ประกาศข่าว:
  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+
TH
EN
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ ๖ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

เรื่องเดิม

           เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิสังคมของท้องถิ่น และเป็นสถานที่ที่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ราษฎร ใช้แลกเปลี่ยน สื่อสาร และถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบจำลองของพื้นที่ที่มีการพัฒนาแบบผสมผสานทุกสาขาในลักษณะสหวิทยา และมีการบริหารที่เป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีการประสานการดำเนินงานที่มีเอกภาพ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”รวมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการฯ ขยายผลไปสู่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และราษฎรผู้สนใจทั่วไป โดยได้กำหนดแผนการศึกษาดำเนินงาน แบ่งออกเป็น ๔ แผนงาน ได้แก่ ๑) แผนงานศึกษา ทดลองวิจัย ตามแนวพระราชดำริ  ๒) แผนงานขยายผลการพัฒนา  ๓) แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ๔) แผนงานบริหารจัดการ

ผลการดำเนินงาน

          ๑) แผนงานศึกษา ทดลอง วิจัย ตามแนวพระราชดำริ

               ระยะเวลาที่ผ่านมา ๓๗ ปี เน้นการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่พรุและพื้นที่ดินเปรี้ยวให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรให้ได้ผลดีที่สุด ตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ – ๒๕๖๒ ได้ดำเนินการศึกษา ทดลอง และวิจัยไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น ๓๑๕ เรื่อง แบ่งเป็น

               ® ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ       จำนวน  ๓๐๖ เรื่อง

               ® อยู่ระหว่างการศึกษา             จำนวน      ๙   เรื่อง 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปภาพรวมผลการศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนา ระหว่างปี ๒๕๒๘ – ๒๕๖๒

งานวิจัย

รวม(เรื่อง)

ผลการดำเนินงาน

การใช้ประโยชน์

เสร็จแล้ว

ระหว่างดำเนิน

การ

รายงานผลการวิจัย

นำไปขยายผล

ฐานทางวิชาการ

ส่งเสริมอาชีพ

หลักสูตรฝึกอบรม

เอกสารเผยแพร่

คู่มือส่งเสริมอาชีพ

. งานพัฒนาที่ดิน

๑๒๒

๑๒๐

๘๒

๑๒๐

๔๒

๒๓

๖๘

๒. งานวิชาการเกษตร

๔๐

๓๘

๑๕

๓๘

๒๐

๑๙

. งานป่าไม้

๕๓

๕๒

๑๑

๕๒

๔๕

๔. งานปศุสัตว์

๕๑

๕๐

๓๐

๕๐

๓๔

๔๓

๑๗

๕. งานประมง

๑๖

๑๕

๑๕

๖. งานควบคุมปราบปราม
    โรคติดต่อฯ

๑๕

๑๕

๑๕

๑๕

๑๕

๗. งานส่งเสริมอุตสาหกรรม

๘. งานชลประทาน

๙. มหาวิทยาลัยมหิดล

๑๐. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๑๑. สถาบันวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

๑๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๑๓. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

รวม

๓๑๕

๓๐๖

๑๕๘

๓๐๖

๑๐๓

๒๐

๑๖๑

๙๑

        ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินการ จำนวน ๗ เรื่อง โดยมีงานศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้

               ๑.๑ งานวิจัยใหม่ จำนวน ๓ เรื่อง

               .๑.๑ การสร้างฝูงต้นพันธุ์ไก่เบตง - พิกุลทอง : เพื่อสร้างฝูงไก่เบตงพิกุลทองต้นพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวใช้เป็นไก่พันธุ์แท้สำหรับการผลิตไก่ขุนลูกผสมที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการเลี้ยงขุนเชิงการค้าและการบริโภคเป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์ประจำถิ่น ทั้งนี้ ปัจจุบันได้จัดตั้งสายผสมพันธุ์ไก่เบตง โดยจัดพ่อพันธุ์เป็น ๒๕ สาย ๆ ละ ๑ ตัว ผสมกับแม่พันธุ์ ๕ ตัว ด้วยวิธีธรรมชาติ แยกขังเป็นคอกย่อย ๆ เก็บไข่และฟักไข่ ลูกไก่ที่ฟักออกจะทำพันธุ์ประวัติรายตัว และติดหมายเลขประจำตัว (เบอร์แข้ง) มีการบันทึกลักษณะปรากฏเป็นรายตัว ได้ลูก จำนวน ๑๑๘ ตัว

  

 

 

 

 

 

           ๑.๑.๒ เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในบ่อน้ำพรุ : เพื่อศึกษาสายพันธุ์ปลานิลที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในกระชังในบ่อที่ขุดในพื้นที่พรุ และเพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอด อัตราแลกเนื้อ ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิล ๓ สายพันธุ์ ในสภาพการเลี้ยงในกระชังในบ่อที่ขุดในพื้นที่พรุ ปัจจุบันได้จัดเตรียมกระชังทดลอง ขนาด (๒.๐ x ๒.๐ x ๑.๕ ) จำนวน ๙ กระชัง ใช้เนื้ออวนแดงขนาดตา ๐.๕ เซนติเมตร ปิดกระชังทดลองทุกกระชังป้องกันนก แขวนกระชังในบ่อดินที่ขุดบริเวณพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขนาดพื้นที่บ่อ ๕ ไร่ ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ ๓ เมตร ค่าความเป็นกรด - ด่างของน้ำในบ่อทดลอง (pH) ประมาณ ๔ - ๕ ซึ่งเป็นค่าที่ยังไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพน้ำ รวมทั้งเตรียมลูกปลานิล ขนาด ๒ - ๓ เซนติเมตร มี ๓ สายพันธุ์ อัตราปล่อยกระชัง ๆ ละ ๑๕๐ ตัว ประกอบด้วย

                        (๑) ปลานิลแดง สายพันธุไทย ติดต่อซื้อลูกพันธุ์จากศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร

                        (๒) ปลานิลจากฟาร์มเอกชน ติดต่อซื้อจากฟาร์มเอกชนในจังหวัดสงขลา

                        (๓)  ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา ๓ ติดต่อซื้อลูกพันธุ์จากศูนย์วิจัยพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร  

  

 

 

 

 

 

 

               ๑.๑.๓ การศึกษาทดลองหว่านลูกบอลเมล็ดไม้ เพื่อการฟื้นฟูป่าพรุหลังถูกไฟไหม้ : เป็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าพรุ ทั้งนี้ การจัดเตรียมลูกบอลเมล็ดไม้ป่าพรุแต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากัน ทำให้จำนวนเมล็ดแต่ละลูกจะไม่เท่ากัน โดยใช้เมล็ดไม้แต่ละชนิดตั้งแต่ ๑ - ๕ เมล็ด ลูกบอลแต่ละลูกจะมีจำนวนเมล็ดไม้ไม่เกิน ๕ เมล็ด โดยใช้พันธุ์ไม้ทั้งหมด ๘ ชนิด ได้แก่ หว้านา ชะเมาน้ำ ฝาดแอ๊ก ฝาดขาว หว้าหิน หว้าน้ำ กรวย และสะเตียว ซึ่งมีจำนวนเมล็ดไม้ รวม ๒,๔๐๐ เมล็ด

  

 

 

 

 

 

         ๑.๒ งานวิจัยต่อเนื่อง จำนวน ๒ เรื่อง

               ๑.๒.๑ การแยกใช้ยีสต์จากพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์และการผลิตเอทานอลเชื้อเพลิง : โดยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า

             ๑) ผลการแยกยีสต์จากพีตและเปลือกไม้ : จากตัวอย่างพีต จำนวน ๑๐ ตัวอย่าง และเปลือกไม้ จำนวน ๑๐ ตัวอย่าง สามารถแยกยีสต์ได้ทั้งหมด ๑๘๗ สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็นยีสต์จากพีต จำนวน ๑๐๒ สายพันธุ์ และยีสต์จากเปลือกไม้ จำนวน ๘๕ สายพันธุ์ โดยยีสต์ทั้งหมดอยู่ในระหว่างการจัดจำแนกและระบุชนิด ก่อนนำมาคัดเลือกเพื่อใช้ผลิตโปรตีนเซลล์เดี่ยวต่อไป

             ๒) การคัดเลือกยีสต์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกรดอินโดล-๓-อะซิติก
(Indole-๓-acetic acid, IAA)
โดยมีการนำยีสต์ที่แยกได้จากดินอินทรีย์ในป่าพรุโต๊ะแดงจากโครงการที่ผ่านมา จำนวน ๑๘ สายพันธุ์ มีศึกษาทดลอง และพบว่ายีสต์ทั้ง ๑๘ สายพันธุ์ สามารถสร้าง IAA ได้ในช่วงระหว่าง ๖๒.๘๓ – ๓๘๕.๖๔ มิลลิกรัมต่อลิตร (๔๓.๑ – ๓๙.๔๙ มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักเซลล์แห้งโดยสายพันธุ์ที่ผลิตได้สูงที่สุด ๔ ลำดับแรก ได้แก่ Rhodotorula mucilaginosa สายพันธุ์ YNB๔๓-๒ และ Y๓๕-A ผลิตได้ ๓๘๕.๖๔ และ ๓๓๙.๕๓ มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับและ Cryptococcus podzolicus สายพันธุ์ PSE๓-๑และ PS๕-๒ ผลิตได้ ๒๙๐.๕๔ และ ๒๒๐.๒๓ มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทว่ายังมีปริมาณที่ต่ำกว่ายีสต์สายพันธุ์อ้างอิงที่ผลิตได้สูงถึง ๙๒๑.๒๒ มิลลิกรัมต่อลิตร (๑๔๐.๒๙ มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักเซลล์แห้ง) และยังมีปริมาณต่ำกว่ายีสต์อีก ๒ สายพันธุ์ ที่ทีมวิจัยได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี้

             ๓) การคัดเลือกยีสต์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์ไลเพส : นำยีสต์ที่แยกได้จากดินอินทรีย์ในป่าพรุโต๊ะแดงจากโครงการที่ผ่านมา ที่พบว่ามีศักยภาพในการสร้างเอนไซม์ไลเพสบนอาหารแข็ง tributyrin agar ในจานเพาะเชื้อโดยดูบริเวณใสที่ปรากฏรอบบริเวณที่เชื้อเจริญ จำนวน ๖๑ สายพันธุ์ มาทำการทดสอบการสร้างเอนไซม์ไลเพสในอาหารเหลวโดยมี soy oil เป็นตัวเหนี่ยวนำการสร้าง และเปรียบเทียบกิจกรรมของเอนไซม์ไลเพสที่ได้กับยีสต์สายพันธุ์ที่มีศักยภาพจากแหล่งอื่นที่รวบรวมไว้แล้วเพื่ออ้างอิง ในการทดลองนี้ Candida sp. DMKU-WBL๑-๓ ใช้เป็นยีสต์อ้างอิง จากการทดลองพบว่ายีสต์ จำนวน ๑๙ สายพันธุ์ สามารถสร้างเอนไซม์ไลเพสได้สูง

              ๑.๒.๒ องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดเชื้อราจากดินอินทรีย์ในพื้นที่พรุจังหวัดนราธิวาส  : โดยผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส จากสารสกัดหยาบที่ได้จากเชื้อรา จำนวนทั้งหมด ๑๑๔ ตัวอย่าง พบว่าสารสกัดจากเชื้อรา SPSF๓๑๘  มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ดี จากการพิสูจน์เอกลักษณ์แล้วพบว่าเป็นเชื้อรา Aspergillus flavus

                               ๑) ปริมาณของสารสกัดหยาบจากเชื้อรา A. flavus : ในการทดลองเริ่มจากการเลี้ยงเพื่อเพิ่มสารสกัดหยาบทั้ง ๕ ส่วนของเชื้อรา A. flavus ได้แก่ สารสกัดหยาบที่สกัดได้จากอาหารเลี้ยงเชื้อ (broth extraction) ได้แก่ broth ethyl acetate (BE) และ broth water (BW) โดยสกัดจากอาหารเลี้ยงเชื้อ จำนวน ๗.๕ ลิตร ส่วนสารสกัดที่ได้จากเซลล์เชื้อรา(fungal extraction) ได้แก่ cell acetate (CE), cell hexane (CH) และ cell methanol (CM) โดยมีเซลล์เชื้ิอราน้ำหนักเริ่มต้น ๑๔๓.๑๕ กรัม ลักษณะทางกายภาพของสารสกัดและปริมาณสารสกัดที่ได้ทั้งหมดหลังจากนั้นนำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้วิธีการทาง chromatography ต่าง ๆ

 

                                   ๒) ผลการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดหยาบทั้ง ๕ ส่วนของเชื้อรา A. flavus : สารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวได้ดี เป็นสารสกัดชั้นเอธิลอะซิเตท (ethyl acetate, EtOAc) จากน้ำเลี้ยงเชื้อและเซลล์ของเชื้อรา 

                                ๓) ผลการแยกสารบริสุทธิ์ : การทดลองเริ่มจากการเลี้ยงเพื่อเพิ่มสารสกัดหยาบทั้ง ๕ ส่วนของเชื้อรา A. flavus ได้แก่ broth ethyl acetate (BE), cell acetate (CE),cell hexane (CH), cell methanol (CM) และ broth water (BW) หลังจากนั้น นำมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้วิธีการทาง chromatography ต่าง  ๆ พบว่าสารบริสุทธิ์ที่ได้จากส่วนสกัดหยาบ broth ethyl acetate ของรา A. flavus คือ kojic acid

        ๑.๓ งานทดสอบใหม่ จำนวน ๒ เรื่อง

              ๑.๓.๑ ทดสอบการปลูกข้าวแบบประณีตบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด : ได้ดำเนินการทดสอบในพื้นที่แปลงนาข้าว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยการปลูกข้าวพันธุ์ซีบูกันตัง ๕ ในขั้นตอน ดังนี้ เตรียมแปลงโดยการ ไถดะ แปร ทำเทือก, ปลูก โดยการตกกล้า ปักดำ, ดูแลรักษา โดยการใส่ปุ๋ย จำนวน ๒ ครั้ง และเก็บข้อมูลการแตกกอ  

  

 

 

 

 

 

             ๑.๓.๒ ทดสอบระยะเวลาการปลูกข้าวหอมกระดังงาที่เหมาะสมในพื้นที่พรุ กรณีศึกษา : บ้านโคกอิฐ - โคกใน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และบ้านตอหลัง - ทรายขาว ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส : ได้ดำเนินการทดสอบในพื้นที่เป้าหมายโดยการปลูกข้าวหอมกระดังงา ในขั้นตอนการสำรวจพื้นที่แปลง และดำเนินการเก็บตัวอย่างดิน

  

 

 

 

 

 

๑. แผนงานขยายผลการพัฒนา

               ๒.๑ งานสาธิต จำนวนทั้งหมด ๙ โครงการ แบ่งเป็น งานสาธิตใหม่ จำนวน ๒ โครงการ และงานสาธิตต่อเนื่อง จำนวน ๗ โครงการ โดยมีตัวอย่าง ดังนี้

                   ± สาธิตการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ณ แปลงนายเดช มินทการต์ บ้านโคกชุมบก ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  : พื้นที่ดำเนินการ จำนวน ๗ ไร่ โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลโดยการให้ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ส่งเสริมการปลูกพืชผักพืชไร่ ไม้ผล การปลูกข้าว การปรับปรุงบำรุงดิน และได้มีการก่อสร้างโรงเรือน เพื่อส่งเสริมการเพาะเห็ด และโรงเรือนส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก ทั้งนี้ ปี ๒๕๖๒ มีเกษตรกรที่สนใจได้เข้าไปเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในแปลง จำนวน ๑๐๗ คน 

  

 

 

 

 

 

                         ± สาธิตการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชชนิดต่าง ๆ (พื้นที่ภายในศูนย์ศึกษาฯ) : ดำเนินการเก็บตัวอย่างดิน ดูแลรักษาโดยการตัดแต่งก้านใบ กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยพืชที่ปลูก เช่น ผักกูด มะพร้าวน้ำหอม ชะอม ผักกินใบ ผักบุ้งน้ำ และส้มโอ เป็นต้น

  

 

 

 

 

 

  แปลงผักกูด                                                                                                               มะพร้าวน้ำหอม

  

 

 

 

 

 ผักกินใบ                                                                                                             ผักบุ้งน้ำ

                         ± สาธิตการทำเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด : แปลงสาธิตการทำการเกษตรยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ขนาดพื้นที่แปลง ๒๓ ไร่ ริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ และมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้าเยี่ยมชม จำนวน ๔๒ คณะ ๒,๓๙๙ ราย  โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

                                 - สระน้ำ : จำนวน ๔.๕ ไร่ (ร้อยละ ๒๐ ) ปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ภายในโครงการฯทั้งสิ้น ๑๒,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ สระน้ำ พื้นที่ ๒,๐๐๐ ตารางเมตรขุดลึก ๒.๕ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๕,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และคูน้ำในแปลงทฤษฎีใหม่มีพื้นที่เก็บกักน้ำจำนวน ๗,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งคูน้ำในแปลงเป็นพื้นที่ส่งน้ำระหว่างร่องไม้ผล พืชไร่ แปลงพืชผัก และแปลงไม้ดอก ทั้งนี้ มีการเลี้ยงปลาในสระ ได้แก่ ปลานิล ปลาตะเพียนขาว และปลาบ้า

                           - การปลูกข้าว : จำนวน ๗ ไร่ (ร้อยละ ๓๐) นาปีปลูกข้าวพันธุ์หอมกระดังงา ๕๙ และนาปรังปลูกข้าวพันธุ์ซีบูกันตัง ๕ โดยแบ่งแปลงปลูกข้าวออกเป็น ๒ ส่วน คือ ปลูกข้าวอย่างเดียว พื้นที่ ๒ ไร่ และปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ปลาบ้า และปลาตะเพียนขาว พื้นที่ ๕ ไร่

                            - การปลูกพืชอื่น ๆ : จำนวน ๙.๒๕ ไร่ (ร้อยละ ๔๐) แบ่งเป็น

                      ๑) แปลงพืชไร่ จำนวน ๒ ไร่ เมื่อดำเนินงานขุดยกร่องแปลงแล้วดำเนินงานปรับสภาพดินด้วยหินปูนฝุ่นในอัตรา ๑.๕ ตันต่อไร่ เพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างในดินให้สามารถปลูกพืชได้ โดยในแปลงทำการปลูกข้าวโพดพันธุ์ไฮบริกส์ ๕๘ ระยะเวลาการเจริญเติบโตให้ผลผลิต ๖๕ - ๗๕ วัน แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วทำการปลูกพืชบำรุงดิน คือ ปอเทือง เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้น และช่วยปรับโครงสร้างดินให้ดินดีขึ้น

                     ๒) แปลงพืชผัก จำนวน ๐.๗๕ ไร่ สภาพพื้นที่เดิมค่อนข้างลุ่ม จึงทำการขุดยกร่องแปลงขนาดกว้าง ๗ เมตร คูน้ำกว้าง ๑ เมตร ลึก ๖๐ เซนติเมตร แล้วปรับสภาพดินเพื่อให้สามารถปลูกพืชผักได้ โดยการใส่หินปูนฝุ่นในอัตรา ๒ ตันต่อไร่ และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยการใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา ๓ ตันต่อไร่ พืชผักที่ปลูกในแปลงเป็นพืชผักจำพวกกินผล และผักกินใบ เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาวม่วง กระเจี๊ยบเขียว และถั่วฝักยาว ซึ่งพืชผักที่ปลูกภายในแปลง จะปลูกหมุนเวียนสลับกันไปตามความเหมาะสมของฤดูกาล

                     ๓) แปลงไม้ผล จำนวน ๖.๒๕ ไร่ สภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่มและเป็นดินเปรี้ยว จึงได้ขุดยกร่องแปลงเพื่อให้สามารถปลูกไม้ผลในพื้นที่ดังกล่าวได้ โดยสันร่องขนาดกว้าง ๘ เมตร คูน้ำกว้าง ๑.๕ เมตร ลึก ๑ เมตร ขุดเอาหน้าดิน (๐ - ๔๐ เซนติเมตร) ไว้กลางสันร่องแล้วทำการปรับปรุงดินโดยใส่หินปูนฝุ่นในอัตรา ๓ ตันต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างในดินให้สามารถปลูกไม้ผลได้ การเตรียมหลุมสำหรับปลูกไม้ผลโดยขุดขนาดหลุม ๕๐ x ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร ใส่หินปูนฝุ่นเพิ่มขึ้น หลุมละ ๒ กิโลกรัม และใส่ปุ๋ยคอก อัตรา ๑๐ กิโลกรัมต่อหลุมแล้วปลูกไม้ผลชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ขนุน กระท้อน เงาะ มังคุด และทุเรียน เป็นพืชหลัก ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดจะออกตามช่วงฤดูกาลที่แตกต่างกันไป และมีการปลูกหมากแซมร่วมกับไม้ผล 

                     ๔) ไม้ดอก จำนวน ๐.๒๕ ไร่ สภาพพื้นที่เป็นดินเปรี้ยวจัด จึงปรับสภาพดินโดยการใส่หินปูนฝุ่น อัตรา ๒ ตันต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมต่อการปลูกไม้ดอก และใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา ๓ กิโลกรัมต่อต้น เพื่อช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน พืชที่ปลูกในแปลง คือ มะลิ

             - ที่อยู่อาศัย : จำนวน .๒๕ ไร่ (ร้อยละ ๑๐) ที่พักอาศัย โรงเก็บเครื่องมือเกษตร โรงเลี้ยงไก่และเป็ด เรือนเพาะชำ โรงเพาะเห็ด และถนนหนทางเพื่ออำนวยความสะดวกภายในพื้นที่ รวมทั้ง มีพื้นที่ในการเลี้ยงเป็ด ๒ สายพันธุ์ คือ เป็ดพันธุ์กากีเคมเบลล์ จำนวน ๑๐๐ ตัว เป็นเป็ดพันธุ์ไข่ โดยเป็ดที่นำมาเลี้ยงจะให้ผลผลิตตั้งแต่อายุ ๔ เดือน ถึง ๒ ปี โดยจะนับตั้งแต่เริ่มนำมาอายุ ๑ สัปดาห์ และเมื่อเป็ดอายุครบ ๒ ปี ก็จะทำการปลดระวาง โดยผลผลิตไข่ที่ได้จะจำหน่ายและบางส่วนนำไปแปรรูปเป็นไข่เค็ม และเป็ดพันธุ์ชวา จำนวน ๓๕ ตัว เป็นเป็ดพันธุ์เนื้อที่ให้เนื้อมากแต่ให้ไข่น้อยและโตค่อนข้างช้า เมื่อโตเต็มวัยตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ ๔ - ๔.๕ กิโลกรัม ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ ๓.๐ - ๓.๕ กิโลกรัม 

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

                 ± สาธิตการเกษตรยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด บ้านโคก (แปลงที่ ๑) :  พื้นที่ดำเนินการ ๒๐ ไร่ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ได้ดำเนินการส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยการสาธิตการทำน้ำหมัก และสนับสนุนปูนขาวโดโลไมท์ ให้แก่เกษตรกร รวมทั้ง ส่งเสริมการผลิตพืชผักพืชไร่โดยได้ให้ความรู้แก่เกษตรกรพร้อมสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และจะดำเนินการส่งเสริมการปลูกไม้ผลและส่งเสริมการปลูกข้าวต่อไป อีกทั้ง อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารเรียนรู้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกรที่สนใจ ทั้งนี้ ปี ๒๕๖๒ มีเกษตรกรที่สนใจได้เข้าไปเรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในแปลง จำนวน ๑๒ คณะ ๒๕๓ คน

  

 

 

 

 

 

              ± สาธิตการปลูกพันธุ์ฝรั่งกิมจูในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ และพื้นที่ตามพระราชดำริ : ดำเนินการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝรั่งและสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๕ ราย พื้นที่ดำเนินการ ๕ ไร่ ได้แก่ บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ ๖ บ้านโพธ์ทอง หมู่ที่ ๙ บ้านโคกสยา หมู่ที่ ๘ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส  บ้านตอหลัง หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และบ้านบาเลาะ หมู่ที่ ๕ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

  

 

 

 

 

 

 

      ๒.๒ งานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะการพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของราษฎรและความเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ พื้นที่ศูนย์สาขา และพื้นที่อื่น ๆ ที่มีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เข้าไปดำเนินการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินโครงการต่าง ๆ จำนวน ๓๑ โครงการ ซึ่งสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่ จำนวน ๔๐๗ ครัวเรือน โรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒๘ แห่ง และโรงเรียนในพื้นที่ขยายผล จำนวน ๙ แห่ง ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถยกตัวอย่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ดังนี้

                        ± พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ  

                           ๑) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                                 ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นกิจกรรมการติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ได้แก่ บ้านยาบี หมู่ที่ ๑ ตำบลกะลุวอบ้านเปล หมู่ที่ ๓ บ้านพิกุลทอง หมู่ที่ ๖ บ้านโคกสยา หมู่ที่ ๘ บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๙ และบ้านคีรี หมู่ที่ ๑๐ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รวมจำนวน ๕๐ ครัวเรือน ทั้งนี้ การดำเนินงานในปีที่ ๑ เน้นพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยการฝึกอบรมให้ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ปีที่ ๒ เน้นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยการอบรมให้ความรู้ด้านการรวมกลุ่มตลาดและนำกลุ่มเกษตรกรทัศนศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จ และปีที่ ๓ เป็นการติดตาม และประเมินผลโครงการฯ เพื่อประเมินผลองค์ความรู้และความสามารถของการนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อสร้างความยั่งยืนความต่อเนื่อง คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้านรายได้ รายจ่าย และความสุขภายในครัวเรือนที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลผลการติดตามและประเมินผล 

  

 

 

 

 

 

การลงพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                          ๒) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                               ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นกิจกรรมการติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ได้แก่ บ้านบางมะนาว หมู่ที่ ๑ บ้านเขาตันหยง หมู่ที่ ๔ บ้านใหม่ หมู่ที่ ๕ บ้านตือลาฆอปาลัส หมู่ที่ ๑๑ บ้านบูกิตอ่าวมะนาว หมู่ที่ ๑๒ และบ้านสะปอม หมู่ที่ ๑๓ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รวมจำนวน ๔๐ ครัวเรือน ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลผลการติดตามและประเมินผล

  

 

 

 

 

 

การลงพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                           ๓) โครงการขยายผลการเลี้ยงปลานิล

                                ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่บ้านค่าย บ้านโพธิ์ทอง บ้านสะปอม ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รวมจำนวน ๘ ราย ในหลักสูตรการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว พร้อมทั้งส่งเสริมและแนะนำการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว พร้อมทั้งสนับสนุนพันธุ์ปลานิล และติดตามพร้อมทั้งให้คำแนะนำทางวิชาการแก่เกษตรกรควบคู่ไปด้วย

  

 

 

 

 

 

โครงการขยายผลการเลี้ยงปลานิล

                           ๔) โครงการส่งเสริมการปลูกผักยกแคร่

                                ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่บ้านบางมะนาว บ้านเขาตันหยง และบ้านเปล ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รวมจำนวน ๖ ครัวเรือน ในหลักสูตรการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกผักยกแคร่

                                 ± พื้นที่ศูนย์สาขา  

                           ๑) โครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตรบ้านปีแนมูดอ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๔๖ ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

                                ๑.๑) ส่งเสริมการปลูกผักในท้องร่อง ดำเนินการสำรวจเกษตรกรที่มีพื้นที่และความพร้อมในการปลูกผัก อีกทั้ง อบรมหลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ในการปลูกพืชผักแซมระหว่างร่องสวนไม้ผลผสมผสาน สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักและไม้ผล เช่น กระเจี๊ยบเขียว ถั่วพู ผักชีล้อม ผักบุ้งน้ำ มะละกอ ผักกูด พริกไทย ดาหลา หม่อนกินผล ฯลฯ

                                ๑.๒) ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตไม้ผล ดำเนินการให้ความรู้และคำแนะนำการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การตัดแต่งกิ่งไม้ผล และสาธิตการทำ/การใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ

                                ๑.๓) ส่งเสริมการทำประมง จัดฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงปลานิลในกระชังและในบ่อดินเปรี้ยว รวมทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงปลานิลในกระชัง และในบ่อดินเปรี้ยว

                                ๑.๔ ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง โดยการสำรวจความพร้อมของเกษตรกรที่ต้องการเลี้ยงชันโรง จำนวน ๘ ครัวเรือน รวมทั้ง จัดฝึกอบรมเกษตรกรเชิงปฏิบัติในพื้นที่ ณ ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงชันโรงบ้านบาเลาะ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งชันโรง เช่น กล่องเลี้ยงชันโรงพร้อมเชื้อ

                                ๑.๕) การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเครือข่าย มีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานแปลงเกษตร โดยการนำเกษตรกรศึกษาดูงาน เรียนรู้วิธีการทำเกษตรแบบผสมผสานบนพื้นที่จำกัด ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไอร์บือแต ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส                       

                                ๑.๖) การส่งเสริมการปลูกผักยกแคร่และการปลูกผักเพื่อบริโภค ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการปลูกผักยกแคร่

                                ๑.๗) การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุด้านปศุสัตว์ตามพระราชดำริ โดยจัดฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงแพะให้แก่เกษตรกรที่สนใจ จำนวน ๑ หลักสูตร พร้อมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงแพะโดยได้มีการให้ความรู้แก่เกษตรกรและสนับสนุนปัจจัยการผลิต แก่เกษตรกร จำนวน ๑๐ ราย รวมทั้ง จัดฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกรที่สนใจ จำนวน ๑ หลักสูตร พร้อมทั้งส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกโดยได้มีการให้ความรู้แก่เกษตรกร และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร จำนวน ๑๕ ราย 

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตรบ้านปีแนมูดอ  ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

                             ๒) โครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตรหมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๔๓ ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

                                ๒.๑) ส่งเสริมการปลูกผักบนพื้นที่ขุดยกร่อง จำนวน ๓๐ ครัวเรือน โดยมีการสำรวจเกษตรกรที่มีพื้นที่และความพร้อมในการปลูกผัก รวมทั้ง จัดฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกพืชผักในพื้นที่ดินเปรี้ยว สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวโพดหวาน มะเขือเปราะ มะเขือยาว ถั่วฝักยาวคะน้า ถั่วพู และพริกไทย อีกทั้ง สนับสนุนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ พร้อมทั้งให้ความรู้คำแนะนำการใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ

                                ๒.๒) การจัดการสวนไม้ผล จำนวน ๔๓ ครัวเรือน โดยให้ความรู้ และคำแนะนำการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การตัดแต่งกิ่งไม้ผล สาธิตการขยายพันธุ์ไม้ผล

                                ๒.๓) ส่งเสริมการทำประมง จำนวน ๖ ราย ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยว และส่งเสริมพร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยว

                                 ๒.๔) ส่งเสริมการปลูกผักยกแคร่ จำนวน ๒ ครัวเรือน โดยการฝึกอบรมหลักสูตรการปลูกผักในครัวเรือน 

                               ๒.๕) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุด้านปศุสัตว์ ตามพระราชดำริ โดยการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่หลังบ้าน ได้มีการจัดอบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกร จำนวน ๕ ราย และได้สนับสนุนพันธุ์ไก่ไข่ รวมทั้ง ส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ ได้มีการจัดอบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย และสนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศ ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เอง

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตรหมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

                                  ± พื้นที่อื่น ๆ (พื้นที่ซึ่งมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาฯ เข้าไปดำเนินการ)  

                          ๑) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                                ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นกิจกรรมการติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ได้แก่ บ้านกำแพง หมู่ที่ ๒ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส และ บ้านโคกกระท่อม หมู่ที่ ๓ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  รวมจำนวน ๒๐ ครัวเรือน ทั้งนี้ การดำเนินงานในปีที่ ๑ เน้นพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยการฝึกอบรมให้ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ปีที่ ๒ เน้นการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยการอบรมให้ความรู้ด้านการรวมกลุ่มตลาดและนำกลุ่มเกษตรกรทัศนศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบผลสำเร็จ และปีที่ ๓ เป็นการติดตามและประเมินผลโครงการฯ เพื่อประเมินผลองค์ความรู้และความสามารถของการนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ของเกษตรกร เพื่อสร้างความยั่งยืน ความต่อเนื่อง คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้านรายได้ รายจ่าย และความสุขภายในครัวเรือนที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลผลการติดตามและประเมินผล 

  

 

 

 

 

 

การลงพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                           ๒) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

                               ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นกิจกรรมการติดตามประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ได้แก่ บ้านบาเลาะ หมู่ที่ ๕ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รวมจำนวน ๑๑ ครัวเรือน ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลผลการติดตามและประเมินผล

  

 

 

 

 

 

การลงพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อปลูกพืชไร่และไม้ผล

 

                      ๓) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านโคกสะตอ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๓๐ ครัวเรือน โดยมีกิจกรรม
ที่ดำเนินการ ดังนี้

                                ๓.๑) ส่งเสริมการปลูกข้าวคุณภาพ โดยการจัดอบรมเกษตรกรหลักสูตรการจัดตั้งกลุ่มปลูกข้าวคุณภาพ พร้อมทั้ง สาธิตการทำ/การใช้ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ และการให้คำแนะนำการปลูกข้าวคุณภาพในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี

                                ๓.๒) ส่งเสริมการปลูกพืชผักในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด โดยการจัดอบรมเกษตรกร หลักสูตรการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผักพืชไร่ พร้อมทั้ง สาธิตการทำ/การใช้ปุ๋ยหมัก และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์พืชผักปุ๋ยเคมี และติดตามให้คำแนะนำการปลูกพืชผักพืชไร่บริเวณบ้าน

  

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านโคกสะตอ ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

 

                        ๔) โครงการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและเกษตรกรตัวอย่าง

                      ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลของศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนรายละเอียดข้อมูลของศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างให้เป็นปัจจุบัน สำหรับจัดทำข้อมูลบอร์ดประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการปรับปรุงแปลงสาธิตภายในศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างให้มีประสิทธิภาพและต้นแบบการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร หรือชุมชนที่เข้ามาศึกษาภายในศูนย์เรียนรู้ โดยการสนับสนุนซุ้มบอร์ด จำนวน ๓ ซุ้ม สนับสนุนซุ้มปลูกผัก จำนวน ๑ ซุ้ม สนับสนุนตู้โชว์ผลิตภัณฑ์ จำนวน ๑ ตู้ สนับสนุนชุดเครื่องเสียงเคลื่อนที่ จำนวน ๒ ชุด สนับสนุนเก้าอี้ จำนวน ๔๐ ตัว สนับสนุนระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ รวมทั้ง สนับสนุนวัสดุสาธิต เพื่อเป็นวัสดุในการสาธิตกิจกรรมภายในศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง

  

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและเกษตกรตัวอย่าง

 

                       ๕) โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านตอหลัง - ทรายขาว ตามพระราชดำริฯ พื้นที่ดำเนินการบ้านตอหลัง หมู่ที่ ๓ และบ้านทรายขาว หมู่ที่ ๒ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๗๐ ครัวเรือน โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

                               ๕.๑) โครงการฟื้นฟูพื้นที่นาหลังน้ำท่วมเพื่อการทำนาข้าวอย่างครบวงจร จากการติดตามเกษตรกร หลังจากเข้าร่วมอบรมได้นำความรู้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในเรื่องการทำนา ส่วนใหญ่เพื่อบริโภคในครัวเรือน ร้อยละ ๘๕ และผลิตเพื่อประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๕ รวมทั้ง สามารถลดรายจ่ายได้มาก จากการนำความรู้ไปใช้ร้อยละ ๑๐๐ และได้มีการรวมกลุ่มในการเกษตรขึ้นบางส่วน ร้อยละ ๘๐ ที่มีการทำนาอย่างต่อเนื่อง และเกษตรกรบางส่วนมีการทำนาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากสาเหตุชราภาพและโรคภัยไข้เจ็บ ร้อยละ ๒๐ เกษตรกรที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้ ร้อยละ ๑๐๐ และจากการเข้าร่วมอบรม ทำให้ได้เผยแพร่องค์ความรู้ให้กับคนอื่น ๆ นอกเหนือจากผู้ที่มาร่วมอบรมซึ่งเป็นผลดีในการดำเนินโครงการต่อไป

                               ๕.๒) การจัดทำประชุมประชาพิจารณ์กลุ่ม เพื่อสำรวจตลาดพืชในระบบตลาดพื้นที่ โดยการประชุมหารือจัดวางแผน ติดต่อผู้นำหมู่บ้าน เตรียมข้อมูล และจัดประชุมเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๒ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน ๖๐ ราย

                                ๕.๓) การจัดฝึกอบรมการออกแบบและทำบรรจุภัณฑ์ให้แก่เกษตรกร จัดอบรมในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๒ 

                               ๕.๔) ส่งเสริมการปลูกพืชผักในครัวเรือน โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ในหลักสูตรการปลูกผักในครัวเรือน จำนวน ๑๐ ครัวเรือน

                              ๕.๕) ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ดินพรุด้านปศุสัตว์ตามพระราชดำริ โดยส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศได้มีการจัดอบรมหลักสูตรการเลี้ยงสัตว์ปีกให้แก่เกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย และสนับสนุนพันธุ์เป็ดเทศแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เกษตรกรจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ดเอง

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดบ้านตอหลัง - ทรายขาว ตามพระราชดำริ ฯ

 

                           ๖) โครงการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณผลิตผลในโรงเรียนโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

                                พื้นที่ดำเนินการ : โรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน ๒๘ แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จำนวน ๑๗ แห่ง สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน ๖ แห่ง และ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๕ แห่ง

                                โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การจัดอบรมครูและนักเรียนให้ความรู้หลักสูตรการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่โรงเรียนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ จำนวน ๒๘ แห่ง ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยหมัก / น้ำหมักชีวภาพ ให้ความรู้และคำแนะนำ เรื่องการใช้ปูนขาว และสนับสนุนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน (ปูนขาว) สนับสนุนซุ้มบอร์ดข้อมูล จำนวน ๑๐ แห่ง ส่งเสริมการปลูกพืชผักแบบยกแคร่ จำนวน ๓ แห่ง สนับสนุนระบบน้ำ จำนวน ๑ แห่ง สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ดให้แก่โรงเรียนในโครงการฯ ๒๘ แห่ง ๆ ละ ๙๐๐ ก้อน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดอย่างถูกวิธี ขณะนี้กำลังเริ่มทยอยส่งก้อนเชื้อเห็ดให้กับโรงเรียน อีกทั้ง ดำเนินการให้ความรู้วิธีการปลูก และการดูแลบอนสีในโรงเรียน จำนวน ๑๐ แห่ง และให้ความรู้วิธีการปลูกและการดูแลพืชสมุนไพรในโรงเรียน จำนวน ๑๐ แห่ง                          

  

 

 

 

 

 

โครงการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณผลิตผลในโรงเรียนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

 

                          ๗) โครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                            .๑) การส่งเสริมการปลูกข้าวเพื่อบริโภค พื้นที่ดำเนินการบ้านป่าทุ่ง หมู่ที่ ๔ ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๓๐ ครัวเรือน โดยการจัดอบรมหลักสูตรการผลิตข้าวคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกข้าว จำนวน ๑๕๐ ไร่

                            ๗.๒) การส่งเสริมการปลูกพืชผักในครัวเรือน พื้นที่ดำเนินการบ้านบาเลาะ หมู่ที่ ๕ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน ๕ ครัวเรือน โดยการจัดอบรมหลักสูตรการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

                       ๘) โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิดถึง ๗๒ เดือน

                                พื้นที่ดำเนินการ : ๑๓ อำเภอ ในจังหวัดนราธิวาส และ ๑ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวัดปัตตานี

            กลุ่มเป้าหมาย :

             - หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด        จำนวน ๙๖๑ คน

             - ผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       จำนวน ๒๗๙ คน

             - ครูผู้ดูแลเด็กและผู้รับผิดชอบงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ จำนวน   ๔๑ คน

                      ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

                      ๘.๑) ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน ๓๘ คน โดยการค้นหาและเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เพื่อเพิ่มทักษะการให้ความรู้และการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของแม่ในระยะตั้งครรภ์ บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ในครอบครัวและการส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์

                     ๘.๒) ให้โภชนาการศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ครั้งที่ ๑ และ คัดกรองผู้ที่มีโอกาสเกิดภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน จำนวน ๙๖๑ คน ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒

                      ๘.๓) การให้ความรู้และการดูแลหญิงตั้งครรภ์ด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของแม่ในระยะตั้งครรภ์ บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ในครอบครัวและการส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย
ในครรภ์

                       ๘.๔) ให้โภชนาการศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ ๖ – ๑๒ เดือน จำนวน ๑,๕๐๘ คน ระหว่างวันที่ ๑ –๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ โดยให้ความรู้เรื่องการประเมินการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการ เลี้ยงลูกให้ฉลาด และการสร้างนิสัยการกินที่ลดความเสี่ยง
ต่อการเป็นโรคฟันผุ

                 ๘.๕) ประชุมเชิงปฏิบัติการเพี่อพัฒนาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริต้นแบบ จำนวน ๖๒ คน ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ หลักสูตรมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ๒๕๖๑ ตามโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน เพื่อเพิ่มทักษะการเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กปฐมวัย การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและฝึกปฏิบัติประเมินทักษะของเด็กตามช่วงอายุด้วยเครื่องมือ DSPM 

  

 

 

 

 

 

 

 

โครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน

                      ๒.๓ งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการนำผลสำเร็จจากการศึกษา ทดลอง และวิจัย มาจัดทำเป็นกิจกรรมในงานขยายผลโครงการฯ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรในพื้นที่ ได้นำองค์ความรู้เหล่านั้นไปต่อยอดในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะสามารถสร้างคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรได้เป็นอย่างดี โดยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีราษฎรที่เข้ารับการอบรมจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน ๔,๙๗๐ คน โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการ ดังนี้

                      ๑) หลักสูตรสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลการพัฒนาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน ๑๕ หลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๙๕๕ คน

หลักสูตรการฝึกอบรม

(เรื่อง)

เวลาการฝึกอบรม

จำนวน

ผู้เข้ารับ

การฝึกอบรม

คณะที่มาอบรม

ระยะเวลาอบรม

(วัน)

ช่วงเวลาฝึกอบรม

(วัน/เดือน/ปี)

๑.อบรมหลักสูตร "การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก พืชไร่ และไม้ผล"

เกษตรกร

 

๑๓-๑๔ มิ.ย. ๖๒

๖๐

๒.อบรมหลักสูตร "การเพิ่มประสิทธิภาพ
   การใช้ประโยชน์พื้นที่ในการปลูกผักแซม
   ระหว่างร่องสวน ไม้ผลผสมผสาน"

เกษตรกร

 

๑๘ มิ.ย. ๖๒

๖๐

๓.อบรมหลักสูตร "การผลิตข้าวคุณภาพ
   และการจัดตั้งกลุ่ม"

เกษตรกร

 

๔-๕ ก.ค. ๖๒

๖๐

๔.อบรมหลักสูตร "การผลิตผักปลอดภัย
   จากสารพิษ"

ครูและนักเรียน

๑๑-๑๒ ก.ค. ๖๒

๑๐๐

๕.โครงการอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จ
   ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

   - การเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยวจัด

   - การเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด)

   - การเพาะเห็ดถุงเสริมรายได้

    - การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก

 

 

เกษตรกร

เกษตรกร

เกษตรกร

เกษตรกร

 

 

 

 

๒๕ ก.ค. ๖๒

๒๖ ก.ค. ๖๒

๓๐ ก.ค. ๖๒

๓๑ ก.ค. ๖๒

 

 

๕๐

๕๐

๕๐

๕๐

๖. โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
    “เพื่อนชาวพรุ”

     - อบรมอาสาสมัคร “วัยใสไกด์ธรรมชาติ”

    - อบรมผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง

    - อบรมค่ายเพื่อนชาวพรุ

 

 

นักเรียน

นักเรียน

นักเรียน

 

 

 

 

-๔ ก.ค. ๖๒

๑๐-๑๑ ก.ค. ๖๒

๒๔-๒๕ ก.ค. ๖๒

 

 

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

. โครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
    การ
พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช
    และผ้าทอพื้นเมือง

    - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

    - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

    - หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
      พื้นเมือง

 

 

 

บ้านยาบี

บ้านโคกยามู

บ้านทรายขาว

 

 

 

๑๕

 

 

 

๑๕-๓๐ ก.ค. ๖๒

๑๕-๒๔ ก.ค. ๖๒

๑๕-๒๔ ก.ค. ๖๒

 

 

 

 

๑๐

๑๐

๑๐

. โครงการพัฒนากระบวนการนำเสนอ
    และประชาสัมพันธ์ของเกษตรกร
    ศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง
    จำนวน ๒ รุ่น

เกษตรกรและเจ้าหน้าที่

-๕ ก.ค. ๖๒

๘-๑๐ ก.ค. ๖๒

๘๕

รวมทั้งสิ้น

๙๕๕

 

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

การฝึกอบรมต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

                        ๒) หลักสูตรการอบรมสำหรับเกษตรกรและราษฎรทั่วไป จำนวน ๓๐ หลักสูตร ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๔,๐๑๕ คน

หลักสูตร

จำนวน
(คน)

ระยะเวลาการอบรม

๑. การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยวที่ปรับปรุงแล้ว

๘ ก.ค. ๖๒

๒. การเลี้ยงปลานิลในกระชังและในบ่อดินเปรี้ยว

๒๔

๙ ก.ค. ๖๒

๓. การเลี้ยงปลานิลในบ่อดินเปรี้ยว

๑๐ ก.ค. ๖๒

๔. การเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยวจัด

๕๐

๒๕ ก.ค. ๖๒

๕. การเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด)

๕๐

๒๖ ก.ค. ๖๒

๖. การเลี้ยงไก่ไข่หลังบ้าน

๒๐

๒๔ - ๒๕ ก.ค. ๖๒

๗. การเลี้ยงเป็ดเทศ

๔๐

๓๐ - ๓๑ ก.ค. ๖๒

๘. การเลี้ยงแพะ

๒๐

๒๒ - ๒๓ ก.ค. ๖๒

๙. การเลี้ยงผึ้งชันโรง

๓ ก.ค. ๖๒

๑๐. การเพาะเห็ดถุงเสริมรายได้

๕๐

๓๐ ก.ค. ๖๒

๑๑. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก

๕๐

๓๑ ก.ค. ๖๒

๑๒. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผักพืชไร่      และไม้ผล

๖๐

๑๓ - ๑๔ มิ.ย. ๖๒

๑๓. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่
      ในการปลูกผักแซมระหว่างร่องสวนไม้ผลผสมผสาน

๖๐

๑๘ มิ.ย. ๖๒

๑๔. การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

๑๐๐

๑๑ - ๑๒ ก.ค. ๖๒

๑๕. การปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน

๓๐

๓๐ ส.ค. ๖๒

๑๖. การปลูกผักในพื้นที่ดินเปรี้ยว

๓๐

๑๓ - ๑๔ มิ.ย. ๖๒

๑๗. การผลิตข้าวคุณภาพและการจัดตั้งกลุ่ม

๖๐

- ๕ ก.ค. ๖๒

๑๘. การผลิตข้าวคุณภาพ

๓๐

๔ ก.ค. ๖๒

๑๙. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรเครือข่ายปลูกพืชผักแซม
      ในระหว่างร่องสวนไม้ผลผสมผสาน

๒๐

๙ ก.ค. ๖๒

๒๐. การออกแบบและการทำบรรจุภัณฑ์

๑๐

๖ ส.ค. ๖๒

๒๑. การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด

๒๐

๑๕ - ๓๐ ก.ค. ๖๒

๒๒. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง

๑๐

๑๕ - ๒๔ ก.ค. ๖๒

๒๓. การให้โภชนาการศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่
  (โรงเรียนพ่อแม่ตามโครงการปรับปรุงภาวะ
  โภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน)

๙๖๑

๑๙ มิ.ย. ๖๒
๑๘ ก.ค. ๖๒
๒๐ มิ.ย. ๖๒
๑๙ ก.ค. ๖๒

๒๔. การให้โภชนาการศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ

      - ๑๒ เดือน (โรงเรียนพ่อแม่ตามโครงการปรับปรุง
  ภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน)

,๕๐๘

ก.ค. - ๓๐ ส.ค. ๖๒

๒๕. กิน กอด เล่น เล่า ตามโครงการปรับปรุง
  ภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน

๒๗๙

- ๙ ส.ค. ๖๒

๒๖. พัฒนากระบวนการนำเสนอและประชาสัมพันธ์
  ของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่าง

๘๕

- ๕ ก.ค. ๖๒
๘ - ๑๐ ก.ค. ๖๒

๒๗. อาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น “วัยใสไกด์ธรรมชาติ”

๑๒๐

- ๔ ก.ค. ๖๒

๒๘. ผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง

๑๒๐

๑๐ - ๑๑ ก.ค. ๖๒

๒๙. ค่ายเพื่อนชาวพรุ

๑๒๐

๒๔ - ๒๕ ก.ค. ๖๒

๓๐. เสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  และพันธุ์พืช

    ๖๖

๑๘ ก.ค. ๖๒

รวม ๓๐ หลักสูตร

,๐๑๕

 

    ทั้งนี้ มีตัวอย่างกิจกรรมการฝึกอบรมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดังนี้

                      ๒.๓.๑ โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน ๕ หลักสูตร ๆ ละ ๕๐ ราย ดังนี้

                                หลักสูตรที่ ๑ การเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยวจัด ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๕๐ ราย โดยการให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่บ่อเลี้ยงปลาหลังน้ำลด วิธีการปรับปรุงบ่อ วิธีการเลี้ยง และการดูแลรักษาปลา ฝึกปฏิบัติการแปรรูปปลา การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ลูกพันธุ์ปลาดุก ๗,๕๐๐ ตัว อาหารลูกปลาดุก ๒๕ กระสอบ ให้แก่เกษตรกร 

  

 

 

 

 

 

                                    หลักสูตรที่ ๒ การเลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่และเป็ด) ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๕๐ ราย โดยให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่หรือโรงเรือน วิธีการเลี้ยง และการดูแลรักษาสัตว์ปีก (ไก่/เป็ด) ฝึกปฏิบัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในสัตว์ปีก การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ลูกพันธุ์ไก่พื้นเมือง ๓๐๐ ตัว อาหารไก่พื้นเมือง ๑๗ กระสอบ ให้แก่เกษตรกร

  

 

 

 

 

 

                                   หลักสูตรที่ ๓ การเพาะเห็ดถุงเสริมรายได้ ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๕๐ ราย ให้ความรู้เรื่องการเตรียมพื้นที่หรือโรงเรือน วิธีการเพาะเห็ดถุง และการดูแลรักษาฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดถุง การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ก้อนเชื้อเห็ด ๔,๐๐๐ ก้อน ให้แก่เกษตรกร

  

 

 

 

 

 

                        หลักสูตรที่ ๔ การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชผัก ในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๕๐ ราย ให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคพืช ฝึกปฏิบัติการผลิตเชื้อราป้องกันโรคพืช การจัดทำบัญชีในครัวเรือน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ พันธุ์เมล็ดถั่วฝักยาว ๒๐๐ ซอง พันธุ์พริกหยวก ๒๐๐ ซอง พันธุ์มะเขือ ๒๐๐ ซอง ปุ๋ยเคมี ๒๕ กระสอบ ให้แก่เกษตรกร 

  

 

 

 

 

 

                ๒.๓.๒ โครงการพัฒนากระบวนการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                                ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น จำนวน ๒ รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ ๑ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓ - ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ รวมจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำเกษตรรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช สำหรับรุ่นที่ ๒ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๘ – ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๔๐ คน ไปศึกษาดูงานการทำการเกษตรรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช  

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการพัฒนากระบวนการนำเสนอและประชาสัมพันธ์ของเกษตรกรศูนย์เรียนรู้และเกษตรกรตัวอย่างในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                      ๒.๓.๓ โครงการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ “เพื่อนชาวพรุ”

                                - กิจกรรมฝึกอบรมอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่นวัยใสไกด์ธรรมชาติ อบรมระหว่างวันที่ ๓ - ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรโรงเรียนที่เข้าอบรม จำนวน ๒ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสุไหงปาดี และโรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก จำนวน ๑๒๐ ราย

                            -  กิจกรรมฝึกอบรม "ผู้พิทักษ์อนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง"  อบรมระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร โรงเรียนที่เข้าอบรม จำนวน ๓ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านลาแล โรงเรียนธัญธาร โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) จำนวน ๑๒๐ ราย

                          - กิจกรรมฝึกอบรม "ค่ายเพื่อนชาวพรุ" อบรมระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร โรงเรียนที่เข้าอบรม จำนวน ๓ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก โรงเรียนบ้านโต๊ะเวาะ และโรงเรียนบ้านตือระมิตรภาพที่ ๑๗๓ จำนวน ๑๒๐ ราย

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

ภาพกิจกรรมการฝึกอบรมเยาวชนในการร่วมอนุรักษ์ป่าพรุโต๊ะแดง

                     .๓.๔ โครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เส้นใยพืช และผ้าทอพื้นเมือง จำนวน ๓ หลักสูตร

                                ๑) หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด ได้จัดฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชและผ้าทอพื้นเมือง จำนวน ๒ กลุ่ม ได้แก่

                                   กลุ่มที่ ๑ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด บ้านยาบี หมู่ที่ ๑ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๑๐ คน ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒

                                กลุ่มที่ ๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด บ้านโคกยามู หมู่ที่ ๗ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๑๐ คน

  

 

 

 

 

 

                                  ๒) หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง จำนวน ๑ กลุ่ม ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ บ้านทรายขาว หมู่ที่ ๒ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๑๐ ราย

  

 

 

 

 

 

              ๒.๔ แผนงานฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                      ดำเนินการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยมุ่งเน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมและการตระหนักถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง โดยเฉพาะป่าพรุ ซึ่งเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                   ๒.๔.๑ การเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายราษฎรทั่วไป จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กล้า ซึ่งได้ดำเนินการเตรียมกล้าไม้ทั่วไป ได้แก่ ทองอุไร ตะเคียนทอง ขี้เหล็กบ้าน ราชพฤกษ์ ชะมวง เหลืองปรีดียาธร พิกุล บานบุรี พะยอม มะม่วงหิมพานต์ และอื่น ๆ  โดยมีเกษตรกร ราษฎรทั่วไป และส่วนราชการ ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา มาขอรับบริการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้สนับสนุนกล้าไม้ให้กับโครงการปลูกป่าต่าง ๆ และแจกฟรีในงานนิทรรศการนอกสถานที่         

  

 

 

 

 

 

การเพาะชำกล้าไม้ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กล้า

                    ๒.๔.๒ โครงการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติริมแม่น้ำบางนรา เป็นการพัฒนาแหล่งศึกษาระบบนิเวศป่าริมแม่น้ำบางนรา เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศป่าริมแม่น้ำบางนรา อันจะเป็นแนวทางนำไปสู่การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน อีกทั้งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญภายในจังหวัดนราธิวาสอีกสถานที่หนึ่งด้วย ซึ่งได้ดำเนินการจัดวิทยากรบรรยายให้ความรู้ จัดทำป้ายสื่อความหมาย ตามจุดต่าง ๆ ที่เหมาะสม ทำจุดบริการผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน ดูแลอาคารสถานที่ให้สะอาดและเรียบร้อย และจัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย

  

 

 

 

 

 

โครงการแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติริมแม่น้ำบางนรา

                   ๒.๔.๓ ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดในงานหัตถกรรม และสิ่งก่อสร้าง โดยการพัฒนารูปแบบการใช้ไม้เสม็ดขาวให้เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ให้ราษฎรในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินการศึกษาการแปรรูปไม้เสม็ดขาว ในขนาดและรูปแบบที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า และหาวิธีการนำไม้เสม็ดขาวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เก้าอี้ ๑ ชุด ตู้ไปรษณีย์ ๓ หลัง ชั้นวางของ ๒ ชุด โต๊ะวางกาแฟ ๑ ชุด ฯลฯ นำมาแสดงเป็นนิทรรศการ ขยายผลไปสู่ราษฎร เพื่อนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้

  

 

 

 

 

 

ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดในงานหัตถกรรม และสิ่งก่อสร้าง

                           ๒.๔.๔ การเพาะชำกล้าไม้สนับสนุนโครงการปลูกป่าในใจคนและปลูกไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้หายาก เป็นไม้ท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนโครงการพิเศษและแจกจ่ายให้แก่ราษฎรทั่วไป และหน่วยงานราชการ เพื่อส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตลอดจนตกแต่งอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น โดยการเก็บเมล็ดจากแม่ไม้ที่ดีมีคุณภาพมาเพาะชำจำนวน ๗ ชนิด ๕๐,๐๐๐ กล้า ได้แก่ พยุง ตะเคียนทอง สะเดาปัก หมากแดง จำปุหริง ใบไม้สีทอง และประ

  

 

 

 

 

 

การเพาะชำกล้าไม้สนับสนุนโครงการปลูกป่าในใจคนและปลูกไม้ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง

                    ๒.๔.๕ โครงการสวนป่าสร้างรายได้ เป็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารที่ถูกทำลาย โดยดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งเรียนรู้ในการสร้างจิตสำนึกถึงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามพระราชดำริ ได้ดำเนินการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช

  

 

 

 

 

 

โครงการสวนป่าสร้างรายได้

 

               ๓) แผนงานบริหารจัดการ

               ๓.๑ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยมีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ตัวอย่างเช่น

                     ๑) โครงการพืชสวนครัวประดับ พื้นที่ ๒ ไร่  เป็นแปลงสาธิตการปลูกพืชแบบพลาสติกคลุมดิน โดยใช้วัสดุคลุมดินโดยใช้พลาสติกดำคลุมทั้งแปลงเพื่อควบคุมวัชพืชและความชื้น สามารถดูแลจัดการได้ง่าย เช่น ถั่วพู มะเขือเปราะ การปลูกลงแปลง เป็นการปลูกพืชลงดินโดยพืชแต่ละชนิดใช้ระยะเวลาแตกต่างกันพืชที่ปลูก เช่น พริกขี้หนู แตงกวา ข้าวโพดหวาน กระเจี๊ยบเขียว และการปลูกในภาชนะ เป็นการปลูกพืชสำหรับพื้นที่ที่มีจำกัด สามารถจัดวางให้อยู่ในรูปแบบสวยงามในกรณีเกิดปัญหาน้ำท่วม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกวัสดุที่ใช้ปลูกเช่น ปลูกในล้อยาง กระเบื้องอิฐบล็อก พืชที่ปลูกในภาชนะส่วนใหญ่เป็นพืชผักฤดูเดียวเช่น พืชตระกูลผักกาด โหระพา ขมิ้นขาว อัญชัน ผักกะเสม ทั้งนี้ มีคณะเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน ๖๙ คณะ ๖,๔๕๗ คน

  

 

 

 

 

 

                        ๒) โครงการสวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พื้นที่ ๑๔ ไร่ ได้จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒มีคณะเข้ามาศึกษาดูงาน จำนวน ๕๐ คณะ ๓,๕๐๖ คน รวมทั้ง ได้มีการบำรุงดูแลแปลง ดังนี้                                    

                 - การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ภายในสวนได้ดำเนินการดูแลรักษาไม้ที่ปลูกเดิม โดยมีการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นปีละ ๒ ครั้ง ในส่วนของต้นไม้ที่ให้ผลผลิตแล้วจะใส่ปุ๋ยบำรุงผลตามแต่ละชนิดของพืชที่มีการดูแลรักษาทรงพุ่มโดยการตัดแต่งกิ่งปีละ ๑ ครั้ง พืชที่ปลูก เช่น มังคุด ขนุน ส้มโอ หม่อนกินผล และแคบ้าน ฯลฯ

                       - การปลูกพืชแบบพึ่งพาและเกื้อกูล เป็นการปลูกผักแบบอาศัยร่มเงาปลูกใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ ภายในแปลงได้ปลูกกระเปราะหอมไว้ใต้ค้างเสาวรส ต้นดาหลาไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ การปลูกพืชสมุนไพร เช่น มะกรูด ตะไคร้ กะเพรา โหระพา สมุย และมะระขี้นก ฯลฯ                  

              - การปลูกพืชโดยไม่ทำลายโครงสร้างดิน ภายในแปลงได้ดำเนินการปลูกพืชโดยไม่ไถพรวนแต่จะมีการจัดการในแปลงปลูกหรือหลุมปลูก พืชที่ปลูก เช่น ชะอม มะเขือ และชะมวง ฯลฯ

                  - การปลูกพืชหมุนเวียน ภายในสวนได้ดำเนินการปลูกปลูกพืชผักหมุนเวียน เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง กระเจี๊ยบเขียว ผักกาดขาว ถั่วพู แตงกวา น้ำเต้า บวบเหลี่ยม ฟักเขียว และข้าวโพดหวาน ฯลฯ

                 - พืชข้ามฤดู พืชที่ปลูกเป็นพืชที่มีอายุการเจริญเติบโตได้นานหลายเดือนพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ระยะยาว ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา พืชที่ปลูก เช่น ผักหวาน และมะเขือเปราะ ฯลฯ

                  - การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ พืชที่ปลูก เช่น ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดขาว และผักกาดฮ่องเต้ ฯลฯ

               - การปลูกพืชในโรงเรือน เช่น เมล่อน และมะเขือเทศ ฯลฯ ได้ดำเนินการปลูกในโรงเรือนพลาสติก เป็นการสาธิตการปลูกเมล่อนในโรงเรือนเพื่อให้เกษตรกรและผู้สนใจได้มาศึกษาเรียนรู้ เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรที่สนใจ เพิ่มความหลากหลายให้กิจกรรมในแปลงเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเอง

  

 

 

 

 

 

                   ๓) โครงการรวบรวมพืชตระกูลปาล์มเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ ปี ครองราชย์ ดำเนินการดูแลรักษา โดยการตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย ปลูกต้นไม้เพิ่ม จำนวน ๘ ชนิด ดังนี้  ปาล์มชะวา ปาล์มค้อแดง ปาล์มพัด หางหมาป่า อินทผาลัม ปรง สิบสองปันนา หมากนวล รวมทั้ง มีการจัดทำป้ายพันธุ์ไม้เพิ่มเติม

  

 

 

 

 

 

                     ๔) โครงการสวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ดำเนินการจัดทำสวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา ในพื้นที่จำนวน ๑๒ ไร่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยรวบรวมพรรณไม้ที่มีลักษณะของดอก ผล ใบ ลำต้น และส่วนต่าง ๆ ที่มีสีม่วง รวมถึงพืชประจำถิ่น พืชต่างถิ่น พืชหายากใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์ไม้ป่าและไม้เกษตรสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ดำเนินการดูแลรักษา โดยการกำจัดวัชพืช ตัดหญ้า ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย เพาะกล้าไม้ และปลูกต้นไม้เพิ่มเติม จำนวน ๙ ชนิด ได้แก่ บุษบาฮาวาย จำนวน ๓,๐๒๐ ต้น บลูฮาวาย จำนวน ๙๓๐ ต้น หัวใจม่วง จำนวน ๒๕๐ ต้น แพงพวย จำนวน ๕๒ ต้น กระเจี๊ยบแดง จำนวน ๒๕ ต้น ผักบุ้งรั้ว จำนวน ๓๐ ต้น เบญจรงค์ ๕ สี จำนวน ๒๐๐ ต้น ทองอุไร จำนวน ๔๘๘ ต้น มันญี่ปุ่น ๑ แปลง และได้มีการวางท่อระบบน้ำภายในแปลง และปรับปรุงป้ายชื่อสวน   

  

 

 

 

 

 

               ๓.๒ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยดำเนินกิจกรรมภายในโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้แก่

                    ๓.๒.๑ กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช สำรวจพันธุ์ไม้ดั้งเดิม พบต้นไม้เพิ่มจำนวน ๔ ชนิด ได้แก่ โกงกางพรุ สามร้อยยอด กกเหลี่ยม และจอกหูหนูยักษ์

                 ๓.๒.๒ กิจกรรมสำรวจพันธุกรรมพืช จัดทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แบบแห้งและแบบดองเก็บรวบรวมตัวอย่างชิ้นส่วนพืช อาทิ กิ่ง ใบ ดอก ผล เพื่อจัดทำตัวอย่างแห้ง จำนวน ๘๐ ตัวอย่าง และตัวอย่างดอง จำนวน ๒๐ ตัวอย่าง   

                     ๓.๒.๓ กิจกรรมรักษาพันธุกรรมพืช การขยายพันธุ์ดาหลา และชำในถุงพลาสติก  จำนวน ๒๐๐ หน่อ

                     ๓.๒.๔ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช ดำเนินการเลี้ยงด้วงสาคู โดยเริ่มเลี้ยงตั้งแต่วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๒ ได้ผลผลิตรวม ๑๐ กิโลกรัม

                         ๓.๒.๕ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลการสำรวจพันธุ์ไม้ดั้งเดิม ได้แก่ โกงกางพรุ สามร้อยยอด กกเหลี่ยม และจอกหูหนูยักษ์

                     ๓.๒.๖ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพันธุ์พืช ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุม ๒ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีนักเรียนและอาจารย์เข้าร่วมจำนวน ๓ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหัวเขา โรงเรียนบ้านโคกสยา และโรงเรียนบ้านโคกศิลา ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น จำนวน ๖๖ ราย

                       ๓.๒.๗ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีกำหนดการประชุมวิชาการ และนิทรรศการ ในหัวข้อ ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตำบลหนองเวียง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

  

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                    ๓.๓ โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์สำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                      ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นคลังเมล็ดพันธุ์สำรองและสนับสนุนให้แก่ราษฎรที่มีความสนใจ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีผลผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่สามารถแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรได้ ดังนี้

                         ± การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๑ - เดือนมิถุนายน ๒๕๖๒

ที่

หน่วยงาน

รายการ

เป้าผลิต

ปี ๒๕๖๒
(กก.)

ผลการผลิต
ปี ๒๕๖๒

หน่วย

ต่อซอง

(กรัม)

(กก.)

(ซอง)

เมล็ดพันธุ์ผัก

 

 

 

 

 

 

งานพัฒนาที่ดิน

) พริกหยวก

.๓

,๗๒๐

.๕

 

) กระเจี๊ยบเขียว

๒๕

๑๐

๒๕๐

๔๐

 

) มะเขือเปราะ

.๔

,๓๖๐

.๕

งานวิชาการเกษตร

) ถั่วพู

๒๐

๑๗๕

๔๐

) กระเจี๊ยบเขียว

 -

 -

 -

๔๐

) ถั่วหรั่ง

๖๐

 -

 -

 -

) พริกชี

.๖

,๐๔๐

.๕

) มันขี้หนู

๙๐

 -

 -

 -

) ฟักแฟง

.๕

๕๐

๑๐

งานส่งเสริมการเกษตร

) น้ำเต้า

-

-

-

๓๐

) ถั่วฝักยาว

๒๕

๔๐

) ฟักแฟง

.๕

.๓

๓๐

๑๐

เมล็ดพันธุ์ข้าว

           
 

งานพัฒนาที่ดิน

) ข้าวซีบูกันตัง ๕

,๐๐๐

,๐๓๐

 -

 -

) ข้าวหอมกระดังงา๕๙

,๐๐๐

,๐๖๐

 -

 -

 

  

 

 

 

 

 

                -  การจัดทำทะเบียนแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ตามพระราชดำริ ปี ๒๕๖๒ แก่เกษตรกร (ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ปี ๒๕๕๘ – เดือนมิถุนายน ๒๕๖๒)

ลำดับ

รายการ

ตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ปี ๒๕๕๘ – เดือนมิถุนายน ๒๕๖๒ (ราย)

๒๕๕๘

๒๕๕๙

๒๕๖๐

๒๕๖๑

๒๕๖๒

สะสม

แตงกวา

๓๕

๑๐

-

-

-

๔๕

บวบเหลี่ยม

-

๒๑

๑๔

-

-

๓๕

พริกหยวก

๖๘

-

-

๒๗๙

๖๔

๔๑๑

ถั่วฝักยาว

-

๒๐

๒๓๐

-

๒๕๗

ถั่วพู

-

๓๗

๒๗

๒๓๒

๖๑

๓๕๗

น้ำเต้า

-

๒๕

๕๘

๓๙

๑๓๑

พริกชี

-

๑๖๓

๑๗๔

กระเจี๊ยบเขียว

-

-

๒๕

๑๘๓

๓๒

๒๔๐

มะเขือเปราะ

-

-

-

๒๗๒

๑๔๑

๔๑๓

๑๐

ฟักแฟง

-

-

-

๑๓

๑๖

๑๑

ข้าวโพดหวาน

๑๒

๓๔

-

-

๕๔

๑๒

ถั่วหรั่ง

๑๘

-

๒๖

๑๓

มันขี้หนู

๒๖

-

-

-

๔๐

๖๖

๑๔

ข้าวซีบูกันตัง

-

๒๘

๘๘

๑๑๑

๒๒๙

๑๕

ข้าวหอมกระดังงา

-

๔๕

๖๓

-

๑๑๑

๑๖

อ้อยพันธุ์สิงคโปร์

-

๓๙

๓๗

-

๗๙

๑๗

อ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี ๕๐

-

๗๖

๓๓

-

๑๑๒

๑๘

อ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี ๗๒

-

-

๔๗

-

๕๐

รวม

๑๕๙

๓๒๙

๓๘๐

,๒๗๐

๖๖๘

,๘๐๖

 

  

 

 

 

 

 

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์สำรองเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และโครงการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

               ๓.๔ โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘

                      ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อสำรวจและติดตามประเมินผลคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและการนำองค์ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ใน ๔ พื้นที่ ดังนี้

                      - วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรในโครงการฯ ณ บ้านทุ่งพัก ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จำนวน ๑๐ ราย

                      - วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรในโครงการฯ ณ บ้านคลองขามเหนือ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง และบ้านหนองหว้า ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง จำนวน ๒๐ ราย

                      - วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรในโครงการฯ  ณ บ้านโคกพระ ตำบลโรง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา จำนวน ๑๐ ราย

  

 

 

 

 

 

 

  

 

  

 

 

 

โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘

                      ๓.๕ โครงการส่งเสริมไก่ไข่พระราชทานเขตพื้นที่ภาคใต้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

                      พระราชดำริ :

  • วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ : ณ งานประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

                           “...ขอให้นำพันธุ์ไก่จากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มาขยายพันธุ์ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เพื่อนำไปส่งเสริม และขยายผลให้แก่เกษตรกรที่สนใจต่อไป…”

  • วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ : ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จังหวัดสงขลา

                           ๑) การดำเนินงานโครงการส่งเสริมไก่ไข่พระราชทาน ขอให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน่วยงานดำเนินการผลิตไก่ไข่พระราชทาน และให้กองทัพภาคที่ ๔ เป็นหน่วยงานส่งเสริมและขยายผลสู่โรงเรียนและเกษตรกรในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้

                            ๒) ขอให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงาน กปร. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนงานที่ได้เสนอมา

                      ผลการดำเนินงาน :

                      ๑. งานทดลอง : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการทดลองเลี้ยงพันธุ์ไก่ไข่ โดยได้รับการสนับสนุนไข่ไก่พันธุ์ลูกผสมโร๊ดไอส์แลนด์เรด (พ่อ) กับไก่พันธุ์ไทยบาร์ (แม่) จากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ จำนวน ๓๒๐ ฟอง มาทำการฟักในตู้อบ จากนั้น ดำเนินการเลี้ยงเพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและสมรรถภาพการให้ผลผลิต เป็นระยะเวลา ๑ ปี โดยมีการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของไก่ไข่เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาต่อไป 

วันที่ ๘ - ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒

จำนวนไข่ที่ได้รับ

๓๒๐

ฟอง

เสียหายจากการขนส่ง

ฟอง

จำนวนไข่เข้าฟัก

๓๑๔

ฟอง

จำนวนไข่ไม่มีเชื้อ

๑๙

ฟอง

จำนวนไข่มีเชื้อ

๒๙๕

ฟอง

จำนวนไข่เชื้อตาย

๑๒

ฟอง

จำนวนไข่ลงเกิด

๒๘๓

ฟอง

วันที่ ๒๙ – ๓๐ มกราคม ๒๕๖๒

 

 

ลูกเกิด

๒๔๖

ตัว

  - เพศผู้

๑๑๘

ตัว

  - เพศเมีย

๑๒๘

ตัว

คัดทิ้ง (ตายโคม อ่อนแอ พิการ)

๓๗

ตัว

การฟักออก

๗๖.๘๘

เปอร์เซ็นต์

วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒

 

 

มอบไก่เพศเมียให้โรงเรียนบ้านโคกศิลา

เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทดสอบการเลี้ยง

๕๐

ตัว

วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒

 

 

คงเหลือ

 

 

เพศผู้

๘๑

ตัว

เพศเมีย

๕๗

ตัว (จากยอด ๗๘ ตัว ตายไป ๒๑ ตัว)

วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๒

 

 

 - งานปศุสัตว์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
รับมอบไก่ไข่เพศเมีย จากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

๑๗๕

ตัว

   ๑. มอบไก่ไข่เพศเมียให้โรงเรียนบ้านโคกสยา โรงเรียนบ้านหัวเขา และโรงเรียนบ้านปลักปลา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

๑๕๐

ตัว (โรงเรียนละ ๕๐ ตัว)

   ๒. นำมาเลี้ยงที่งานปศุสัตว์
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ
เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบ

๒๕

ตัว

วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๒

 

 

 - ไก่ไข่ผลิตไข่ ในงานทดลอง

 

 

* เพศผู้

-

ตัว

* เพศเมีย (ฟักที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ)

๕๕

ตัว (จากยอด ๕๗ ตัว
ตายไป ๒ ตัว)

* เพศเมียใหม่ (รับจากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์ฯ
  ด่านซ้าย เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๒)

๒๕

ตัว

                               ทั้งนี้  สำหรับไก่ไข่เพศผู้ จำนวน ๘๑ ตัว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งมอบให้แก่ โรงเรียนบ้านโคกศิลา โรงเรียนโคกสยา โรงเรียนบ้านปลักปลา และโรงเรียนบ้านหัวเขา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เพื่อบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ต่อไป

             สำหรับอัตราการไข่ของไก่ไข่พระพระราชทาน ในพื้นที่การทดลอง จำนวน ๒ พื้นที่ มีข้อมูล ดังนี้

อัตราการไข่ของไก่ไข่พระราชทานฯที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯและสนับสนุนให้โรงเรียน

ศูนย์ฯ / โรงเรียน

จำนวน

(ตัว)

เริ่มให้ไข่

น้ำหนัก

ไข่ฟองแรก

(กรัม)

สัปดาห์ที่ / ฟอง

รวม

(ฟอง)

ศูนย์ศึกษาฯ

๕๕

๗ ก.ค. ๖๒

๔๐

๓๓

๙๓

๑๙๖

๒๑๑

๒๖๐

๒๗๔

๒๘๗

,๓๖๑

เปอร์เซ็นการให้ไข่ (ร้อยละ)

.๘๒

.๕๗

๒๔.๑๖

๕๐.๙๑

๕๔.๘๑

๖๗.๕๓

๗๑.๑๗

๗๔.๕๕

 

โรงเรียนบ้านโคกศิลา

๕๐

๔ ก.ค. ๖๒

๔๐

๑๘

๕๐

๙๐

๑๔๒

๑๘๖

๒๒๙

๒๓๗

๙๕๘

เปอร์เซ็นการให้ไข่ (ร้อยละ)

.๗๑

.๑๔

๑๔.๒๙

๒๕.๗๑

๔๐.๕๗

๕๓.๑๔

๖๕.๔๓

๖๗.๗๑

 

หมายเหตุ

         ๑. ผลผลิตไข่ เฉลี่ย ๘ – ๑๐ ฟองต่อวัน คิดเป็นร้อยละ ๒๐

        ๒. การเลี้ยงในพื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ เลี้ยงด้วยอาหารไก่ไข่สำเร็จรูป โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๗

        ๓. การเลี้ยงในโรงเรียนบ้านโคกศิลา สัปดาห์ที่ ๑ - ๔ เลี้ยงด้วยอาหารไก่ไข่สำเร็จรูปโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๗ สัปดาห์ที่ ๕ ขึ้นไปเลี้ยงด้วยอาหารผสม โดยซื้อวัตถุดิบมาผสมเอง

  

 

 

 

 

 

      ลูกไก่ไข่แรกเกิด                                                                         การอนุบาลลูกไก่ไข่ ๐ - ๑๗ วัน 

  

 

 

 

 การชั่งน้ำหนักไก่ไข่เพื่อเก็บข้อมูล                                                           ไก่ไข่เพศเมีย

 

                      ๒. งานผลิต : ผลิตไก่ไข่ลูกผสมระหว่าง พันธุ์โร๊ดไอส์แลนด์เรด (พ่อ) และไก่พันธุ์ไทยบาร์ (แม่) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตั้งเป้าการผลิตไก่ไข่เพศเมีย อายุ ๒๐ สัปดาห์ จำนวน ๑,๖๐๐ ตัว เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยจะแบ่งการส่งมอบออกเป็นจำนวน ๒ ครั้ง ต่อปี ได้แก่

ครั้งที่

การส่งมอบไก่ไข่สาว อายุ ๒๐ สัปดาห์

  • โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามพระราชดำริ จำนวน ๗๐๐ ตัว ให้แก่ โรงเรียน จำนวน ๑๔ แห่ง ๆ ละ ๕๐ ตัว
  • เกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา จำนวน ๑๐๐ ตัว ให้แก่ เกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย ๆ ละ ๕ ตัว

  • โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามพระราชดำริ จำนวน ๗๐๐ ตัว ให้แก่ โรงเรียน จำนวน ๑๔ แห่ง ๆ ละ ๕๐ ตัว
  • เกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา จำนวน ๑๐๐ ตัว ให้แก่ เกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย ๆ ละ ๕ ตัว

 สำหรับแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีรายละเอียด ดังนี้

ช่วงเวลา

การดำเนินงาน

วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๒

 

  • รับไก่พ่อแม่พันธุ์จากศูนย์พัฒนาสัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน ๑๒๐ ตัว แบ่งเป็น พ่อพันธุ์ จำนวน ๒๐ ตัว และแม่พันธุ์ จำนวน ๑๐๐ ตัว

พฤศจิกายน ๒๕๖๒

- ไก่เริ่มไข่

ธันวาคม ๒๕๖๒

- รวบรวมไข่และฟักไข่

มกราคม - พฤษภาคม ๒๕๖๓

- เลี้ยงอนุบาลไก่ไข่

พฤษภาคม ๒๕๖๓

- ส่งมอบไก่ไข่สาว จำนวน ๒๐ สัปดาห์ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๘๐๐ ตัว

ตุลาคม ๒๕๖๓

- ส่งมอบไก่ไข่สาว จำนวน ๒๐ สัปดาห์ ครั้งที่ ๒ จำนวน ๘๐๐ ตัว

                   รวมทั้ง ได้ดำเนินการเตรียมพื้นที่และกิจกรรมเพื่อรองรับงานผลิตไก่ไข่ปัจจุบันดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้      

                          -  งานปรับปรุงโครงสร้างโรงเรือนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ขนาด ๔ x ๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง และก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด ๘x๑๐ เมตร เพิ่มเติม จำนวน ๓ หลัง เพื่อเลี้ยงไก่ไข่เพศเมียตั้งแต่อนุบาลจนเป็นไก่สาว

 

   

 

 

 

 

การก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด ๘ X ๑๐ เมตร เพิ่มเติม จำนวน ๓ หลัง

                           - การจัดหาตู้ฟักไข่ ขนาด ๑,๐๐๐ ฟอง จำนวน ๑ ตู้

  

 

 

 

 

การจัดหาตู้ฟักไข่ ขนาด ๑,๐๐๐ ฟอง

                         ๓. งานส่งเสริมขยายผล : ดำเนินการส่งเสริมพันธุ์ไก่ไข่ให้แก่พื้นที่เป้าหมาย โดยในระยะแรกจะนำร่องส่งเสริมในพื้นที่ขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาสเป็นเบื้องต้นก่อน ซึ่งประกอบด้วย

                   - โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒๘ โรงเรียน

                   -  พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ จำนวน ๑๓ หมู่บ้าน

                   -  พื้นที่ศูนย์สาขา

                   -  พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ

                       เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ ศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้จัดส่งไก่ไข่เพศเมีย อายุ ๒๐ สัปดาห์ จำนวน ๑๕๐ ตัว ให้แก่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ สำหรับงานส่งเสริมขยายผลการเลี้ยงไก่ไข่พระราชทาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ส่งมอบไก่ไข่ให้แก่โรงเรียนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๓ แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านหัวเขา โรงเรียนบ้านปลักปลา และโรงเรียนโคกสยา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โรงเรียนละ ๕๐ ตัว เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้จัดฝึกอบรมครูและนักเรียนของโรงเรียนทั้ง ๓ แห่ง ในหลักสูตรการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยและหลักสูตรการผสมอาหารไก่ไข่ใช้เองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 

  

 

 

 

 

 

การส่งมอบไก่ไข่พระราชทาน และการอบรมการผสมอาหารไก่ไข่ใช้เองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านหัวเขา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

  

 

 

 

 

 

การส่งมอบไก่ไข่พระราชทาน และการอบรมการผสมอาหารไก่ไข่ใช้เองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านปลักปลา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

  

 

 

 

 

 

การส่งมอบไก่ไข่พระราชทาน และการอบรมการผสมอาหารไก่ไข่ใช้เองโดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ของโรงเรียนโคกสยา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

 

 

 

 

สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่นี่