจัดการโดยใช้การชลประทาน (3) ป่าไม้ที่มีการจัดการโดยการสร้างฝาย (4) ป่าไม้ที่มีการจัดการโดยการสร้างอ่างเก็บน้ำและฝาย และ (5) ป่าไม้ที่อยู่นอกศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ป่าไม้บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ แต่เดิมเป็นป่าที่เสื่อมสภาพความอุดมสมบูรณ์ ที่เกิดจากการทำสัมปทานและการลักลอบตัดฟันไม้ในอดีต ปัจจุบันการลักลอบตัดฟันต้นไม้จึงหมดไปและจัดเป็นป่าไม้ที่กำลังฟื้นสภาพความอุดมสมบูรณ์ (Recovery forests) 

 

4-1 ป่าไม้ที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว

4-1.1  การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ 

(Changes in Plant species diversity)

4-1.1.1 จำนวนชนิดพันธุ์และชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่

(Species richness and composition)

 

รายชื่อพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำจากน้ำฝนอย่างเดียว ในปี พ.ศ. 2544 เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2555 ได้แสดงไว้ใน ตารางที่ 4-1.1 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้และชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่

แปลงที่ ปมฮ. 1 ในปี พ.ศ. 2544 พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 18 ชนิด (ใน 16 สกุล และ 10 วงศ์) พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือ รัง พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบรองต่อไป ได้แก่ เต็ง พลวง ชิงชัน มะเค็ด รักใหญ่ แดง เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2555 จำนวนชนิดพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้น 2 ชนิด มีพันธุ์ไม้ที่หายไปจากพื้นที่ 1 ชนิด คือ เปาหนาม (3 ต้น) พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ ที่พบเพิ่มมี 2 ชนิด คือ ประดู่ (1 ต้น) และละมุดสีดา (1 ต้น) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของสังคมพืช (Similarity) ระหว่างปี 2544 และ 2555 เท่ากับ 0.8947 (หรือ 89.47%)

 

แปลงที่ ปมฮ. 2 พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 25 ชนิด (ใน 24 สกุล และ 17 วงศ์)  พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือ รัง พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบรองต่อไป ได้แก่ เต็ง ชิงชัน รกฟ้า มะเกิ้ม แดง ตะร้อ พลวง เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2555 มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ลดลงึ7 ชนิด โดยที่ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีพันธุ์ไม้ที่หายไปจากพื้นที่ 1 ชนิด คือ พลวง (4 ต้น) พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ ที่พบมี 2 ชนิด คือ ตีนนก (1 ต้น) และ ละมุดสีดา (1 ต้น)  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของสังคมพืช (Similarity) เท่ากับ 0.9412 (หรือ 94.12%)

 

แปลงที่ ปมฮ. 3 พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 27 ชนิด (ใน 25 สกุล และ 17 วงศ์)   พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือ สัก พันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่พบรองต่อไป ได้แก่ รัง มะเกิ้ม แดง ปอยาบ รกฟ้า พลวง ชิงชัน ประดู่ ตะคร้อ เป็นต้นในปี พ.ศ. 2555 มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ลดลงึ7 ชนิด โดยที่ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พันธุ์ไม้ที่หายไปจากพื้นที่ 5 ชนิด คือ รักใหญ่ (3 ต้น) มะกอก (1 ต้น) พลวง (9 ต้น) ตับเต่าต้น (1 ต้น) และ เปาหนาม (3 ต้น) พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ ที่พบมี 1 ชนิด คือ ตละมุดสีดา (1 ต้น)  ไม่มีพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของสังคมพืช (Similarity) ระหว่างปี 2544 และ 2555 เท่ากับ 0.8800 (หรือ 88.0%) แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างประชากรเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่และจำนวนชนิดมีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างป่าที่ได้รับน้ำจากน้ำฝนอย่างเดียวใน 3 พื้นที่ แปลงที่  ปมฮ. 1 เป็นป่าเต็งรังโดยแท้จริง แปลงที่  ปมฮ. 2 เป็นป่าเต็งรังที่มีพันธุ์ไม้จากป่าเบญจพรรณขึ้นปะปนเล็กน้อย และ แปลงที่  ปมฮ. 3 เป็นป่าเบญจพรรณที่มีพันธุ์ไม้ป่าเต็งรังขึ้นปะปนพอๆ กัน ในช่วง 12 ปี ของการป้องกันรักษาป่านั้น พบว่า ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงเล็กน้อยและทำให้สังคมพืชมีความคล้ายคลึงกันของสังคมพืชระหว่างปี 2544 และ 2555 ผันแปรระหว่าง 88.0-94.12% มีพันธุ์ไม้บางชนิดหายไป แต่มีชนิดพันธุ์ใหม่ขึ้นทดแทน 

รูปที่ 4-1.1 การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียวของแปลงตัวอย่าง 3 แปลง ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2555

4-3.1.2 ดัชนีความหลากชนิดพันธุ์ไม้

(Plant species diversity index)

ดัชนีความหลากชนิดพันธุ์ไม้ในป่าใช้ Shannon-Wiener index (SWI) โดยพิจารณาถึงจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ที่พบ (Species richness) และสัดส่วนจำนวนประชากร (Relative abundance)

  แปลงที่  ปมฮ. 1  ในปี พ.ศ. 2544 พรรณไม้ในป่าพื้นที่ลุ่มน้ำที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียวมีค่า SWI เท่ากับ 2.91 ค่า SWI มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย และในปี 2555 มีค่า เท่ากับ 2.78 (- 0.13)

แปลงที่  ปมฮ. 2  ในปี พ.ศ. 2544 พรรณไม้ในป่าแปลงนี้มีค่า SWI เท่ากับ 3.87 ค่า SWI มีแนวโน้มเท่าเดิมและในปี 2555 มีค่า เท่ากับ 3.87 

แปลงที่  ปมฮ. 3  ในปี พ.ศ. 2544 พรรณไม้ในป่าแปลงนี้มีค่า SWI เท่ากับ 4.09 ค่า SWI มีแนวโน้มลดลงและในปี 2555 มีค่า เท่ากับ 3.60 (- 0.49)

ดัชนีความหลากชนิดพันธุ์ไม้ที่ลดลงตามระยะเวลาที่ป่าไม้กำลังมีการฟื้นสภาพความอุดมสมบูรณ์นั้นอาจเป็นเพราะในระยะแรกที่ป่าเสื่อมโทรมนั้นมีพันธุ์ไม้ที่ชอบแสงขึ้นอยู่ ต่อมาเมื่อต้นไม้เจริญเติบโตในป่าขึ้นทำให้เกิดร่มเงาและยังผลทำให้ต้นไม้ที่ถูกบดบังแสงอ่อนแอและตายไป สำหรับ แปลงที่  ปมฮ. 2 ต้นไม้ในป่าสามารถเจริญเติบโตและแข่งขันกัน ประชากรของต้นไม้ส่วนใหญ่จึงยังคงไม่เปลี่ยนแปลง 

รูปที่ 4-1.2  การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับดัชนีความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียวของแปลงตัวอย่าง 3 แปลง ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2555

4-1.1.3 ลักษณะเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้ 

(Quantitative characteristics)

ลักษณะเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดในแปลงสุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ความหนาแน่น (Density) พื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม (Stem basal area) ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative density) ความเด่นสัมพัทธ์ (Relative dominance) และ ดัชนีความความคัญ (Importance value index, IVI) เนื่องจากแต่ละแปลงสุ่มตัวอย่างมีลักษณะของสังพืชแตกต่างกัน กล่าวคือ แปลงที่  ปมฮ. 1 เป็นป่าเต็งรังโดยแท้จริง  แปลงที่  ปมฮ. 2 เป็นป่าเต็งรังที่มีพันธุ์ไม้ป่าเบญจพรรณขึ้นปะปน และ แปลงที่  ปมฮ. 3 เป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรังที่มีชนิดพันธุ์ไม้จากป่าทั้งสองชนิดขึ้นปะปนพอๆ กัน ในการอธิบายลักษณะเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ จึงแยกอธิบายตามแปลงสุ่มตัวอย่าง

 

(1) แปลงที่   ปมฮ. 1

ในปี พ. ศ. 2544 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ทั้งหมด 18 ชนิด มีความหนาแน่นต้นไม้ 354 ต้น/ไร่ และมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม 2.81 ตารางเมตร/ไร่  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ รัง (142 ต้น/ไร่) รองลงมาได้แก่ เต็ง (50) พลวง (44) ชิงชัน (30) รกฟ้า (18) มะเค็ด (25) แดง (12) เป็นต้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีความหนาแน่น 1-9 ต้น/ไร่ ไม้รัง มีค่าความเด่นและดัชนีความสำคัญมากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ในป่า โดยมีค่าดัชนีความสำคัญสัมพัทธ์ เท่ากับ 36.91% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด ไม้เต็งมีค่าดัชนีความสำคัญรองลงมา (22.99%) รองลงมาคือ พลวง (12.97) ชิงชัน (7.74%) รกฟ้า (3.82%) มะเค็ด (3.34%) รักใหญ่ (2.41%) และ แดง (2.26%) พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีค่าระหว่าง 0.17-1.69%  พันธุ์ไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) ที่พบในสังคมพืชนี้ประกอบด้วย รัง เต็งและพลวง โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันสูงถึง 72.87% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด

ปี พ. ศ. 2555 ป่าไม้ในแปลงนี้มีพันธุ์ไม้ทั้งหมด 20 ชนิด มีความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ 379 ต้น/ไร่ (เพิ่มขึ้น 25 ต้น) และมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม 3.79 ตารางเมตร/ไร่ (เพิ่มขึ้น 0.98 ตารางเมตร/ไร่)  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ รัง (164 ต้น/ไร่, เพิ่ม 22 ต้น) รองลงมาได้แก่ เต็ง (67, เพิ่ม 17) ชิงชัน (40, เพิ่ม 10) พลวง (24, ลดลง 20) รกฟ้า (18, เท่าเดิม) มะเค็ด (4, ลดลง 21) แดง (16, เพิ่มขึ้น 4) เป็นต้น ไม้รังมีค่าดัชนีความสำคัญมากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ในป่า คือ 44.26% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด (เพิ่มขึ้น 7.35%) ไม้เต็งมีค่าดัชนีความสำคัญรองลงมา (21.55%, ลดลง 1.44%) รองลงมาคือ ชิงชัน (10.00%, เพิ่มขึ้น 2.26%) พลวง (5.56, ลดลง 7.32%) รกฟ้า (4.00, เพิ่ม 0.18%) มะเค็ด (0.79, ลด 2.55%) รักใหญ่ (0.78, ลด 1.63%) และ แดง (3.53, เพิ่ม 1.27%)  พันธุ์ไม้ตระกูลยาง ที่ประกอบด้วย รัง เต็งและพลวง มีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันลดลงเป็น 71.46% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด

 

(2) แปลงที่  ปมฮ. 2  

ในปี พ. ศ. 2544 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ทั้งหมด 25 ชนิด มีความหนาแน่นต้นไม้ 199 ต้น/ไร่ และมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม 3.00 ตารางเมตร/ไร่  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ รัง (51 ต้น/ไร่) รองลงมาได้แก่ ชิงชัน (19) เต็ง (18)  รกฟ้า (16) แดง (11) มะเกิ้มและละมุดป่า (10) เป็นต้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีความหนาแน่น 1-8 ต้น/ไร่ ไม้รัง มีค่าดัชนีความสำคัญมากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ในป่า เท่ากับ 25.05% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด รองลงมาคือ เต็ง (20.54%) ชิงชัน (8.84%) รกฟ้า (6.81%) มะเกิ้ม (5.69%) แดง (4.14%) ตะคร้อ (3.61%) พลวง (3.12%) ละมุดป่า (3.10%) อินทนิลบก (2.66%) และ รักใหญ่ (2.10%)  พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีค่าระหว่าง 0.29-1.96%  พันธุ์ไม้ตระกูลยาง ที่พบประกอบด้วย รัง เต็งและพลวง โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันเท่ากับ 48.71% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด พันธุ์ไม้วงศ์ไม้สัก (Labiatae) ที่พบประกอบด้วย สักและตีนนก โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันเพียง 1.94-3.12% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด  

ปี พ. ศ. 2555 ป่าไม้ในแปลงนี้มีพันธุ์ไม้ทั้งหมด 26 ชนิด มีความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ 227 ต้น/ไร่ (เพิ่มขึ้น 108 ต้น) และมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม 4.01 ตารางเมตร/ไร่ (เพิ่มขึ้น 1.02 ตารางเมตร/ไร่)  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ รัง (41 ต้น/ไร่, ลด 10 ต้น) รองลงมาได้แก่ ชิงชัน (35, เพิ่ม 16) แดง (30, เพิ่ม 19) รกฟ้า (17, เพิ่ม 1) เต็ง (16, ลด 2) อินทนิลบก (11, เพิ่ม 3) ละมุดป่า (11, เพิ่ม 1) มะเค็ด (10, เพิ่ม 6) เป็นต้น ไม้รังมีค่าดัชนีความสำคัญมากที่สุด คือ 21.78% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด (ลดลง 3.27%) ไม้เต็งมีค่าดัชนีความสำคัญรองลงมา (17.54%, ลดลง 3.0%) รองลงมาคือ ชิงชัน (12.58%, เพิ่มขึ้น 3.74%) แดง (10.42, เพิ่ม 6.28%) รกฟ้า (6.49, ลดลง 0.32%) ตะคร้อ (4.04, เพิ่ม 0.43%) อินทนิลบก (3.39, เพิ่ม 0.73%) ละมุดป่า (3.15, เพิ่ม 0.05%) ป็นต้น พันธุ์ไม้ตระกูลยาง ที่ประกอบด้วย รังและเต็ง มีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันลดลงเป็น 39.32% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด โดยที่ไม้พลวงหายไปจากการตายลง 4 ต้น

 

(3) แปลงที่  ปมฮ. 3  

ในปี พ. ศ. 2544 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ทั้งหมด 27 ชนิด มีความหนาแน่นต้นไม้ 229 ต้น/ไร่ และมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวม 2.96 ตารางเมตร/ไร่  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดคือ สัก (39 ต้น/ไร่) รองลงมาได้แก่ แดง (22) รกฟ้า (21) มะเกิ้ม (20) รัง (19) ปอยาบ (18) ประดู่ (10) เป็นต้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีความหนาแน่น 1-9 ต้น/ไร่ ไม้สัก มีค่าดัชนีความสำคัญมากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ในป่า คือ 17.18% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด รองลงมาคือ รัง (14.53%) มะเกิ้ม(10.63%) แดง (9.57%) ปอยาบ (7.17%) รกฟ้า (6.77%) พลวง (5.88%) ชิงชัน (4.54%) ประดู่ (3.39%) ตะคร้อ (2.28%) มะขามป้อม (2.10%) เป็นต้น พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ ที่เหลือมีค่าระหว่าง 0.26-1.92% พันธุ์ไม้วงศ์ไม้สัก (Labiatae) ที่พบประกอบด้วย สักและตีนนก โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันเท่ากับ 17.47% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด  สำหรับ พันธุ์ไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) ที่พบ รัง เต็งและพลวง โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกันเพียง 22.33% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด

แสดงให้เห็นว่า แปลงที่  ปมฮ. 1 เป็นสังคมพืชป่าเต็งรังที่มีไม้ รัง เต็งและพลวง เป็นพันธุ์ไม้เด่นโดยมีค่าดัชนีความสำคัญทางนิเวศวิทยารวมกันในปี พศ. 2544 และ 2555 เท่ากับ 71.46 และ 72.87% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด สำหรับ แปลงที่  ปมฮ. 2 นั้นเป็นสังคมพืชป่าเต็งรังที่มีพันธุ์ไม้จากป่าเบญจพรรณขึ้นปะปน โดยมีไม้สักขึ้นอยู่เพียง 4 ต้น ทำให้โดยมีค่าดัชนีความสำคัญของไม้ตระกูลยางสามชนิด ในปี พศ. 2544 และ 2555 เท่ากับ 39.32 และ 48.71% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด ส่วน แปลงที่  ปมฮ. 3 เป็นสังคมพืชป่าเบญจพรรณผสมป่าเต็งรังที่มีไม้สักจำนวน 39-40 ต้น และตีนนก 1 ต้น โดยมีค่าดัชนีความสำคัญรวมกัน ในปี พศ. 2544 และ 2555 เท่ากับ 17.47 และ 25.33% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด  ขณะที่พันธุ์ไม้จากป่าเต็งรังขึ้นปะปน โดยมีไม้รัง 12-19 ต้น พลวง 0-9 ต้น และ เต็ง 1-3 ต้น ในปี พศ. 2544 และ 2555 เท่ากับ 22.33 และ 14.24% ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด โดยที่ไม้พลวง 9 ต้น ตายไปและไม่พบไม้พลวงขึ้นอยู่ในปี 2555 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสังคมพืชเริ่มเปลี่ยนป่าเบญจพรรณมากขึ้น

ตารางที่ 4-1.1 รายชื่อพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ในปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 1  

วงค์

ชนิดที่

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

2544

2555

ลักษณะทั่วไป

1. Anacardiaceae

1

รักใหญ่

Gluta usitata (Wall) Ding Hou

P

P

Big T.

2. Burseraceae

2

มะเกิ้ม

Canarium subulatum Guillaumin

P

P

Big T.

3. Combretaceae

3

รกฟ้า

Terminalas alata Heyne ex Roth

P

P

Big T.

 

4

สมอไทย

Terminalia chebula Retz. var, chebula

P

P

Small T.ในาดกลาง

4. Dipterocarpaceae

5

รัง

Shorea siamensis Miq.

P

P

Big T.

 

6

เต็ง

Shorea obtusa Wall. ex Blume

P

P

Big T.

 

7

พลวง

Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

P

P

Big T.

5. Euphorbiaceae

8

เปาหนาม

Bridelia retusa (L.) A.Juss.

P

X

Small T.ในาดกลาง

 

9

มะขามป้อม

Phyllanthus emblica L.

P

P

Small T.ในาดกลาง

6. Labiatae

10

ตีนนก

Vitex pinnata L.

X

P

Medium T.

6. Leguminosae

11

ชิงชัน

Dalbergia oliveri Gamble

P

P

Medium T.

 

12

แดง

Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub

P

P

Big T.

 

13

ประดู่

Pterocarpus macrocarpus Kurz

X

P

Big T.

7. Rubiaceae

14

มะเค็ด

Catunaregam spathulifolia Tirveng.

P

P

Small T.ในาดกลาง

 

15

มะคังแดง

Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng.

P

P

Small T.ในาดกลาง

 

16

ยอป่า

Morinda coreia Ham.

P

P

Medium T.

 

17

ตุ้มกว้าว

Mitragyna rotundifolia (Roxb.) Kuntze

P

P

Medium T.

8. Sapotaceae

18

ละมุดป่า

Xantoris burmanica (Collett & Hemsl.) P.Royan

P

P

Small T.ในาดกลาง

 

19

ละมุดสีดา

Madhuca esculenta H.R. Fletcher

X

P

 

9. Strychnaceae

20

แสลงใจ

Strychnos nux-vomica L.

P

P

Shrub

10. Tiliaceae

21

ปอยาบ

Colana flagrocarpa (C.B. Clarke) Craib

P

P

Small T.ในาดกลาง

ตารางที่ 4-1.2 รายชื่อพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ในปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 2  

วงค์

ชนิดที่

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

2544

2555

ลักษณะทั่วไป

1. Anacardiaceae

1

รักใหญ่

Gluta usitata (Wall) Ding Hou

P

P

Big T.

2. Bombacaceae

2

ง้าว

Bombax anceps Pierre var. cambodiense (Pierre)Robyns pentandra

P

P

Big T.

3. Burseraceae

3

มะเกิ้ม

Canarium subulatum Guillaumin

P

P

Big T.

4. Combretaceae

4

รกฟ้า

Terminalas alata Heyne ex Roth

P

P

Big T.

 

5

สมอไทย

Terminalia chebula Retz. var, chebula

P

P

Small T.

5. Dipterocarpaceae

6

รัง

Shorea siamensis Miq.

P

P

Big T.

 

7

เต็ง

Shorea obtusa Wall. ex Blume

P

P

Big T.

 

8

พลวง

Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

P

X

Big T.

6. Ebenaceae

9

ตับเต่าต้น

Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don

P

P

Small T.

7. Euphorbiaceae

10

เปาหนาม

Bridelia retusa (L.) A.Juss.

P

P

Small T.

 

11

มะขามป้อม

Phyllanthus emblica L.

P

P

Small T.

8. Flacourtiaceae

12

ตะขบป่า

Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.

P

P

Small T.

9. Labiatae

13

สัก

Tectona grandis L.f.

P

P

Big T.

 

14

ตีนนก

Vitex pinnata L.

X

P

Medium T.

9. Leguminosae

15

ชิงชัน

Dalbergia oliveri Gamble

P

P

Medium T.

 

16

แดง

Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub

P

P

Big T.

 

17

ประดู่

Pterocarpus macrocarpus Kurz

P

P

Big T.

9. Lythraceae

18

อินทนิลบก

Lagerstroemia macrocarpa Wall.

P

P

Small T.

10. Meliaceae

19

ยมหิน

Chukrasia tabularis A.Juss.

P

P

Medium T.

11. Rubiaceae

20

มะเค็ด

Catunaregam spathulifolia Tirveng.

P

P

Small T.

 

21

มะคังแดง

Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng.

P

P

Small T.

 

22

ยอป่า

Morinda coreia Ham.

P

P

Small T.

12. Sapindaceae

23

ตะคร้อ

Schleiohera oleosa (Lour.) Oken

P

P

Big T.

13. Sapotaceae

24

ละมุดป่า

Xantoris burmanica (Collett & Hemsl.) P.Royan

P

P

Small T.

 

25

ละมุดสีดา

Madhuca esculenta H.R. Fletcher

X

P

 

14. Strychnaceae

26

แสลงใจ

Strychnos nux-vomica L.

P

P

Shrub

15. Tiliaceae

27

ปอยาบ

Colana flagrocarpa (C.B. Clarke) Craib

P

P

Small T.

ตารางที่ 4-1.3 รายชื่อพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ในปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 3  

วงค์

ชนิดที่

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

2544

2555

ลักษณะทั่วไป

1. Anacardiaceae

1

รักใหญ่

Gluta usitata (Wall) Ding Hou

P

X

Big T.

 

2

มะกอก

Spondias pinnata (L.f.) Kurz

P

X

Big T.

2. Annonaceae

4

ขางหัวหมู

Miliusa velutina (Dunal) Hook.f. & Thomson coromandelica

P

P

Big T.

2. Bignoniaceae

3

แคดอกขาว

Stereospermum colais (Buch.-Ham). ex Dillwyn) Mabb.

P

P

Medium T.

3. Bombacaceae

4

ง้าว

Bombax anceps Pierre var. cambodiense (Pierre)Robyns pentandra

P

P

Big T.

4. Burseraceae

5

มะเกิ้ม

Canarium subulatum Guillaumin

P

P

Big T.

5. Combretaceae

6

รกฟ้า

Terminalas alata Heyne ex Roth

P

P

Big T.

 

7

สมอไทย

Terminalia chebula Retz. var, chebula

P

P

Small T.

6. Dipterocarpaceae

9

รัง

Shorea siamensis Miq.

P

P

Big T.

 

10

เต็ง

Shorea obtusa Wall. ex Blume

P

P

Big T.

 

11

พลวง

Dipterocarpus tuberculatus Roxb.

P

X

Big T.

7. Ebenaceae

12

ตับเต่าต้น

Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don

P

X

Small T.

8. Euphorbiaceae

13

มะขามป้อม

Phyllanthus emblica L.

P

P

Small T.

 

14

เปาหนาม

Bridelia retusa (L.) A.Juss.

P

X

Small T.

9. Flacourtiaceae

15

ตะขบป่า

Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.

P

P

Small T.

10. Labiatae

16

สัก

Tectona grandis L.

P

P

Big T.

 

17

ตีนนก

Vitex pinnata L.

P

P

Medium T.

11. Leguminosae

18

ชิงชัน

Dalbergia oliveri Gamble

P

P

Medium T.

 

19

แดง

Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub

P

P

Big T.

 

20

ประดู่

Pterocarpus macrocarpus Kurz

P

P

Big T.

12. Meliaceae

21

ยมหิน

Chukrasia tabularis A.Juss.

P

P

Medium T.

13. Rubiaceae

22

ยอป่า

Morinda coreia Ham.

P

P

Small T.

 

23

มะเค็ด

Catunaregam spathulifolia Tirveng.

P

P

Small T.

14. Sapindaceae

24

ตะคร้อ

Schleiohera oleosa (Lour.) Oken

P

P

Big T.

15. Sapotaceae

25

ละมุดป่า

Xantoris burmanica (Collett & Hemsl.) P.Royan

P

P

Small T.

 

 

ละมุดสีดา

Madhuca esculenta H.R. Fletcher

X

P

 

16. Strychnaceae

26

แสลงใจ

Strychnos nux-vomica L.

P

P

Shrub

17. Tiliaceae

27

ปอยาบ

Colana flagrocarpa (C.B. Clarke) Craib

P

P

Small T.

ตารางที่ 4-1.4 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 1  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S.BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร่)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

103

33

2

3

1

142

0.95

40.11

33.71

73.82

36.91

2

เต็ง

33

9

1

2

5

50

0.90

14.12

31.85

45.97

22.99

3

พลวง

27

13

3

1

 

44

0.38

12.43

13.51

25.94

12.97

4

ชิงชัน

21

7

2

 

 

30

0.20

8.47

7.00

15.48

7.74

5

รกฟ้า

15

3

 

 

 

18

0.07

5.08

2.56

7.65

3.82

6

มะเค็ด

18

 

 

 

 

18

0.04

5.08

1.59

6.68

3.34

7

รักใหญ่

5

3

1

 

 

9

0.06

2.54

2.27

4.81

2.41

8

แดง

11

1

 

 

 

12

0.03

3.39

1.13

4.52

2.26

9

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.07

0.85

2.54

3.38

1.69

10

แสลงใจ

7

1

 

 

 

8

0.03

2.26

1.03

3.29

1.65

11

มะเกิ้ม

4

3

 

 

 

7

0.03

1.98

0.95

2.92

1.46

12

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.02

0.85

0.65

1.50

0.75

13

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

0.02

0.85

0.56

1.41

0.71

14

ปอยาบ

2

 

 

 

 

2

0.01

0.56

0.23

0.79

0.40

15

มะขามป้อม

2

 

 

 

 

2

0.00

0.56

0.15

0.72

0.36

16

ตุ้มกว้าว

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.11

0.40

0.20

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.09

0.37

0.19

18

มะคังแดง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.06

0.34

0.17

 

รวม

255

77

9

7

6

354

2.81

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.5  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 1

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

34

100

6

2

 

142

2

เต็ง

21

22

5

2

 

50

3

พลวง

24

18

2

 

 

44

4

เก็ด

2

23

5

 

 

30

5

มะเค็ด

5

13

 

 

 

18

6

รกฟ้า

8

8

2

 

 

18

7

แดง

1

10

1

 

 

12

8

รัก

4

4

1

 

 

9

9

แสลงใจ

6

2

 

 

 

8

10

มะกอกเกลื้อน

1

6

 

 

 

7

11

เปาหนาม

1

2

 

 

 

3

12

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

15

มะขามป้อม

 

2

 

 

 

2

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

17

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

18

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

110

217

23

4

0

35


ตารางที่ 4-1.6 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

34

8

3

2

4

51

0.73

25.63

24.47

50.09

25.05

2

เต็ง

2

2

5

4

5

18

0.96

9.05

32.03

41.08

20.54

3

เก็ด

10

5

2

2

 

19

0.24

9.55

8.14

17.69

8.84

4

รกฟ้า

8

6

1

1

 

16

0.17

8.04

5.57

13.61

6.81

5

มะเกิ้ม

2

4

3

1

 

10

0.19

5.03

6.36

11.39

5.69

6

แดง

8

1

2

 

 

11

0.08

5.53

2.75

8.28

4.14

7

ตะคร้อ

4

2

2

 

 

8

0.10

4.02

3.21

7.23

3.61

8

พลวง

2

1

 

 

1

4

0.13

2.01

4.23

6.24

3.12

9

ละมุดป่า

9

1

 

 

 

10

0.04

5.03

1.17

6.19

3.10

10

อินทนิล

7

1

 

 

 

8

0.04

4.02

1.30

5.32

2.66

11

รักใหญ่

3

3

 

 

 

6

0.04

3.02

1.19

4.20

2.10

12

มะเค็ด

4

2

 

 

 

6

0.03

3.02

0.91

3.93

1.96

13

สัก

 

1

2

 

 

3

0.07

1.51

2.37

3.87

1.94

14

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

0.07

1.01

2.44

3.45

1.72

15

สมอไทย

2

3

 

 

 

5

0.02

2.51

0.79

3.31

1.65

16

ปอยาบ

5

 

 

 

 

5

0.01

2.51

0.41

2.92

1.46

17

มะขามป้อม

4

 

 

 

 

4

0.01

2.01

0.31

2.32

1.16

18

เปาหนาม

4

 

 

 

 

4

0.01

2.01

0.27

2.28

1.14

19

มะคังแดง

 

2

 

 

 

2

0.03

1.01

0.99

2.00

1.00

20

ตับเต่าต้น

2

 

 

 

 

2

0.01

1.01

0.20

1.20

0.60

21

แสลงใจ

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.33

0.84

0.42

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.22

0.72

0.36

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.18

0.68

0.34

24

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.50

0.09

0.59

0.30

25

ยมหิน

1

 

 

 

 

1

0.00

0.50

0.07

0.57

0.29

 

รวม

112

45

22

10

10

199

3.00

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.7  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

12

28

6

4

1

51

2

เก็ด

2

9

7

1

 

19

3

เต็ง

2

1

12

3

 

18

4

รกฟ้า

4

10

1

1

 

16

5

แดง

 

8

3

 

 

11

6

มะกอกเกลื้อน

1

6

3

 

 

10

7

ละมุดป่า

5

5

 

 

 

10

8

ตะคร้อ

 

4

4

 

 

8

9

อินทนิล

1

4

3

 

 

8

10

มะเค็ด

1

5

 

 

 

6

11

รัก

1

5

 

 

 

6

12

ปอยาบ

 

5

 

 

 

5

13

สมอไทย

1

3

1

 

 

5

14

เปาหนาม

 

4

 

 

 

4

15

พลวง

2

1

 

1

 

4

16

มะขามป้อม

 

4

 

 

 

4

17

สัก

 

 

1

2

 

3

18

ตับเต่า

 

2

 

 

 

2

19

บ่ากัง

 

2

 

 

 

2

20

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

21

ง้าว

 

1

 

 

 

1

22

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

24

ยมหิน

1

 

 

 

 

1

25

แสลงใจ

 

1

 

 

 

1

 

รวม

33

110

43

12

1

199

ตารางที่ 4-1.8 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 3  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

 

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

13

16

10

 

 

39

0.51

17.03

17.33

34.36

17.18

2

รัง

11

3

 

2

3

19

0.62

8.30

20.77

29.07

14.53

3

มะเกิ้ม

4

8

7

1

 

20

0.37

8.73

12.52

21.26

10.63

4

แดง

16

3

2

 

1

22

0.28

9.61

9.53

19.14

9.57

5

ปอยาบ

7

9

2

 

 

18

0.19

7.86

6.47

14.33

7.17

6

รกฟ้า

16

4

 

1

 

21

0.13

9.17

4.37

13.54

6.77

7

พลวง

1

6

 

1

1

9

0.23

3.93

7.83

11.76

5.88

8

ชิงชัน

4

3

1

1

 

9

0.15

3.93

5.15

9.08

4.54

9

ประดู่

7

2

1

 

 

10

0.07

4.37

2.42

6.78

3.39

10

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.04

3.06

1.51

4.56

2.28

11

ยมหิน

4

3

 

 

 

7

0.04

3.06

1.31

4.37

2.19

12

มะขามป้อม

8

 

 

 

 

8

0.02

3.49

0.71

4.21

2.10

13

เต็ง

1

 

1

1

 

3

0.08

1.31

2.53

3.84

1.92

14

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

2.18

1.08

3.26

1.63

15

รักใหญ่

 

2

1

 

 

3

0.05

1.31

1.66

2.97

1.49

16

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.18

0.74

2.92

1.46

17

สมอไทย

2

2

 

 

 

4

0.03

1.75

0.94

2.69

1.35

18

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.01

2.18

0.43

2.61

1.31

19

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.75

0.60

2.35

1.17

20

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

0.03

0.87

0.91

1.78

0.89

21

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.31

0.42

1.73

0.86

22

แคดอกขาว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.22

0.66

0.33

23

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.15

0.59

0.29

24

ตับเต่าต้น

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.11

0.55

0.27

25

มะกอก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.11

0.55

0.27

26

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.53

0.26

27

ขางหัวหมู

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.52

0.26

 

รวม

121

69

27

7

5

229

2.96

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.9  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

1

11

17

10

 

39

2

แดง

 

17

4

1

 

22

3

รกฟ้า

3

16

1

1

 

21

4

มะกอกเกลื้อน

2

8

10

 

 

20

5

รัง

2

10

5

2

 

19

6

ปอยาบ

 

6

11

1

 

18

7

ประดู่

 

8

1

1

 

10

8

เก็ด

1

4

4

 

 

9

9

พลวง

4

3

2

 

 

9

10

มะขามป้อม

 

7

1

 

 

8

11

ตะคร้อ

 

5

2

 

 

7

12

ยมหิน

 

7

 

 

 

7

13

มะเค็ด

4

1

 

 

 

5

14

ยอป่า

 

5

 

 

 

5

15

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

16

ง้าว

1

3

 

 

 

4

17

สมอไทย

 

3

1

 

 

4

18

เต็ง

 

1

2

 

 

3

19

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

20

รัก

 

2

1

 

 

3

21

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

22

ขางหัวหมู

 

1

 

 

 

1

23

แค

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

26

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

27

มะกอก

 

1

 

 

 

1

 

รวม

22

127

64

16

0

229

ตารางที่ 4-1.10 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 1  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร่)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

103

36

2

3

1

145

1.00

40.50

34.17

74.68

37.34

2

เต็ง

33

9

1

2

5

50

0.90

13.97

30.96

44.92

22.46

3

พลวง

27

13

3

1

 

44

0.39

12.29

13.45

25.74

12.87

4

เก็ด

23

7

2

 

 

32

0.21

8.94

7.30

16.24

8.12

5

รกฟ้า

14

4

 

 

 

18

0.08

5.03

2.66

7.69

3.84

6

มะเค็ด

17

 

 

 

 

17

0.04

4.75

1.51

6.26

3.13

7

แดง

12

1

 

 

 

13

0.04

3.63

1.29

4.92

2.46

8

รัก

4

3

1

 

 

8

0.06

2.23

2.03

4.27

2.13

9

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.07

0.84

2.51

3.35

1.67

10

แสลงใจ

7

1

 

 

 

8

0.03

2.23

1.03

3.26

1.63

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.03

1.96

1.01

2.97

1.48

12

เปาหนาม

 

3

 

 

 

3

0.02

0.84

0.78

1.62

0.81

13

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

0.02

0.84

0.58

1.42

0.71

14

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.56

0.29

0.85

0.42

15

มะขามป้อม

2

 

 

 

 

2

0.00

0.56

0.16

0.72

0.36

16

ตุ้ม

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.11

0.39

0.20

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.09

0.37

0.18

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.28

0.06

0.34

0.17

 

รวม

252

84

9

7

6

358

2.92

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.11  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 1  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

22

112

9

2

 

145

2

เต็ง

18

25

5

1

1

50

3

พลวง

24

17

3

 

 

44

4

เก็ด

2

24

6

 

 

32

5

รกฟ้า

4

12

2

 

 

18

6

มะเค็ด

4

13

 

 

 

17

7

แดง

1

11

1

 

 

13

8

รัก

4

3

1

 

 

8

9

แสลงใจ

5

3

 

 

 

8

10

มะกอกเกลื้อน

1

6

 

 

 

7

11

เปาหนาม

1

2

 

 

 

3

12

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

15

มะขามป้อม

 

2

 

 

 

2

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

17

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

18

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

89

237

28

3

1

358

 

 ตารางที่ 4-1.12 ข้อมูลเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 2  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

33

9

3

2

4

51

0.77

24.17

24.29

48.46

24.23

2

เต็ง

2

2

5

3

6

18

0.98

8.53

30.89

39.42

19.71

3

เก็ด

11

3

4

2

 

20

0.26

9.48

8.04

17.52

8.76

4

รกฟ้า

8

6

1

1

 

16

0.17

7.58

5.35

12.93

6.46

5

มะกอกเกลื้อน

2

3

4

1

 

10

0.20

4.74

6.16

10.90

5.45

6

แดง

10

3

2

 

 

15

0.10

7.11

3.09

10.20

5.10

7

ตะคร้อ

5

5

2

 

 

12

0.13

5.69

4.15

9.84

4.92

8

ละมุดป่า

9

1

 

 

 

10

0.04

4.74

1.16

5.90

2.95

9

พลวง

2

1

 

 

1

4

0.13

1.90

4.00

5.90

2.95

10

อินทนิล

7

2

 

 

 

9

0.05

4.27

1.42

5.69

2.84

11

สัก

 

1

2

 

 

3

0.08

1.42

2.65

4.08

2.04

12

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.84

1.19

4.03

2.02

13

มะเค็ด

4

2

 

 

 

6

0.03

2.84

0.88

3.72

1.86

14

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

0.08

0.95

2.39

3.34

1.67

15

สมอไทย

2

3

 

 

 

5

0.03

2.37

0.85

3.22

1.61

16

ปอยาบ

5

 

 

 

 

5

0.02

2.37

0.53

2.90

1.45

17

เปาหนาม

5

 

 

 

 

5

0.01

2.37

0.39

2.76

1.38

18

มะขามป้อม

4

 

 

 

 

4

0.01

1.90

0.39

2.29

1.14

19

บ่ากัง

 

2

 

 

 

2

0.03

0.95

0.96

1.91

0.96

20

ตับเต่า

3

 

 

 

 

3

0.01

1.42

0.26

1.68

0.84

21

แสลงใจ

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.33

0.80

0.40

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.22

0.70

0.35

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.18

0.65

0.33

24

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.47

0.11

0.59

0.29

25

ยมหิน

1

 

 

 

 

1

0.00

0.47

0.10

0.57

0.29

 

รวม

117

49

25

9

11

211

3.19

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.13  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 2  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

10

29

7

4

1

51

2

เก็ด

 

12

7

1

 

20

3

เต็ง

2

1

12

3

 

18

4

รกฟ้า

4

9

2

1

 

16

5

แดง

 

11

4

 

 

15

6

ตะคร้อ

 

5

7

 

 

12

7

มะกอกเกลื้อน

1

6

3

 

 

10

8

ละมุดป่า

4

6

 

 

 

10

9

อินทนิล

1

5

3

 

 

9

10

มะเค็ด

 

6

 

 

 

6

11

รัก

1

5

 

 

 

6

12

ปอยาบ

 

5

 

 

 

5

13

เปาหนาม

1

4

 

 

 

5

14

สมอไทย

1

3

1

 

 

5

15

พลวง

2

1

 

1

 

4

16

มะขามป้อม

 

4

 

 

 

4

17

ตับเต่า

 

3

 

 

 

3

18

สัก

 

 

1

2

 

3

19

บ่ากัง

 

2

 

 

 

2

20

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

21

ง้าว

 

1

 

 

 

1

22

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

24

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

25

แสลงใจ

 

1

 

 

 

1

 

รวม

27

122

49

12

1

211

 ตารางที่ 4-1.14 ข้อมูลเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 3  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

14

14

13

 

 

41

0.56

17.75

18.10

35.85

17.92

2

รัง

11

3

 

2

3

19

0.63

8.23

20.55

28.77

14.39

3

มะกอกเกลื้อน

4

8

7

1

 

20

0.37

8.66

12.17

20.83

10.42

4

แดง

17

3

2

 

1

23

0.30

9.96

9.63

19.59

9.79

5

ปอยาบ

6

7

4

 

 

17

0.19

7.36

6.30

13.66

6.83

6

รกฟ้า

16

4

 

1

 

21

0.13

9.09

4.33

13.42

6.71

7

พลวง

1

5

 

1

1

8

0.21

3.46

6.99

10.45

5.23

8

เก็ด

4

3

1

1

 

9

0.16

3.90

5.18

9.08

4.54

9

ประดู่

6

3

1

 

 

10

0.08

4.33

2.69

7.02

3.51

10

ยมหิน

4

4

 

 

 

8

0.05

3.46

1.55

5.02

2.51

11

มะขามป้อม

9

 

 

 

 

9

0.02

3.90

0.78

4.68

2.34

12

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.05

3.03

1.47

4.50

2.25

13

เต็ง

 

 

1

1

 

2

0.08

0.87

2.46

3.33

1.66

14

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

2.16

1.10

3.26

1.63

15

รัก

 

2

1

 

 

3

0.05

1.30

1.64

2.93

1.47

16

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.16

0.72

2.88

1.44

17

สมอไทย

2

2

 

 

 

4

0.03

1.73

0.94

2.67

1.34

18

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.01

2.16

0.46

2.62

1.31

19

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.73

0.62

2.35

1.18

20

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

0.03

0.87

1.12

1.98

0.99

21

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.30

0.43

1.72

0.86

22

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.22

0.65

0.32

23

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.16

0.59

0.30

24

มะกอก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.12

0.55

0.28

25

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.11

0.54

0.27

26

ขางหัวหมู

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.09

0.52

0.26

27

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.09

0.52

0.26

 

รวม

121

66

32

7

5

231

3.07

100

100

200

100

 


ตารางที่ 4-1.15  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2545 แปลงที่  ปมฮ. 3  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

10

18

13

 

41

2

แดง

1

17

4

1

 

23

3

รกฟ้า

4

15

1

1

 

21

4

มะกอกเกลื้อน

2

8

10

 

 

20

5

รัง

1

10

6

2

 

19

6

ปอยาบ

 

5

11

1

 

17

7

ประดู่

 

8

1

1

 

10

8

เก็ด

 

4

4

1

 

9

9

มะขามป้อม

 

8

1

 

 

9

10

พลวง

3

4

1

 

 

8

11

ยมหิน

 

8

 

 

 

8

12

ตะคร้อ

1

4

1

1

 

7

13

มะเค็ด

3

2

 

 

 

5

14

ยอป่า

 

5

 

 

 

5

15

แสลงใจ

2

3

 

 

 

5

16

ง้าว

1

3

 

 

 

4

17

สมอไทย

 

3

1

 

 

4

18

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

19

รัก

 

2

1

 

 

3

20

เต็ง

 

 

2

 

 

2

21

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

22

ขางหัวหมู

 

1

 

 

 

1

23

แค

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

26

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

27

มะกอก

 

1

 

 

 

1

 

รวม

19

127

64

21

0

231

ตารางที่ 4-1.16 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2546 แปลงที่  ปมฮ. 1  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

100

46

2

3

1

152

1.13

40.86

36.61

77.47

38.74

2

เต็ง

33

9

1

2

4

49

0.83

13.17

26.96

40.13

20.07

3

พลวง

26

14

2

2

 

44

0.42

11.83

13.50

25.33

12.66

4

เก็ด

24

6

3

 

 

33

0.23

8.87

7.58

16.45

8.22

5

มะเค็ด

22

 

 

 

 

22

0.06

5.91

1.96

7.88

3.94

6

รกฟ้า

11

7

 

 

 

18

0.09

4.84

2.83

7.67

3.84

7

แดง

12

2

 

 

 

14

0.05

3.76

1.55

5.31

2.66

8

รัก

4

3

1

 

 

8

0.06

2.15

2.04

4.19

2.09

9

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.81

2.45

3.25

1.63

10

แสลงใจ

6

2

 

 

 

8

0.03

2.15

1.07

3.22

1.61

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.03

1.88

1.09

2.97

1.49

12

เปาหนาม

 

3

 

 

 

3

0.03

0.81

0.94

1.75

0.87

13

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

0.02

0.81

0.61

1.42

0.71

14

มะขามป้อม

3

 

 

 

 

3

0.01

0.81

0.22

1.03

0.52

15

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.54

0.28

0.82

0.41

16

ตุ้ม

1

 

 

 

 

1

0.00

0.27

0.15

0.42

0.21

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.27

0.09

0.36

0.18

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.27

0.06

0.33

0.16

 

รวม

251

99

9

8

5

372

3.08

100

100

200

100

 ตารางที่ 4-1.17  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2546 แปลงที่  ปมฮ. 1  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

18

121

11

2

 

152

2

เต็ง

16

25

7

1

 

49

3

พลวง

22

19

3

 

 

44

4

เก็ด

2

25

6

 

 

33

5

มะเค็ด

3

19

 

 

 

22

6

รกฟ้า

4

12

2

 

 

18

7

แดง

 

13

1

 

 

14

8

แสลงใจ

4

4

 

 

 

8

9

รัก

4

3

1

 

 

8

10

มะกอกเกลื้อน

1

6

 

 

 

7

11

เปาหนาม

 

3

 

 

 

3

12

มะขามป้อม

1

2

 

 

 

3

13

ยอป่า

 

3

 

 

 

3

14

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

15

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

17

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

18

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

77

260

32

3

0

372

 ตารางที่ 4-1.8 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2544 แปลงที่  ปมฮ. 3  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

 

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

13

16

10

 

 

39

0.51

17.03

17.33

34.36

17.18

2

รัง

11

3

 

2

3

19

0.62

8.30

20.77

29.07

14.53

3

มะเกิ้ม

4

8

7

1

 

20

0.37

8.73

12.52

21.26

10.63

4

แดง

16

3

2

 

1

22

0.28

9.61

9.53

19.14

9.57

5

ปอยาบ

7

9

2

 

 

18

0.19

7.86

6.47

14.33

7.17

6

รกฟ้า

16

4

 

1

 

21

0.13

9.17

4.37

13.54

6.77

7

พลวง

1

6

 

1

1

9

0.23

3.93

7.83

11.76

5.88

8

ชิงชัน

4

3

1

1

 

9

0.15

3.93

5.15

9.08

4.54

9

ประดู่

7

2

1

 

 

10

0.07

4.37

2.42

6.78

3.39

10

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.04

3.06

1.51

4.56

2.28

11

ยมหิน

4

3

 

 

 

7

0.04

3.06

1.31

4.37

2.19

12

มะขามป้อม

8

 

 

 

 

8

0.02

3.49

0.71

4.21

2.10

13

เต็ง

1

 

1

1

 

3

0.08

1.31

2.53

3.84

1.92

14

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

2.18

1.08

3.26

1.63

15

รักใหญ่

 

2

1

 

 

3

0.05

1.31

1.66

2.97

1.49

16

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.18

0.74

2.92

1.46

17

สมอไทย

2

2

 

 

 

4

0.03

1.75

0.94

2.69

1.35

18

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.01

2.18

0.43

2.61

1.31

19

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.75

0.60

2.35

1.17

20

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

0.03

0.87

0.91

1.78

0.89

21

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.31

0.42

1.73

0.86

22

แคดอกขาว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.22

0.66

0.33

23

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.15

0.59

0.29

24

ตับเต่าต้น

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.11

0.55

0.27

25

มะกอก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.11

0.55

0.27

26

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.53

0.26

27

ขางหัวหมู

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.52

0.26

 

รวม

121

69

27

7

5

229

2.96

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.19  จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2546 แปลงที่  ปมฮ. 2  

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

6

31

8

4

1

50

2

เก็ด

 

13

7

1

 

21

3

เต็ง

2

1

11

4

 

18

4

รกฟ้า

3

10

1

2

 

16

5

แดง

 

8

7

 

 

15

6

ละมุดป่า

3

8

 

 

 

11

7

ตะคร้อ

 

4

5

 

 

9

8

มะกอกเกลื้อน

1

5

3

 

 

9

9

อินทนิล

 

5

3

 

 

8

10

มะเค็ด

 

6

 

 

 

6

11

รัก

1

5

 

 

 

6

12

เปาหนาม

 

4

1

 

 

5

13

ปอยาบ

 

3

2

 

 

5

14

สมอไทย

1

3

1

 

 

5

15

มะขามป้อม

 

4

 

 

 

4

16

ตับเต่า

 

3

 

 

 

3

17

พลวง

2

 

 

1

 

3

18

สัก

 

 

1

2

 

3

19

บ่ากัง

 

2

 

 

 

2

20

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

21

แสลงใจ

 

1

 

 

 

1

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

24

ประดู่

 

1

 

 

 

1

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

19

120

52

14

1

206

 ตารางที่ 4-1.20 ข้อมูลเชิงปริมาณของพันธุ์ไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2546 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

11

12

15

1

 

39

0.65

18.66

19.78

38.45

19.22

2

รัง

10

4

 

1

4

19

0.66

9.09

20.11

29.20

14.60

3

แดง

18

5

2

 

1

26

0.33

12.44

9.89

22.33

11.16

4

มะกอกเกลื้อน

4

8

7

1

 

20

0.39

9.57

11.71

21.28

10.64

5

ปอยาบ

5

7

5

 

 

17

0.23

8.13

7.07

15.21

7.60

6

รกฟ้า

14

6

 

1

 

21

0.14

10.05

4.16

14.21

7.11

7

เก็ด

4

2

2

1

 

9

0.17

4.31

5.13

9.44

4.72

8

พลวง

1

3

 

1

1

6

0.20

2.87

6.08

8.96

4.48

9

ประดู่

4

5

1

 

 

10

0.10

4.78

2.97

7.75

3.88

10

ยมหิน

2

6

 

 

 

8

0.06

3.83

1.82

5.64

2.82

11

มะขามป้อม

9

 

 

 

 

9

0.03

4.31

0.81

5.12

2.56

12

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.05

3.35

1.44

4.79

2.40

13

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.04

2.39

1.17

3.56

1.78

14

เต็ง

 

 

1

1

 

2

0.08

0.96

2.31

3.27

1.63

15

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.39

0.74

3.13

1.57

16

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.02

2.39

0.47

2.87

1.43

17

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.91

0.58

2.50

1.25

18

สมอไทย

1

2

 

 

 

3

0.03

1.44

0.81

2.25

1.12

19

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

0.04

0.96

1.19

2.15

1.08

20

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.44

0.43

1.86

0.93

21

รัก

 

2

 

 

 

2

0.02

0.96

0.50

1.45

0.73

22

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.48

0.21

0.69

0.35

23

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.48

0.20

0.68

0.34

24

มะกอก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.48

0.11

0.59

0.29

25

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.48

0.11

0.59

0.29

26

ขางหัวหมู

1

 

 

 

 

1

0.00

0.48

0.10

0.58

0.29

27

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.48

0.08

0.56

0.28

 

รวม

99

67

35

7

6

209

2.64

100

100

200

1

ตารางที่ 4-1.21 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2546 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

9

11

19

 

39

2

แดง

1

20

4

1

 

26

3

รกฟ้า

3

16

1

1

 

21

4

มะกอกเกลื้อน

2

8

9

1

 

20

5

รัง

1

10

4

4

 

19

6

ปอยาบ

 

5

10

2

 

17

7

ประดู่

 

7

2

1

 

10

8

เก็ด

 

4

3

2

 

9

9

มะขามป้อม

 

9

 

 

 

9

10

ยมหิน

1

7

 

 

 

8

11

ตะคร้อ

 

5

1

1

 

7

12

พลวง

2

3

1

 

 

6

13

แสลงใจ

2

3

 

 

 

5

14

มะเค็ด

2

3

 

 

 

5

15

ยอป่า

 

4

1

 

 

5

16

ง้าว

1

3

 

 

 

4

17

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

18

สมอไทย

 

2

1

 

 

3

19

เต็ง

 

 

2

 

 

2

20

รัก

 

2

 

 

 

2

21

ละมุดป่า

1

 

1

 

 

2

22

แค

 

1

 

 

 

1

23

ขางหัวหมู

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

26

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

27

มะกอก

 

1

 

 

 

1

 

รวม

16

128

52

32

0

228

ตารางที่ 4-1.22 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 1

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

96

52

2

3

1

154

1.20

39.69

36.85

76.54

25.51

2

เต็ง

33

9

1

2

4

49

0.85

12.63

26.17

38.80

12.93

3

พลวง

26

14

2

2

 

44

0.42

11.34

12.82

24.16

8.05

4

เก็ด

25

9

3

 

 

37

0.27

9.54

8.18

17.72

5.91

5

มะเค็ด

27

 

 

 

 

27

0.08

6.96

2.37

9.33

3.11

6

รกฟ้า

14

7

 

 

 

21

0.10

5.41

3.12

8.53

2.84

7

แดง

12

2

 

 

 

14

0.05

3.61

1.63

5.24

1.75

8

รัก

6

3

1

 

 

10

0.07

2.58

2.19

4.77

1.59

9

แสลงใจ

6

2

 

 

 

8

0.04

2.06

1.09

3.15

1.05

10

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.77

2.35

3.12

1.04

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.04

1.80

1.16

2.97

0.99

12

ยอป่า

1

2

 

 

 

3

0.02

0.77

0.59

1.36

0.45

13

เปาหนาม

 

2

 

 

 

2

0.02

0.52

0.62

1.13

0.38

14

มะขามป้อม

3

 

 

 

 

3

0.01

0.77

0.22

0.99

0.33

15

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.52

0.28

0.79

0.26

16

ตุ้ม

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.15

0.40

0.13

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.09

0.35

0.12

18

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.06

0.32

0.11

19

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.06

0.31

0.10

 

รวม

259

107

9

8

5

388

3.24

100

100

200

66.67

ต      ตารางที่ 4-1.23 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 1

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

17

116

18

3

 

154

2

เต็ง

15

25

8

1

 

49

3

พลวง

21

18

5

 

 

44

4

เก็ด

1

29

6

1

 

37

5

มะเค็ด

3

23

 

1

 

27

6

รกฟ้า

5

14

2

 

 

21

7

แดง

 

13

1

 

 

14

8

รัก

5

4

1

 

 

10

9

แสลงใจ

3

5

 

 

 

8

10

มะกอกเกลื้อน

1

6

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

3

 

 

 

3

12

ยอป่า

 

3

 

 

 

3

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

เปาหนาม

 

1

1

 

 

2

15

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

16

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

17

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

19

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

73

266

43

6

0

388

 

ตารางที่ 4-1.24 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

30

10

3

1

5

49

0.86

21.97

24.56

46.53

23.27

2

เต็ง

2

1

6

3

6

18

1.05

8.07

29.77

37.84

18.92

3

เก็ด

12

5

4

2

 

23

0.30

10.31

8.54

18.85

9.43

4

แดง

12

7

3

 

 

22

0.15

9.87

4.37

14.24

7.12

5

รกฟ้า

9

6

1

1

 

17

0.18

7.62

5.21

12.83

6.41

6

มะกอกเกลื้อน

2

2

3

1

 

8

0.18

3.59

5.17

8.76

4.38

7

ตะคร้อ

2

4

3

 

 

9

0.13

4.04

3.66

7.70

3.85

8

ละมุดป่า

10

1

 

 

 

11

0.05

4.93

1.30

6.24

3.12

9

อินทนิล

7

1

1

 

 

9

0.05

4.04

1.52

5.56

2.78

10

มะเค็ด

7

2

 

 

 

9

0.04

4.04

1.05

5.09

2.54

11

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.12

1.35

3.53

4.88

2.44

12

รัก

4

3

 

 

 

7

0.04

3.14

1.23

4.37

2.18

13

สัก

 

1

1

1

 

3

0.09

1.35

2.69

4.03

2.02

14

ยอป่า

 

 

1

1

 

2

0.08

0.90

2.37

3.26

1.63

15

สมอไทย

1

4

 

 

 

5

0.03

2.24

0.87

3.11

1.56

16

ปอยาบ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.24

0.71

2.95

1.48

17

เปาหนาม

4

1

 

 

 

5

0.02

2.24

0.47

2.71

1.35

18

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.01

2.24

0.41

2.65

1.33

19

มะขามป้อม

3

1

 

 

 

4

0.02

1.79

0.44

2.24

1.12

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.03

0.90

0.95

1.84

0.92

21

แสลงใจ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.90

0.42

1.31

0.66

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.45

0.23

0.68

0.34

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.45

0.18

0.63

0.31

24

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.45

0.17

0.62

0.31

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.45

0.14

0.59

0.30

26

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.45

0.05

0.49

0.25

 

รวม

116

58

27

10

12

223

3.51

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.25 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

5

30

7

6

1

49

2

เก็ด

 

15

5

3

 

23

3

แดง

1

14

7

 

 

22

4

เต็ง

2

1

10

5

 

18

5

รกฟ้า

2

12

1

2

 

17

6

ละมุดป่า

2

9

 

 

 

11

7

ตะคร้อ

 

3

6

 

 

9

8

มะเค็ด

2

7

 

 

 

9

9

อินทนิล

 

5

4

 

 

9

10

มะกอกเกลื้อน

1

3

4

 

 

8

11

รัก

2

5

 

 

 

7

12

เปาหนาม

 

4

1

 

 

5

13

ตับเต่า

2

3

 

 

 

5

14

ปอยาบ

 

1

4

 

 

5

15

สมอไทย

 

4

1

 

 

5

16

มะขามป้อม

 

4

 

 

 

4

17

พลวง

2

 

 

1

 

3

18

สัก

 

 

1

2

 

3

19

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

21

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

24

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

25

ประดู่

 

 

1

 

 

1

26

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

21

127

55

19

1

223

 

ตารางที่ 4-1.26 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

11

12

14

2

 

39

0.68

16.88

20.25

37.13

18.57

2

รัง

10

4

 

1

4

19

0.67

8.23

19.96

28.18

14.09

3

แดง

22

5

2

 

1

30

0.35

12.99

10.40

23.38

11.69

4

มะกอกเกลื้อน

4

7

7

1

 

19

0.38

8.23

11.38

19.61

9.80

5

รกฟ้า

15

6

 

1

 

22

0.14

9.52

4.22

13.74

6.87

6

ปอยาบ

4

7

5

 

 

16

0.23

6.93

6.70

13.63

6.81

7

เก็ด

4

2

2

 

1

9

0.18

3.90

5.25

9.15

4.57

8

ประดู่

5

6

 

1

 

12

0.11

5.19

3.23

8.43

4.21

9

พลวง

1

1

 

1

1

4

0.18

1.73

5.41

7.14

3.57

10

ยมหิน

2

7

 

 

 

9

0.07

3.90

2.06

5.95

2.98

11

มะขามป้อม

9

 

 

 

 

9

0.03

3.90

0.81

4.71

2.35

12

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.05

3.03

1.44

4.47

2.24

13

ยอป่า

3

1

1

 

 

5

0.04

2.16

1.20

3.37

1.68

14

เต็ง

 

 

1

1

 

2

0.08

0.87

2.29

3.15

1.58

15

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.02

2.16

0.73

2.90

1.45

16

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.02

2.16

0.46

2.63

1.31

17

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.73

0.58

2.31

1.16

18

สมอไทย

1

2

 

 

 

3

0.03

1.30

0.82

2.12

1.06

19

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.30

0.44

1.74

0.87

20

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.03

0.43

1.03

1.46

0.73

21

รัก

 

2

 

 

 

2

0.02

0.87

0.49

1.35

0.68

22

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.22

0.66

0.33

23

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.21

0.64

0.32

24

มะกอก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.13

0.56

0.28

25

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.10

0.54

0.27

26

ขางหัวหมู

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.10

0.53

0.26

27

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.08

0.51

0.26

 

รวม

113

69

34

8

7

231

3.37

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.27 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2547 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

8

11

20

 

39

2

แดง

 

24

5

1

 

30

3

รกฟ้า

3

16

2

1

 

22

4

มะกอกเกลื้อน

1

8

8

2

 

19

5

รัง

1

10

4

2

2

19

6

ปอยาบ

 

5

9

2

 

16

7

ประดู่

 

7

4

1

 

12

8

เก็ด

 

4

3

2

 

9

9

มะขามป้อม

 

9

 

 

 

9

10

ยมหิน

1

8

 

 

 

9

11

ตะคร้อ

 

5

2

 

 

7

12

แสลงใจ

2

3

 

 

 

5

13

มะเค็ด

1

4

 

 

 

5

14

ยอป่า

 

4

1

 

 

5

15

ง้าว

1

3

 

 

 

4

16

พลวง

1

2

 

1

 

4

17

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

18

สมอไทย

 

2

1

 

 

3

19

เต็ง

 

 

2

 

 

2

20

รัก

 

2

 

 

 

2

21

แค

 

1

 

 

 

1

22

ขางหัวหมู

 

1

 

 

 

1

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

24

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

มะกอก

 

1

 

 

 

1

27

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

 

รวม

11

132

54

32

2

231

 

ตารางที่ 4-1.28 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 1

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

97

56

4

3

1

161

1.27

38.15

37.03

75.19

37.59

2

เต็ง

46

9

1

2

4

62

0.89

14.69

26.19

40.88

20.44

3

พลวง

31

14

3

2

 

50

0.44

11.85

12.82

24.67

12.34

4

เก็ด

27

7

3

1

 

38

0.27

9.00

7.87

16.88

8.44

5

มะเค็ด

27

1

 

 

 

28

0.09

6.64

2.58

9.22

4.61

6

รกฟ้า

12

7

 

 

 

19

0.10

4.50

2.97

7.47

3.73

7

แดง

10

4

 

 

 

14

0.06

3.32

1.71

5.03

2.51

8

รัก

6

3

1

 

 

10

0.07

2.37

2.03

4.40

2.20

9

แสลงใจ

7

2

 

 

 

9

0.04

2.13

1.13

3.27

1.63

10

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.71

2.26

2.97

1.49

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.04

1.66

1.10

2.76

1.38

12

มะขามป้อม

7

 

 

 

 

7

0.01

1.66

0.43

2.09

1.04

13

ยอป่า

2

2

 

 

 

4

0.02

0.95

0.63

1.57

0.79

14

เปาหนาม

1

2

 

 

 

3

0.02

0.71

0.56

1.28

0.64

15

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.47

0.29

0.76

0.38

16

ตุ้ม

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.14

0.38

0.19

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.09

0.33

0.16

19

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.07

0.30

0.15

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.05

0.29

0.14

21

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.05

0.29

0.14

 

รวม

284

112

12

9

5

422

3.42

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.29 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

16

120

22

2

1

161

2

เต็ง

27

26

8

1

 

62

3

พลวง

28

17

5

 

 

50

4

เก็ด

2

25

9

2

 

38

5

มะเค็ด

2

26

 

 

 

28

6

รกฟ้า

3

13

3

 

 

19

7

แดง

 

13

1

 

 

14

8

รัก

6

3

1

 

 

10

9

แสลงใจ

3

6

 

 

 

9

10

มะกอกเกลื้อน

1

6

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

7

 

 

 

7

12

ยอป่า

 

4

 

 

 

4

13

เปาหนาม

 

3

 

 

 

3

14

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

15

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

16

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

17

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

20

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

91

274

51

5

1

422

 

 

ตารางที่ 4-1.30 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

30

10

3

1

5

49

0.87

21.68

24.47

46.15

23.08

2

เต็ง

1

1

6

3

6

17

1.06

7.52

29.58

37.11

18.55

3

เก็ด

12

5

4

2

 

23

0.30

10.18

8.35

18.53

9.27

4

แดง

13

7

3

 

 

23

0.16

10.18

4.53

14.71

7.36

5

รกฟ้า

8

7

1

1

 

17

0.19

7.52

5.34

12.87

6.43

6

ตะคร้อ

2

4

3

 

 

9

0.13

3.98

3.70

7.69

3.84

7

มะกอกเกลื้อน

1

1

3

1

 

6

0.17

2.65

4.74

7.39

3.70

8

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.06

5.31

1.72

7.03

3.52

9

ละมุดป่า

10

1

 

 

 

11

0.05

4.87

1.30

6.17

3.08

10

มะเค็ด

8

2

 

 

 

10

0.04

4.42

1.13

5.56

2.78

11

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.33

3.51

4.84

2.42

12

รัก

4

3

 

 

 

7

0.04

3.10

1.22

4.31

2.16

13

สัก

 

1

1

1

 

3

0.10

1.33

2.80

4.13

2.07

14

ยอป่า

 

 

1

1

 

2

0.08

0.88

2.33

3.21

1.61

15

เปาหนาม

5

1

 

 

 

6

0.02

2.65

0.52

3.17

1.59

16

สมอไทย

1

4

 

 

 

5

0.03

2.21

0.91

3.12

1.56

17

ปอยาบ

2

3

 

 

 

5

0.03

2.21

0.77

2.98

1.49

18

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.02

2.21

0.46

2.68

1.34

19

มะขามป้อม

3

1

 

 

 

4

0.02

1.77

0.44

2.21

1.10

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.03

0.88

0.95

1.83

0.92

21

แสลงใจ

1

1

 

 

 

2

0.02

0.88

0.45

1.33

0.67

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.22

0.67

0.33

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.18

0.62

0.31

24

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.17

0.61

0.31

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.15

0.59

0.30

26

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.04

0.49

0.24

 

รวม

117

60

27

10

12

226

3.57

100

100

200

100

 

 

ตารางที่ 4-1.31 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

5

30

7

6

1

49

2

เก็ด

1

13

6

3

 

23

3

แดง

 

14

9

 

 

23

4

เต็ง

 

2

9

5

1

17

5

รกฟ้า

2

12

1

2

 

17

6

อินทนิล

1

7

4

 

 

12

7

ละมุดป่า

1

10

 

 

 

11

8

มะเค็ด

2

8

 

 

 

10

9

ตะคร้อ

 

3

6

 

 

9

10

รัก

2

5

 

 

 

7

11

เปาหนาม

 

5

1

 

 

6

12

มะกอกเกลื้อน

 

2

4

 

 

6

13

ตับเต่า

1

3

1

 

 

5

14

ปอยาบ

 

1

4

 

 

5

15

สมอไทย

 

4

1

 

 

5

16

มะขามป้อม

 

3

1

 

 

4

17

พลวง

2

 

 

1

 

3

18

สัก

 

 

 

3

 

3

19

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

21

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

24

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

25

ประดู่

 

 

1

 

 

1

26

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

17

129

58

20

2

226

 

ตารางที่ 4-1.32 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

 

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

 

 

1

สัก

12

12

15

2

 

41

0.72

18.06

21.84

39.90

19.95

 

2

รัง

9

4

 

1

4

18

0.68

7.93

20.62

28.55

14.27

 

3

แดง

26

5

1

1

1

34

0.37

14.98

11.21

26.19

13.09

 

4

มะกอกเกลื้อน

3

7

7

 

1

18

0.43

7.93

13.22

21.15

10.57

 

5

ปอยาบ

3

7

5

 

 

15

0.23

6.61

7.06

13.67

6.83

 

6

รกฟ้า

14

5

 

1

 

20

0.14

8.81

4.18

12.99

6.50

 

7

ประดู่

7

6

 

1

 

14

0.12

6.17

3.76

9.93

4.96

 

8

เก็ด

4

2

2

 

1

9

0.18

3.96

5.49

9.46

4.73

 

9

ยมหิน

1

7

 

 

 

8

0.07

3.52

2.15

5.67

2.84

 

10

ตะคร้อ

5

1

1

 

 

7

0.05

3.08

1.50

4.59

2.29

 

11

มะขามป้อม

8

 

 

 

 

8

0.03

3.52

0.79

4.31

2.16

 

12

ยอป่า

4

1

1

 

 

6

0.04

2.64

1.34

3.98

1.99

 

13

แสลงใจ

3

2

 

 

 

5

0.03

2.20

0.77

2.97

1.49

 

14

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.01

2.20

0.41

2.61

1.31

 

16

ง้าว

3

1

 

 

 

4

0.02

1.76

0.60

2.36

1.18

 

17

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.44

1.59

2.03

1.02

 

18

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.02

1.32

0.46

1.78

0.89

 

19

สมอไทย

 

2

 

 

 

2

0.02

0.88

0.74

1.62

0.81

 

20

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.03

0.44

1.05

1.49

0.75

 

21

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.88

0.16

1.04

0.52

 

22

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.24

0.68

0.34

 

23

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.24

0.68

0.34

 

24

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.23

0.67

0.33

 

25

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.16

0.60

0.30

 

26

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.11

0.55

0.27

 

27

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.53

0.26

 

 

รวม

113

67

33

7

7

227

3.29

100

100

200

100

                                                     

ตารางที่ 4-1.33 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2548 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

1

10

10

20

 

41

2

แดง

 

26

6

2

 

34

3

รกฟ้า

2

15

2

1

 

20

4

มะกอกเกลื้อน

1

6

10

1

 

18

5

รัง

 

10

4

4

 

18

6

ปอยาบ

 

3

10

2

 

15

7

ประดู่

 

8

5

1

 

14

8

เก็ด

1

3

3

2

 

9

9

มะขามป้อม

1

7

 

 

 

8

10

ยมหิน

1

5

2

 

 

8

11

ตะคร้อ

 

5

2

 

 

7

12

ยอป่า

 

5

1

 

 

6

13

แสลงใจ

1

4

 

 

 

5

14

มะเค็ด

1

4

 

 

 

5

15

ง้าว

1

3

 

 

 

4

16

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

17

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

18

สมอไทย

 

1

1

 

 

2

19

เต็ง

 

 

1

 

 

1

20

แค

 

1

 

 

 

1

21

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

22

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

23

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

25

รัก

 

1

 

 

 

1

26

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

 

รวม

10

124

60

33

0

227

 

ตารางที่ 4-1.34 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

94

62

6

3

1

166

1.37

38.52

38.49

77.00

38.50

2

เต็ง

49

10

1

2

4

66

0.93

15.31

26.03

41.35

20.67

3

พลวง

27

14

3

1

 

45

0.37

10.44

10.26

20.70

10.35

4

เก็ด

26

9

4

1

 

40

0.30

9.28

8.35

17.63

8.82

5

มะเค็ด

27

3

 

 

 

30

0.10

6.96

2.93

9.89

4.95

6

รกฟ้า

12

7

 

 

 

19

0.11

4.41

3.08

7.49

3.74

7

แดง

8

6

 

 

 

14

0.07

3.25

2.00

5.24

2.62

8

รัก

7

3

1

 

 

11

0.07

2.55

1.97

4.53

2.26

9

แสลงใจ

7

4

 

 

 

11

0.05

2.55

1.40

3.95

1.97

10

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.70

2.19

2.88

1.44

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.04

1.62

1.26

2.88

1.44

12

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.01

1.39

0.38

1.77

0.89

13

ยอป่า

2

2

 

 

 

4

0.02

0.93

0.63

1.56

0.78

14

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.46

0.35

0.82

0.41

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.23

0.22

0.45

0.22

16

ตุ้ม

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.13

0.37

0.18

18

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.09

0.32

0.16

19

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.08

0.32

0.16

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

21

ยมหิน

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

 

รวม

277

126

15

8

5

431

3.57

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.35 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

16

118

29

2

1

166

2

เต็ง

28

29

7

2

 

66

3

พลวง

24

17

4

 

 

45

4

เก็ด

2

26

9

3

 

40

5

มะเค็ด

1

29

 

 

 

30

6

รกฟ้า

4

12

3

 

 

19

7

แดง

 

11

3

 

 

14

8

แสลงใจ

4

7

 

 

 

11

9

รัก

7

3

1

 

 

11

10

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

6

 

 

 

6

12

ยอป่า

 

4

 

 

 

4

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

16

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

17

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

20

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

21

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

89

276

58

7

1

431

 

ตารางที่ 4-1.36 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

27

13

3

 

6

49

0.92

20.94

23.21

44.15

22.08

2

เต็ง

1

1

5

4

6

17

1.07

7.26

27.02

34.29

17.14

3

เก็ด

14

5

4

2

 

25

0.31

10.68

7.76

18.45

9.22

4

แดง

16

7

3

 

 

26

0.19

11.11

4.78

15.89

7.94

5

มะเค็ด

10

2

 

 

1

13

0.27

5.56

6.79

12.34

6.17

6

รกฟ้า

8

7

1

1

 

17

0.20

7.26

5.01

12.28

6.14

7

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.14

3.85

3.57

7.42

3.71

8

มะกอกเกลื้อน

1

1

3

1

 

6

0.17

2.56

4.31

6.87

3.44

9

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.07

5.13

1.70

6.83

3.42

10

ละมุดป่า

11

1

 

 

 

12

0.05

5.13

1.33

6.45

3.23

11

สัก

 

1

1

1

 

3

0.11

1.28

2.84

4.12

2.06

12

พลวง

1

 

 

 

1

2

0.12

0.85

3.12

3.97

1.99

13

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.56

1.05

3.62

1.81

14

เปาหนาม

6

1

 

 

 

7

0.02

2.99

0.62

3.61

1.80

15

ยอป่า

 

 

1

1

 

2

0.09

0.85

2.19

3.05

1.52

16

สมอไทย

1

4

 

 

 

5

0.04

2.14

0.90

3.04

1.52

17

ปอยาบ

1

4

 

 

 

5

0.04

2.14

0.90

3.03

1.52

18

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.02

2.14

0.44

2.57

1.29

19

มะขามป้อม

2

2

 

 

 

4

0.02

1.71

0.42

2.13

1.06

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.03

0.85

0.86

1.72

0.86

21

แสลงใจ

1

1

 

 

 

2

0.02

0.85

0.44

1.30

0.65

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.22

0.65

0.32

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.16

0.59

0.30

24

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.16

0.58

0.29

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.16

0.58

0.29

26

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.05

0.47

0.24

 

รวม

118

66

26

10

14

234

3.96

100.00

100.00

200.00

100.00

 

ตารางที่ 4-1.37 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

5

27

10

6

1

49

2

แดง

 

15

8

3

 

26

3

เก็ด

2

14

4

5

 

25

4

เต็ง

1

1

9

5

1

17

5

รกฟ้า

2

10

3

2

 

17

6

มะเค็ด

1

12

 

 

 

13

7

ละมุดป่า

 

12

 

 

 

12

8

อินทนิล

1

7

3

1

 

12

9

ตะคร้อ

 

3

6

 

 

9

10

เปาหนาม

1

5

1

 

 

7

11

มะกอกเกลื้อน

 

2

4

 

 

6

12

รัก

1

4

1

 

 

6

13

ตับเต่า

 

4

1

 

 

5

14

ปอยาบ

 

1

4

 

 

5

15

สมอไทย

 

4

1

 

 

5

16

มะขามป้อม

 

3

1

 

 

4

17

สัก

 

 

1

2

 

3

18

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

19

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

20

พลวง

1

 

 

1

 

2

21

ยอป่า

 

 

2

 

 

2

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

23

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

24

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

25

ประดู่

 

 

1

 

 

1

26

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

15

131

61

25

2

234

 

ตารางที่ 4-1.38 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

13

13

14

3

 

43

0.82

18.61

23.46

42.07

21.04

2

แดง

26

9

1

1

1

38

0.41

16.45

11.64

28.09

14.04

3

รัง

6

3

 

1

4

14

0.67

6.06

19.14

25.20

12.60

4

มะกอกเกลื้อน

2

7

7

 

1

17

0.43

7.36

12.26

19.62

9.81

5

ปอยาบ

2

7

5

 

 

14

0.26

6.06

7.34

13.40

6.70

6

รกฟ้า

13

4

1

1

 

19

0.14

8.23

3.99

12.21

6.11

7

ประดู่

8

7

 

1

 

16

0.14

6.93

4.01

10.93

5.47

8

เก็ด

7

2

1

1

1

12

0.19

5.19

5.51

10.71

5.35

9

ยมหิน

2

6

1

 

 

9

0.08

3.90

2.41

6.31

3.15

10

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

2.60

1.42

4.02

2.01

11

ยอป่า

3

2

1

 

 

6

0.04

2.60

1.28

3.88

1.94

12

มะขามป้อม

7

 

 

 

 

7

0.02

3.03

0.68

3.71

1.85

13

แสลงใจ

4

2

 

 

 

6

0.03

2.60

0.79

3.39

1.69

14

มะเค็ด

5

 

 

 

 

5

0.02

2.16

0.44

2.60

1.30

16

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.43

1.54

1.97

0.99

17

ง้าว

2

1

 

 

 

3

0.02

1.30

0.48

1.78

0.89

18

เปาหนาม

2

1

 

 

 

3

0.02

1.30

0.45

1.75

0.87

19

สมอไทย

 

2

 

 

 

2

0.03

0.87

0.77

1.64

0.82

20

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.43

1.04

1.48

0.74

21

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.87

0.18

1.05

0.52

22

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.29

0.72

0.36

23

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.24

0.68

0.34

24

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.23

0.67

0.33

25

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.43

0.15

0.58

0.29

26

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.10

0.53

0.27

27

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.09

0.52

0.26

28

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.43

0.07

0.51

0.25

 

รวม

110

72

33

9

7

231

3.51

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.39 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2549 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

1

10

8

24

 

43

2

แดง

 

29

7

2

 

38

3

รกฟ้า

1

14

3

1

 

19

4

มะกอกเกลื้อน

1

5

8

3

 

17

5

ประดู่

 

10

5

1

 

16

6

ปอยาบ

 

2

5

7

 

14

7

รัง

 

7

2

4

1

14

8

เก็ด

2

5

3

2

 

12

9

ยมหิน

1

3

5

 

 

9

10

มะขามป้อม

 

7

 

 

 

7

11

แสลงใจ

3

3

 

 

 

6

12

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

13

ยอป่า

 

5

1

 

 

6

14

มะเค็ด

1

4

 

 

 

5

15

เปาหนาม

 

2

1

 

 

3

16

ง้าว

1

2

 

 

 

3

17

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

18

สมอไทย

 

1

1

 

 

2

19

เต็ง

 

 

1

 

 

1

20

แค

 

1

 

 

 

1

21

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

22

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

23

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

24

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

25

มะกอก

 

1

 

 

 

1

26

รัก

 

1

 

 

 

1

27

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

 

รวม

11

121

54

44

1

231

 

ตารางที่ 4-1.40 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

97

67

5

4

1

174

1.43

38.33

38.85

77.18

38.59

2

เต็ง

56

11

1

2

4

74

0.95

16.30

25.85

42.15

21.07

3

พลวง

29

15

2

1

 

47

0.37

10.35

10.11

20.47

10.23

4

เก็ด

24

11

4

1

 

40

0.31

8.81

8.33

17.14

8.57

5

รกฟ้า

11

8

 

 

 

19

0.11

4.19

3.04

7.23

3.61

6

มะเค็ด

28

3

 

 

 

31

0.10

6.83

2.85

9.68

4.84

7

แดง

8

7

 

 

 

15

0.08

3.30

2.16

5.46

2.73

8

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.66

2.13

2.79

1.39

9

รัก

7

2

1

 

 

10

0.06

2.20

1.73

3.93

1.97

10

แสลงใจ

9

4

 

 

 

13

0.06

2.86

1.50

4.36

2.18

11

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.05

1.54

1.29

2.83

1.41

12

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.02

1.10

0.67

1.77

0.89

13

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.01

1.32

0.39

1.72

0.86

14

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.44

0.35

0.79

0.39

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.22

0.22

0.44

0.22

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.22

0.14

0.36

0.18

18

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.10

0.32

0.16

19

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.09

0.31

0.16

20

ยมหิน

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.06

0.28

0.14

21

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.05

0.27

0.13

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.05

0.27

0.13

23

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.22

0.04

0.26

0.13

 

รวม

290

137

13

9

5

454

3.67

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.41 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

17

117

37

2

1

174

2

เต็ง

29

35

8

2

 

74

3

พลวง

25

18

4

 

 

47

4

เก็ด

2

25

10

3

 

40

5

มะเค็ด

3

27

1

 

 

31

6

รกฟ้า

3

13

3

 

 

19

7

แดง

 

12

3

 

 

15

8

แสลงใจ

5

8

 

 

 

13

9

รัก

7

2

1

 

 

10

10

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

6

 

 

 

6

12

ยอป่า

1

4

 

 

 

5

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

16

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

17

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

18

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

19

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

20

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

21

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

22

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

96

281

69

7

1

454

 

ตารางที่ 4-1.42 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

เต็ง

1

1

5

4

6

17

1.09

6.77

28.08

34.85

17.42

2

รัง

26

12

4

 

6

48

0.93

19.12

24.07

43.19

21.60

3

เก็ด

22

5

4

2

 

33

0.33

13.15

8.65

21.80

10.90

4

แดง

18

7

3

 

 

28

0.21

11.16

5.35

16.51

8.25

5

รกฟ้า

9

7

 

2

 

18

0.21

7.17

5.32

12.50

6.25

6

มะกอกเกลื้อน

1

1

3

1

 

6

0.17

2.39

4.46

6.85

3.42

7

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.14

3.59

3.71

7.30

3.65

8

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.20

3.32

4.51

2.26

9

สัก

1

1

1

1

 

4

0.12

1.59

3.12

4.71

2.36

10

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.09

1.20

2.44

3.64

1.82

11

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.07

4.78

1.82

6.60

3.30

12

มะเค็ด

11

3

 

 

 

14

0.05

5.58

1.41

6.99

3.49

13

ละมุดป่า

11

1

 

 

 

12

0.05

4.78

1.38

6.16

3.08

14

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.39

1.10

3.49

1.75

15

ปอยาบ

1

4

 

 

 

5

0.04

1.99

0.99

2.98

1.49

16

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.03

0.80

0.90

1.69

0.85

17

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.59

0.83

2.43

1.21

18

เปาหนาม

5

2

 

 

 

7

0.03

2.79

0.68

3.47

1.73

19

ตับเต่า

5

1

 

 

 

6

0.02

2.39

0.52

2.91

1.46

20

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

0.02

0.80

0.48

1.28

0.64

21

มะขามป้อม

3

2

 

 

 

5

0.02

1.99

0.48

2.47

1.24

22

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.40

0.22

0.62

0.31

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.40

0.18

0.58

0.29

24

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.40

0.18

0.57

0.29

25

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.40

0.17

0.57

0.28

26

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

0.00

0.80

0.09

0.88

0.44

27

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.40

0.05

0.45

0.22

 

รวม

134

67

26

11

13

251

3.87

100.00

100.00

200.00

100.00

 

ตารางที่ 4-1.43 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

4

24

11

7

2

48

2

เก็ด

1

23

4

4

1

33

3

แดง

1

15

7

5

 

28

4

รกฟ้า

3

9

4

2

 

18

5

เต็ง

1

1

9

5

1

17

6

มะเค็ด

2

12

 

 

 

14

7

ละมุดป่า

 

12

 

 

 

12

8

อินทนิล

1

6

4

1

 

12

9

ตะคร้อ

 

2

7

 

 

9

10

เปาหนาม

1

5

1

 

 

7

11

ตับเต่า

1

4

1

 

 

6

12

มะกอกเกลื้อน

 

2

4

 

 

6

13

รัก

1

4

1

 

 

6

14

ปอยาบ

 

1

4

 

 

5

15

มะขามป้อม

 

4

1

 

 

5

16

สมอไทย

 

3

1

 

 

4

17

สัก

 

1

 

2

1

4

18

พลวง

2

 

 

1

 

3

19

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

20

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

21

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

22

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

ประดู่

 

 

1

 

 

1

27

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

20

135

64

27

5

251

 

ตารางที่ 4-1.44 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

12

14

13

4

 

43

0.85

18.94

23.79

42.73

21.36

2

แดง

26

10

1

1

1

39

0.42

17.18

11.65

28.83

14.42

3

รัง

5

4

 

1

4

14

0.69

6.17

19.32

25.49

12.74

4

มะกอกเกลื้อน

2

6

7

 

1

16

0.44

7.05

12.22

19.27

9.63

5

ปอยาบ

2

7

5

 

 

14

0.27

6.17

7.46

13.63

6.81

6

รกฟ้า

13

4

1

1

 

19

0.14

8.37

3.92

12.29

6.14

7

ประดู่

7

7

 

1

 

15

0.15

6.61

4.08

10.69

5.34

8

เก็ด

6

2

1

1

1

11

0.20

4.85

5.54

10.39

5.19

9

ยมหิน

2

6

1

 

 

9

0.09

3.96

2.51

6.48

3.24

10

ยอป่า

3

3

1

 

 

7

0.05

3.08

1.35

4.44

2.22

11

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

2.64

1.40

4.04

2.02

12

มะขามป้อม

7

 

 

 

 

7

0.02

3.08

0.67

3.75

1.88

13

แสลงใจ

4

2

 

 

 

6

0.03

2.64

0.78

3.43

1.71

14

มะเค็ด

4

1

 

 

 

5

0.02

2.20

0.44

2.64

1.32

16

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.44

1.51

1.95

0.97

17

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.44

1.02

1.47

0.73

18

เปาหนาม

1

1

 

 

 

2

0.01

0.88

0.37

1.25

0.62

19

ง้าว

1

1

 

 

 

2

0.01

0.88

0.35

1.23

0.62

20

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.88

0.19

1.07

0.53

21

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.28

0.72

0.36

22

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.28

0.72

0.36

23

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.27

0.71

0.35

24

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.23

0.67

0.33

25

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.16

0.60

0.30

26

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.09

0.53

0.27

27

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.08

0.52

0.26

28

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.05

0.49

0.24

 

รวม

103

75

32

10

7

227

3.57

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.45 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

11

8

22

2

43

2

แดง

 

28

8

3

 

39

3

รกฟ้า

1

15

1

2

 

19

4

มะกอกเกลื้อน

1

4

8

3

 

16

5

ประดู่

 

9

5

 

1

15

6

ปอยาบ

 

2

5

7

 

14

7

รัง

 

6

3

2

3

14

8

เก็ด

2

4

2

3

 

11

9

ยมหิน

1

2

6

 

 

9

10

มะขามป้อม

 

6

1

 

 

7

11

ยอป่า

 

6

1

 

 

7

12

แสลงใจ

3

3

 

 

 

6

13

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

14

มะเค็ด

1

4

 

 

 

5

15

เปาหนาม

 

1

1

 

 

2

16

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

17

ง้าว

1

 

1

 

 

2

18

เต็ง

 

 

1

 

 

1

19

แค

 

1

 

 

 

1

20

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

21

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

23

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

25

รัก

 

1

 

 

 

1

26

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

27

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

11

113

55

42

6

227

 

ตารางที่ 4-1.46 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2551 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

90

70

7

4

1

172

1.50

38.83

40.15

78.98

39.49

2

เต็ง

55

11

1

2

4

73

0.96

16.48

25.69

42.17

21.09

3

เก็ด

22

14

4

1

 

41

0.32

9.26

8.67

17.93

8.96

4

พลวง

23

12

3

1

 

39

0.34

8.80

9.05

17.85

8.92

5

มะเค็ด

27

4

 

 

 

31

0.11

7.00

2.93

9.93

4.96

6

รกฟ้า

11

8

 

 

 

19

0.12

4.29

3.10

7.38

3.69

7

แดง

7

8

 

 

 

15

0.08

3.39

2.26

5.65

2.83

8

แสลงใจ

9

4

 

 

 

13

0.06

2.93

1.55

4.48

2.24

9

รัก

7

2

 

 

 

9

0.03

2.03

0.93

2.96

1.48

10

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.05

1.58

1.35

2.93

1.47

11

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.68

2.10

2.78

1.39

12

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

1.13

0.69

1.82

0.91

13

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.02

1.35

0.41

1.76

0.88

14

ปอยาบ

1

1

 

 

 

2

0.01

0.45

0.36

0.81

0.41

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.23

0.23

0.46

0.23

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.23

0.13

0.36

0.18

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.11

0.33

0.17

18

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.10

0.32

0.16

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.27

0.14

21

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.27

0.14

22

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.04

0.27

0.14

 

รวม

272

142

15

9

5

443

3.73

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.47 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2550 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

13

111

45

2

1

172

2

เต็ง

25

37

8

3

 

73

3

เก็ด

3

24

11

3

 

41

4

พลวง

20

15

4

 

 

39

5

มะเค็ด

3

27

1

 

 

31

6

รกฟ้า

3

13

3

 

 

19

7

แดง

 

9

6

 

 

15

8

แสลงใจ

3

10

 

 

 

13

9

รัก

7

2

 

 

 

9

10

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

6

 

 

 

6

12

ยอป่า

1

4

 

 

 

5

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

16

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

17

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

18

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

19

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

20

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

21

ประดู่

 

1

 

 

 

1

22

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

82

272

80

8

1

443

 

ตารางที่ 4-1.48 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2551 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

18

16

4

 

6

44

0.95

18.03

24.11

42.14

21.07

2

เต็ง

1

1

5

4

6

17

1.10

6.97

27.87

34.84

17.42

3

เก็ด

20

7

4

2

 

33

0.34

13.52

8.60

22.12

11.06

4

แดง

17

8

3

 

 

28

0.22

11.48

5.62

17.09

8.55

5

รกฟ้า

9

7

 

2

 

18

0.21

7.38

5.33

12.71

6.36

6

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.15

3.69

3.72

7.41

3.71

7

มะเค็ด

11

3

 

 

 

14

0.06

5.74

1.47

7.20

3.60

8

มะกอกเกลื้อน

1

1

3

1

 

6

0.18

2.46

4.45

6.91

3.45

9

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.07

4.92

1.79

6.71

3.36

10

ละมุดป่า

10

1

 

 

 

11

0.05

4.51

1.34

5.85

2.92

11

สัก

1

1

1

1

 

4

0.13

1.64

3.18

4.82

2.41

12

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.23

3.25

4.48

2.24

13

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.10

1.23

2.41

3.64

1.82

14

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.46

1.08

3.54

1.77

15

ปอยาบ

 

5

 

 

 

5

0.04

2.05

1.04

3.09

1.54

16

เปาหนาม

4

2

 

 

 

6

0.02

2.46

0.60

3.06

1.53

17

ตับเต่า

5

1

 

 

 

6

0.02

2.46

0.54

3.00

1.50

18

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.64

0.84

2.48

1.24

19

มะขามป้อม

2

2

 

 

 

4

0.02

1.64

0.45

2.09

1.04

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.04

0.82

0.90

1.72

0.86

21

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

0.02

0.82

0.50

1.32

0.66

22

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

0.00

0.82

0.09

0.91

0.45

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.22

0.63

0.32

24

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.22

0.63

0.31

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.19

0.60

0.30

26

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.17

0.58

0.29

27

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.41

0.05

0.46

0.23

 

รวม

119

75

26

11

13

244

3.96

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.49 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2551 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

2

20

13

7

2

44

2

เก็ด

1

23

4

4

1

33

3

แดง

 

13

10

5

 

28

4

รกฟ้า

2

10

4

2

 

18

5

เต็ง

1

1

9

5

1

17

6

มะเค็ด

2

12

 

 

 

14

7

อินทนิล

1

6

4

1

 

12

8

ละมุดป่า

 

11

 

 

 

11

9

ตะคร้อ

 

2

7

 

 

9

10

เปาหนาม

1

4

1

 

 

6

11

ตับเต่า

1

4

1

 

 

6

12

มะกอกเกลื้อน

 

2

3

1

 

6

13

รัก

1

4

1

 

 

6

14

ปอยาบ

 

1

3

1

 

5

15

มะขามป้อม

 

3

1

 

 

4

16

สมอไทย

 

3

1

 

 

4

17

สัก

 

1

 

1

2

4

18

พลวง

2

 

 

1

 

3

19

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

20

แสลงใจ

 

2

 

 

 

2

21

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

22

บ่าซาง

1

1

 

 

 

2

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

ประดู่

 

 

1

 

 

1

27

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

15

128

67

28

6

244

 

ตารางที่ 4-1.50 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2551 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

10

14

12

5

 

41

0.90

18.81

25.59

44.40

22.20

2

แดง

25

11

1

1

1

39

0.43

17.89

12.19

30.08

15.04

3

รัง

5

4

 

1

4

14

0.71

6.42

20.21

26.63

13.32

4

มะกอกเกลื้อน

1

6

6

 

 

13

0.27

5.96

7.79

13.76

6.88

5

ปอยาบ

2

6

5

 

 

13

0.26

5.96

7.45

13.41

6.71

6

รกฟ้า

11

4

1

1

 

17

0.14

7.80

3.91

11.71

5.86

7

ประดู่

7

7

 

1

 

15

0.16

6.88

4.48

11.36

5.68

8

เก็ด

6

2

1

1

1

11

0.20

5.05

5.84

10.89

5.45

9

ยมหิน

2

6

1

 

 

9

0.10

4.13

2.74

6.86

3.43

10

ยอป่า

3

3

1

 

 

7

0.05

3.21

1.42

4.63

2.32

11

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

2.75

1.44

4.19

2.10

12

มะขามป้อม

7

 

 

 

 

7

0.02

3.21

0.69

3.90

1.95

13

แสลงใจ

4

2

 

 

 

6

0.03

2.75

0.81

3.56

1.78

14

มะเค็ด

3

1

 

 

 

4

0.01

1.83

0.36

2.20

1.10

15

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.46

1.54

2.00

1.00

16

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.46

1.08

1.53

0.77

17

เปาหนาม

1

1

 

 

 

2

0.01

0.92

0.37

1.29

0.65

18

ง้าว

1

1

 

 

 

2

0.01

0.92

0.36

1.28

0.64

19

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.92

0.20

1.12

0.56

20

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.29

0.75

0.38

21

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.29

0.74

0.37

22

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.28

0.73

0.37

23

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.23

0.69

0.35

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.21

0.67

0.33

25

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.09

0.55

0.28

26

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.08

0.54

0.27

27

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.05

0.51

0.26

 

รวม

96

75

30

11

6

218

3.50

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.51 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2551 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

9

8

20

4

41

2

แดง

 

26

10

3

 

39

3

รกฟ้า

1

12

2

2

 

17

4

ประดู่

 

8

6

 

1

15

5

รัง

 

6

2

5

1

14

6

ปอยาบ

 

2

4

7

 

13

7

มะกอกเกลื้อน

1

3

7

2

 

13

8

เก็ด

2

4

2

3

 

11

9

ยมหิน

 

3

6

 

 

9

10

มะขามป้อม

 

6

1

 

 

7

11

ยอป่า

 

6

1

 

 

7

12

แสลงใจ

2

4

 

 

 

6

13

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

14

มะเค็ด

1

3

 

 

 

4

15

เปาหนาม

 

1

1

 

 

2

16

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

17

ง้าว

1

 

1

 

 

2

18

เต็ง

 

 

1

 

 

1

19

แค

 

1

 

 

 

1

20

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

21

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

23

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

25

รัก

 

1

 

 

 

1

26

ละมุดป่า

 

 

 

1

 

1

27

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

9

105

55

43

6

218

 

ตารางที่ 4-1.52 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

88

70

8

3

2

171

1.55

39.22

40.87

80.09

40.04

2

เต็ง

53

12

1

2

4

72

0.97

16.51

25.53

42.04

21.02

3

เก็ด

21

15

4

1

 

41

0.33

9.40

8.65

18.06

9.03

4

พลวง

21

12

3

1

 

37

0.33

8.49

8.78

17.26

8.63

5

มะเค็ด

26

3

 

 

 

29

0.10

6.65

2.64

9.29

4.65

6

รกฟ้า

10

8

 

 

 

18

0.11

4.13

3.02

7.15

3.57

7

แดง

7

8

 

 

 

15

0.09

3.44

2.29

5.73

2.87

8

แสลงใจ

9

4

 

 

 

13

0.06

2.98

1.57

4.55

2.28

9

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.05

1.61

1.42

3.03

1.51

10

รัก

7

2

 

 

 

9

0.04

2.06

0.93

2.99

1.50

11

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.69

2.06

2.75

1.38

12

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

1.15

0.68

1.82

0.91

13

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.02

1.38

0.41

1.78

0.89

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

0.01

0.46

0.37

0.83

0.41

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.23

0.23

0.46

0.23

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.23

0.14

0.36

0.18

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.11

0.34

0.17

18

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.10

0.33

0.17

19

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.06

0.29

0.15

20

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

21

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.28

0.14

22

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.23

0.05

0.27

0.14

 

รวม

262

144

16

8

6

436

3.80

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.53 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

10

108

49

3

1

171

2

เต็ง

22

39

8

2

1

72

3

เก็ด

3

23

12

3

 

41

4

พลวง

19

14

4

 

 

37

5

มะเค็ด

2

26

1

 

 

29

6

รกฟ้า

2

13

3

 

 

18

7

แดง

 

7

8

 

 

15

8

แสลงใจ

3

10

 

 

 

13

9

รัก

7

2

 

 

 

9

10

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

6

 

 

 

6

12

ยอป่า

1

4

 

 

 

5

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

16

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

17

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

18

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

19

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

20

บ่าซาง

 

1

 

 

 

1

21

ประดู่

 

1

 

 

 

1

22

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

72

267

87

8

2

436

 

ตารางที่ 4-1.54 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

18

15

5

 

6

44

0.97

18.11

24.43

42.53

21.27

2

เต็ง

1

1

4

4

6

16

1.09

6.58

27.43

34.01

17.01

3

เก็ด

21

6

5

2

 

34

0.35

13.99

8.75

22.74

11.37

4

แดง

16

9

3

 

 

28

0.24

11.52

5.95

17.47

8.74

5

รกฟ้า

9

7

 

2

 

18

0.21

7.41

5.38

12.79

6.39

6

มะเค็ด

11

4

 

 

 

15

0.06

6.17

1.60

7.77

3.89

7

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.15

3.70

3.82

7.53

3.76

8

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.07

4.94

1.88

6.81

3.41

9

ละมุดป่า

9

2

 

 

 

11

0.05

4.53

1.35

5.88

2.94

10

มะกอกเกลื้อน

1

1

2

1

 

5

0.14

2.06

3.55

5.60

2.80

11

สัก

1

1

1

1

 

4

0.13

1.65

3.30

4.94

2.47

12

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.23

3.27

4.51

2.25

13

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.10

1.23

2.46

3.69

1.85

14

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.47

1.10

3.56

1.78

15

เปาหนาม

4

2

 

 

 

6

0.02

2.47

0.60

3.07

1.54

16

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.02

2.06

0.50

2.55

1.28

17

ปอยาบ

 

4

 

 

 

4

0.04

1.65

0.89

2.54

1.27

18

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.65

0.84

2.49

1.24

19

มะขามป้อม

2

2

 

 

 

4

0.02

1.65

0.44

2.09

1.04

20

แสลงใจ

1

2

 

 

 

3

0.02

1.23

0.54

1.77

0.89

21

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.04

0.82

0.91

1.73

0.87

22

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

0.00

0.82

0.09

0.92

0.46

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.31

0.72

0.36

24

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.22

0.63

0.31

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.20

0.61

0.30

26

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.41

0.17

0.58

0.29

27

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.41

0.05

0.46

0.23

 

รวม

118

75

26

11

13

243

3.98

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.55 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 2

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

2

20

13

6

3

44

2

เก็ด

1

23

5

4

1

34

3

แดง

 

11

11

6

 

28

4

รกฟ้า

2

10

4

2

 

18

5

เต็ง

1

1

8

4

2

16

6

มะเค็ด

2

13

 

 

 

15

7

อินทนิล

1

6

4

1

 

12

8

ละมุดป่า

 

11

 

 

 

11

9

ตะคร้อ

 

2

7

 

 

9

10

เปาหนาม

1

4

1

 

 

6

11

รัก

1

4

1

 

 

6

12

ตับเต่า

 

4

1

 

 

5

13

มะกอกเกลื้อน

 

1

3

1

 

5

14

ปอยาบ

 

 

3

1

 

4

15

มะขามป้อม

 

2

2

 

 

4

16

สมอไทย

 

3

1

 

 

4

17

สัก

 

1

 

1

2

4

18

แสลงใจ

1

2

 

 

 

3

19

พลวง

2

 

 

1

 

3

20

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

21

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

22

บ่าซาง

1

1

 

 

 

2

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

ประดู่

 

 

1

 

 

1

27

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

15

124

69

27

8

243

 

ตารางที่ 4-1.56 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

10

11

14

6

 

41

0.95

18.98

26.29

45.27

22.64

2

แดง

24

12

1

1

1

39

0.44

18.06

12.26

30.31

15.16

3

รัง

3

4

 

1

4

12

0.71

5.56

19.68

25.24

12.62

4

มะกอกเกลื้อน

1

6

6

 

 

13

0.27

6.02

7.61

13.62

6.81

5

ปอยาบ

2

5

6

 

 

13

0.27

6.02

7.56

13.58

6.79

6

รกฟ้า

10

5

1

1

 

17

0.14

7.87

3.85

11.72

5.86

7

ประดู่

7

7

 

1

 

15

0.16

6.94

4.49

11.43

5.72

8

เก็ด

6

2

1

1

1

11

0.21

5.09

5.80

10.89

5.45

9

ยมหิน

2

6

1

 

 

9

0.10

4.17

2.82

6.98

3.49

10

ยอป่า

3

3

1

 

 

7

0.05

3.24

1.43

4.67

2.34

11

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

2.78

1.40

4.18

2.09

12

มะขามป้อม

6

1

 

 

 

7

0.02

3.24

0.68

3.92

1.96

13

แสลงใจ

4

2

 

 

 

6

0.03

2.78

0.79

3.57

1.79

14

มะเค็ด

3

1

 

 

 

4

0.01

1.85

0.36

2.22

1.11

15

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.46

1.50

1.96

0.98

16

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.46

1.07

1.53

0.76

17

เปาหนาม

1

1

 

 

 

2

0.01

0.93

0.36

1.29

0.64

18

ง้าว

1

1

 

 

 

2

0.01

0.93

0.36

1.29

0.64

19

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.93

0.20

1.13

0.57

20

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.28

0.75

0.37

21

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.28

0.74

0.37

22

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.26

0.73

0.36

23

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.23

0.69

0.34

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.46

0.20

0.66

0.33

25

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.09

0.56

0.28

26

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.08

0.54

0.27

27

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.46

0.05

0.52

0.26

 

รวม

91

74

33

12

6

216

3.60

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.57 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2552 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

สัก

 

8

9

14

10

41

2

แดง

 

24

11

4

 

39

3

รกฟ้า

1

12

2

2

 

17

4

ประดู่

 

8

6

 

1

15

5

ปอยาบ

 

2

4

7

 

13

6

มะกอกเกลื้อน

1

3

6

3

 

13

7

รัง

 

4

2

4

2

12

8

เก็ด

2

4

2

3

 

11

9

ยมหิน

 

3

6

 

 

9

10

มะขามป้อม

 

5

2

 

 

7

11

ยอป่า

 

6

1

 

 

7

12

แสลงใจ

1

5

 

 

 

6

13

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

14

มะเค็ด

1

3

 

 

 

4

15

เปาหนาม

 

1

1

 

 

2

16

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

17

ง้าว

1

 

1

 

 

2

18

เต็ง

 

 

1

 

 

1

19

แค

 

1

 

 

 

1

20

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

21

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

23

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

25

รัก

 

1

 

 

 

1

26

ละมุดป่า

 

 

 

1

 

1

27

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

8

100

57

38

13

216

 

ตารางที่ 4-1.58 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

77

80

8

3

2

170

1.63

40.19

42.45

82.64

41.32

2

เต็ง

53

11

1

2

4

71

0.97

16.78

25.46

42.25

21.12

3

เก็ด

19

16

5

1

 

41

0.34

9.69

8.93

18.62

9.31

4

พลวง

18

12

2

1

 

33

0.28

7.80

7.24

15.05

7.52

5

มะเค็ด

21

3

 

 

 

24

0.09

5.67

2.33

8.01

4.00

6

รกฟ้า

10

7

1

 

 

18

0.12

4.26

3.08

7.34

3.67

7

แดง

8

8

 

 

 

16

0.09

3.78

2.43

6.21

3.10

8

แสลงใจ

9

4

 

 

 

13

0.06

3.07

1.61

4.68

2.34

9

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.06

1.65

1.47

3.12

1.56

10

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.71

2.08

2.79

1.40

11

รัก

5

2

 

 

 

7

0.03

1.65

0.80

2.46

1.23

12

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

1.18

0.70

1.88

0.94

13

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.02

1.42

0.44

1.86

0.93

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

0.01

0.47

0.37

0.84

0.42

15

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.24

0.14

0.38

0.19

16

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.12

0.36

0.18

17

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.11

0.35

0.17

18

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.09

0.33

0.16

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.05

0.29

0.14

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.05

0.28

0.14

21

ตับเต่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.24

0.05

0.28

0.14

 

รวม

240

152

17

8

6

423

3.83

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.59 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

10

102

54

3

1

170

2

เต็ง

21

39

7

3

1

71

3

เก็ด

2

23

11

5

 

41

4

พลวง

17

12

4

 

 

33

5

มะเค็ด

 

23

1

 

 

24

6

รกฟ้า

2

12

4

 

 

18

7

แดง

 

7

9

 

 

16

8

แสลงใจ

3

10

 

 

 

13

9

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

10

รัก

5

2

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

5

1

 

 

6

12

ยอป่า

1

4

 

 

 

5

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

ตับเต่า

 

1

 

 

 

1

16

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

17

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

18

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

19

บ่าซาง

 

1

 

 

 

1

20

ประดู่

 

1

 

 

 

1

21

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

63

254

93

11

2

423

 

ตารางที่ 4-1.60 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

16

16

5

 

6

43

0.99

17.99

24.46

42.45

21.23

2

เต็ง

1

1

4

4

6

16

1.10

6.69

27.26

33.95

16.98

3

เก็ด

18

7

5

2

 

32

0.35

13.39

8.77

22.16

11.08

4

แดง

13

13

3

 

 

29

0.25

12.13

6.28

18.41

9.20

5

รกฟ้า

9

6

 

2

 

17

0.21

7.11

5.24

12.36

6.18

6

มะเค็ด

11

4

 

 

 

15

0.07

6.28

1.61

7.89

3.94

7

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.16

3.77

3.88

7.64

3.82

8

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.08

5.02

1.89

6.91

3.45

9

ละมุดป่า

8

3

 

 

 

11

0.05

4.60

1.35

5.95

2.98

10

มะกอกเกลื้อน

1

1

2

1

 

5

0.14

2.09

3.53

5.62

2.81

11

สัก

1

 

1

2

 

4

0.14

1.67

3.44

5.11

2.56

12

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.26

3.23

4.48

2.24

13

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.10

1.26

2.44

3.70

1.85

14

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.51

1.10

3.61

1.81

15

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.02

2.09

0.54

2.63

1.31

16

ปอยาบ

 

4

 

 

 

4

0.04

1.67

0.90

2.57

1.28

17

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.67

0.83

2.51

1.25

18

เปาหนาม

4

1

 

 

 

5

0.02

2.09

0.40

2.49

1.25

19

แสลงใจ

2

2

 

 

 

4

0.02

1.67

0.59

2.27

1.13

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.04

0.84

0.90

1.74

0.87

21

มะขามป้อม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.26

0.31

1.57

0.78

22

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

0.00

0.84

0.09

0.93

0.46

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.34

0.76

0.38

24

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.21

0.63

0.32

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.19

0.61

0.31

26

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.17

0.59

0.29

27

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.42

0.05

0.47

0.23

 

รวม

110

78

26

12

13

239

4.04

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.61 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

2

20

12

6

3

43

2

เก็ด

 

21

6

4

1

32

3

แดง

 

10

11

8

 

29

4

รกฟ้า

2

9

4

2

 

17

5

เต็ง

1

1

8

3

3

16

6

มะเค็ด

3

12

 

 

 

15

7

อินทนิล

1

6

4

1

 

12

8

ละมุดป่า

 

11

 

 

 

11

9

ตะคร้อ

 

1

8

 

 

9

10

รัก

1

4

1

 

 

6

11

เปาหนาม

1

4

 

 

 

5

12

ตับเต่า

 

4

1

 

 

5

13

มะกอกเกลื้อน

 

1

3

1

 

5

14

แสลงใจ

2

2

 

 

 

4

15

ปอยาบ

 

 

3

1

 

4

16

สมอไทย

 

2

2

 

 

4

17

สัก

 

1

 

1

2

4

18

พลวง

2

 

 

1

 

3

19

มะขามป้อม

 

1

2

 

 

3

20

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

21

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

22

บ่าซาง

1

1

 

 

 

2

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

ประดู่

 

 

1

 

 

1

27

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

16

116

70

28

9

239

 

ตารางที่ 4-1.62 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 3

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

 

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

8

12

15

6

 

41

0.98

19.43

27.04

46.47

23.24

2

แดง

26

12

1

1

1

41

0.45

19.43

12.40

31.83

15.91

3

รัง

3

4

 

1

4

12

0.71

5.69

19.63

25.31

12.66

4

มะกอกเกลื้อน

1

6

5

 

 

12

0.24

5.69

6.69

12.37

6.19

5

ปอยาบ

 

4

6

 

 

10

0.27

4.74

7.48

12.22

6.11

6

รกฟ้า

9

6

1

1

 

17

0.14

8.06

3.84

11.90

5.95

7

ประดู่

7

7

 

1

 

15

0.17

7.11

4.69

11.80

5.90

8

เก็ด

6

2

1

1

1

11

0.21

5.21

5.88

11.09

5.54

9

ยมหิน

1

5

2

 

 

8

0.10

3.79

2.89

6.68

3.34

10

ยอป่า

3

3

1

 

 

7

0.05

3.32

1.43

4.75

2.38

11

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

2.84

1.44

4.28

2.14

12

แสลงใจ

4

2

 

 

 

6

0.03

2.84

0.79

3.64

1.82

13

มะขามป้อม

5

1

 

 

 

6

0.02

2.84

0.62

3.46

1.73

14

มะเค็ด

3

1

 

 

 

4

0.01

1.90

0.36

2.26

1.13

15

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.47

1.49

1.96

0.98

16

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.47

1.06

1.53

0.77

17

ง้าว

1

1

 

 

 

2

0.01

0.95

0.36

1.31

0.65

18

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

0.95

0.21

1.16

0.58

19

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.28

0.76

0.38

20

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.28

0.75

0.38

21

รัก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.26

0.74

0.37

22

เปาหนาม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.24

0.71

0.36

23

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.23

0.70

0.35

24

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.47

0.21

0.68

0.34

25

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.47

0.09

0.57

0.28

26

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.47

0.08

0.55

0.28

27

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.47

0.05

0.53

0.26

 

รวม

85

74

34

12

6

211

3.62

100

100

200

100

ตารางที่ 4-1.63 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2553 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

แดง

 

26

10

5

 

41

2

สัก

1

8

7

15

10

41

3

รกฟ้า

1

12

2

2

 

17

4

ประดู่

 

8

6

 

1

15

5

มะกอกเกลื้อน

1

3

5

3

 

12

6

รัง

 

4

2

3

3

12

7

เก็ด

1

5

2

3

 

11

8

ปอยาบ

 

 

2

8

 

10

9

ยมหิน

 

2

6

 

 

8

10

ยอป่า

 

6

1

 

 

7

11

แสลงใจ

1

5

 

 

 

6

12

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

13

มะขามป้อม

 

4

2

 

 

6

14

มะเค็ด

1

3

 

 

 

4

15

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

16

ง้าว

1

 

1

 

 

2

17

เต็ง

 

 

1

 

 

1

18

เปาหนาม

 

 

1

 

 

1

19

แค

 

1

 

 

 

1

20

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

21

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

22

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

23

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

24

มะกอก

 

 

1

 

 

1

25

รัก

 

1

 

 

 

1

26

ละมุดป่า

 

 

 

1

 

1

27

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

8

97

52

40

14

211

 

ตารางที่ 4-1.64 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

 

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

68

86

8

3

2

167

1.66

42.17

43.43

85.60

42.80

2

เต็ง

49

12

1

2

4

68

0.98

17.17

25.69

42.86

21.43

3

เก็ด

18

16

5

1

 

40

0.35

10.10

9.20

19.30

9.65

4

พลวง

14

10

2

1

 

27

0.24

6.82

6.40

13.22

6.61

5

รกฟ้า

10

7

1

 

 

18

0.12

4.55

3.14

7.69

3.84

6

แดง

6

10

 

 

 

16

0.10

4.04

2.65

6.69

3.34

7

แสลงใจ

9

4

 

 

 

13

0.06

3.28

1.69

4.97

2.49

8

มะเค็ด

9

2

 

 

 

11

0.05

2.78

1.19

3.97

1.99

9

มะกอกเกลื้อน

4

3

 

 

 

7

0.06

1.77

1.51

3.28

1.64

10

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.76

2.09

2.84

1.42

11

รัก

5

2

 

 

 

7

0.03

1.77

0.84

2.60

1.30

12

ยอป่า

3

2

 

 

 

5

0.03

1.26

0.72

1.99

0.99

13

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.02

1.52

0.45

1.97

0.98

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

0.01

0.51

0.38

0.89

0.44

15

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.25

0.14

0.40

0.20

16

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.25

0.13

0.38

0.19

17

ประดู่

1

 

 

 

 

1

0.00

0.25

0.13

0.38

0.19

18

สมอไทย

1

 

 

 

 

1

0.00

0.25

0.11

0.37

0.18

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.25

0.05

0.30

0.15

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.25

0.05

0.30

0.15

 

รวม

206

159

17

8

6

396

3.82

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.65 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

7

101

55

3

1

167

2

เต็ง

17

39

8

3

1

68

3

เก็ด

1

23

12

4

 

40

4

พลวง

13

10

4

 

 

27

5

รกฟ้า

2

12

4

 

 

18

6

แดง

 

7

9

 

 

16

7

แสลงใจ

3

10

 

 

 

13

8

มะเค็ด

 

10

1

 

 

11

9

มะกอกเกลื้อน

 

7

 

 

 

7

10

รัก

5

2

 

 

 

7

11

มะขามป้อม

 

5

1

 

 

6

12

ยอป่า

1

3

1

 

 

5

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

17

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

18

บ่าซาง

 

1

 

 

 

1

19

ประดู่

 

1

 

 

 

1

20

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

51

235

98

10

2

396

 

ตารางที่ 4-1.66 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

16

16

5

 

6

43

1.01

18.22

24.97

43.19

21.59

2

เต็ง

1

1

4

4

6

16

1.11

6.78

27.54

34.32

17.16

3

เก็ด

16

8

5

2

 

31

0.36

13.14

9.00

22.13

11.07

4

แดง

13

12

3

 

 

28

0.26

11.86

6.43

18.29

9.15

5

รกฟ้า

9

6

 

2

 

17

0.21

7.20

5.30

12.51

6.25

6

มะเค็ด

11

4

 

 

 

15

0.07

6.36

1.67

8.03

4.01

7

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.16

3.81

3.98

7.79

3.90

8

อินทนิล

9

2

1

 

 

12

0.08

5.08

1.93

7.01

3.50

9

ละมุดป่า

7

4

 

 

 

11

0.06

4.66

1.38

6.04

3.02

10

สัก

1

 

1

2

 

4

0.15

1.69

3.61

5.31

2.65

11

พลวง

2

 

 

 

1

3

0.13

1.27

3.23

4.50

2.25

12

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.10

1.27

2.49

3.76

1.88

13

รัก

3

3

 

 

 

6

0.04

2.54

1.11

3.65

1.83

14

มะกอกเกลื้อน

1

1

2

 

 

4

0.07

1.69

1.61

3.31

1.65

15

ตับเต่า

4

1

 

 

 

5

0.02

2.12

0.56

2.68

1.34

16

ปอยาบ

 

4

 

 

 

4

0.04

1.69

0.96

2.66

1.33

17

เปาหนาม

4

1

 

 

 

5

0.02

2.12

0.42

2.54

1.27

18

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.69

0.83

2.53

1.26

19

แสลงใจ

2

2

 

 

 

4

0.02

1.69

0.60

2.30

1.15

20

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.04

0.85

0.91

1.76

0.88

21

มะขามป้อม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.27

0.32

1.59

0.79

22

บ่าซาง

2

 

 

 

 

2

0.00

0.85

0.09

0.94

0.47

23

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.02

0.42

0.42

0.84

0.42

24

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.21

0.64

0.32

25

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.20

0.63

0.31

26

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.42

0.17

0.59

0.30

27

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.42

0.05

0.48

0.24

 

รวม

107

79

26

11

13

236

4.04

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.67 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

1

19

14

4

5

43

2

เก็ด

 

19

6

5

1

31

3

แดง

 

10

10

8

 

28

4

รกฟ้า

2

9

4

2

 

17

5

เต็ง

1

1

7

4

3

16

6

มะเค็ด

2

12

1

 

 

15

7

อินทนิล

1

6

4

1

 

12

8

ละมุดป่า

1

10

 

 

 

11

9

ตะคร้อ

 

1

8

 

 

9

10

รัก

1

4

1

 

 

6

11

เปาหนาม

1

3

1

 

 

5

12

ตับเต่า

 

4

1

 

 

5

13

แสลงใจ

2

2

 

 

 

4

14

ปอยาบ

 

 

2

2

 

4

15

มะกอกเกลื้อน

 

1

3

 

 

4

16

สมอไทย

 

2

2

 

 

4

17

สัก

 

 

1

1

2

4

18

พลวง

2

 

 

1

 

3

19

มะขามป้อม

 

 

3

 

 

3

20

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

21

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

22

บ่าซาง

1

1

 

 

 

2

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

25

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

26

ประดู่

 

 

1

 

 

1

27

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

15

109

73

28

11

236

 

ตารางที่ 4-1.68 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

7

12

14

7

 

40

1.00

20.00

27.84

47.84

23.92

2

แดง

26

12

1

1

1

41

0.46

20.50

12.78

33.28

16.64

3

รัง

3

4

 

1

4

12

0.72

6.00

20.05

26.05

13.03

4

ประดู่

7

7

 

1

 

15

0.18

7.50

5.05

12.55

6.27

5

รกฟ้า

9

6

1

1

 

17

0.14

8.50

3.91

12.41

6.20

6

มะกอกเกลื้อน

1

5

5

 

 

11

0.24

5.50

6.57

12.07

6.04

7

เก็ด

6

2

1

1

1

11

0.21

5.50

5.97

11.47

5.73

8

ปอยาบ

 

2

5

1

 

8

0.22

4.00

6.10

10.10

5.05

9

ยมหิน

1

5

2

 

 

8

0.11

4.00

3.08

7.08

3.54

10

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.05

3.00

1.48

4.48

2.24

11

ยอป่า

2

3

1

 

 

6

0.05

3.00

1.46

4.46

2.23

12

มะขามป้อม

5

1

 

 

 

6

0.02

3.00

0.62

3.62

1.81

13

แสลงใจ

4

1

 

 

 

5

0.02

2.50

0.62

3.12

1.56

14

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.50

1.50

2.00

1.00

15

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.50

1.07

1.57

0.79

16

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

1.00

0.24

1.24

0.62

17

มะเค็ด

2

 

 

 

 

2

0.01

1.00

0.15

1.15

0.58

18

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.30

0.80

0.40

19

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.28

0.78

0.39

20

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.28

0.78

0.39

21

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.23

0.73

0.36

22

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.50

0.21

0.71

0.36

23

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.50

0.09

0.59

0.30

24

ปอเลียง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.50

0.08

0.58

0.29

25

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.50

0.05

0.55

0.28

 

รวม

81

67

32

14

6

200

3.60

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.69 จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2554 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

แดง

 

22

15

3

1

41

2

สัก

 

6

9

12

13

40

3

รกฟ้า

2

9

4

2

 

17

4

ประดู่

 

7

7

 

1

15

5

รัง

 

4

2

2

4

12

6

เก็ด

1

5

2

3

 

11

7

มะกอกเกลื้อน

1

2

5

3

 

11

8

ปอยาบ

 

 

2

6

 

8

9

ยมหิน

 

1

6

1

 

8

10

ตะคร้อ

 

4

2

 

 

6

11

มะขามป้อม

 

4

2

 

 

6

12

ยอป่า

 

5

1

 

 

6

13

แสลงใจ

1

4

 

 

 

5

14

ขางหัวหมู

 

2

 

 

 

2

15

มะเค็ด

 

2

 

 

 

2

16

เต็ง

 

 

1

 

 

1

17

แค

 

1

 

 

 

1

18

ง้าว

 

 

1

 

 

1

19

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

20

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

21

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

22

ปอเลียง

 

1

 

 

 

1

23

มะกอก

 

 

1

 

 

1

24

ละมุดป่า

 

 

 

1

 

1

25

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

6

81

61

33

19

200

 

ตารางที่ 4-1.70 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

57

93

9

3

2

164

1.80

43.27

45.24

88.51

44.26

2

เต็ง

46

13

2

2

4

67

1.01

17.68

25.43

43.10

21.55

3

เก็ด

18

16

5

1

 

40

0.38

10.55

9.45

20.00

10.00

4

พลวง

12

10

2

 

 

24

0.20

6.33

4.98

11.31

5.65

5

รกฟ้า

9

8

1

 

 

18

0.13

4.75

3.24

7.99

4.00

6

แดง

4

12

 

 

 

16

0.11

4.22

2.85

7.07

3.53

7

แสลงใจ

8

5

 

 

 

13

0.07

3.43

1.81

5.24

2.62

8

มะกอกเกลื้อน

3

4

 

 

 

7

0.06

1.85

1.60

3.44

1.72

9

ละมุดป่า

1

1

 

1

 

3

0.08

0.79

2.05

2.84

1.42

10

ยอป่า

2

3

 

 

 

5

0.03

1.32

0.79

2.11

1.05

11

มะขามป้อม

6

 

 

 

 

6

0.02

1.58

0.46

2.04

1.02

12

มะเค็ด

2

2

 

 

 

4

0.02

1.06

0.53

1.59

0.79

13

รัก

3

1

 

 

 

4

0.02

1.06

0.50

1.56

0.78

14

ปอยาบ

 

2

 

 

 

2

0.02

0.53

0.40

0.93

0.47

15

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.01

0.26

0.19

0.45

0.23

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

0.01

0.26

0.14

0.41

0.20

17

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.26

0.13

0.39

0.20

18

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.00

0.26

0.13

0.39

0.19

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.05

0.31

0.16

20

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.26

0.05

0.31

0.16

 

รวม

173

174

19

7

6

379

3.98

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.71. จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 1

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

5

88

67

3

1

164

2

เต็ง

15

39

9

3

1

67

3

เก็ด

1

21

13

4

1

40

4

พลวง

11

10

3

 

 

24

5

รกฟ้า

2

12

4

 

 

18

6

แดง

 

7

9

 

 

16

7

แสลงใจ

3

10

 

 

 

13

8

มะกอกเกลื้อน

 

5

2

 

 

7

9

มะขามป้อม

 

5

1

 

 

6

10

ยอป่า

1

3

1

 

 

5

11

มะเค็ด

 

3

1

 

 

4

12

รัก

3

1

 

 

 

4

13

ละมุดป่า

1

1

1

 

 

3

14

ปอยาบ

 

1

1

 

 

2

15

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

16

ตุ้ม

 

1

 

 

 

1

17

บ่ากัง

1

 

 

 

 

1

18

บ่าซาง

 

1

 

 

 

1

19

ประดู่

 

1

 

 

 

1

20

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

43

210

113

10

3

379

 

ตารางที่ 4-1.72 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

รัง

14

17

4

 

6

41

1.02

18.06

25.50

43.56

21.78

2

เต็ง

1

1

4

4

6

16

1.12

7.05

28.04

35.09

17.54

3

เก็ด

19

9

5

2

 

35

0.39

15.42

9.73

25.15

12.58

4

แดง

12

14

4

 

 

30

0.31

13.22

7.63

20.84

10.42

5

รกฟ้า

9

6

 

2

 

17

0.22

7.49

5.48

12.97

6.49

6

ตะคร้อ

1

5

3

 

 

9

0.16

3.96

4.12

8.08

4.04

7

อินทนิล

8

2

1

 

 

11

0.08

4.85

1.94

6.78

3.39

8

ละมุดป่า

7

4

 

 

 

11

0.06

4.85

1.45

6.30

3.15

9

สัก

 

1

1

2

 

4

0.16

1.76

3.97

5.73

2.87

10

มะเค็ด

8

2

 

 

 

10

0.05

4.41

1.18

5.58

2.79

11

ยอป่า

1

 

1

1

 

3

0.10

1.32

2.52

3.84

1.92

12

มะกอกเกลื้อน

1

1

2

 

 

4

0.07

1.76

1.66

3.42

1.71

13

รัก

2

3

 

 

 

5

0.04

2.20

1.10

3.30

1.65

14

ตับเต่า

3

2

 

 

 

5

0.03

2.20

0.68

2.89

1.44

15

สมอไทย

1

3

 

 

 

4

0.03

1.76

0.84

2.61

1.30

16

แสลงใจ

2

2

 

 

 

4

0.03

1.76

0.65

2.41

1.20

17

เปาหนาม

3

1

 

 

 

4

0.02

1.76

0.41

2.17

1.09

18

ปอยาบ

 

3

 

 

 

3

0.03

1.32

0.66

1.99

0.99

19

บ่ากัง

 

1

1

 

 

2

0.04

0.88

0.93

1.82

0.91

20

มะขามป้อม

2

1

 

 

 

3

0.01

1.32

0.33

1.65

0.83

21

ประดู่

 

1

 

 

 

1

0.02

0.44

0.46

0.90

0.45

22

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.22

0.66

0.33

23

ง้าว

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.22

0.66

0.33

24

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

0.01

0.44

0.17

0.61

0.30

25

ตีนนก

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.06

0.50

0.25

26

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.44

0.05

0.49

0.24

 

รวม

96

82

26

11

12

227

4.01

100.00

100.00

200.00

100.00

 

ตารางที่ 4-1.73. จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 2

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

รัง

1

18

12

4

6

41

2

เก็ด

1

20

8

5

1

35

3

แดง

 

11

11

7

1

30

4

รกฟ้า

1

10

4

1

1

17

5

เต็ง

 

2

7

4

3

16

6

ละมุดป่า

 

11

 

 

 

11

7

อินทนิล

1

5

4

1

 

11

8

มะเค็ด

 

9

1

 

 

10

9

ตะคร้อ

 

1

8

 

 

9

10

ตับเต่า

 

4

1

 

 

5

11

รัก

 

3

2

 

 

5

12

เปาหนาม

 

3

1

 

 

4

13

แสลงใจ

1

3

 

 

 

4

14

มะกอกเกลื้อน

 

1

3

 

 

4

15

สมอไทย

 

2

1

1

 

4

16

สัก

 

 

1

1

2

4

17

ปอยาบ

 

 

2

1

 

3

18

มะขามป้อม

 

 

3

 

 

3

19

ยอป่า

 

1

2

 

 

3

20

บ่ากัง

 

 

2

 

 

2

21

ง้าว

 

1

 

 

 

1

22

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

23

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

24

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

25

ประดู่

 

 

1

 

 

1

26

ยมหิน

 

1

 

 

 

1

 

รวม

6

108

74

25

14

227

 

ตารางที่ 4-1.74 ข้อมูลเชิงปริมาณของพรรณไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามขนาดเส้นรอบวง (เซ็นติเมตร)

ความหนาแน่น

S. BA

ค่าสัมพัทธ์ (%)

ดัชนีความสำคัญ

<25

25-50

50-75

75-100

>100

(ต้น/ไร)

(m2)

ความหนาแน่น

ความเด่น

(200)

(%)

1

สัก

7

12

14

6

1

40

1.08

20.83

29.02

49.85

24.93

2

แดง

24

14

1

1

1

41

0.48

21.35

12.96

34.31

17.16

3

รัง

3

3

1

1

4

12

0.75

6.25

20.28

26.53

13.26

4

ประดู่

6

9

 

1

 

16

0.20

8.33

5.47

13.80

6.90

5

รกฟ้า

9

5

1

1

 

16

0.14

8.33

3.73

12.07

6.03

6

เก็ด

5

2

 

2

1

10

0.22

5.21

6.03

11.23

5.62

7

ปอยาบ

 

2

5

1

 

8

0.23

4.17

6.23

10.40

5.20

8

มะกอกเกลื้อน

1

3

4

 

 

8

0.18

4.17

4.97

9.13

4.57

9

ยมหิน

1

4

3

 

 

8

0.12

4.17

3.25

7.42

3.71

10

ตะคร้อ

3

2

1

 

 

6

0.06

3.13

1.49

4.62

2.31

11

ยอป่า

2

3

1

 

 

6

0.05

3.13

1.46

4.58

2.29

12

แสลงใจ

4

1

 

 

 

5

0.02

2.60

0.61

3.22

1.61

13

มะขามป้อม

4

1

 

 

 

5

0.02

2.60

0.54

3.15

1.57

14

เต็ง

 

 

 

1

 

1

0.05

0.52

1.45

1.97

0.98

15

ละมุดป่า

 

 

1

 

 

1

0.04

0.52

1.03

1.55

0.78

16

ขางหัวหมู

2

 

 

 

 

2

0.01

1.04

0.25

1.30

0.65

17

ตีนนก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.52

0.27

0.80

0.40

18

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

0.01

0.52

0.27

0.79

0.40

19

มะกอก

 

1

 

 

 

1

0.01

0.52

0.23

0.75

0.38

20

แค

 

1

 

 

 

1

0.01

0.52

0.22

0.74

0.37

21

ตะขบป่า

1

 

 

 

 

1

0.00

0.52

0.09

0.61

0.30

22

มะเค็ด

1

 

 

 

 

1

0.00

0.52

0.08

0.60

0.30

23

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

0.00

0.52

0.06

0.58

0.29

 

รวม

74

65

32

14

7

192

3.72

100

100

200

100

 

ตารางที่ 4-1.75. จำนวนต้นแยกตามชั้นความสูงต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ปี พ.. 2555 แปลงที่ ปมฮ. 3

 

ชนิดที่

ชื่อพันธุ์ไม้

จำนวนต้นแยกตามความสูง (เมตร)

<5

5-10

10-15

15-20

20-25

รวม

1

แดง

 

22

13

4

2

41

2

สัก

 

6

8

13

13

40

3

ประดู่

 

7

8

 

1

16

4

รกฟ้า

1

9

4

2

 

16

5

รัง

 

3

2

4

3

12

6

เก็ด

 

5

2

2

1

10

7

ปอยาบ

 

 

2

5

1

8

8

มะกอกเกลื้อน

1

 

3

4

 

8

9

ยมหิน

 

1

6

1

 

8

10

ตะคร้อ

 

3

3

 

 

6

11

ยอป่า

 

4

2

 

 

6

12

แสลงใจ

1

4

 

 

 

5

13

มะขามป้อม

 

3

2

 

 

5

14

ขางหัวหมู

 

1

1

 

 

2

15

เต็ง

 

 

1

 

 

1

16

แค

 

1

 

 

 

1

17

ตะขบป่า

 

1

 

 

 

1

18

ตีนนก

 

 

1

 

 

1

19

บ่าซาง

1

 

 

 

 

1

20

มะเค็ด

 

1

 

 

 

1

21

มะกอก

 

 

1

 

 

1

22

ละมุดป่า

 

 

 

1

 

1

23

สมอไทย

 

1

 

 

 

1

 

รวม

4

72

59

36

21

192

4-1.2  การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชป่าไม้ 

(Changes in Forest Plant Communities)

การเปลี่ยนแปลงของสังคมพืชป่าไม้ที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของจำนวนชนิดพันธุ์ไม้และชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ (Species richness and composition) ความหนาแน่น (Tree density) สภาพป่า (Forest condition) และมวลชีวภาพของพรรณไม้ (Plant biomass) สำหรับการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้และชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้อธิบายไปแล้ว  

4-1.2.1 ความหนาแน่นของพันธุ์ไม้

(Tree density)

รูปที่ 4-1.3 แสดงการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียว ในแปลงตัวอย่าง 3 แปลง ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2555

แปลงที่  ปมฮ. 1  ในปี พ.ศ. 2544 พันธุ์ไม้ในป่ามีความหนาแน่น 354 ต้น/ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่บางปีมีการตายของต้นไม้ที่ถูกข่มหรืออ่อนแอ ในปี พ.ศ. 2555 มีความหนาแน่นต้นไม้ เท่ากับ 379 ต้น/ไร่ โดยเพิ่มขึ้น 25 ต้น

แปลงที่  ปมฮ. 2  ในปี พ.ศ. 2544 พันธุ์ไม้ในป่ามีความหนาแน่น 199 ต้น/ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่บางปีมีการตายของต้นไม้ที่ถูกข่มหรืออ่อนแอ ในปี พ.ศ. 2555 มีความหนาแน่นต้นไม้ เท่ากับ 227 ต้น/ไร่ โดยเพิ่มขึ้น 28 ต้น

แปลงที่  ปมฮ. 3  ในปี พ.ศ. 2544 พันธุ์ไม้ในป่ามีความหนาแน่น 299 ต้น/ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่บางปีมีการตายของต้นไม้ที่ถูกข่มหรืออ่อนแอ ในปี พ.ศ. 2555 มีความหนาแน่นต้นไม้ เท่ากับ 192 ต้น/ไร่ โดยลดลง 37 ต้น

แสดงให้เห็นว่าป่าบริเวณสันเขาและไหล่เขามีความหนาแน่นต้นไม้มากขึ้น แต่ป่าไม้ตรงร่องห้วยด้านล่างของพื้นที่ลุ่มน้ำมีความหนาแน่นลดลง เนื่องจากต้นที่ถูกข่มจะตายไปและต้นไม้ที่เหลืออยู่จะมีการเจริญเติบโตดี มีเรือนยอดปกคลุมมากขึ้น จึงเกิดการแก่งแย่งแสง

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

ป่าไม้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ก่อนที่จะมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ  สภาพป่าเป็นป่ารุ่นสองที่มีความเสื่อมโทรม ภายหลังการจัดตั้งศูนย์ฯ สภาพป่ามีการฟื้นสภาพความอุดมสมบูรณ์ขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา  เป็นผลจากการป้องกันตัดฟันไม้ การป้องกันไฟ การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างฝายและบางพื้นที่มีการกระจายน้ำในพื้นที่ป่าไม้ผ่านระบบคูคลองก้างปลา นอกจากนี้ยังมีการปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ เสริมป่า ได้แก่ สนสามใบ นนทรี เป็นต้น

 

5-1.  ชนิดป่าและความหลากหลายของสังคมพืชป่าไม้

(Forest Types and Diversified Plant Communities

ป่าไม้ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง และ ป่าเบญจพรรณ  พบว่า ป่าเต็งรังสามารถแบ่งออกเป็นหลายสังคมพืชย่อย (Subtype communities) โดยพิจารณาจากพันธุ์ไม้เด่น นอกจากนี้ยังมีความผันแปรไปตามพื้นที่  สภาพภูมิประเทศและหินต้นกำเนิดดินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชนิดของพันธุ์ไม้เด่น (dominant tree species) ชนิดพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ร่วมกันในป่า (species composition) จำนวนชนิดพันธุ์ (species richness) อัตราการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ (growth rates) และและสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ (forest condition) ในป่าเบญพรรณก็มีความผันแปรของสังคมพืชเช่นกัน บางพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณที่มีไผ่ซางขึ้นหนาแน่น บางพื้นที่มีไผ่บงขึ้นปะปน แต่บางพื้นที่ไม่มีไผ่

5-2.  จำนวนชนิดพันธุ์และความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้

(Species Richness and Diversity)

จำนวนชนิดพันธุ์ไม้และความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้มีความแตกต่างกันระหว่างสังคมพืชป่าไม้ ป่าเบญจพรรณพื้นที่หินทรายมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้มากที่สุด รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณพื้นที่หินดินดาน ป่าเต็งรังพื้นที่หินภูเขาไฟ มีไม้เต็งและรังเป็นพันธุ์ไม้เด่น ป่าเต็งรังพื้นที่หินทราย  มีไม้พลวงเด่น พบพันธุ์ไม้ และป่าเต็งรังพื้นที่หินทราย  มีไม้เหียงเป็นพันธุ์ไม้เด่น ป่าเบญจพรณพื้นที่หินทรายมีไม้กระบกเป็นพันธุ์ไม้เด่นและป่าเบญจพรรณพื้นที่หินดินดานมีไม้สักเป็นพันธุ์ไม้เด่น

ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้เป็นค่าที่ใช้เปรียบเทียบความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าระหว่างพื้นที่ต่างๆ โดยใช้สมการ Shannon- Wiener Index (SWI) พบว่าป่าเบญจพรรณพื้นที่หินทรายมีค่ามากที่สุด เท่ากับ 5.65 โดยมีค่าใกล้เคียงกับป่าเบญจพรรณพื้นที่หินดินดานที่มีค่า 5.64 รองลงมาป่าเต็งรังที่มีไม้เหียงเด่นพื้นที่หินทราย (4.64) ป่าเต็งรังพื้นที่หินภูเขาไฟ (4.33) และป่าเต็งรังที่มีไม้เหียงเด่นมีค่าน้อยที่สุด เท่ากับ 3.85

5-3.  จำนวนประชากรพันธุ์ไม้

(Plant Population Abundance)

จำนวนประชากรพันธุ์ไม้แยกเป็นต้นไม้ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น <25, 25-50, 50-75, 75-100 และ >100 ซม. ป่าเต็งรังที่มีไม้พลวงเป็นพันธุ์ไม้เด่น มีความหนาแน่นของชนิดพันธุ์ไม้มากที่สุด รองลงมาในป่าเบญจพรรณ โดยป่าเต็งรังที่มีไม้พลวงเด่นมีไม้ขนาดเล็กเส้นรอบวงลำต้นน้อยกว่า 25 ซม. มากที่สุด และเส้นรอบวงลำต้นน้อยกว่า 75-100 ซม. น้อยที่สุด แสดงว่าสังคมพืชป่าไม้กำลังพัฒนาตัวขึ้นเป็นลำดับ

5-5  สภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้

(Plant Population Abundance)

พื้นที่หน้าตัดลำต้นรวมเกี่ยวข้องกับผลผลิตทางชีวภาพของป่าไม้ จากการศึกษาพบว่า ป่าเต็งรังที่มีไม้พลวงเด่นมีค่ามากกว่าพื้นที่ป่าเบญจพรรณ การประเมินสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าที่ได้จากการคำนวณดัชนีบ่งชี้สภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่า (FCI) พบว่า ป่าเบญจพรรณมีค่าเฉลี่ยมากกว่าป่าเต็งรัง 

5-6.  ปริมาณคาร์บอนสะสมในระบบนิเวศป่าไม้

ในปี 2555 แปลงที่  ปมฮ. 1 มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 67.17% ของระบบนิเวศ และในดินเฉลี่ย เท่ากับ 32.83% ของระบบนิเวศ รวมเป็นการสะสมในระบบนิเวศป่าไม้ เท่ากับ 15.32 ตัน/ไร่ แปลงที่  ปมฮ. 2  มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 71.01% ของระบบนิเวศ และในดินเฉลี่ย เท่ากับ 28.99% ของระบบนิเวศ รวมเป็นการสะสมในระบบนิเวศป่าไม้ เท่ากับ 17.35 ตัน/ไร่ แปลงที่  ปมฮ. 3  มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 71.22% ของระบบนิเวศ และในดินเฉลี่ย เท่ากับ 28.78% ของระบบนิเวศ รวมเป็นการสะสมในระบบนิเวศป่าไม้ เท่ากับ 17.48 ตัน/ไร่ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้พื้นที่ลุ่มน้ำที่ได้รับน้ำฝนอย่างเดียวของแปลงตัวอย่าง 3 แปลง มีค่าระหว่าง 15.32-17.48 ตัน/ไร่ (เฉลี่ย 16.71 ตัน/ไร่) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Download (1)

บทคัดย่อ

ผู้วิจัย / คณะวิจัย ดร. สุภาพ ปารมี รศ. ดร. สุนทร คำยอง ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์ ศ. ดร. นิพนธ์ ตั้งธรรม
ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
พระราชทานพระราชดำหริ