เรื่องเดิม
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้พิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎร และผันน้ำไปช่วยเหลืออ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนและหมู่บ้านใกล้เคียง
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2542 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้รีบดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มายังพื้นที่โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังและให้พิจารณาดูว่าพื้นที่ที่จะส่งน้ำออกจากอุโมงค์ว่ามีพื้นที่ว่างหรือไม่ ให้ดำเนินการปลูกป่าโดยทำเป็นอุทยานเล็ก ๆ เพื่อทดแทนผลกระทบที่เกิดกับป่าไม้
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานชื่ออุโมงค์ผันน้ำที่ผันจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาให้พื้นที่การเกษตรบริเวณลุ่มน้ำลำพะยังว่า “ลำพะยังภูมิพัฒน์” ซึ่งหมายความว่า อุโมงค์ผันน้ำที่นำความเจริญมาสู่แผ่นดินลุ่มน้ำลำพะยัง
ผลการดำเนินงาน
กรมชลประทาน ดำเนินการขุดลอกร่องชักน้ำ ความยาว 680 เมตร ทำคันดินเพื่อกั้นตะกอนไหลลงในร่องชักน้ำทั้ง 2 ฝั่ง ความยาว 120 เมตร พร้อมผนังคอนกรีต(Concrete mattress) ความยาว 120 เมตร และจัดทำท่อลอดถนน จำนวน 1 แห่ง ปัจจุบันดำเนินการแล้วร้อยละ 50 ระยะเวลาที่แล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2562
ขุดลอกร่องชัก ความยาว 680 เมตร
ทำคัดดินพร้อมผนังคอนกรีต ความยาว 120 เมตร
ท่อลอดถนน จำนวน 1 แห่ง
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทำให้ราษฎร จำนวน 1,067 ครัวเรือน 2,134 คน มีน้ำใช้เพียงพอ และพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาฬสินธุ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุดตามศักยภาพของน้ำต้นทุน และสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตร 12,000 ไร่ ในฤดูฝน และ 4,000 ไร่ ในฤดูแล้ง
 (1).jpg)
สามารถดาวโหลดไฟว์ PDF.ได้ที่นี่